วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จอห์น ล็อค


จอห์น ล็อค

( John Locke, 1632 – 1704 )


ล็อคเป็นนักปรัชญาลัทธิประสบการณ์นิยมคนหนึ่งของอังกฤษที่มีชื่อเสียงมาก ท่านเกิดที่ชอมเมอร์ เซ็นเชอร์ ( SommerSetshir) เข้าเรียนหนังสือระดับมัธยมศึกษาที่เวสต์มินสเตอร์และเรียนปรัชญาที่ออกซฟอร์ด จบออกมาแล้วได้เป็นอาจารย์สอนวิชาภาษากรีกวาทศิลป์และปรัชญา อาชีพของท่านได้แตกต่างจากอาชีพของบิดาที่เป็นทนายความ


ต่อมาล็อคสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์และศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะสาขาแพทย์ จนสำเร็จเป็นแพทย์คนหนึ่ง ปี ค.ศ. 1667 อยู่กับลอร์ด แอชลี ( Lord Ashley ) ในฐานะเลขานุการส่วนตัว และในช่วงเวลานี้ได้ถกเถียงกันกับเพื่อนๆเรื่องปัญหาพื้นฐานทางศีลธรรมและศาสนาพบปัญหาว่า ต้องแก้ปัญหาทางญาณวิทยาให้ได้เสียก่อน จึงคิดหาทางปรับปรุงญาณวิทยา คิดอยู่นานถึง 7 ปี พบทางออกของปัญหาและเขียนหนังสือชื่อ An Essay Concerning Human Understanding (เรียงความเกี่ยวกับความเข้าใจมนุษย์) ซึ่งเป็นญาณวิทยาที่ตรงข้ามกับลัทธิเหตุผลนิยมของเดส์การ์ต ปี ค.ศ. 1684 ถูกเนรเทศไปอยู่ฮอลแลนด์เนื่องจากลอร์ด แอชลี ถูกโค่นและกลับอังกฤษอีกในปี ค.ศ. 1689 และอยู่กับเซอร์แมชัม จนถึงแก่กรรมรวมอายุได้ 72 ปี



ผลงานเด่นๆ ของจอห์น ล็อค คือ เรียงความเกี่ยวกับความเข้าใจ (An Essay Concerning Human understanding) จดหมาย 4 ฉบับว่าด้วยขันติธรรม (Four Letters on Toleration) ข้อคิดบางประกาศรเกี่ยวกับการศึกษา ( Some Thoughts concerning Education และยังมีผลงานอื่นๆ เช่น ผลงานเกี่ยวกับการปกครอง เป็นต้น


จอห์น ล็อค เชื่อในประสบการณ์ว่าเป็นที่มาแห่งความรู้จริง ในด้านอภิปรัชญาเป็นนักทวินิยม โดยเชื่อว่าจิตและสสารเป็นความแท้จริงด้วยกัน ในทางจริยศาสตร์เป็นนักสุขนิยมเพราะเชื่อว่าความดีคือความสุข ในทางการเมืองได้สร้างทฤษฎีสัญญาประชาคมที่สนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ล็อคไม่ได้ปฏิเสธว่า เหตุผลเป็นที่มาแห่งความรู้เสียเลยทีเดียว แต่ว่าการที่จะคิดหาเหตุผลจะมีได้ต่อเมื่อมีประสบการณ์มาก่อน ฉะนั้น ประสบการณ์จึงมีความสำคัญยิ่งกว่าการคิดหาเหตุผล และประสบการณ์อาจจำแนกออกเป็น 2 ฝ่าย คือ เพทนาการหรือการรับรู้ภายนอก เนื่องจากเรารู้คุณภาพของวัตถุได้ด้วยประสาทสัมผัส และเราจะรู้ไม่ได้ว่าคุณภาพนั้นมีอยู่ด้วยตนเอง เนื่องจากมพื้นฐานที่เรารู้ไม่ได้รองรับคุณภาพปฐมภูมิอยู่ เพราะฉะนั้น เนื้อสารจึงเป็นสิ่งที่เรารู้ไม่ได้ว่าคืออะไร ด้วยเพทนาการนี้เองทำให้เราเชื่อว่ามีเนื้อสารที่เป็นกลุ่มก้อนและกินที่ และมโนภาพหรือการรับรู้ภายใน มโนภาพนี้เองทำให้เราเชื่อว่า มีเนื้อสารอันเป็นผู้คิด ด้วยเหตุนี้ ล็อคจึงยอมรับว่าสสารและจิตเป็นเนื้อสารเช่นเดียวกัน

ล็อคกล่าวว่าโลกประกอบขึ้นด้วยสสาร 2 ชนิด คือ

1. ร่างกาย (Body) เป็นสารที่มีคุณสมบัติ เป็นวัตถุ มีการแผ่กว้าง กินที่ ทึบและมีพลังในการที่จะเคลื่อนไหว และมนุษย์สามารถรับรู้ร่างกายนี้ได้โดยประสาทสัมผัส เพราะเป็นรูปร่าง


2. วิญญาณหรือจิต (Soul) เป็นสิ่งแท้จริงคู่กับร่างกาย คุณสมบัติของวิญญาณคือ การคิดหรือรับรู้ได้ วิญญาณสูงสุดคือพระเป็นเจ้า




ล็อคเคยเข้าร่วมในการต่อสู้ของมวลชนและพรรคต่างๆ ในฐานะเป็นนักปรัชญา นักเศรษฐกิจและนักเขียนในทางการเมือง ในผลงานที่โดดเด่นของเขาชื่อ Essay Concerning Human Understanding เขาได้พัฒนาทฤษฎีความรู้ของลัทธิประจักษนิยมทางวัตถุ ซึ่งลัทธินามนิยมของฮอบส์และลัทธิเหตุผลนิยมของเดส์คาร์ตทำให้สับสน เพราะการไม่ยอมรับคำสอนเดส์คาร์ตส์ในเรื่องความคิดที่ติดมาแต่กำเนิด ล็อคกล่าวอ้างว่าประสบการณ์เท่านั้นเป็นแหล่งเดียวแห่งความคิดทุกอย่าง ความคิดเป็นรูปเป็นร่างได้โดยผ่านอิทธิพลจากอารมณ์ภายนอกเมื่อมีการสัมผัส หรือผ่านมาทางความตั้งใจโดยอาศัยเงื่อนไขและกิจกรรมของวิญญาณทางใดทางหนึ่ง ในกาลต่อมาจึงเป็นที่ยอมรับของลัทธิจิตนิยม โดยผ่านความคิดในทางผัสสะเราสามารถเข้าใจในสิ่งต่างๆ ได้ในคุณภาพปฐมภูมิหรือทุติยภูมิอย่างใดอย่างหนึ่ง ความคิดที่เกิดโดยอาศัยประสบการณ์เป็นเพียงแต่เนื้อหาของความรู้ ไม่ใช่ตัวความรู้เอง จะให้เป็นความรู้เองเนื้อหาของความคิดต้องผ่านกระบวนการในการหาเหตุผล ซึ่งแตกต่างจากทั้งการสัมผัสและจากผลสะท้อนเป็นจุดสำคัญในการเปรียบเทียบ การรวบรวมและการสรุป อาศัยกิจกรรมนี้ความคิดธรรมดาจะเปลี่ยนมาเป็นสลับซับซ้อนขึ้น เห็นด้วยกับฮอบส์สปิโนซาเห็นว่าความรู้สากลส่วนใหญ่จะอาศัยภาษา เมื่อมีการกำหนดความรู้ในอันจะเข้าใจความต่อเนื่องระหว่างนักคิดทั้งสอง ล็อคพิจารณาถึงความรู้ในการคาดคะเนทั้งปวง เช่น ประสบการณ์ที่ต่อเนื่องด้วยความคิดโดยทางเหตุผลว่ามีเหตุผลพอเชื่อได้ อีกประการหนึ่ง ความรู้อาศัยการทดลองอาจจะเป็นไปได้ เพราะว่าประสบการณ์ที่เกี่ยวเนื่องด้วยความคิดสามารถรับรู้ได้โดยการอนุมานเพื่อหาความจริงของประสบการณ์นั้น ความเชื่อมั่นของเราในความมีอยู่ของวัตถุภายนอกจะอยู่ที่ความรู้สึก ล็อคกำหนดรูปแบบความรู้ชนิดนี้เหนือความรู้ปกติ แต่ต่ำกว่าความรู้ทางการคาดคะเน แม้จะมีความเชื่อในสิ่งที่มีขอบเขตที่แน่นอนในความสามารถของเราที่จะรู้สสารในทางวัตถุและเฉพาะอย่างยิ่งในทางจิต ล็อคไม่ควรอย่างยิ่งที่จะพิจารณาไปในแง่ที่ไม่มีใครสามารถจะรู้ได้จริง สำหรับล็อคที่ให้ความเห็นไว้ว่า หน้าที่ของเต้องรู้ไม่เพียงแต่ทุกๆสิ่งแต่ควรรู้ว่าสสารมีความเกี่ยวเนื่องกับเราอย่างไรบ้างเพราะความประพฤติและชีวิตที่จะต้องปฏิบัติอยู่เสมอ เพราะการบรรลุความรู้เช่นนั้นได้เราจะต้องมีความสามารถเพียงพอ


ในคำสอนในเรื่องอำนาจรัฐและในเรื่องกฏหมายล็อคได้พัฒนาความคิดได้เปลี่ยนแปลงจากเหตุการณ์ธรรมชาติมาถึงเหตุการณ์ประจำตัวตลอดถึงรูปแบบต่างๆ ในการปกครอง ในทรรศนะของล็อค จุดประสงค์ของรัฐก็คือเพื่อจะคุ้มครองเสรีภาพและสมบัติที่ผ่านมาทางแรงงาน เพราะฉะนั้น คณะรัฐบาลไม่สามารถที่จะตัดสินอะไรได้โดยปราศจากเหตุผล เขาจึงแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 อย่าง คือ 1. การออกกฎหมาย 2.การบริหาร 3. การเข้าร่วมกลุ่มกัน คำสอนของล็อคเกี่ยวกับรัฐพยายามที่จะปรับปรุงทฤษฎีให้มีรูปแบบทางการเมืองการปกครองที่ได้ปรับปรุงมาแล้วในประเทศอังกฤษ เนื่องมาจากผลของการปฏิวัติของชนชั้นกลางในคริสต์ศักราช 1688 และการประนีประนอมกันระหว่างชนชั้นกลางกับชนชั้นสูงบางกลุ่มที่ได้ลดระดับมาเป็นชนชั้นกลาง ปรัชญาของล็อคจึงมีอิทธิพลยิ่งนักในเหล่านักคิดจำนวนมาก ความคิดที่ประชาชนเองควรที่จะเปลี่ยนระบบสังคมให้มีชีวิตชีวามากขึ้นกว่านี้ ถ้าไม่มีการแบ่งแยกปัจเจกชนโดยอาศัยโอกาสทางการศึกษา และการพัฒนาที่ถือว่าสำคัญยิ่งในการตัดสินใจปฏิวัติของชนชั้นกลาง ความโน้มเอียงที่สำคัญประการหนึ่ง ในลัทธิวัตถุนิยมของฝรั่งเศสก็เริ่มต้นมาจากล็อคนี่เอง การแบ่งแยกระหว่างคุณภาพปฐมภูมและทุติยภูมิผู้ที่นำมาใช้ในการต่อมาคือเบอร์คเลย์ นักจิตนิยมและฮิวม์นักอไญยนิยม


ปัญหาปรัชญาของล็อค (Locke’s the Problem of Philosophy)


ดังที่เราได้ทราบมาแล้วว่า ฮอบส์ เป็นนักปรัชญาเมธีประเภทเหตุผลนิยมในทางความคิดเรื่องความรู้ เห็นด้วยกับเดส์คาร์ตส์ว่า เฉพาะประสบการณ์ไม่สามารถจะให้ความแท้จริงเกิดขึ้นได้เลย ในขณะเดียวกัน เขาเห็นด้วยกับเบคอนเพื่อนร่วมชาติของเขาที่ว่า ผัสสะเป็นแหล่งให้เกิดความรู้ ความคิดสองทางในทางปรัชญาของฮอบส์ไม่ค่อยจะลงรอยกันนัก กล่าวคือ การเกิดความรู้โดยอาศัยผัสสะปรากฏว่าเป็นการบ่อนทำลายความที่น่าเชื่อถือในความรู้ที่มีเหตุผลและเป็นการทำลายความแน่นอนในความรู้ประเภทนี้ด้วย ฮอบส์เองประสบกับอุปสรรคและความยุ่งยากเช่นนี้เองนำไปสู้บทสรุปในทางฟิสิกส์อันเต็มไปด้วยความสงสัยในบางครั้งสำหรับจอห์น ล็อค ปัญหาเช่นนี้จัดว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะล็อคมีทัศนะว่าปรัชญาจะต้องกับไปคิดในเรื่องทฤษฎีความรู้และเอาภาระในการตรวจสอบธรรมชาติ ปฐมเหตุและความสมเหตุสมผลของความรู้ กล่าวคือปรัชญาของจอห์น ล็อคจะเน้นอยู่ในเรื่อง “การพรรณนาเรื่องความเข้าใจของมนุษย์” (An Essay Concerning Human Understanding)


มูลเหตุของความรู้ (Origin of Knowledge)


ในทัศนะของจอห์น ล็อค ปรัชญาคือความรู้จริงในสิ่งทั้งหลายรวมไปถึงธรรมชาติของสิ่งเหล่านั้นด้วย ซึ่งธรรมชาติเช่นนั้นมนุษย์ความปฏิบัติในฐานะเป็นตัวแทนทางอำนาจจิตใจตามเหตุและผลและเป็นมรรควิถีในการที่จะบรรลุและติดต่อกับความรู้เช่นนั้น เนื่องจากมีความสำคัญดังกล่าวแล้วนั้นล็อคพิจารณาปัญหาความรู้ เห็นว่าก่อนที่เราจะพบกับปัญหาเช่นนั้น จะต้องตรวจสอบความสามารถของตัวเองก่อน และดุว่า เราจะสามารถเข้าใจในปัญหานั้นหรือไม่ อย่างไร เพื่อให้เหมาะสมกับความรู้ของเราที่มีอยู่ ด้วยวิธีนี้เราจะสามารถทำงานชิ้นสำคัญให้สำเร็จลงได้ด้วยดี ก่อนอื่นเราจะต้องศึกษามูลเหตุของความคิดของเราก่อนเพื่อจะบอกได้ว่าความรู้เช่นไรที่ถือว่าเป็นจริง และเช่นไรความรู้อันจำกัดของเราจะศึกษาให้รู้ได้ปัญหามากมายเช่นนี้จะต้องอาศัยการคิดค้นต้นตอซึ่งความรู้ของเราได้ศึกษามา เพราะเป็นเรื่องจริงดังที่เดส์คาร์ตส์และปรัชญาเมธีอื่นๆ จำนวนมากเคยปฏิบัติมา นั่นคือเราจำเป็นต้องมีความรู้หลักหรือที่เป็นสาระในตนเองก่อน มิเช่นนั้นแล้ว จะไม่มีเหตุผลอันใดเลยในการสำรวจเพื่อให้ได้ความแท้จริงที่เป็นไปได้ เพราะฉะนั้น ปัญหาเรื่องความคิดที่ติดมาแต่แรกเกิดจึงถือว่าสำคัญในการที่จะศึกษาค้นคว้าเพื่อความจริง


