วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จริยธรรมของขงจื่อ


จริยธรรมของขงจื่อ

มี 2 ลักษณะ 1.ปัจเจกบุคคล 2.ระดับสังคม
                ระดับปัจเจกบุคคล มี ประการ ได้แก่
1. ความชอบธรรม 
หมายถึง ความถูกต้องเหมาะสม(กาละเทศะ) การวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น เวลาคนตาย แต่งชุดดำไว้ทุกข์ ถ้าใส่ชุดแดงถือว่าไม่ถูกต้อง ตามเหตุการณ์ ถึงจะไม่เป็นอะไรต่อกฎหมายแต่ก็ไม่ถูกต้องเหมาะสม อย่ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่ เป็นหลักปฎิบิของคนไทย                                             *ความถูกต้องเหมาะสมตามสถานการณ์ ต้องใส่ใจเรื่องการศึกษาไปด้วยไม่ใช่เรื่องง่าย  และอย่าเอาผลประโยชน์มาตัดสินความชอบธรรม เช่น หมอโกหกคนไข้ให้ไปทำสมาธิ แล้วคนไข้เชื่อทำตามแล้วหายจริง อันนี้ไม่ถูกต้อง คล้ายกับหลักของค้านท์
2. มนุษยธรรม  หมายถึง ความรักในผู้อื่น” รักทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลก ในบรรดาสิ่งที่เรารัก เรารักตัวเองมากที่สุด จากนั้นจึงรักญาติ รักเพื่อน รักในที่นี้ หมายถึง รักทุกคนเปรียบเหมือนญาติเรา มองทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่ว่าจะ ชาติ ศาสนา ภาษา ไหนก็ตาม
3.ความรู้สึกผิดชอบ  หมายถึง ปฎิบัติต่อคนอื่นเหมือนปฎิบัติต่อตนเอง  “อยากให้เขาปฏิบัติกับเราอย่างไร เราก็ปฏิบัติอย่างนั้นกับเขา” หรือพูดตามสำนวนไทยว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ปกติแล้วเราปรารถนาจะให้ผู้อื่นเข้าใจเรามากกว่าเลยลืมนึกถึงหัวอกของผู้อื่น ถ้าเราอ่อนไหวต่อความรู้สึกของผู้อื่น เราจะซึ้งใจดีว่า มนุษย์ทุกคนล้วนเกลียดความทุกข์ มุ่งหวังปรารถนาความสุขด้วยกันทั้งนั้น วิธีคิดแบบนี้ขงจื่อมองว่า เมื่อเราพัฒนาตัวเองให้ดีแล้ว สังคมก็จะดีตาม ความรู้สึกผิดชอบเป็นกลไกของความเอื้ออาทร ดูแลห่วงใยซึ่งกันและกัน เพราะเราอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้  เช่น สคส ส่งความสุข เราส่งให้คนอื่น เราไม่ต้องสนใจว่าเขาจะส่งให้เราหรือเปล่า

4.เห็นแก่ผู้อื่น  หมายถึง อย่าปฏิบัติต่อเขาในสิ่งที่เราไม่ต้องการให้เขาปฏิบัติต่อเรา” จริยธรรมข้อนี้จะเน้นพฤติกรรมของคนที่เราไม่ชอบ แต่เราเอาพฤติกรรมนั้นไปใช้กับผู้อื่น เข้าทำนอง นินทากาเล” ใส่ร้ายป้ายสีก่อให้เกิดความแตกแยก แตกร้าว เป็นการสร้างศัตรู บ่มเพาะความอาฆาตมาดร้าย ชิงชัง รังเกียจกันไม่มีที่สิ้นสุด

5.ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่   หมายถึงการทำหน้าที่ของตนเต็มกำลังความสามารถ โดยไม่ต้องกังวลถึงผลที่จะได้รับจากงานนั้น งานเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเอง ไม่ว่าผลของงานจะออกมาในรูปแบบไหนก็ไม่ยึดติดกับงานนั้น เหมือนกับที่ท่านพุทธทาสบอกว่า ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่” เป้าหมายมิใช่หวังอามิสสินจ้างรางวัลใด ๆ แต่ทำงานเพราะเป็นสิ่งมีคุณค่าที่มนุษย์พึงกระทำ เช่น กวาดบ้าน ได้ความสะอาด กินข้าวได้ความอิ่ม เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ เพื่อทำหน้าที่ให้ดีที่สุด อยู่ในสถานะไหนก็ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์


                ระดับสังคม มีอยู่ ประการ ได้แก่
ความสัมพันธ์ทางสังคม สังคมที่ดีที่สุดคือสังคมที่มีความชอบธรรม ความชอบธรรมจะเกิดขึ้นได้อย่างไร ขงจื่ออธิบายว่า เกิดจากครอบครัวเพราะครอบครัวเป็นรากฐานของสังคม และรากฐานของครอบครัวอยู่ที่ความสุข ความมั่นคง ความสุขในครอบครัวจะเกิดจากความสัมพันธ์ของคนเหล่านี้คือ
๑.      พ่อแม่กับลูก หน้าที่ของพ่อแม่คือให้ความรักความเมตตาต่อลูก ส่วนลูกต้องมีความกตัญญู รู้คุณ
๒.    พี่กับน้อง หน้าที่ของพี่คือให้ความสุภาพอ่อนโยนกับน้อง ส่วนน้องก็มีความอ่อนน้อมถ่อมตน และเคารพนับถือพี่
๓.      สามีกับภรรยา หน้าที่ของภรรยาสามีคือความซื่อสัตย์ ไม่นอกใจกัน
๔.     เพื่อนกับเพื่อน มีหน้าที่ที่สำคัญคือมีความจริงใจ และซื่อสัตย์ต่อกัน
๕.     นายกับบ่าว หน้าที่ของนายหรือผู้บังคับบัญชาคือมีความเมตตา กรุณา ไม่อคติต่อบ่าวหรือผู้ใต้บังคับบัญชา ส่วนบ่าวก็มีหน้าที่คือ เชื่อฟัง
การกำหนดตำแหน่งและขอบเขตการทำงานให้ชัดเจน เพื่อป้องกันความสับสนวุ่นวายเกี่ยวกับบทบาทและภารกิจของตนเอง และเป็นสิ่งกำกับหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตัวเอง

จริยธรรมของขงจื่อจะเริ่มจากตัวเองเสียก่อน แล้วค่อยขยายวงกว้างออกไปสู่สังคม เข้ากับทำนองที่ว่า ก่อนจะสอนคนอื่น ต้องสอนตัวเองให้ได้เสียก่อน” พูดได้ทำได้ ปากกับใจต้องตรงกัน 


========สรุปจากที่อาจารย์พูดในชั่วโมงนะจ๊ะ========

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น