สมมติว่าจิตจะต้องมีความรู้ในเรื่องหลักๆ อันเป็นสาระที่มีอยู่ภายนัวเรา ถ้าหากว่ามอยู่บ้าง ตราบใดที่ไม่มีความรู้อยู่ในจิตจะเกิดความรู้จริงไม่ได้ ล็อคจึงปฏิเสธคำสอนในเรื่องความจริงที่ไม่มีอยู่ภายในแต่แรกเกิด เนื่องจากจะไม่สามารถสร้างหลักเกณฑ์ในทำนองนึกฝันหรือการปฏิบัติให้ปรากฏในจิตของมนุษย์ได้ ถ้าหากว่ามีก็ไม่สามารถจะมีขึ้นได้ในลักษณะเดียวกันเหมือนความแท้จริงอื่นๆ ถ้าหลักเกณฑ์ดังว่านั้นสามารถที่จะประทับลงในวิญญาณโดยปราศจากผู้รู้เห็น ย่อมเป็นไปได้ที่จะแยกได้ว่าอะไรมีมาแต่กำเนิดและอะไรไม่ใช่เราไม่สามารถที่จะกล่าวได้ว่า ก่อนอื่นราจะต้องเข้าใจในความรู้ที่เป็นจริงเช่นนั้นก่อน เมื่อเราเริ่มที่จะปฏิบัติฝึกหัดเพื่อเป็นคนมีเหตุผล เพราะว่าเด็กๆผู้ไร้การศึกษาและคนป่าอาจจะมีเหตุผลในตัวเขา แต่ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ กฎศีลธรรม เราจะเรียกว่ามีมาแต่กำเนิดไม่ได้เพราะกฎศีลธรรมไม่มีปรากฏในตัวเองหรือไม่เป็นที่ยอมรับตามหลักสากล และไม่มาสารถจะกระตุ้นให้มนุษย์ปฏิบัติในกฎนั้นได้ อะไรที่ถือว่าเป้นความชั่วสำหรับคนส่วนมาก คนอื่นๆก็จะมีลักษณะเช่นนี้ด้วย อาจกล่าวได้ว่าความคิดเช่นนั้นจะปกปิดอุปาทาน การศึกษาและขนบธรรมเนียมประเพณีตามลำดับ จนทำให้ไม่ยอมรับผลที่เกิดมาอันเป้นสากลได้ ถ้าเรายึดว่าความชั่วเช่นนั้นไม่สามารถที่จะลบล้างได้ ความชั่วนั้นก็จะปรากฏอยู่ในทุกคน ส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ในเด็กๆ และผู้ไร้วัฒนธรรมทั้งหลาย นั้นคือความคิดในเรื่องพระเป็นเจ้าซึ่งเดส์คาร์ตส์ย้ำนักย้ำหนาว่าไม่สามารถจะเกิดมีมาแต่แรกเกิดได้เลยถ้าหากพิสูจน์ตามหลักความจริงที่ว่าไม่ว่าจะบกพร่องความคิดและความรู้ในเรื่องพระเป็นเจ้า หรือไม่มีความประทับใจในพระองค์ก็ตามที่คนส่วนมากมีอยู่ แต่ถึงแม้ว่ามนุษย์ส่วนมากมีความรู้ในเรื่องพระเป็นเจ้าแต่ไม่เคยสนใจว่าความคิดของเรามีมาแต่แรกเกิด ความคิดในเรื่องไฟ ดวงอาทิตย์ ความร้อนหรือสิ่งอื่นอีกมากก็ไม่เคยพิสูจน์เลยว่าเกิดติดมาเป็นรากฐาน ที่ความคิดเช่นนี้ก็สามารถจะรับรู้ได้ในมนุษย์ทั่วๆ ไปเช่นเดียวกัน สัตว์โลกที่มีเหตุผลสามารถได้รับผลสะท้อนในสิ่งที่สามารถเห็นได้ในปัญญาอันเป็นทิพย์ และอำนาจในหน้าที่การงานที่สามารถสร้างสรรค์ขึ้นได้เขาสามารถพบกับเทพเจ้าได้ แต่ไม่สามารถที่จะสร้างหรือปลูกฝังความคิดแบบสชาติกะในเรื่องของพระเป็นเจ้าได้เลย


กล่าวโดยสรุป ความคิดและกฎเกณฑ์ต่างๆ เป็นความคิดที่ติดมาแต่แรกเกิดเพียงเล็กน้อยเช่นเดียวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์ จิตในสภาวะเริ่มแรกจะมีธรรมชาติ Tabula Rasa“เป็นถ้ำที่ลึกลับ ตู้ที่ว่างป่าว กระดาษสีขาวไม่มีลักษณะรูปร่างปรากฏ ปราศจากความนึกคิดใดๆ” หากจะมีคำถามว่า จิตจะทำหน้าที่ของมันได้โดยวิธีใด เมื่อใดจิตจึงจะสามารถนำสิ่งที่ประกอบด้วยเหตุผลและความรู้มาได้? ในเรื่องนี้ ล็อคตอบเพียงคำเดียวคือ “ประสบการณ์” ความรู้ทุกอย่างที่เรามีจะหาได้จากประสบการณ์ อาศัยประสบการณ์เป็นมูลเหตุให้เกิด แหล่งเกิดความคิดของเรามีสองแหล่ง คือ ความรู้สึก อาศัยความรู้สึกนี้เองจิตไปกระทบกับอารมณ์ให้เกิดความรู้สึก และการสะท้อนหรือความรู้สึกที่เกิดขึ้นภายในที่ประยุกต์ จิตให้เกิดความคิดในสิ่งที่มาสัมผัสกับจิต เช่น มีการรับรู้ เกิดความคิด ความสงสัย ความเชื่อ ความมีเหตุมีผล ความรู้ เจตจำนงและอื่นๆ สมรรถภาพขั้นปฐมภูมิของจิตมนุษย์ คือความสามารถในทางเชาวน์ปัญญาในอันที่จะรับเอาสิ่งที่ประทับใจที่เกิดขึ้น โดยผ่านทางความรู้จากอารมณ์ภายนอกหรือโดยการถูกต้องด้วยตนเองด้วยจิตเมื่ออารมณ์เหล่านั้นสะท้อนมาที่จิต โดยความคิดนี้ล็อคหมายเอาอะไรก็ได้ที่จิตเข้าไปรับรู้ทันทีทันใด อาจจะเป็นนความคิดหรือความเข้าใจก็ได้


ดั้งนั้น ความคิดแบบเรียบๆ จะรับรู้ได้ง่ายซึ่งจิตมีพลังที่คิดทบทวน เปรียบเทียบและรวมลงในรูปแบบต่างๆ โดยไม่มีที่สิ้นสุด และด้วยเหตุนี้จึงสามารถที่จะสร้างสรรค์สิ่งที่เพลิดเพลินสนุกสนานในความคิดที่สลับซับซ้อนได้ แต่การไม่เข้าใจอะไรจะมีพลังงานจะประดิษฐ์หรือจัดรูปแบบเรียบๆ ขึ้นใหม่ได้เพียงอย่างเดียวก็ยากยิ่ง ความคิดแบบเรียบๆ บางชนิดจะเข้ามาสู้จิตของเราได้โดยการสัมผัสเท่านั้น เช่น ความคิดในเรื่องสี เรื่องเสียง เรื่องรส เรื่องความร้อน ความหนาว ความแข็งแกร่ง บางอย่างสามารถนำเข้ามาในจิตได้โดยวิถีทางมากกว่าหนึ่งอารมณ์ เช่น อวกาศหรือการกินที่ สถิติ ความหยุดนิ่งและการเคลื่อนที่ซึ่งผ่านเข้ามายังจิตได้สองทางคือการดูและการสัมผัส บางอย่างจะสามารถรับรู้ได้โดยปฏิกิริยาหรือการตอบสนองเท่านั้น นั้นคือจิตจะสังเกตอาการสัมผัสที่มีอยู่ในความคิดที่มีอยู่แล้ว และรับเอาอารมณ์อย่างอื่นมนลักษณะนี้ ดังเช่น จิตจะสังเกตในสิ่งที่สัมผัส สิ่งที่เก็บไว้ในจิตและระลึกในสิ่งที่เคยประสบมา สิ่งที่มองเห็น เปรียบเทียบ รวบรวม กำหนดชื่อและการสรุป สุดท้ายความคิดบางอย่าง เราอาจจะรับรู้ได้โดยอาศัยทั้งความรู้สึกและผลสะท้อนที่เกิดขึ้นในสิ่งนั้น ในจำพวกที่รับรู้นั้นมักจะเป็นความสนุกเพลิดเพลินและความปวดร้าวหรือความหงุดหงิด ความมีอำนาจ ความมีชีวิตอยู่ ความเป็นเอกภาพ ความสำเร็จและความว่างเปล่า


ถึงแม้ความคิดของเราในเรื่องความรู้สึกมีคุณภาพภายนอกที่คล้ายๆ กันมีมากมายก็ตาม ส่วนใหญ่จะไม่เหมือนกับบางสิ่งที่อยู่นอกตัวเรา จินตภาพและความคล้ายคลึงกันจริงๆจะมีปรากฏอยู่ในวัตถุ พลังที่วัตถุต่างๆ จะสร้างความคิดที่จำกัดให้แก่เรา เรียกว่า “คุณภาพ” คุณภาพบางอย่างจะมีอยู่เฉพาะวัตถุนั่นเองมาสามารถจะแยกออกจากวัตถุนั้นได้เลยคุณภาพเช่นนั้น ล็อคเรียกว่า “คุณภาพดั้งเดิมหรือคุณภาพปฐมภูมิ” (Original or Primary Qualities) คุณภาพเหล่านี้ เช่น ความแข็งแกร่งการกินที่ จำนวน การเคลื่อนไหวหรือการหยุดอยู่กับที่และสถิติคุณภาพดังกล่าวนี้ เช่น สี เสียง กลิ่น จะไม่มีปรากฏอยู่ในวัตถุนั่นโดยตรง นอกจากจะมีพลังในการผลิตหรือสร้างให้ความรู้สึกต่างๆ เกิดขึ้นแก่เราเพราะคุณปฐมภูมิ คุณภาพที่กล่าวมามีสีเป็นต้นเรียกว่า “คุณภาพทุติยภูมิ” (Secondary Qualities)


ความคิดเรียบๆ ของเราทั้งหมดจะสามารถรับรู้ได้สองทาง คือ ความรู้สึกและการสะท้อนความรู้ของเราทุกอย่างจะอาศัยความคิดเรียบๆ นี้เอง ดังเช่นความรู้สึกทั้งที่เกิดจากภายนอกและจากภายในเท่านั้นถือว่าเป็นหน้าต่างที่ให้แสงสว่างลอดเข้าไปในห้องมืดจนเป็นสาเหตุให้เรารับรู้อะไรๆในห้องนั้นได้โดยพลังของจิตเองจึงสามารถที่จะรอบรวมเอาความคิดเรียบๆเหล่านี้เข้ามาเป็นอันเดียว และทำให้เกิดความคิดที่ซับซ้อน จิตจึงสามารถนำเอาความคิดทั้งสองแบบเข้ามารวมกัน มีทรรศนะความคิดเห็นร่วมกันและวางรูปแบบให้ความคิดเหล่านี้สัมพันธ์กัน และในที่สุดก็จะสามารถแยกเอาความคิดออกมาจากความคิดอื่นๆ ที่มากับความคิดนั้นให้อยู่ในสภาวะที่แท้จริงของความคิดเหล่านั้นได้ การรวมตัวกันเช่นนี้เรียกว่า “การสรุปหรือการทำให้ความคิดในสิ่งเดียว” จิตจะขาดพลังงานเมื่อรับรู้ความคิดแบบเรียบๆ แต่จะมีพลังอย่างมากได้เมื่อมีการฝึกปฏิบัติดังที่ได้กล่าวแล้ว


จำนวนความคิดที่สลับซับซ้อนมากมายจะสามารถผูกมัดได้ด้วยสิ่งสามอย่าง คืออัญรูป สสาร และความผูกสัมพันธ์กัน ความคิดของเราในเรื่องอัญรูปเป็นความคิดที่สลับซับซ้อนเนื่องจากไม่สามารถจะสร้างสมมติฐานได้ว่าความคิดนั้นมีอยู่จริง แต่จะมีได้ต้องอาศัยสิ่งอื่น เช่น สสาร อัญรูปที่ราบเรียบจะประกอบขึ้นด้วยความคิดที่เรียบๆ เช่นเดียวกันมากมายรวมเข้าในลักษณะต่างๆ ซ้ำแล้วซ้ำเล่าโดยไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่น อัญรูปผสมจะประกอบด้วยความคิดเรียบๆ ชนิดต่างๆ แล้วนำมารวมกันเพื่อสร้างความคิดแบบสลับซับซ้อนต่อไป เช่นความสวยงามซึ่งจะต้องประกอบด้วยสีที่ผสมกันโดยถูกส่วนและรูปลักษณ์ที่สามารถให้ผู้ดูพอใจหรือชอบใจได้ เมื่อพูดถึงความคิดแบบง่ายๆ ในเรื่องอวกาศและความคิดที่รวบรวมกันเข้าเช่นนี้ เราอาจจะนำอัญรูปง่ายๆ ในเรื่องความใหญ่โต ทรวดทรง สถานที่ การแผ่กว้างไม่มีขอบเขต ชั่วโมง วัน ปี กาลเวลา และความมีอยู่ตลอดไปถือว่าเป็นอัญรูปในเรื่องระยะกาลหรือช่วงเวลาทั้งนั้น นอกจากนี้ยังมีอัญรูปเรียบๆ ในเรื่องความคิดหรืการประสานสัมพันธ์ในเรื่องจิตอีกด้วย


ความคิดของเราในเรื่องสสารก็เช่นเดียวกันที่เป็นความคิดที่สับสนสลับซับซ้อนที่เกิดขึ้นเพราะความคิดแบบเรียบง่ายที่รวมเข้ากันได้เพราะจิต ความคิดที่สับสนในเรื่องสสารอันประกอบขึ้นด้วยความคิดที่รวมกันในด้านสุขภาพ สร้างสมมติฐานขึ้นเสนอสิ่งเฉพาะที่ต่างกัน และความคิดที่ยังไม่แจ่มใสเพื่อส่งเสริมหรือสนับสนุนคุณภาพทั้งหลาย ดังนั้น ความคิดในเรื่องสสารจะต้องอาศัยความคิดที่สมมติขึ้นนี้หรือความคิดที่ยังไม่แน่ใจของผู้สนับสนุนเพราะจะต้องรวมเอาความคิดเกี่ยวกับสีขาว มีน้ำหนักที่ชั่งได้แน่นอน มีความแข็งแกร่งความอ่อนนุ่มและสามารถหลอมได้ เราสามารถที่จะสังเกตได้ว่าความคิดแบบเรียบๆ ที่แท้จริงจะต้องเกิดจากความรู้สึกและผลสะท้อนทั้งสองอย่างนี้ สมมติว่า เราคิดในสิ่งใดสิ่งหนึ่งเรียกชื่อสิ่งนั้นถูกต้องว่าชื่ออะไร เราสามารถที่จะใคร่ครวญหรือคิดได้ว่า คุณสมบัติหรือความคิดเหล่านี้สามารถเป็นอยู่ด้วยตนเอง ดังนั้น เราจึงตั้งสมมติฐานได้ว่าจะต้องมีสสารอยู่จริง ภายในสสารนั้นจะต้องมีคุณภาพอยู่ภายในและผลที่จะเกิดมาภายหลังจะต้องมาจากสสารนี้ สิ่งดังกล่าวนี้เราเรียกว่าสสาร เราจึงมีความคิดในเรื่องสสารทั้งเป็นวัตถุและทางจิตและในเรื่องพระเป็นเจ้า


ในทำนองเดียวกัน จิตดีรับความคิดที่แท้จริงในเรื่องความเกี่ยวพันโดยการเปรียบเทียบสิ่งหนึ่งกับอีกสิ่งหนึ่ง กล่าวคือ จิตครั้งแรกจะต้องนำเอาสิ่งหนึ่งออกมาโดยอาศัยสิ่งอื่นและแล้วดึงความสนใจจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่ง สร้างความสนใจในความเกี่ยวเนื่องในสิ่งทั้งสองเหล่านั้น ทุกสิ่งสามารถจะสร้างความสัมพันธ์ให้เกิดขั้นได้ และความคิดในเรื่องความสัมพันธ์กันเช่นนี้จะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยความคิดที่เรียบง่าย ความคิดในเรื่องเหตุและผลเป็นการสร้างความสัมพันธ์ทางเปรียบเทียบที่สำคัญที่สุดที่มีอยู่ในความคิดทั้งหลาย ความสัมพันธ์ดังกล่าวจะมีได้ต้องอาศัยความรู้สึกและผลสะท้อนที่เกิดขึ้น เพราะอาศัยอายตนะ เช่นตา เป็นต้น เราจะได้รู้ว่า สิ่งทั้งหลายจะต้องมีการเปลี่ยนแปลง คุณภาพและสสารมีรูปร่างได้เพราะอาศัยการเปลี่ยนแปลงนี้เอง ดังนั้น สสารมีความเป็นรูปร่างต้องมีการรวมด้วยคุณภาพและเนื้อหาเราเรียกว่าเพราะผลิตผลของสาเหตุที่เป็นความคิดเรียบง่ายอย่างใดอย่างหนึ่งหรือความคิดที่สลับซับซ้อน จึงทำให้เกิดผลขึ้นมาได้ ดังเช่น ความร้อนเป็นสาเหตุเกิดขี้ผึ้งหรือยางเหนียวก็ได้ สาเหตุคือสิ่งที่ให้สิ่งอื่นมี เช่น ความคิดง่ายๆ สสารหรืออัญรูป ผลคือสิ่งที่มีการเริ่มแรกจากสิ่งบางสิ่ง สาเหตุชนิดต่างๆ คือ การสร้างสรรค์ การแพร่ขยาย การกระทำ การแปรผัน ในการสร้างรูปแบบความคิดเรื่องสาเหตุและเรื่องผล อาจจะพิจารณาถึงความคิดแบบราบเรียบ หรือสสารบางอย่างในฐานะเป็นจุดเกิดโดยอาศัยความเกี่ยวเนื่องของบางสิ่งความคิดในเรื่องสาเหตุและผลเป็นการเปรียบเทียบที่สำคัญที่สุดและเป็นความเกี่ยวเนื่องที่สำคัญในทางวิทยาศาสตร์ด้วย แต่ยังมีความเกี่ยวเนื่องอื่นมากมาย เช่น ความเกี่ยวเนื่องทางเวลา สถานที่และการกินที่ ความเกี่ยวเนื่องในด้านความเหมือนกันและต่างกัน ทางจริยธรรมและอื่นๆ อีก


ธรรมชาติและความมีเหตุผลของความรู้ (Nature and Validity of Knowledge)


เนื้อหาความรู้ของเราจะมีปรากฏแก่จิตจะต้องอาศัยความรู้สึกและผลสะท้อนกล่าวคือจิตมีกิริยาต่ออารมณ์ เช่น ความรู้สึกและทำให้อารมณ์ซับซ้อน อาจจะมีคำถามว่าคุณค่าที่ให้เกิดความรู้ที่ความคิดเช่นนั้นมีคืออะไร เงื่อนไขอันใดบ้างที่ความคิดบรรจุไว้เพื่อให้เป็นความรู้ อาจตอบได้ว่า ความคิดควรจะผ่องใสและแจ้งชัด เนื่องจากว่า ถ้าเป็นความคิดสับสนและไม่ผ่องใส่แล้วจะทำให้คำพูดที่เราพูดออกมาไม่แน่นอน ความคิดที่จริงเช่นนั้น จะมีพื้นฐานในธรรมชาติ และจะมีรูปแบบเดียวกันกับสิ่งที่มีจริง ด้วยความแท้จริงนี้ ความคิดจะมีลักษณะเช่นเดียวกันและเป็นแม่พิมพ์ของความคิดด้วย ความคิดเรียบง่ายของเราที่เป็นความแท้จริง ไม่เพียงแต่สามารถที่จะสร้างจินตภาพหรือสามารถเป็นตัวแทนสิ่งที่มีอยู่เท่านั้น แต่เป็นคุณภาพปฐมภูมิของร่างกายอีกด้วย เพราะสามารถเป็นผลของพลังที่มีอยู่ภายนอกจิตของมนุษย์เรา อัญรูปและการสัมพันธ์กันที่ผสมผสานกันได้เช่นนี้ไม่มีความแท้จริงอื่นยิ่งไปกว่าในจิตของมนุษย์ ไม่จำเป็นต้องมุ่งมั่นที่จะเป็นตัวอย่างของสิ่งต่างๆ ที่มีอยู่จริงๆ จะเป็นความจริงก็ต่อเมื่อกรอบซึ่งบางสิ่งมีอยู่นั้นสามารถลงรอยกันได้ ความคิดจึงเป็นแม่พิมพ์ในตัวเอง จึงไม่สามารถสร้างความเลื่อนลอยได้นอกจากเป็นความคิดที่ไม่ลงรอยกันซ้ำยังทำให้เกิดความคิดที่ยุ่งเหยิงอีกด้วย แต่ความคิดที่สับสนของเราในเรื่องสสารที่เรามุ่งหวังคือเพื่อให้เป็นตัวแทนสสารในภายนอก และอาจจะเป็นจริงเช่นนั้นได้บ้าง เพราะฉะนั้น ความคิดจะเป็นจริงก็ต่อเมื่อมีความเกี่ยวเนื่องกันกับความคิดที่ราบเรียบในสิ่งอยู่นอกตัวเราไป ความคิดจะสมบูรณ์ก็ต่อเมื่อสามารถยึดแม่พิมพ์ที่จิตสมมติเป็นมาตรฐานว่าสามารถยึดเอาเป็นแบบอย่างได้มี ในขณะที่จิตไม่สมบูรณ์จะเป็นเพียงตัวแทนแม่พิมพ์ในบางส่วนหรือยังมีความบกพร่องอยู่ ความคิดแบบเรียบง่ายและอัญรูปจัดว่าสมบูรณ์ แต่ความคิดในเรื่องสสารยังมีความบกพร่องอยู่ เนื่องจากยังพยายามที่จะเลียนแบบสิ่งอื่นที่มีความมีอยู่อย่างแท้จริง แต่ก็ไม่สามารถประสบผลสำเร็จในการทำเช่นนั้นเลย เมื่อไรก็ตามจิตอนุมานไปถึงความคิดอย่างใดอย่างหนึ่งกับสิ่งทั้งหลายที่ไม่เกี่ยวข้องกับจิต แล้วความคิดเช่นนั้นอาจจะเป็นจริงหรือไม่เป็นจริงก็ได้ สำหรับจิตเมื่ออนุมานถึงความคิดในเรื่องสิ่งต่างๆ โดยสร้างสมมติฐานเป็นนัยๆ เพื่อให้ตรงกับสิ่งเหล่านั้น สมมติฐานเช่นนี้อาจจะจริงหรือเท็จก็ได้


ความรู้ทุกอย่างจะมีได้ต้องอาศัยความคิด ความคิดที่แท้จริงที่สุดของเราไม่มีอะไรอื่นนอกจากประสบการณ์กับสิ่งที่เกี่ยวข้องหรือการตกลงใจ และการตกลงกันไม่ได้หรือการปฏิเสธในเรื่องความคิดอย่างใดอย่างหนึ่ง เรารับรู้ว่าสีขาวไม่ใช่สีดำ นั่นคือเป็นความคิดเกี่ยวกับสีขาว ส่วนความคิดเกี่ยวกับสีดำเราไม่เห็นด้วยในความรู้หลักฐานแสดงให้ปรากฏย่อมมีระดับแตกต่างกัน บางทีจิตรับรู้ความคิดถึงสองทางคือเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยโดยการแนะนำโดยตรงโดยไม่มีความคิดอื่นมาแทรก ความรู้ประเภทนี้เป็นความรู้เกิดจากอัชฌัตติกญาณ เมื่อจิตรับรู้ว่านั่นคือสีขาว ไม่ใช่สีดำเช่นนี้เป็นความรู้ที่แจ่มชัดและแน่นอนที่สุดที่มนุษย์จะรู้ได้อย่างง่ายดาย ไม่จำเป็นต้องพิสูจน์และสิ่งนั้นไม่จำเป็นต้องนำมาพิสูจน์อีก ไม่มีใครที่ไม่เห็นด้วย เพราะเป็นความจริงอยู่ในตัวมันเองแล้ว อัชฌัตติกญาณโดยตรงในการที่เข้าใจสิ่งแท้จริงขึ้นอยู่กับว่าอะไรที่แน่นอนและเป็นจริงที่ความรู้ของเรามีอยู่ บางครั้งความคิดของเรา ถึงแม้ไม่สามารถรับรู้ความตกลงใจหรือไม่ตกลงใจระหว่างความคิดทั้งสองโดยตรง อาจจะสร้างแนวความคิดขึ้นโดยอ้อมโดยอาศัยการเปรียบเทียบสิ่งทั้งสองนั้นด้วยความคิดที่เรามีอยู่กับความคิดของผู้อื่นบ้างก็ได้ ความรู้แบบนี้ที่มีความคิดอื่นมาแทรกเรียกว่าความรู้ที่อาศัยสื่อกลางมีเหตุผลหรือเป็นความรู้แบบสาธิต เป็นความรู้อาศัยการพิสูจน์ให้เกิดความแน่ใจ แต่หลักฐานที่นำมาใช้เป็นข้ออ้างอาจจะไม่แจ่มชัดและไม่แจ่มใสพอ ทั้งไม่ยอมรับว่าเป็นความรู้ที่สมบูรณ์ดังเช่นในความรู้ประเภทอัชฌัตติกญาณ ทุกขั้นความรู้แบบสาธิตต้องมีความแน่นอนที่เกิดขึ้นด้วยตนเอง เพื่อที่จะนำไปสู่การสรุปที่แน่นอน การสาธิตเช่นนั้นมักจะใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ และที่ใดก็ตามจิตสามารถรับรู้ความคิดที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยการสนับสนุนของความคิดโดยอ้อม ในความรู้ทั้งอัชฌัตติกญาณและสาธิตเราได้รับความแท้จริง ความรู้เช่นนี้อาจจะเป็นศรัทธาหรือความคิดเห็นได้ แต่ไม่ใช่ความรู้ที่
แน่นอนนัก


เราจะเรียกความรู้เกี่ยวกับเรื่องโลกภายนอกว่าอย่างไร? ในเรื่องนี้ เรามีความคิดในใจเกี่ยวกับสิ่งภายนอก ซึ่งเราอาจจะคิดว่าเป็นความแท้จริงตราบเท่าที่มีอยู่ แต่จะมีสิ่งอื่นบ้างไหมนอกจากความคิด ด้วยความจริงนี้เราสามารถที่จะอนุมานไปถึงความมีอยู่ของความแท้จริงในความคิดพิเศษที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน กล่าวคือ นอกตัวเราไปจะมีโลกแห่งความจริงบ้างหรือไม่ อย่างไร? บางครั้งในความฝัน เรามีความคิดแต่ไม่มีสิ่งใดสัมพันธ์กับความคิดนั้นในเวลานั้นการประสบตามปกติเมื่อเราตื่นขึ้นและตกเป็นทาสแห่งความเพ้อฝันก็ไม่ใช่หรือแห่งความไม่รู้จริงก็ไม่เชิง สามารถมีความเชื่อมั่นโดยปราศจากความสงสัยในเหตุผลบางอย่าง กล่าวคือความรู้ของเราในเรื่องสิ่งมีชีวิตเฉพาะในเรื่องจำกัดมีอยู่ตลอดไป ดังนั้นควรปฏิบัติเพื่อให้พ้นสิ่งที่เป็นไปได้เช่นนี้เสีย และยังไม่เข้าถึงความรู้อัชฌัตติกญาณหรือแบบสาธิต ล็อค เรียกความรู้ประเภทนี้ว่า “ความรู้ทางประสาทสัมผัส” (Sensitive Knowledge) เราจะมีความรู้ที่มีประจักษ์พยานในตัวเองในเรื่องสิ่งที่มีจริงไม่ได้ ยกเว้นตัวเราเองและพระเป็นเจ้า กล่าวคือ ความมีอยู่ของเราเองจะรู้ได้ด้วยอัชฌัตติกญาณ ความมีอยู่ของพระเป็นเจ้าเราจะรู้อย่างแจ่มแจ้งได้ต้องอาศัยเหตุผล เพื่อให้เข้าใจได้แจ่มแจ้ง ดังเช่น ถ้าเรามีการสัมผัสกับสิ่งที่มีอยู่นอกตัวเรา ถ้าแม้จะไม่แท้จริงดังเช่นความรู้ประเภทอัชฌัตติกญาณหรือการหาเหตุผลตามแบบนิรนัยก็ตาม ยังเชื่อมั่นได้ว่าเป็นความรู้ได้ นอกจากนี้ การยอมรับเช่นนี้ต้องอาศัยความรู้สึกเองเป็นเครื่องแบ่งแยก เราจึงมีความเชื่อมั่นต่อไปว่า ประสบการณ์จะต่างจากจินตภาพที่เราเคยจำได้ ซึ่งมักจะมีความทุกข์ตามมา และความรู้สึกเช่นนั้นจะต้องหาหลักฐานจากผู้ใดผู้หนึ่งมาอ้างอิง


เขตจำกัดของความรู้ (The Limits of Knowledge)


แล้วอะไรเป็นส่วนประกอบความรู้ของเรา? ตราบใดที่มีประสบการณ์ในสิ่งที่ความคิดของเราเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย ก็จะกล่าวได้ว่า ความรู้ของเราไม่สามารถเข้าถึงสิ่งอื่นใดมากไปกว่าความคิดของเรา ที่ใดความคิดมีความต้องการเกิดขึ้น ไม่สามารถมีความรู้ได้ ปัญญาของเรามีขอบเขตจำกัดและเคร่งครัดในข่าวสาสน์ที่ได้มาและไม่มีทางที่แน่ชัดจริงๆ ในสิ่งที่ประสบแต่ความรู้ของเราแคบกว่าความคิดของเรา ไม่เพียงแต่ไม่สามารถที่จะล่วงพ้นจากสิ่งที่เราประสบเท่านั้น แต่เราไม่อาจจะมีหรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับความคิดของเราให้มากมายดังที่เราปรารถนาได้ เราไม่มีประสบการณ์ในทุกสิ่งที่เราสามารถประสบได้ ทั้งไม่สามารถเข้าใจในทุกสิ่งทุกอย่างที่เรารับมาโดยตรง ประการแรก ความไม่รู้ของเราเนื่องมาจากความต้องการของความคิด ความเป็นอยู่มีความสมบูรณ์ยิ่งกว่าเราเอง การมีอายตนะเพื่อการสัมผัสดีกว่าและต่างจากการสร้างสรรค์จากตัวเอง ความมีอยู่อาจมีความคิดแบบเรียบง่ายที่มีจำนวนยิ่งใหญ่กว่าที่เรามีอยู่ ยิ่งกว่านั้นสิ่งบางสิ่งอยู่ห่างไกลจากการสังเกตของเรา สิ่งน้อยนิดอยู่ใกล้ตัวเรา นอกจากนี้เราไม่สามารถที่จะค้นพบความต่อเนื่องที่จำเป็นบางประการระหว่างความคิดมากมายของเราได้ กล่าวคือ เราไม่สามารถที่จะเห็นได้ว่าอะไรเป็นสื่อสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์ ขนาดหรือความเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ ของร่างกาย และสี รส หรือเสียงได้ กล่าวคือ เราไม่สามารถจะเข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างสีเหลือง น้ำหนัก ความดัดแปลงได้ง่าย ความแน่นอน และการหลอมได้ของทอง ดังนั้น การรู้คุณภาพเพียงอย่างเดียว สองอย่างหรือมากกว่าเราก็สามารถจะรู้ได้ว่าคุณภาพชนิดอื่นก็ต้องมีอีก จากความคิดในเรื่องทองอันเป็นวัตถุสีเหลืองมีน้ำหนักคงที่ เราไม่อาจจะอนุมานความจริงโดยอาศัยความแน่นอนว่าเป็นสิ่งดัดแปลงได้ง่าย การสังเกตจะบอกเราว่าทองเป็นวัตถุที่สามารถดัดแปลงได้ง่าย แต่ทองทุกชนิดเป็นสิ่งที่สามารถดัดแปลงได้ง่ายจริง แต่ทองไม่มีความจริงอันเป็นลักษณะเด่นในตัวเอง เพียงแต่ความรู้เท่านั้นที่ทำให้เราพอใจอย่างแท้จริง คือความรู้ในเรื่องความจริงอันมีลักษณะเด่นในตัวเองสากล แต่ยังมีขอบเขตประสบการณ์ที่กว้างใหญ่อีกที่ความรู้เช่นนั้นไม่สามารถที่จะเข้าถึงได้


เขตจำกัดอื่นในเรื่องความรู้ของเราสามารถกำหนดได้เมื่อเราพิจารณาใน “ความรู้จริง” ซึ่งมีอยู่ในความคิดของเรา ซึ่งตรงกับความแท้จริงของสิ่งทั้งหลาย ความคิดที่เรียบง่ายทั้งหมดจะใช้แทนสิ่งที่อยู่ภายนอก เพราะความคิดเช่นนั้นต้องเป็นส่วนประกอบของสิ่งทั้งหลายที่จำเป็นที่เกิดขึ้นในจิต เรารู้ได้ว่ามีร่างกายอยู่ภายนอกรอบๆ ตัวเราให้เกิดความรู้สึก ดังนั้น เราอาจจะไม่รู้ว่าอะไรที่ทำให้ความรู้สึกเกิดขึ้น และเกิดขึ้นได้อย่างไร เรายังสามารถรู้ได้ว่ามีบางสิ่งทำได้เช่นนั้น แต่ความคิดที่สลับซับซ้อนของเราถึงแม้ทำได้เช่นนั้นในส่วนอื่นๆ จะให้ความรู้แก่เรา แต่ก็ไม่สามารถที่จะเป็นรูปแบบของสิ่งใดได้ ไม่สามารถที่จะอนุมานไปถึงสิ่งที่มีชีวิตอื่นใดในฐานะเป็นต้นกำเนิด ความคิดเช่นนั้นเป็นแบบหรือแม่พิมพ์ในการสร้างสรรค์จิต จิตมีความเป็นอิสระในการเลือกรวมกับความคิดโดยไม่จำเป็นต้องคิดถึงความสัมพันธ์บางอย่างที่มีอยู่ในธรรมชาติ ระบบความคิดที่สลับซับซ้อนเช่นนั้นจิตสามารถควบคุมให้อยู่ในกรอบและให้ความรู้ที่แท้จริงแก่เราได้ เช่นเดียวกับที่เราเคยศึกษามาในคณิตศาสตร์นั่นเอง นักคณิตศาสตร์จะวางรูปความคิดเกี่ยวกับรูปสามเหลี่ยมหรือรูปวงกลม ความคิดเช่นนี้จะมีอยู่ในจิตของนักคณิตศาสตร์ซึ่งสร้างความคิดด้วยจินตนาการ ประพจน์ต่างๆ ที่นักคณิตศาสตร์อนุมานจากคำจำกัดความทางตรรกวิทยาถือว่าจริงและแน่นอน ถ้ามีสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีลักษณะเช่นนั้น เช่น รูปสามเหลี่ยม ประพจน์ต่างๆ ที่สร้างขึ้นจะต้องจริงไม่ว่าจะอยู่ที่ใด แต่รูปสามเหลี่ยมที่เป็นจริงหรือปฏิบัติได้จริงจะต้องมีอยู่ในธรรมชาติ แต่ไม่สามารถจะสร้างขั้นโดยความคิดเช่นนั้นได้


อย่างไรก็ดี ในกรณีเรื่องจิตสลับซับซ้อนเกี่ยวกับสสารย่อมมีลักษณะต่างกันไป ความคิดของเราในเรื่องสสารสมมติว่าเป็นแบบแม่พิมพ์ที่ความคิดจะต้องอนุมานถึง ถ้าคุณภาพต่างๆ ที่เรานำมารวมกันไว้ในความคิดของเราเกี่ยวกับสสารที่รวมกันอยู่ในธรรมชาติ ยกตัวอย่างเช่น ถ้ามีบางสิ่งในธรรมชาติมีคุณภาพ เช่น สีเหลือง ดัดแปลงได้ง่าย หลอมได้ง่าย ผสมกันได้ง่าย เป็นต้น แล้วความคิดในเรื่องสสารนี้เป็นวัตถุให้เกิดความรู้จริง และเราอาจจะกล่าวได้ว่า อะไรก็ตาม ความคิดที่เรียบง่ายจะพบได้เพราะรวมกันอยู่ในสสารบางชนิดอาจจะรวมกันเข้าได้อีก แต่เราอาจจะสังเกตได้ว่าเราไม่อาจสร้างประพจน์สากลเกี่ยวกับสสารได้เลย เพราะว่าเราไม่สามารถจะรู้ความต่อเนื่องที่จำเป็นระหว่างความคิดแล้วนำมารวมกัน ประสบการณ์จะบอกเราว่าคุณภาพที่แท้จริงจะรวมกันยู่ในสสารที่เรารู้ไม่ได้ แต่เราไม่สามารถค้นพบว่าคุณภาพเหล่านี้พึ่งพาอาศัยกันเลย และไม่เคยอนุมานจากคุณภาพต่างๆ ที่เราเคยสังเกตได้ว่าคุณภาพอื่นๆ จะต้องไปด้วยกัน จึงไม่มีการยืนยันทั่วไปในเรื่องทองคำที่เรารู้ว่าเป็นความแท้จริง ความแท้จริงในความหมายนี้ต้องมีความสมบูรณ์ในตัวเอง ถ้าเราค้นพบความเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นในระหว่างความดัดแปลงได้ง่ายและความแข็งแกร่งของทองคำ ในแง่นี้เราอาจจะสร้างประพจน์สากลที่แน่นอนว่า ทองคำทุกชนิดสามารถดัดแปลงได้ง่าย ความจริงของประพจน์ที่ตั้งขึ้นนี้ควรจะแน่นอนตามที่เป็นจริง ดังเช่น ผลรวมของรูปสามเหลี่ยมเท่ากับสองมุมฉาก ในเรื่องสสารยังมีความยุ่งยากอย่างอื่นที่ทำให้ปัญหาสับสน สสารในธรรมชาติมีคุณภาพเป็นอิสระ เป็นสิ่งโดดเดี่ยว สำหรับส่วนที่สำคัญคุณภาพของสสารเหล่านี้ต้องอาศัยเงื่อนไขมากมายสังเกตได้ยากยิ่งในธรรมชาติ เมื่อไรจะมีการอนุรักษ์กลไกให้มีการเคลื่อนไหวและซ่อมแซมใหม่อีก กลไกได้มีการใช้และมีการแก้ไขอย่างไรบ้างเมื่อเรารับรู้ไม่ได้และรู้คุณค่า เพราะฉะนั้นเพื่อให้เข้าใจเรื่องกลไกได้ถูกต้องเราต้องเข้าใจจักรวาลทั้งหมด แต่เราไม่อาจจะค้นพบขนาดรูปทรงและความหยาบละเอียดในส่วนที่ย่อยและอื่นๆ ได้ถี่ถ้วนการเคลื่อนที่และการผลักดันที่มีอยู่ในกลไกนั้นอาจจะมีน้อยเพราะการอาศัยการกระทำของผู้อื่น ดังนั้น เราไม่อาจจะรู้ได้ว่าคุณภาพปฐมภูมิของร่างกายหนึ่งมีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง จึงจะทำให้เกิดคุณภาพปฐมภูมิขึ้นในร่างกายอื่น หรือไม่มีการประดิษฐ์ขึ้นเลย เราไม่สามารถจะทราบได้ว่าคุณภาพปฐมภูมิของร่างกายจะสร้างความรู้สึกหรือความคิดขึ้นในเราอะไรบ้าง เราไม่สามารถจะรับรู้ความเกี่ยวเนื่องที่จำเป็นระหว่างคุณภาพปฐมภูมิเหล่านี้กับผลที่เกิดมีขึ้น ความแท้จริงสากลจะเข้าถึงไม่ได้ในเขตของความรู้ และเราต้องมีความพอใจตัวเองในสิ่งที่ตนมีอยู่


เพราะฉะนั้น สิ่งแท้จริงสมบูรณ์ของสิ่งทั่วๆ ไปจะไม่เคยพบเห็นเลย เว้นแต่ความคิดของเราจะพอใจและไม่พอใจเท่านั้น จึงต้องเน้นในความคิดของเราเองว่าสามารถที่จะเกิดมีขึ้นแก่เราได้นั่นคือความรู้ทั่วไป เราไม่มีสมมติฐานที่มีความเชื่อมั่นในตัวเองในเรื่องความมีอยู่อันแท้จริง เว้นแต่ในกรณีของพระเป็นเจ้าและตัวเราเอง และไม่สามารถที่จะรังสรรค์ศาสตร์เกี่ยวกับความจริงที่มีอยู่อย่างแท้จริงได้ มีสมมติฐานมากมายที่เราจะหาเหตุผลและกล่าวถึงและปฏิบัติ แต่สมมติฐานเช่นนั้นเราไม่สามารถประสบความรู้แท้จริงในเรื่องความจริงได้หมด บางอย่างมีขอบเขตใกล้ชิดติดกันซึ่งเราสามารถทราบได้หมดโดยไม่ต้องสงสัย แต่ยอมรับด้วยสัจจริง โดยมีความเป็นไปได้ในระดับต่างๆ กันในเรื่องการอธิบายและความจริง โดยอาศัยความลงรอยกันกับประสบการณ์ของเราเอง และอาศัยหลักฐานจากประสบการณ์ของผู้อื่นด้วย อย่างไรก็ดี หลักฐานที่แท้จริงในเรื่องวิวรณ์ ล็อคเห็นว่าเป็นความแท้จริงที่สูงสุด เราจึงสามารถยอมรับว่าเป็นเรื่องของศรัทธา เนื่องจากศรัทธาเป็นกฎที่แน่วแน่และแท้จริงที่ต้องยอมรับและรับประกันได้จริง จึงไม่มีช่องว่างที่จะสร้างความสงสัยหรือลังเลใจแต่อย่างใด แต่เราจะต้องเชื่อในใจว่า เป็นการวิวรณ์ทิพยศักดิ์ ดังนั้น การยอมรับของเราอาจมีเหตุผลไม่มากไปกว่าความเชื่อมั่นในเรื่องความมีอยู่ว่าเป็นเรื่องวิวรณ์ ไม่มีสมมติฐานใดที่สามารถรับรู้ได้เพราะอาศัยวิวรณ์ทิพยศักดิ์ ถ้าหากจะขัดแย้งกันกับความรู้ทางสัญชาตญาณอันแจ้งชัดของเราอยู่บ้าง ศรัทธาไม่เคยให้เราเชื่อในเรื่องที่ขัดแย้งกับความรู้ของเรา จึงไม่มีหลักฐานใดๆ ที่วิวรณ์ที่ปฏิบัติสืบเนื่องกันมาบางอย่าง นั่นคือเราจะยอมรับในสิ่งที่เราเข้าใจที่เกิดมาจากทิพยศักดิ์เท่านั้น ความสัจจริงในเรื่องวิวรณ์จะไม่เคยแจ่มชัดและแน่จริงเหมือนกฎเหตุผล แต่สิ่งที่ล่วงพ้นการคิดค้นในส่วนใดที่มีอยู่ในธรรมชาติของเราและนอกเหนือเหตุผลไป เมื่อวิวรณ์ให้ปรากฏก็จัดว่าเป็นเรื่องเฉพาะของศรัทธา ดังนั้น ความเชื่อที่ตายไปแล้วอาจจะเกิดมีขึ้นได้อีกและมีชีวิตได้อีกต่อไป จึงจัดว่าเป็นเรื่องของศรัทธาบริสุทธิ์ เพราะอาศัยศรัทธาเช่นนั้นเหตุผลจึงไม่มีประโยชน์อันใดที่จะเข้าช่วยเหลือให้ถูกต้องอีก


อภิปรัชญา (Metaphysics)


เราได้ทราบคำตอบของล็อคเรื่องคำถามเกี่ยวกับมูลเหตุ ความมีเหตุมีผลและเขตจำกัดของความรู้มาแล้ว ต่อไปจะได้พิจารณาโลกทรรศน์ทั่วไป ล็อคไม่ได้นำเอาทฤษฎีความจริงสมบูรณ์ออกมาอธิบายให้ปรากฏในทฤษฎีความรู้ที่เขาได้พัฒนาไว้ในตำรา (Essay) ของเขา และได้หยุดอยู่ตรงสมมติฐานเบื้องต้นทางอภิปรัชญาซึ่งอาจมีการค้นพบมาเรียบร้อยแล้ว


เนื่องจากมีความจำกัดในการอธิบายที่จะต้องเน้นในเรื่องความรู้และหวาดกลัวเพราะความไม่แน่ใจที่มีอยู่เป็นนิสัย ล็อคจึงละทิ้ง สำหรับรายละเอียด ในทางอภิปรัชญาที่เห็นคล้อยกันกับทรรศนะของเดส์คาร์ตส์ที่ได้จัดเข้าเป็นระบบ โลกประกอบขึ้นด้วยสสาร มีพลัง มีคุณภาพและปฏิกิริยาต่างๆ ในโลกนี้เองคุณลักษณะต่างๆ ที่กล่าวมาย่อมมีปรากฏอยู่ภายในและคุณลักษณะเหล่านั้นย่อมไหลหรือเคลื่อนไหวออกมาจากโลก สสารที่เป็นพื้นฐานและสาเหตุของคุณภาพและปฏิกิริยาต่างๆ มีอยู่ 2 ชนิด คือ ร่างกายและวิญญาณ ร่างกายเป็นสสารชนิดหนึ่งที่คุณสมบัติต่างๆ ได้แผ่กระจายออกมา เช่น ความแข็งแกร่งหรือความแน่นหนา และความเคลื่อนไหวหรือมีอำนาจที่จะเคลื่อนไหวไปมาได้ สิ่งเหล่านี้จัดเป็นคุณภาพปฐมภูมิที่เราสามารถรับรู้ได้ทางการสัมผัส ดังนั้น จึงอาจจะมีที่ว่างเปล่า นั่นคืออวกาศบริสุทธิ์ปราศจากรูปร่างหรือร่างกาย ความจริงมีว่าเราสามารถที่จะรับรู้อวกาศโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยความแข็งแกร่งและความเคลื่อนไหวไปมาเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นว่ามีความว่างเปล่าอยู่แน่นอน นอกจากสสารในทางวัตถุแล้วยังมีสสารในทางจิตหรือวิญญาณอีก วิญญาณนี้เป็นสิ่งที่มีจริงจึงมีคุณภาพให้ปรากฏ เช่น ความคิด หรืออำนาจในการรับรู้ และมีเจตจำนงหรืออำนาจที่จะหยุดยั้งร่างกายเมื่อมีการเคลื่อนไหว คุณภาพทั้งหลายเหล่านี้เรารู้ได้โดยอาศัยผลสะท้อนที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ความคิดไม่ใช่เป็นสาระสำคัญ แต่สาระสำคัญอยู่ที่วิญญาณ วิญญาณเป็นสสารทางจิต อันเปรียบได้กับสสารที่มีรูปร่างหรือมีตัวตน เราสามารถที่จะนำความคิดมารวมกันในร่างกายโดยรวมคุณภาพที่แท้จริงมารวมกันและหาทางให้ความคิดตั้งมั่น สามารถที่จัดรูปแบบความคิดของสสารทางวิญญาณโดยอาศัยผลสะท้อนหรืออารมณ์ของจิตของเราเอง เช่น ความคิด ความเข้าใจ เจตจำนง การรู้และพลังในการเคลื่อนที่ พยายามรวมอารมณ์เพื่อเป็นเครื่องยึด เป็นเรื่องที่เหลวไหลที่กล่าวว่า ไม่มีจิต เนื่องจากเราไม่เข้าใจในเรื่องของจิตแจ่มแจ้งและลึกซึ้งเพียงพอ ที่เรามักจะปฏิเสธความมีอยู่ของร่างกายเพราะไม่มีความคิดเรื่องวัตถุแจ่มแจ้งและลึกซึ้งพอโดยเฉพาะคุณภาพ เป็นเรื่องธรรมดาที่ว่า ความคิดเรื่องสสารที่มีรูปร่างที่เราสัมผัสและเข้าใจได้ยากยิ่งเช่นเดียวกับสสารทางวิญญาณหรือวิญญาณ กล่าวคือไม่มีอะไรที่เราจะรู้ได้โดยตรงนอกจากความคิดอันเป็นเรื่องของวิญญาณ ในเรื่องนี้เราไม่สามารถที่จะสรุปให้เข้าใจได้ง่ายยิ่งไปกว่าที่เราเคยประสบอยู่เช่นเดียวกันกับการปฏิเสธเรื่องความมีอยู่ของร่างกายนั่นเอง เป็นความจริงถ้ามีบางสิ่งที่เรารู้ได้แจ่มแจ้งยิ่งกว่าความมีอยู่ในทางจิตที่เรารู้ได้โดยตรง นอกจากตัวเราจะต้องมีสิ่งที่มีรูปร่างอยู่แน่นอน ยิ่งกว่านั้นวัตถุที่ปราศจากความนึกคิดและความเคลื่อนที่จะรังสรรค์ความคิดย่อมเป็นไปได้ยาก เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะรับรู้วัตถุเช่นนั้นว่ามีการเคลื่อนที่ได้หรือไม่สามารถเคลื่อนที่ได้หรือมีความรู้สึกสัมผัสได้และมีความรู้


วิญญาณบริสุทธิ์หรือพระเป็นเจ้าเท่านั้นที่มีปฏิกิริยาในฝ่ายบวก วัตถุมีปฏิกิริยาฝ่ายลบอย่างเดียว แต่วิญญาณของมนุษย์เรามีได้ทั้งสองฝ่าย มีพลังที่สามารถให้ร่างกายเคลื่อนไหว เช่น สิ่งที่มีชีวิตอื่นๆ ที่แสดงให้เรารู้ ที่ว่ามีปฏิกิริยาฝ่ายลบเมื่อมีความสัมพันธ์กับร่างกายภายนอกที่สร้างสรรค์ให้มีการเปลี่ยนแปลงในวิญญาณ ความจริง ความคิดของเราทั้งปวงเนื่องมาจากการกระทำทางร่างกายที่มีอยู่ในจิต ปฏิกิริยาเช่นนี้เรียกว่าทฤษฎีที่มีอำนาจเกิดขึ้นภายในเป็นความจริงเราไม่สามารถรู้ได้ชัดว่าจิตมีปฏิกิริยาอย่างไรบ้าง และไม่สามารถรู้ได้ว่าร่างกายหนึ่งทำให้อีกร่างหนึ่งมีความเคลื่อนที่ได้อย่างไร เป็นความจริงเราจำเป็นต้องมีความคิดในเรื่องพลังที่มีปฏิกิริยาในการเคลื่อนที่ในจิตให้มากกว่านี้อีกยิ่งกว่าในทางร่างกาย สิ่งที่มีความนึกคิดจะสามารถรับรู้ได้ง่ายกว่าสิ่งกินที่อีก


จิตและร่างกายมีอยู่จริงและมีปฏิกิริยาอยู่ภายในตัวเอง ร่างกายมีปฏิกิริยาโดยอาศัยจิต และสร้างความรู้สึกในเรื่องสี เสียง สัมผัส ความแข็งแกร่ง การกินที่และอื่นๆ ในบรรดาคุณภาพเหล่านี้คุณภาพปฐมภูมิตามที่เป็นจริงไม่สามารถที่จะเสนอความแท้จริงให้เกิดภายนอกตัวเอง วัตถุต่างๆ จะไม่เกิดสี มีเสียง มีกลิ่น มีรสในตัวเอง แต่ที่มีปรากฏเป็นผลเกิดขึ้นในจิตที่วัตถุเหล่านั้นปรากฏออกมจากวัตถุนั้นต่างหาก ความคิดในเรื่องการกินที่ ความแข็งแกร่ง และการเคลื่อนที่ เป็นการเลียนแบบคุณภาพจริงที่มีอยู่ในสิ่งเหล่านั้น ร่างกายกินที่เพราะอาศัยการเคลื่อนที่ได้ แต่ถ้าเราจะใช้ความคิดในการพินิศจัยจะรู้ได้ว่า ร่างกายสามารถที่จะกระทำต่อและสร้างผลให้เกิดแก่ร่างกายเท่านั้น กล่าวคือทำให้เกิดการเคลื่อนไหวได้ ในการที่จะเข้าใจในเรื่องความคิดของเราที่ลึกซึ้งให้คิดต่อไปว่า การเคลื่อนไหวไม่สามารถสร้างสรรค์สิ่งอื่นได้นอกจากให้เกิดการเคลื่อนไหวนั่นเอง ขอยืนยันอย่างหนักแน่นว่าสภาพทางร่างกายจะสร้างสรรค์ได้เฉพาะความสุขหรือความทุกข์ หรือแม้แต่ความคิดในเรื่องสีหรือเสียง ที่นอกเหนือเหตุผลและความคิดของเรา ที่ถูกต้องแล้วคือการสร้างอิทธิพลให้เกิดแก่ตัวเราเพื่อให้รับความสุขที่ดีนั่นเอง ในที่นี้ล็อคเผชิญหน้ากับอุปสรรคมากในการสร้างระบบปรัชญาของเขา นั่นคือความขัดแย้งเกี่ยวกับทฤษฎีกลไกนิยมกับความจริงที่มีอยู่จากประการณ์ หากจะมีคำถามว่า ถ้าการเคลื่อนไหวไม่สามารถจะประดิษฐ์สิ่งอื่นให้เกิดขึ้น นอกจากการเคลื่อนไหวเท่านั้นแล้ว จะสามารถประดิษฐ์วิญญาณให้เกิดขึ้นในตัวเราได้อย่างไรเล่า? เมื่อประสบปัญหาเช่นนี้ ล็อคจึงบอกเราว่า พระเป็นเจ้ามีความเกี่ยวเนื่องอยู่กับผลของการเคลื่อนไหวที่มีปรากฏอยู่แล้ว ซึ่งเราไม่สามารถจะรับรู้ได้โดยตรง ในการอธิบายในเรื่องนี้ ล็อคได้กลับไปพูดในคำสอนของลัทธิโอกาสนิยมที่มีทรรศนะว่า ปรากฏการณ์ทางกายกับปรากฏการณ์ทางจิตไม่เป็นเหตุและผลของกันและกัน แต่เกิดขึ้นโดยการสอดคล้องกัน เพราะมีพระเป็นเจ้าเป็นผู้กำหนดให้เป็นไปเช่นนั้น ล็อคจึงเหมือนกับเผชิญกับปัญหาที่ยากยิ่งในการอธิบายว่า จิตสามารถที่จะเริ่มให้มีการเคลื่อนไหวได้อย่างไร? เจตจำนงสามารถที่จะเป็นสาเหตุให้มีปฏิกิริยาเกิดขึ้นได้โดยวิธีใด? แต่เขาพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาทั้งสองโดยกล่าวว่าเพื่อให้เข้าใจในเรื่องนี้ควรทราบว่า การเคลื่อนไหวสร้างความรู้สึกหรือสร้างการเคลื่อนที่โดยอาศัยพลังใจได้อย่างไร ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าฉงนยิ่งกว่าที่จะเข้าใจว่าการเคลื่อนที่ของสิ่งหนึ่งสามารถทำให้อีกสิ่งหนึ่งเคลื่อนที่ได้อย่างไรเสียอีก ประสบการณ์ได้บอกเราว่า การเคลื่อนไหวทุกอย่างคือสิ่งนั้นได้เกิดมีขึ้นแล้วในทางปฏิบัติ ล็อคได้สร้างความผิดพลาดโดยอาศัยโอกาสเข้ามาเกี่ยวข้องไม่เพียงแต่ในเรื่องกิริยาที่เกิดขึ้นภายในเท่านั้น แต่ยังมีปัญหาในเรื่องธรรมชาติของวิญญาณที่ไม่ใช่วัตถุอีกด้วย ในความคิดทั่วๆ ไปของล็อคดูเหมือนว่า กระบวนการทางจิตไม่สามารถที่จะทำปฏิกิริยากับวัตถุที่ไร้วิญญาณได้เลย นั่นคือไม่ควรจะมีความรู้สึกได้เลยถ้าปราศจากสิ่งที่มีความนึกคิดอันไม่ใช่วัตถุ และนั่นคือภายในมนุษย์แต่ละคนจะมีสิ่งที่มีจิตที่สามารถที่จะเห็นและได้ยินอะไรได้ ในขณะเดียวกัน บางทีล็อคยังมีความสงสัยในเรื่องธรรมชาติของสิ่งที่มีอยู่เช่นนี้ว่ามีความคิดมาปรากฏแก่เราได้อย่างไร บางทีเป็นวัตถุโดยตรง บางทีเป็นสิ่งที่มีรูปร่างยังสามารถที่จะคิดได้ อาจจะกล่าวได้ว่า ตราบใดที่เราไม่เข้าใจธรรมชาติของสสารบางอย่าง เราจะแน่ใจได้ไหมว่าสิ่งที่มีรูปร่างแข็งแกร่งเช่นนั้นจะไม่สามารถที่จะคิดได้ และสิ่งที่มีความคิดจะกินที่ไม่ได้ บางทีเราจะไม่เคยทราบได้ว่าเป็นไปได้หรือไม่ที่วัตถุสามารถคิดได้ เราไม่สามารถจะรู้ว่าภายในความคิดนั่นมีอะไร ไม่อาจจะรู้ได้ว่าสสารใดบ้างที่พระเป็นเจ้ามีความพอพระทัยที่จะประทานอำนาจให้มีปรากฏอยู่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นมารวมทั้งร่างกาย พระเป็นเจ้าจะรังสรรค์ผลให้ปรากฏการเคลื่อนไหวที่เราไม่สามารถจะรับรู้ได้ด้วยเชาวน์ปัญญา ทำไมพระเป็นเจ้าจึงไม่สร้างระบบที่แท้จริงให้กับวัตถุที่มีอยู่แล้ว เช่น ร่างกายที่มีรูปลักษณ์และคุณภาพสมบูรณ์ มีความรู้สึก สัมผัสถูกต้องได้และมีความคิดบ้าง


เราเรียกการใคร่ครวญในเรื่องปัญหาบางอย่างว่า การมืดมนและการขัดกันในระบบของล็อคภายใต้ปัญหาเหล่านี้ เราจะมองเห็นอภิปรัชญาโดยสังเขปในทรรศนะของล็อค ส่วนใหญ่ทฤษฎีล็อคยังเป็นทวินิยมอยู่ กล่าวคือมีสสารอยู่สองชนิด คือ สสารที่เป็นวัตถุหรือมีรูปร่าง และสสารที่เป็นจิตหรือไม่มีรูปร่าง สิ่งที่เป็นวัตถุไม่สามารถจะคิดได้ ส่วนจิตสามารถคิดได้ ในเรื่องนี้ล็อคเห็นด้วยกับเดส์คาร์ตสที่ยอมรับว่าเราสามารถจะสร้างความแข็งแกร่งหรือแน่นหนาได้ยิ่งกว่าการกินที่ นั่นคือเป็นคุณภาพที่สำคัญของร่างกาย ที่เหมือนกับเดส์คาร์ตส์ คือ ล็อคยอมรับว่า สมมติฐานที่เป็นจริงจัดว่ามีอธิบายไว้ดีแล้วด้วยดีในเรื่องความแท้จริง แม้ร่างกายจะร่างเล็กย่อมมีขนาด รูปลักษณ์ และพลังในการเคลื่อนไหว เม็ดโลหิตไม่มีความรู้สึกยังเป็นส่วนที่มีกิริยาของวัตถุได้ และจัดเป็นเครื่องมือที่ยิ่งใหญ่ของธรรมชาติเม็ดโลหิตได้อาศัยเฉพาะคุณภาพทุติยภูมิของร่างกายก็หาไม่ แต่จะขึ้นอยู่กับความเกี่ยวเนื่องกันในทางธรรมชาติอีกด้วย แต่เรายังไม่สามารถที่จะแบ่งแยกความคิดที่เป็นจริงในเรื่องคุณภาพปฐมภูมิได้ ไม่มีใครที่จะสามารถปฏิเสธในการรับรู้เรื่องขนาด รูปลักษณ์ หรือการเคลื่อนไหวได้ และไม่มีใครที่จะเข้าใจในความเกี่ยวเนื่องกันได้จริง ถ้าเราสามารถค้นพบรูปลักษณ์ ขนาดความหยาบละเอียด และการเคลื่อนไหวของส่วนต่างๆ ของร่างกายสองร่างได้ เราสามารถจะทราบสัดส่วนของพื้นที่รูปสามเหลี่ยมได้จากโครงสร้างทางเรขาคณิต เราจะรู้สิ่งเหล่านี้หมดไม่ได้นั้นคือเราไม่สามารถที่จะรู้ได้ว่าหน้าที่ของเม็ดโลหิตเกี่ยวพันกันได้อย่างไร มีเครื่องผูกพันอะไรบ้างที่สามารถผูกมัดให้ส่วนต่างๆ ได้รวมกันได้อย่างเหนียวแน่น เราจะไม่สามารถรู้ได้ว่าสิ่งหนึ่งทำให้สิ่งอื่นเคลื่อนไหวได้อย่างไร การเคลื่อนไหวจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่งจะมีได้โดยวิธีใด ดังนั้น สมมติฐานทางเม็ดโลหิตนี้จะเพิ่มพูนความรู้ของเราเกี่ยวกับสสารที่มีรูปร่างได้บ้างตามสมควรความรู้ของเราก็จะขาดแคลนอยู่เรื่อยไป ดังนั้นจะไม่ศาสตร์ใดในเรื่องร่างกายจะให้เกิดความรู้สึกที่ถูกต้องได้ ล็อคมีความหวังเพียงเล็กน้อยที่จะเข้าใจในเบื้องต้นนี้ได้ ไม่ต้องสงสัยเลยว่าล็อคต้องเผชิญกับปัญหาอะไรบ้าง แต่ที่สำคัญคล้ายกับวัตถุสมัยใหม่ซึ่งเป็นสมบัติทางเคมีถึงจะไม่เกิดจากฟิสิกส์โดยตรง ก็ยังสามารถอธิบายและตีความได้โดยการอนุมานไปถึงสิ่งอื่นต่อไปได้ จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจที่จะต้องสังเกตด้วยว่า ทฤษฏีเม็ดโลหิตของล็อคไม่เหมือนกับทฤษฏีอะตอมเกี่ยวกับส่วนต่างๆ ของวัตถุที่แท้จริงและแบ่งแยกไม่ได้


นอกจากสสารสองอย่างนี้อันได้แก่ร่างกายและจิตแล้ว ยังมีสสารทางจิตอีกอันได้แก่พระเป็นเจ้า เราจะไม่มีสชาติกมโนภาพเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า โดยอาศัยประโยชน์อันชอบธรรมในด้านความสามารถ ธรรมชาติของเราเราอาจเข้าถึงความรู้เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าได้ เป็นความจริงที่ว่าจะต้องมีพระเป็นเจ้าอันเป็นสิ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่มีลักษณะอย่างอื่น เช่น มนุษย์เราสามารถสร้างแนวความคิดของพระเป็นเจ้าโดยยึดความคิดในทางประสบการณ์เกี่ยวกับความมีอยู่และความไม่มี ความรู้กับอำนาจ ความสนุกกับความสุข เป็นต้น และพยายามเพิ่มพูนแต่ละสิ่งในมีระดับสูงขึ้นมนด้านคุณภาพจนถึงระดับที่ไม่มีขอบเขตจำกัด ในที่สุดโดยการรวมเอาสิ่งทั้งหลายเข้ากับความคิดที่ไม่จำกัดเหล่านี้ ดังนั้น ล็อคจึงอธิบายกำเนิดของความคิดในเรื่องพระเป็นเจ้าแต่ไม่สามารถจะบอกได้ว่าสาระที่แท้จริงของพระเป็นเจ้าเป็นอย่างไร ข้อสังเกตของล็อคในเรื่องกำเนิดความคิดในเรื่องพระเป็นเจ้าก็คล้ายกับทฤษฏีความคิดในความรู้สึกหรือผลสะท้อนหรือทั้งสองอย่างนั้น ยังเป็นประสบการณ์ที่ไม่แจ่มชัดและเป็นนามธรรมอยู่นั่นเอง ในปรัชญาของล็อคในจุดนี้ยังไม่เห็นด้วยกับลัทธิเหตุผลนิยมและลัทธิสัจนิยมทางจักรวาล


ล็อคเสนอการพิสูจน์ทางเหตุผลที่มีประโยชน์และในทางอันตวิทยาในเรื่องความมีอยู่ของพระเป็นเจ้า เช่นว่า มนุษย์เรารู้ด้วยความมั่นใจว่าเขาสามรถมีชีวิตอยู่ได้ด้วยตนเองแล้วยังสามารถที่จะรู้ได้ว่า ไม่มีสิ่งใดที่สามารถจะสร้างสิ่งที่เป็นจริงได้ ดังนั้น ถ้าหากมีสิ่งที่เป็นจริง และมนุษย์จะได้รู้ว่าตัวเขาเป็นสิ่งที่จริงแท้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งจะต้องมีบางสิ่งสร้างตัวเขาให้เกิดขึ้น ยิ่งกว่านั้น ยังรู้ว่านอกจากมีความเป็นอยู่แล้ว ยังรู้เบืองต้นสำหรับสิ่งอื่นอีกซึ่งจะต้องออกมาจากสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เป็นผู้สร้างขึ้นมานั้นเอง แหล่งที่เป็นอมตะของสิ่งที่มีชีวิตอยู่ทั้งหลายจะต้องเป็นแหล่งเกิดและจุดเริ่มต้นของอำนาจทั้งปวง ดังนั้นสิ่งนั้นจะต้องมีอำนาจมากมาย และในเหตุผลเดียวกันนี้ จะต้องมีเชาว์ปัญญามากมายอีกด้วย สิ่งที่ไม่มีความคิดไม่สามรถที่จะสร้างสิ่งที่มีความคิดให้เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ดี เราอาจจะรับรู้พระเป็นเจ้าได้เราจะรับรู้พระองค์ในฐานะเป็นวัตถุไม่ได้แน่นอน ถ้าพระเป็นเจ้าทรงสร้างสิ่งที่มีความรู้ขึ้นมาพระองค์ก็สามารถที่จะสร้างสิ่งที่มีความดีขึ้นในจักรวาลได้บ้างเช่นกัน ซี่งพระเป็นเจ้าก็สามารถสร้างความรู้ทุกอย่าง มีอำนาจยิ่งและสามรถเป็นประจักษ์พยานได้จริงให้เกิดมีแก่พระองค์ได้เช่นกัน หากจะมีคำถามขึ้นว่า เราจะสามารถรับรู้พระเป็นเจ้าในฐานะที่พระองค์สามารถสร้างบางอย่างออกมาจากความว่างป่าวได้อย่างไรเล่า? ล็อคตอบว่าสามารถทำได้จริง เช่น คนเราสามารถรับรู้ได้บางสิ่งบางอย่างว่าความคิดสามารถสร้างความเคลื่อนที่ได้โดยวิธีใด และเราก็ไม่สามารถที่จะปฏิเสธได้เลยว่า ผลที่เกิดดังที่กล่าวมานั้นมันมีได้อย่างไร? และอาศัยวิธีใดบ้างผลที่เกิดจึงมีได้










จริยศาสตร์ (Ethics)


ในการประสานลัทธิประจักษ์นิยมทางปรัชญาโดยทั่วไปของล็อค เขาได้เสนอทฤษฎีประจักษ์นิยมในทางจริยศาสตร์ที่สิ้นสุดลงโดยรตินิยมทางอัตตา ไม่มีความจริงที่อาศัยการปฏิบัติและทางศีลธรรมที่เกิดขึ้นภายในแต่อย่างใดมากไปกว่าความจริงในทางทฤษฏีภายในเราอาจพินิศจัยทางศีลธรรมโดยไม่ต้องอาศัยกฎที่ตราไว้ในหัวใจ


มนุษย์ได้รับความรู้เกี่ยวกับกฎศีลธรรมและให้มีความสำนึกในหน้าที่ของตนเพื่อให้ทำตามกฎนั้น ในทำนองเดียวกันในกฎเช่นนั้น มนุษย์ต้องรู้สิ่งอื่นๆ อีกเพราะอาศัยประสบการณ์ ยิ่งกว่านั้นมนุษย์สามารถรู้กฎต่างๆ ทางการศึกษา สิ่งแวดล้อมและขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศของเขาด้วย เราปลูกฝังคำสอนในทางศีลธรรมเข้าไปในจิตใจของเด็กๆ ที่เราควรสงวนและเลี้ยงดูเขา กล่าวคือ เด็กๆ ของเราเมื่อเขาเจริญเติบโตขึ้นจะได้พบความเจริญที่มีอยู่ในจิตวิญญาณของเด็กและไม่สามารถจะเรียกร้องว่า ทำไมเราจึงได้รับการปลูกฝังศีลธรรมตั้งแต่เด็ก จะได้ตระหนักได้ว่าการที่เด็กมีกฎศีลธรรมได้เพราะอาศัยพระเป็นเจ้าและธรรมชาติเป็นผู้สั่งสมให้ จิตวิญญาณไม่ใช่อะไรอื่นแต่เป็นความคิดของเราในเรื่องความถูกต้องและความผิดในการกระทำของเราเอง เพื่อให้เกิดความรู้แจ้งในความรู้ทางศีลธรรมที่ตนปรารถนา จึงมีคำกล่าวไว้ว่า


“ถ้าจิตวิญญาณเป็นเครื่องพิสูจน์เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่มีอยู่ภายในจิตใจร่างกายก็อาจจะสร้างกฎเกณฑ์ให้มีในจิตใจได้เช่นกัน เมื่อเป็นเช่นนั้นคนบางคนที่มีความประพฤติโน้มไปในทางดี ก็สามรถหลีกเลี่ยงความประพฤติในทางที่ชั่วได้”


มีคำถามสอดเข้ามาว่า กฎทางจริยธรรมเช่นนั้นจะสั่งสมให้เกิดมีตั้งแต่แรกได้อย่างไร ความรู้เกี่ยวกับความถูกและความผิดจะมีได้อย่างไร? ล็อคกล่าวว่า “ความชอบใจและความเดือดร้อนอันเป็นทุกข์เป็นครูสอนที่ยิ่งใหญ่ในทางจริยธรรม” ธรรมชาติวางเกณฑ์ไว้ในมนุษย์ว่าให้ปรารถนาความสุขและหลีกเว้นความทุกข์ เหล่านี้เป็นความต้องการทางธรรมชาติหรือเป็นกฏที่ต้องปฎิบัติที่มีอิทธิพลในพฤติกรรมทุกอย่างของมนุษย์ แต่มนุษย์เรามีการโน้มเอียงในการที่ไม่เข้าใจในเรื่องความจริง เรามักจะเรียกร้องความดีอันเป็นสาเหตุให้เรามีความสุข หลีกเลี่ยงความชั่วเพราะเป็นสาเหตุแห่งความทุกข์ แน่ละทุกคนต้องหวังความสุขและปรารถนาให้ความสุขเกิดแก่ตน ความต้องการเช่นนี้ หรือสิ่งที่ไม่ก่อให้เกิดความสบายเป็นเครื่องตัดสินเจตจำนง ความสุขสุดยอดจัดเป็นความพอใจที่แท้จริงเราควรแสวงหาและความทุกข์จัดเป็นความเจ็บปวดแสนสาหัส รูปแบบความประพฤติที่แน่แท้จึงก่อให้เกิดความสุขและคุ้มครองสังคมทั่วไปได้และเป็นการสร้างผลกำไรให้แก่ตัวเอง พระเป็นเจ้าทรงรวมคุณธรรมและความสุขทั่วไปเข้าด้วยกัน และแนะให้ปฏิบัติในเรื่องคุณธรรมที่จำเป็นสำหรับสังคมให้มาก มนุษย์ค้นพบรูปแบบพฤติกรรมที่มีคุณธรรมและรวมไว้เพื่อเป็นกฎปฏิบัติต่อไป มนุษย์ได้รับผลดีสำหรับตนเองเพราะรักษากฎของศีลธรรม เพราะฉะนั้นจงช่วยกันสนับสนุนส่งเสริมศีลธรรมให้มากขึ้น


อาจจะไร้เหตุผลไปหน่อยที่ผู้มีสติปัญญากำหนดกฎเพื่อให้คนอื่นปฏิบัติ ถ้าเขาไม่มีอำนาจที่จะให้เขาปฏิบัติ และทำโทษผูละเลยไม่ปฏิบัติโดยอาศัยความดีหรือความชั่วบางอย่างที่ไม่เป็นผลลัพธ์โดยธรรมชาติที่เกิดขึ้นเพราะการกระทำของเขาเอง ไม่อาจจะจำเป็นต้องอาศัยกฎใดถ้าผลที่เกิดมาโดยธรรมชาติในการกระทำนั้นสามารถให้เกิดพลังขับที่เพียงพอในการชักนำเขา กฎของสังคมอาศัยเจตจำนงของมนุษย์เป็นเครื่องตัดสินมาการให้รางวัลและทำโทษแล้วแต่กรณี ความสุขและความทุกข์อันเป็นการให้รางวัลนั้นได้กำหนดขึ้นไว้โดยอาศัยเจตจำนงและอำนาจของผู้ปฏิบัติกฎ ถ้าว่าในเรื่องของกฎหมายจะมีกฎหมายอยู่สามชนิด คือ กฎหมายจากเทพเจ้า กฎหมายแพ่ง กฎหมายในเรื่องความคิดเห็นหรือเกี่ยวกับชื่อเสียง กฎหมายจากเทพเจ้าเป็นกฎหมายที่พระเจ้าได้ประทานมาเพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติของมวลมนุษย์ที่ประกาศให้มนุษย์ได้ทราบโดยแสงสว่างของธรรมชาติหรือแสงสว่างของวิวรณ์ก็ได้ พระเจ้ามีอำนาจที่จะผลักดันกฎหมายชนิดนี้ได้โดยการประทานรางวัลและการลงโทษที่สมควรแก่โทษานุโทษแม้ในชาติต่อไปก็ได้ กล่าวคือ กฎหมายหมายจากเทพเจ้าจึงเป็นพื้นฐานในหน้าที่และพื้นฐานของบาป กฎหมายแพ่งเป็นกฎหมายที่ออกโดยเครือจักรภพ โดยมีผลให้ได้รับความดีและถูกทำโทษตามกฎหมายได้ สำหรับกฎหมายแพ่งเป็นพื้นฐานทางความคิดเกี่ยวกับความผิดต่อศีลธรรมและมีเจตนาในการกระทำความผิดนั้น แต่จุดประสงค์สำคัญก็เพื่อให้มนุษย์สามารถปกครองตนเองได้ ถ้าอยู่กลุ่มเดี่ยวจะต้องอาศัยกฎที่สังคมนิยมกันหรือการถูกตำหนิส่วนตัว การยกย่องและการตำหนิอาจจะไม่ดีเพราะเป็นสาเหตุให้มนุษย์เราเคยชินต่อความคิดเช่นนั้นและต่อการปกครองบุคคลที่เราเกี่ยวข้องได้ ไม่มีใครที่ไม่เหตุด้วยกับกฎที่สังคมนิยมและความคิดของคนส่วนใหญ่โดยหลีกเลี่ยงการลงโทษผู้ไม่ชอบใจการตำหนิผู้ที่ตนพอใจ ในที่ทุกแห่งจะสอนคุณธรรมว่ามีคุณค่าควรยกย่องสรรเสริญและไม่มีสิ่งใดที่สังคมไม่ต้องการว่าเป็นคุณธรรม มนุษย์ควรเปรียบเทียบการกระทำของเขากับกฎหมายหรือกฎเหล่านี้ในเรื่องการเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับกฎนั้นๆ ว่าดีหรือไม่ดี บทลงโทษที่ถูกต้องเกี่ยวกับคุณธรรมเป็นเจตจำนงของพระเป็นเจ้า เจตจำนงและกฎของพระเป็นเจ้าย่อมสร้างแต่สิ่งที่เป็นกฎเกณฑ์ทางจริยธรรมทั้งนั้น


ส่วนใหญ่คุณธรรมและการไร้คุณธรรมจะมีอย่างเดียวกันทุกแห่ง และเหมือนกับกฎที่ไม่เปลี่ยนแปลงในเรื่องความถูกและความผิดที่สร้างขึ้นมาโดยอาศัยกฎของพระเป็นเจ้า การเชื่อมั่นต่อกฎของพระเป็นเจ้ามั่นคงและทำให้มนุษย์เจริญในความดีทั่วไป ดังนั้น ความเป็นมนุษย์มีเหตุผลจึงไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของตนเอง ในมุ่งหวังความถูกต้องและติเตียนความบกพร่อง


จริยศาสตร์ของล็อคอธิบายความหมายจริยศาสตร์ทางรตินิยมของกรีกโบราณ มีการอธิบายเพิ่มขึ้นอีกโดยเทววิทยาคริสต์ศาสนาบ้าง คุณธรรมจึงไม่ใช่อะไรอื่น แต่การทำความดีนั้นเองจะเป็นการกระทำแก่ตนเองหรือผู้อื่นก็ได้ ความชอบใจที่ดีที่สุดในชีวิตจะต้องมีสุขภาพดี ความมีชื่อเสียง การมีความรู้ การกระทำความดีและหวังต่อความสุขนิรันดรที่บุคคลบรรลุได้ยากยิ่งในปรโลก


ล็อคแสดงให้เห็นว่าคนเราสามารถจะนำเอาความรู้ทางจริยธรรมออกมาจากประสบการณ์ได้อย่างไร โดยเชื่อว่าเราสามารถเข้าถึงความรู้ดังกล่าวได้ทางเหตุผลอันเกิดจากกฎแรกที่แท้จริงทางสาธิตให้เห็นแจ้ง เป็นต้น ความจริงทางจริยธรรมก็เช่นเดียวกันกับความจริงในทางคณิตศาสตร์ เพราะเราสามารถให้เห็นชัดแจ้งตามสูตรนั้นๆได้


ความคิดในเรื่องสภาวะสูงสุด มีอำนาจไม่จำกัด มีความดีและมีปัญญาสูงสุด เราผู้มีความสามารถมีฝีมือมีศรัทธาต้องอาศัยคุณภาพเช่นนั้น และความคิดของเราทั้งหลาย เช่น ในเรื่องของความเข้าใจ ความมีเหตุผลจะมีได้ ถ้าเราพิจารณาติดตามอยู่เนืองๆ ตั้งมั่นอยู่ในหน้าที่ของเราเป็นนิตย์ และปฏิบัติหน้าที่ให้ถูกต้องโดยพยายามปลูกฝังจริยธรรมให้เกิดขึ้นในวิชาการต่างๆ จนสามารถสาธิตวิชาการนั้นๆ ได้ด้วยดี ที่ได้ไม่มีสมบัติ ย่อมไม่มีความอยุติธรรม ไม่มีรัฐบาลใดที่มีเสรีภาพสมบูรณ์ ความคิดของผู้มีหน้าที่ปกครองจะมีกฎที่แน่นอนหรือต้องอาศัยกฎหมายเพื่อต้องการให้ทุกคนมีความเห็นมีความประพฤติร่วมกันในทางที่ถูก ความคิดในเรื่องเสรีภาพสมบูรณ์จะมีอยู่เฉพาะผู้ที่ทำอะไรลงไปจนตนพอใจ


ล็อคยอมรับอัญรูปสามอย่างเรื่องความรู้ทางจริยธรรม ในคือเรามีความรู้ทางประจักษ์ที่รู้ว่าถูกและผิด ที่เป็นความรู้ที่สามารถแสดงให้เข้าใจได้และเป็นความรู้แบบวิวรณ์ที่ทุกคนเห็นชอบด้วย พระเป็นเจ้าจะจัดแจงหรือรังสรรค์ความรู้เช่นนั้นได้ มนุษย์ผู้มุ่งหวังความสุขในธรรมชาติของตนจะวิวัฒน์รหัสทางศีลธรรมเพื่อส่งเสริมความสุขของตน พระเป็นเจ้าทรงสามารถประสิทธิ์ประสาทให้มนุษย์มีเหตุผล เพื่อให้มีความสามารถได้รับความจริงทางจริยธรรมโดยอาศัยการสาธิต และในที่สุดมนุษย์เราจะสามารถเห็นแจ้งด้วยตนเองในพระคัมภีร์ว่ากฎหมายเช่นเดียวกันนี้จะเข้าถึงได้โดยประสบการณ์และเหตุผลนั่นเอง


เจตจำนงเสรี (Free Will)


ล็อคมีทรรศนะว่า เจตจำนงเป็นเรื่องของความคิด มิใช่เจตนาหรือสิ่งที่ตนชอบหรือไม่ชอบ สำหรับบุคคลย่อมจะมีพลังในการกระทำหรือบารมีในการกระทำในเรื่องที่จิตจะเลือกหรือชี้แนะได้ ล็อคมีความเห็นว่า เจตจำนงเสรีเป็นเรื่องไม่สำคัญนัก เพราะว่าเจตคติเกี่ยวกับเสรีภาพมีความสามารถเพียงพอสำหรับพลังของมนุษย์ที่จะปฏิบัติไม่เฉพาะสำหรับเจตนาของเขาเองเท่านั้น เราอาจจะพูดไม่ได้ว่าเจตนาของคนเรามีอิสระ เจตนาเป็นความสามารถชนิดหนึ่ง เช่น มีกำลังที่จะคิดว่าจะทำอะไรหรืออย่างไรหรือชอบทำอะไร เสรีภาพเป็นกำลังหรือความสามารถอีกชนิดหนึ่งในการจะกระทำหรือไม่กระทำหน้าที่ของตนโดยเฉพาะตามที่ตนเองปรารถนา ดังนั้น เมื่อมีคำถามว่า “เจตจำนงมีเสรีภาพหรือไม่?” คำตอบง่ายนิดเดียว นั่นคือ กำลังชนิดหนึ่งจะมีกำลังชนิดอื่นอีกได้หรือไม่? มนุษย์เรามีอิสระตราบเท่าที่เขามีกำลังที่จะคิดหรือไม่คิด ที่จะเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหวเป็นเรื่องที่เขาต้องการหรือจิตของเขาชี้แนะต่างหาก เมื่อไรที่คนเราไม่มีกำลังหรือไม่กระทำกิจกรรมบางอย่างต้องอาศัยการตัดสินใจหรือความคิดของจิต มนุษย์อาจไม่มีอิสระก็ได้ ดังนั้น ในบางครั้งการกระทำของเขาอาจจะทำโดยสมัครใจ อาจจะมีความไม่สบายใจบางอย่างที่มาตัดสินเจตนาซึ่งให้เราปฏิบัติหน้าที่ที่เราตั้งเอาไว้ก็ได้ ความไม่สบายใจหรือความไม่ชอบใจนี้คือกิเลสตัณหาอันเป็นเหตุให้ความดีงามไม่เกิดขึ้นในจิต ความไม่ชอบใจที่พระเป็นเจ้าได้ปลูกฝังให้แก่มนุษย์คือความหิวและความกระหายและความต้องการทางธรรมชาติอย่างอื่นๆ อีกมาก ในการจะปกป้องและตัดสินเจตนาทั้งหลายเพื่ออนุรักษ์ตนเองและสืบต่อชาติพันธุ์ให้เจริญรุ่งเรืองยาวนาน โดยธรรมชาติแล้วความไม่ชอบใจที่สำคัญที่สุดอยู่ที่เจตนาของเราและกิเลสตัณหา เพราะถ้าเราสามารถควบคุมเจตนาและกิเลสตัณหาได้ย่อมบรรลุความสุข สำหรับล็อคการเคลื่อนไหวนี้เองย่อมก่อให้เกิดความสุข ความต้องการและกำลังใจเมื่อมีความเกี่ยวข้องกับคนอื่น แต่ถ้าเรามีเจตจำนงเสรีแล้วจะไม่พบข้อบกพร่องใดๆ ในการกระทำของเรา


ปรัชญาทางการเมือง (Political Philosophy)


ทฤษฎีเกี่ยวกับการปกครองรัฐของล็อคไม่เห็นด้วยกับทรรศนะที่ว่า การปกครองที่ดีที่สุดคือการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินได้รับเทวบัญชาว่ามีอำนาจสมบูรณ์ และมนุษย์จะไม่มีสิทธิใดๆ ในเสรีภาพและความเสมอภาพกันทางธรรมชาติ ถ้าว่าโดยธรรมชาติแล้วทุกคนจะมีเสรีภาพเต็มที่ในการทำหน้าที่ของตน และกำหนดในการเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติที่มีอยู่ ภายใต้การผูกพันในทางกฎธรรมชาติจะต้องอยู่ที่เจตนาของผู้อื่นด้วยว่าเขามีสิทธิในการเป็นเจ้าของของเขาเพียงใดด้วย อีกประการหนึ่งมนุษย์ทุกคนจะต้องมีคุณภาพ ไม่มีมนุษย์คนใดมีอำนาจหรือวางอำนาจมากกว่าผู้อื่นได้ กฎธรรมชาติหรือเหตุผลสอนมนุษยชาติไว้ว่า ทุกคนเท่าเทียมกันและมีอิสรเสรี ผู้ใดผู้หนึ่งไม่ควรจะทำลายผู้อื่นในทางชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สมบัติ พื้นฐานทางปรัชญาของล็อคยึดอัตตานิยม กล่าวคือทุกคนมีสิทธิคุ้มครองตนเองและช่วยเหลืออื่นเมื่อการคุ้มครองที่เขามีอยู่อาจได้รับอันตรายในทางธรรมชาติทุกคนที่มีอำนาจที่จะทำโทษผู้ละเมิดกฎหมาย คุ้มครองผู้เยาว์ ห้ามปรามผู้รุกรานและได้รับการชดใช้ค่าเสียหายเมื่อถูกทำร้ายหรือได้รับความเสียหายไม่ว่ากรณีใดๆผู้ฝ่าฝืนกฎหมายอาจได้รับโทษให้หนักขึ้นเพื่อให้สาสมกับโทษที่เขาได้ประกอบนั้น


ฮอบส์กล่าวสมมติขึ้นว่า สภาวะธรรมชาติไม่ใช่เป็นสภาวะสงคราม แต่เป็นเรื่องของสันติ เจตจำนงที่ดีและการช่วยเหลือกันและกัน พระเป็นเจ้าทรงสร้างมนุษย์ขึ้นเพื่อให้ความสะดวกสบายและพยายามกระตุ้นให้เขาได้รับใช้สังคม และให้เขาได้เข้าใจและใช้ภาษาได้ถูกต้องเพื่อจะได้รับความสุข แต่ธรรมชาติยังมีความบกพร่องในการสร้างความมั่นคงและเข้าใจกฎซึ่งพินิศจัยด้วยความยุติธรรมเพื่อให้มีสิทธิ์และอำนาจในการตัดสิน เมื่อมีสิทธิ์ก็จะได้ลงโทษตามหน้าที่อันมีอยู่ เรามีสังคมการเมืองหรือพลเมืองที่ดีพึ่งปฏิบัติเมื่อมีประชาชนจำนวนมากรวมกลุ่มกันเข้าถ้าผู้ปกครองไม่สนใจอำนาจบริหารของตนภายใต้กฎธรรมชาติ โดยมอบให้แก่ประชาชนส่วนใหญ่ อาจจะเป็นคนบางกลุ่มหรือกลุ่มการเมืองบางกลุ่มอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองที่มีอำนาจสูงสุดเพียงกลุ่มเดียว ล็อคยอมรับว่าเป็นการให้แบบทฤษฎีที่จำกัดให้แคบลงเกี่ยวกับกำเนิดของสังคม ในทรรศนะของล็อคในเรื่องสัญญาประชาคม การปกครองแบบสมบูรญาณาสิทธิราชย์ก็คือ การแบ่งแยกสังคมให้เป็นฝักเป็นฝ่าย เพราะว่าหากผู้ปกครองยึดทั้งทางนิติศาสตร์และทางอำนาจบริหารแล้ว จะหาความยุติธรรมได้ยากยิ่ง จึงไม่มีการปกครองในระบบนี้เลย ในการปกครองแบบสมบูรญาณาสิทธิราชย์ การตัดสินคดีจะอยู่ในอำนาจของบุคคลคนเดียว โดยไม่มีใครจะได้รับการตัดสินด้วยอำนาจทางการเมืองวิธีอื่น ถ้าจะอาศัยความพอใจของแต่ละบุคคลหรือแต่ละกลุ่ม เมื่อประชาชนมีจำนวนมากขึ้นสามารถร่วมกันเป็นกลุ่มชน เพื่อให้เป็นไปตามเจตนาและการตัดสินตกลงใจของประชาชนส่วนมาก แต่หลังจากที่ได้รับก่อสร้างสังคมให้มีขึ้น ทุกคนจะต้องยอมตนอยู่ภายใต้ข้อตกลงที่ทุกคนในสังคมนั้นยอมรับตามกฎหรือการปกครองของส่วนรวม หลังจากมีสัญญาเรียบร้อยแล้ว จะไม่มีสัญญาอื่นอีกแม้ทุกคนละเลยต่อเสรีภาพและอยู่ภายใต้การผูกพันธ์ที่ว่านี้ นอกจากว่าจะมีสัญญามาผูกพันธ์ให้ทุกคนอยู่ตามสภาวะของธรรมชาติ ดังนั้น ความพอใจที่ทุกคนเห็นด้วยอาจจะเป็นไปไม่ได้ที่จะทำให้คล้ายคลึงกันกับที่ได้เคยตกลงดังที่เราได้เคยปฏิบัติมา ตามความจริงการปกครองที่ชาวโลกปฏิบัติกันอยู่ได้เริ่มต้นมีกฎในสมันบ้านเมืองสงบที่ทุกคนพอใจสร้างขึ้น


แต่ละคนพอใจที่จะสละเสรีภาพและอำนาจที่ไม่มีขอบเขต เพราะผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นไม่แน่นอนและเป็นการแสดงความก้าวร้าวของคนอื่นอีก กษัตริย์ส่วนมากเมื่อได้เห็นว่าทุกคนมีความเสมอภาคกัน และคนส่วนใหญ่ก็ไม่เคร่งครัดเอาใจใส่ในเรื่องความเสมอภาคแลความยุติธรรม การเสวยความสุขในเรื่องทรัพย์สมบัติที่พระองค์มีแล้วในรัฐก็ไม่ปลอดภัยไม่มีความมั่นคงอยู่แล้ว ถ้าหากไม่มีเจตนาจะมุ่งร้ายและเพื่อคดโกงบุคคลต่ำกว่า จะไม่มีความต้องการอื่นใดสำหรับสังคมนอกจากเป็นสภาวะธรรมชาติ จุดประสงค์อันยิ่งใหญ่และสำคัญก็เพื่อจะรวมประชาชนที่อยู่ในรัฐ เพื่อเป็นการพิทักษ์ชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สมบัติของประชาชนรวมกัน ดังนั้น อำนาจของสังคมจึงไม่ค่อยมีการขยายให้กว้างไกลไปกว่าความต้องการความดี


กฎธรรมชาติอันแรกและที่เป็นพื้นฐานที่ใช้ในการปกครองแม้แต่ในการคุ้มครองสิทธิตัวเองในทางกฎหมาย คือการพิทักษ์สังคม และตราบใดที่สอดคล้องกันได้กับความดีสาธารณะที่ทุกคนมีอยู่ กฎอันแรกและที่เป็นพื้นฐานของรัฐคือ การสร้างอำนาจให้ถูกต้องตามกฎหมายนั่นเอง อำนาจเช่นนี้ไม่เพียงให้สูงขึ้นอีก แต่ให้มีความศักดิ์สิทธิ์และเปลี่ยนแปลงได้ยาก เพราะชุมชนตกลงกันมาดีแล้ว การประกาศิตของผู้อื่นใดก็ไม่สามารถมีอำนาจและบังคับใช้เป็นกฎหมายได้ นอกจากจะได้รับอนุญาตใช้อำนาจทางกฎหมายนั้นโดยที่ประชาชนยอมตกลงใช้กัน แต่อำนาจทางกฎหมายไม่สามารถที่จะควบคุมและมีอำนาจเด็ดขาดสมบูรณ์เหนือความเป็นอยู่และโชคชะตาของประชาชน จำกัดไว้เพียงว่าจะมีการส่งเสริมให้สังคมทั่วไปมีความดีได้อย่างไร กฎธรรมชาติส่วนมากจะไม่ยุติแค่ในสังคมเท่านั้น ควรมีอำนาจในการปกครองต่อไปถึงทุกคนทั้งที่เป็นนักกฎหมายและบุคคลอื่น ดังนั้น อำนาจทางกฎหมายไม่มีสิทธิที่จะผูกมัด ทำลาย หรือมุ่งเจตนาที่จะทำให้บุคคลนั้นๆ เสื่อมเสียเกียรติใดๆ อีกประการหนึ่ง ไม่อาจจะสมมติอำนาจเพื่อการปกครองเพียงชั่วครู่ชั่วยามได้ การใช้ประกาศิตเผด็จการและเป็นการบัญชาอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่ต้องเป็นกฎหมายที่ถาวร ยิ่งกว่านั้นกฎหมายสูงสุดก็ยังไม่สามารถที่จะยึดทรัพย์สมบัติของใครมาเป็นของตนโดยที่เจ้าของเขาไม่พอใจ แม้แต่การเสียภาษีจะเก็บได้โดยความพอใจของคนส่วนใหญ่ สุดท้ายแม้แต่การสร้างกฎหมายหนึ่งเพื่อใช้แทนอีกกฎหมายหนึ่งก็ไม่สามารถจะทำได้


จึงไม่เป็นที่ชอบมาพากลที่ว่าผู้มีอำนาจในการออกกฎหมายอาจจะมีอำนาจในการตัดสินกฎหมายได้เอง อำนาจที่รวมเข้าด้วยกันเด็ดขาดมักเป็นอำนาจเกี่ยวกับสงครามและสันติภาพ อำนาจภายในสันนิบาตและสมาพันธ์ และในการทำสัญญาเกี่ยวกับการค้าขายกับบุคคลและหน่วยงานภายนอกราชอาณาจักร อำนาจในการรวมกลุ่มและในการบริหารส่วนใหญ่ให้เป็นเอกภาพและดีที่สุดที่แต่ละหน่วยงานจะนำไปใช้ในเรื่องการบริหารก็คือ การมอบอำนาจเกี่ยวกับการบริหารสูงสุดในทางกฎหมายนั้นเอง เมื่อรู้ถึงสาเหตุเช่นนี้ อำนาจทางกฎหมายอาจจะใช้อำนาจทั้งในทางบริหารและทางทำงานร่วมกันอาจไม่จำเป็นต้องนำตัวเราเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรงก็ได้ และอาจเป็นการบริหารที่ไม่ดีบางอย่าง เป็นอำนาจที่สูงสุดจริงแต่เป็นอำนาจเกี่ยวกับการมอบหมายหรือความไว้ใจ ที่จะต้องปฏิบัติอย่างเข้มงวดในการใช้กฎหมายนั้นเพื่อให้บรรลุจุดหมายที่กำหนดไว้อย่างแท้จริงในทฤษฎีของล็อค ประชาชนย่อมมีอำนาจสูงสุดที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขกฎหมายนั้นได้ หากพบว่าเมื่อปฏิบัติตามกฎหมายนั้นอาจจะขัดกับความเป็นจริง แต่ตราบใดที่การปกครองยังมีอยู่จะต้องมีอำนาจสูงสุดตามกฎหมายอยู่ตราบนั้น อำนาจที่จะเลือกใช้กฎหมายอยู่กับประชาชน ไม่ใช่อยู่ที่ผู้ปกครองและอยู่ที่ผู้เป็นตัวแทนที่ถูกต้องอันเป็นจิตวิญญาณของราชอาณาจักร อำนาจในทางกฎหมายจะเสนอตัวแทนขึ้นมาเพื่อเป็นการตัดสินว่า ในการปฏิบัติเช่นนั้นผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายได้ปฏิบัติขัดต่อความไว้วางใจที่ประชาชนได้มอบให้หรือไม่เพียงใด


ทฤษฎีทางการศึกษา (Theory of Education)



คล้ายกับปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายในยุคใหม่ ล็อคพบความบกพร่องในวิธีการสอนที่ได้ถ่ายทอดกันเรื่อยมาอันเป็นมรดกตกทอดมาจากลัทธิอัสสมาจารย์ และเสนอรายการแบบใหม่ทางการศึกษาโดยตั้งอยู่บนฐานจิตวิทยาประสบการณ์และจริยศาสตร์ของเขาเอง วิญญาณแต่แรกเกิดจะปราศจากกฏระเบียบทุกอย่างนอกจากความต้องการความสุขเท่านั้นและพลังในอันที่รับรู้ความตรึงตราต่างๆ จุดประสงค์ของการศึกษาจะต้องศึกษาโดยประสบการณ์และเพื่อให้มีความตระหนักในความสุขอย่างแท้จริงเพื่อจะบรรลุความสุขอันแท้จริงบางอย่าง ร่างกายที่มีสุขภาพที่สมบูรณ์และอายตนะอันเป็นประตูรับสัมผัสต้องดีย่อมเป็นสิ่งที่ปรารถนายิ่ง ร่างกายจะต้องได้รับการฝึกหัดอบรมด้วยความอดทนจนเป็นนิสัย ล็อคได้วางเงื่อนไขในการฝึกร่างกายไว้สำหรับเด็กๆ และตระหนักในการใช้ชีวิตในรูปแบบที่สันโดษ เด็กแต่ละคนจะต้องได้รับการพัฒนาในทางธรรมชาติ ดังนั้น จึงมีการสั่งสอนเฉพาะรายซึ่งจัดว่าเป็นเรื่องจำเป็น และพยายามจะเน้นเพื่อให้เห็นความสำคัญในบทเรียนที่กำหนดไว้แล้วการเรียนโดยการเล่นไปในตัว และหาวิธีส่งเสริมกิจกรรมเพื่อให้นักเรียนได้ใช้สมองในการคิด เพราะการศึกษาถือว่าเป็นการสร้างปัญญาหรือจุดแสงสว่างให้แก่นักเรียนนอกจากนี้แล้ว เปาหมายในทางสังคมทางการศึกษาต้องให้เกิดประโยชน์ นั่นคือเมื่อเยาว์วัยนักเรียนจะต้องได้รับการฝึกเพื่อให้เป็นสมาชิกที่มีประโยชน์ของสังคม วิธีสอนของล็อคเริ่มจากการศึกษาเพื่อให้เกิดความคิดกว่างไกลยิ่งกว่าอายุและอาณาเขตที่เขาอาศัย ล็อคย้ำเสมอว่าพละกำลังที่เสริมสร้างความรู้เพื่อให้ตระหนักในศรัทธายิ่งกว่าที่จะหวนระลึกถึงนักคิดในอดีต โดยพยายามเสนอให้มีจิตวิญญาณในยุคใหม่ มีความเป็นอิสระ และมีวิจารณญาณยึดมั่นในลัทธิปัจเจกนิยม มีความเป็นประชาธิปไตย มีจิตวิญญาณในการที่จะปรับปรุงแก้ไขหรือในการปฎิรูป และในการปฎิวัติทางการเมืองในศตวรรษที่ 16 และที่ 17 จนกระทั่งบรรลุสูงสุดในทางการให้ความรู้แจ้งชัดในศตวรรษที่ 18 ไม่มีปรัชญาเมธีสมัยใหม่ผู้ใดประสบความสำเร็จยิ่งไปกว่าการสร้างความตรึงตราในทางความคิดให้เกิดขึ้นในจิตและเป็นการสร้างอนุสรณ์มนุษย์อีกด้วย คำสอนของล็อคที่จัดว่ามีอิทธิพลมากเช่น ศาสนา ทฤษฎี ความรู้ จริยศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์


สรุป ญาณวิทยา อภิปรัชญา และจริยศาสตร์ ของจอห์น ล็อค


ญาณวิทยา (Epistemology)


ล็อคได้สร้างญาณวิทยาจากงานที่นิพนธ์ชื่อ An Essay Concerning Human Understanding งานชิ้นนี้ท่านได้ใช้เวลาค้นคว้าอยู่นานถึง 7 ปี จึงได้พบแนวทางว่าความรู้เกิดมาโดยไม่มีใครเป็นคนสร้าง หรือความรู้เกิดมาเพราะอาศัยประสาทสัมผัส ถึงคนจะมีจิต แต่จิตไม่มีความรู้มาตั้งแต่เกิด จิตมีความรู้หลังจากได้รับอารมณ์ภายนอกเข้ามาที่จิต ดังนั้น ความรู้ของล็อคจึงเกิดมาจากประสบการณ์ ข้อความต่อไปนี้เป็นตัวชี้ว่าท่านคือนักประสบการณ์นิยม


1. การเกิดกายและจิต


ถามว่า “จิต” เกิดมาจากไหนและ “ใคร” เป็นผู้สร้าง ล็อคตอบว่า “จิต” (Mind) เกิดมาพร้อมกับร่างกาย พระเจ้าเป็นผู้สร้างจิตและร่างกาย ท่านกล่าวว่า “พระเจ้าสร้างจิตและร่างกายโดยไม่ได้ใช้อะไรเลย เป็นสิ่งที่เกินอำนาจการเข้าใจของเราก็จริง แต่ถึงกระนั้นข้อความนี้ก็เป็นจริง” ล็อคบอกว่าพระเจ้าสร้างจิต แต่จิตเกิดมาพร้อมกับร่างกายนั้นเป็นของว่างเปล่า (blank tablet) หรือเหมือนกระดาษขาว (White paper) ไม่มีรอยเปรอะเปื้อนใดๆ เป็นจิตบริสุทธิ์ ไม่มีจินตภาพใดๆ ในจิตนั้น แต่พอเกิดขึ้นมาแล้ว จิตนั้นๆ ค่อยมีความนึกคิด ความรู้ ความเข้าใจตามมาทีหลัง


2. บ่อเกิดความรู้


ปัญหาก็ตามมาอีกว่าความคิดหรือความรู้เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ล็อคตอบว่า “ความคิดหรือความรู้ทุกอย่างได้มาจากประสบการณ์” ประสบการณ์คือบ่อเกิดของความรู้หรือความคิดหรือจินตภาพทุกอย่าง โดยอาศัยการสัมผัส (Sensation) ของอายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย สัมผัสกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ แล้วสร้างการรับรู้อารมณ์ การไตร่ตรอง หรือการรับรู้ภายใน เช่น การรับรู้สัมผัส ความคิด ความสงสัย การใช้เหตุผล เป็นต้น ล้วนแต่เกิดขึ้นสืบเนื่องมาจากประสบการณ์ทางผัสสะทั้งนั้น ล็อคพูดว่า ความสามรถอันดับแรกของจิตมนุษย์ก็คือ ความสามารถทางพุทธิปัญญา (Intellect) และความตรึงตรา (Impressions) จะเกิดตามมา หลังจากเกิดการสัมผัสหรือการทำงานประสานภายในของกลไกแห่งผัสสะนั้น ดังนั้น ความรู้ ความคิด หรือจินตภาพ จึงเกิดจากการสัมผัสนั้น


3. เกณฑ์ตัดสินความรู้


ล็อคปฏิเสธความรู้ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด (Innate ideas) ของเดส์การ์ต ท่านกล่าวว่าความรู้ทั้งหมดมาจากประสบการณ์ ปราศจากประสบการณ์เสียแล้ว ความรู้จะเกิดขึ้นไม่ได้ มนุษย์จะมีความรู้ก็ต่อเมื่อมนุษย์เกิดมาและมีประสบการณ์เท่านั้น ไม่มีความรู้ใดๆ ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่แรกเกิด จิตของมนุษย์เมื่อแรกเกิดก็เหมือนกระดาษขาว (White Paper) หรือกระดาษที่ว่างเปล่า (Blank tablet) ความคิด ความรู้สึก จินตภาพ ความมีเหตุผลจะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่ออายตนะภายในคือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ได้สัมผัสกับอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ เท่านั้น ถ้ามนุษย์มีความรู้ติดตัวมาตั้งแต่เกิด อย่างพวกเหตุผลนิยมกล่าวไว้ มนุษย์ทุกคนย่อมมีความคิด ความรู้สึก เหตุผล จินตภาพเหมือนกันหมด แต่ในชีวิตจริงไม่ได้เป็นอย่างนั้น มนุษย์เมื่อมีประสบการณ์อย่างไร เขาก็จะมีความรู้อย่างนั้น มนุษย์มีประสบการณ์ต่างกัน เขาก็จะมีความรู้ไปคนละอย่างไม่เหมือนกัน ดังนั้น ประสบการณ์จึงเป็นที่มาของความรู้และเป็นตัวตัดสินว่า ความรู้อะไรจริงความรู้อะไรไม่จริง เพราะความรู้อะไรที่ตรงกับประสบการณ์ก็ถือว่าจริง ความรู้อะไรที่ไม่ตรงกับประสบการณ์ก็ถือว่าไม่จริง เพราะฉะนั้นประสบการณ์จึงถือว่าเป็นตัวตัดสินความรู้ของคน


4. ขั้นจินตภาพ


ล็อคได้แบ่งจินตภาพของมนุษย์ออกเป็น 2 ระดับ โดยอาศัยประสบการณ์เป็นเกณฑ์ในการแบ่ง จินตภาพทั้ง 2 อย่างนั้น คือ


1.) จินตภาพเชิงเดี่ยว (Simple ideas)


เมื่ออายตนะภายในและอายตนะภายนอกสัมผัสกัน เรียกว่า “ผัสสะ” (Sensation) และจิตได้รับผัสสะอย่างเดียวกันซ้ำๆ กันโดยผ่านทางประสาทสัมผัส จิตนั้นก็จะชินต่อผัสสะอันนั้น และสามารถคาดการณ์และตัดสินได้ว่าประสบการณ์อย่างนี้ (Experience) ผัสสะ (Sensations) อย่างนี้ จะเกิดสิ่งนี้และอย่างนี้ขึ้น พฤติกรรมอย่างนี้เรียกว่า จินตภาพเชิงเดี่ยว


2.) จินตภาพเชิงซ้อน (Complex ideas)


เมื่อจินตภาพเชิงเดี่ยวอันเดียวกันเกิดขึ้นซ้ำๆ กัน หลายครั้งและหลายๆ จินตภาพก็จะเกิดการเปรียบเทียบจินตภาพเชิงเดี่ยวเหล่านั้น จิตมองเห็นความสัมพันธ์ (Relation) ของจินตภาพทั้งหลายเหล่านี้โดยการเปรียบเทียบ ก็จะเกิดความคิดหรือจินตภาพเชิงซ้อนขึ้น ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่า “ความรู้ของมนุษย์” ก็คือจิตมองเห็นจินตภาพหลายๆ อย่างและแตกต่างชนิดกันมาสัมพันธ์กัน จินตภาพที่มาสัมพันธ์กันนี้ บางอย่างก็ยอมรับได้ บางอย่างก็ยอมรับไม่ได้


5. ความคิด


ล็อคกล่าวว่า “ความคิด” เกิดขึ้นในจิตของบุคคลก็ต่อเมื่อคนนั้นๆ ได้มีประสบการณ์ก่อน ถ้าไม่มีประสบการณ์ก่อน จะเกิดความคิดขึ้นมาไม่ได้ ดังนั้น ท่านจึงแบ่งประสบการณ์การณ์ออกเป็น 2 อย่าง คือ


1.) ผัสสะ


คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการกระทบกันระหว่างอายตนะภายใน คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และอายตนะภายนอก คือ รูป เสียง กลิ่น รส ผัสสะ ความรู้ที่เกิดขึ้นโดยวิธีการอย่างนี้ ได้แก่ ความรู้โดยตรง


2.) มโนภาพ


คือ ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในจิต โดยเขาเอาความคิดต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์ของอายตนะทั้ง 2 นั้นมาครุ่นคิด แล้วเกิดมโนภาพตามมาทีหลัง ความรู้โดยวิธีการอย่างนี้ เรียกว่า ความรู้โดยอ้อม เพราะเกิดจากการครุ่นคิดตรึกตรอง


6. ความรู้


ล็อคเชื่อว่าบ่อเกิดของความรู้ก็คือประสบการณ์ ไม่มีประสบการณ์เสียแล้วความรู้ก็เกิดขึ้นมาไม่ได้ เพราะมีความเชื่อมั่นอย่างนี้ ล็อคจึงได้แบ่งความรู้ออกเป็น 5 อย่าง คือ


1.) ความรู้ทางผัสสะ (Sensitive Knowledge)


เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นทางประสาทสัมผัส รู้เฉพาะหน่วย ไม่สัมพันธ์กัน ความรู้เฉพาะหน่วยนี้เราเรียกว่า “จินตภาพเชิงเดี่ยว” (Simple ideas) มันเป็นจริงโดยไม่ต้องพิสูจน์ ใช้เป็นความรู้พื้นฐานสำหรับพิสูจน์สิ่งอื่นๆ และหากพิสูจน์ได้อย่างสมเหตุสมผล ก็ชื่อว่าผลสรุปนั้นต้องจริงเสมอไป เช่น ปากกาอันนี้ สมุดแผ่นนี้ ตึกหลังนี้ ต้นไม้ต้นนี้ เป็นต้น แต่เมื่อจินตภาพเชิงเดี่ยวเกิดขึ้นซ้ำกันหลายครั้ง ในชนิดเดียวกันก็จะเกิดจินตภาพเชิงซ้อน (Complex ideas)


2.) ความรู้น่าจะเป็น (Probable Knowledge)


ความรู้ชนิดนี้เป็นจินตภาพเชิงเดี่ยวเช่นกัน ไม่สามารถมีประสบการณ์โดยตรงกับมันได้ ถึงกระนั้น มันก็สำคัญและมีประโยชน์ ควรรับไว้เป็นความรู้ขั้นสมมติฐาน และใช้เป็นความรู้พื้นฐานได้ อย่างไรก็ตามหากใช้มันเป็นมูลบทในการพิสูจน์ ถึงจะพิสูจน์ออกมาว่าสมเหตุสมผล แต่พึงระลึกเสมอว่าผลของมันก็คือ “มีค่าน่าจะเป็น” เท่านั้น ไม่สามารถจะยืนยันลงไปร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ เช่น แสงเดินตรง โลกหมุนรอบดวงอาทิตย์เป็นวงกลม ดวงอาทิตย์หมุนรอบตัวเอง ความโน้มถ่วง (Gravity) เป็นต้น


3.) ความรู้โดยการพิสูจน์ (Demonstrative Knowledge)


เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการพิสูจน์ โดยใช้หลักตรรกวิทยากับจินตภาพที่มีอยู่ก่อนเพื่อหาความรู้ แต่ต้องดำเนินการตามหลักของตรรกวิทยาทุกอย่าง ความรู้ที่ได้จึงจะน่าเชื่อถือ หากจินตภาพที่นำมาพิสูจน์เป็นเพียงสมมติฐาน ความรู้ที่เกิดจากการพิสูจน์ก็มีค่าแค่น่าจะเป็นเท่านั้น เพราะฐานที่มาของความรู้ไม่แน่นอน เช่น ความรู้ที่ได้มาจากการพิสูจน์แบบวิทยาศาสตร์ เป็นต้น


4.) ความรู้แบบอัชฌัตติกญาณ (Intuitive Knowledge)


เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการสัมพันธ์ระหว่างจินตภาพเชิงเดี่ยวตั้งแต่ 2 ครั้งขึ้นไป และไม่ต้องอาศัยสิ่งอื่นๆ มาช่วยเหลือ ได้เข้าใจจินตภาพเชิงเดี่ยวนั้นๆ ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ กัน ก็จะเข้าใจความสัมพันธ์อันนั้นได้โดยอัตโนมัติ เรียกว่า จินตภาพเชิงซ้อน เช่น 4 น้อยกว่า 6, 5 มากกว่า 3 แดงย่อมไม่เขียว ไม้เหลี่ยมย่อมไม่กลม เป็นต้น “ความรู้ประเภทนี้เชื่อได้ว่าจริง เพราะคนเห็นพ้องกันว่าไม่มีทางเป็นอย่างอื่นไปได้”


5.) วิวรณ์ (Revelation)


เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากการเปิดเผยของพระเจ้า เป็นความรู้ทางศีลธรรมและศาสนา ซึ่งมนุษย์ธรรมดาไม่สามารถจะรู้ได้ว่าจริงหรือไม่จริง เพราะมันเกินวิสัยของเขาจะทำได้ แต่ถ้ามีหลักฐานชัดเจนว่า พระเจ้าได้เปิดเผยไว้ ก็ถือได้ว่าความรู้นั้นเป็นจริง อย่างไรก็ตาม ความรู้ที่เกิดขึ้นจากการวิวรณ์นี้ ล็อคบอกว่ายังสามารถใช้หลักตรรกวิทยามาพิสูจน์หาความรู้เพิ่มเติมได้เพื่อให้เกิดความรู้ที่น่าเชื่อถือมากขึ้น


ล็อคเชื่อว่า ความรู้ที่เกิดขึ้นโดยผ่านประสบการณ์ และใช้มูลบทไปพิสูจน์ด้วยวิธีการทางตรรกวิทยาของฝ่ายเหตุผลนิยม ความรู้ที่ได้ก็น่าจะมีความเชื่อถือมากยิ่งขึ้น แต่ความรู้ทางศีลธรรมและศาสนา มนุษย์ไม่สามารถมีประสบการณ์ได้ ต้องอาศัยการเปิดเผยจากพระเจ้าเป็นมูลบท แล้วนำไปพิสูจน์ตามหลักของตรรกวิทยา ก็จะได้ความรู้เพิ่มเติมดีกว่าที่จะปฏิเสธความรู้ชนิดนี้

อภิปรัชญา (Metaphysics)


เมื่อมองดูบริบทความคิดทางอภิปรัชญาของล็อค จะเห็นว่ามีประเด็นสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ สารัตถะของโลก ภาวะของพระเจ้า และการพิสูจน์ภาวะนั้น ซึ่งประเด็นหลังนี้ล็อคได้พิสูจน์ให้เห็นว่า พระเจ้ามีอยู่อย่างไร ดังนั้น ความคิดทางอภิปรัชญาของท่านจึงขอแยกกล่าวไว้ 3 ประการ คือ


1. สารัตถะของโลก


ล็อคมีความคิดทางอภิปรัชญาคล้ายคลึงกับเดส์การ์ต กล่าวคือ ท่านกล่าวว่าโลกประกอบด้วยสารัตถะ (Substance) 2 อย่าง ทั้ง 2 อย่างนี้เป็นสัตและมีความจริงแท้ สารัตถะทั้ง 2 อย่างนั้นคือ


1.) ร่างกาย (Bodies)


ร่างกายถือว่าเป็นสารัตถะอันสำคัญยิ่งอันหนึ่ง มีคุณสมบัติคือ การแผ่กว้าง การกินที่ ทึบ และมีพลังแห่งการเคลื่อนไหว คุณสมบัติเหล่านี้สามารถรับรู้ได้โดยผัสสะที่ผ่านมาทางอายตนะทั้ง 6 คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ดังนั้น ร่างกายล็อคจึงถือว่าเป็นสารัตถะอันเป็นส่วนประกอบสำคัญของโลก


2.) วิญญาณ (Souls)


ล็อคถือว่าวิญญาณคือสารัตถะที่สำคัญอีกอันหนึ่ง เป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้นมาคุณสมบัติของมันก็คือ การคิดหรืออำนาจแห่งการรับรู้ (Perception) และเจตจำนงหรืออำนาจแห่งการตั้งอยู่กับกายในความเคลื่อนไหว มนุษย์สามารถรู้คุณสมบัติทั้ง 2 อย่างนี้ด้วยการไตร่ตรอง (Reflection) จะไม่สามารถรู้ได้โดยวิธีการอื่นๆ


2. ภาวะของพระเจ้า


ล็อคถือว่าพระเจ้าคือวิญญาณบริสุทธิ์ (Pure spirit) วิญญาณสูงสุด (Ultimate spirit) และเป็นบ่อเกิดของวิญญาณทั้งหลาย (Source of all spirits) สภาพของพระองค์เป็นกรรตุภาวะ กล่าวคือ พระองค์เป็นผู้ผลิตอย่างเดียว พระองค์ไม่ถูกผลิตจากสิ่งอื่นๆ ดังนั้น ภาวะของพระองค์จึงเป็นสยัมภู และเป็นนิรันดรภาพ (Eternal)


ล็อค กล่าวว่า “วัตถุทั้งหลาย (Matters) เป็นกรรมภาวะอย่างเดียวเพราะเป็นสิ่งที่พระเจ้าสร้างขึ้น มันไม่สามารถเกิดขึ้นมาเองได้อย่างพระเจ้า ฉะนั้น มันจึงเป็นเพียงกรรมภาวะส่วนวิญญาณของมนุษย์เป็นทั้งกรรตุภาวะและกรรมภาวะทั้งสอง” ที่บอกว่าเป็นกรรตุภาวะ ล็อคให้เหตุผลว่า มนุษย์มีจินตภาพเกี่ยวกับอำนาจของการเคลื่อนไหวในตัววิญญาณเองชัดเจนมากกว่าในร่างกาย เพราะการคิดการรับรู้ง่ายกว่าการแผ่กว้างของร่างกายและที่บอกว่าเป็นกรรมภาวะ ล็อคพูดว่าเพราะพระเจ้าสร้างวิญญาณของมนุษย์และมันมาเกี่ยวพันกับร่างกายทำให้ร่างกายเคลื่อนไหวได้ เพราะเหตุนี้ วิญญาณของมนุษย์จึงเป็นกรรตุภาวะ และกรรมภาวะ


ล็อค อธิบายว่า ความคิด (Thought) ไม่ใช่แก่นแท้ (Essence) ของวิญญาณ มันเป็นเพียงบทบาท (Role) เท่านั้น แก่นแท้ของวิญญาณก็คือจินตภาพ (Ideas) (จินตภาพ คือภาพที่เกิดขึ้นจากความคิด) ล็อคหมายถึงการคิดไตร่ตรองตามลำดับการทำงานของจิต เช่น การคิด การเข้าใจ เจตจำนง การรับรู้ และอำนาจแห่งการเคลื่อนไหว เป็นต้น ดังนั้น การคิดโดยปราศจากการไตร่ตรอง (Examination) และไม่มีเจตจำนงอยู่ (Will) ก็ไม่ถือว่าเป็นจินตภาพ อย่างไรก็ตาม ทั้งวิญญาณและสสาร ล็อคถือว่าเป็นสัตที่แท้จริง (Real being) วิญญาณเป็นพื้นฐานการรับรู้ การคิด การรู้สึกและเจตจำนง เป็นต้น ส่วนสสารเป็นฐานของวิญญาณ (สสารมีใจครอง) และเป็นสสารที่มีอยู่ทั่วๆ ไป ซึ่งไร้ใจครอง


3. การพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้า (Proofs of God)


ล็อคเป็นนักประสบการณ์นิยม การจะยืนยันสิ่งใดว่ามีหรือไม่มีจะต้องพิสูจน์ให้เห็นได้โดยการใช้ประสบการณ์ วิธีพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้าของล็อคก็คือ


1.) มีคำถามว่า ล็อคมีวิธีพิสูจน์ความมีอยู่ของพระเจ้าอย่างไร ต่อคำถามนี้ ท่านอธิบายว่า “มนุษย์รู้อยู่ว่า ตัวเองมีอยู่จริง จะต้องมาจากสิ่งที่มีอยู่จริง เพราะถ้าเมื่อตัวเองมีอยู่จริง สิ่งที่ไม่มีอยู่จริง จะสร้างสิ่งที่มีอยู่จริงได้อย่างไร ดังนั้น การที่มนุษย์มีอยู่จริงก็แสดงว่า ผู้สร้างมนุษย์คือพระเจ้าก็มีอยู่จริงด้วย” ปราศจากผู้สร้างเสียแล้ว สิ่งที่ถูกสร้างจะปรากฏและมีอยู่ได้อย่างไร


2.) เมื่อมนุษย์รู้ว่าตัวเองเป็นผู้ถูกสร้าง ผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้างจะเป็นสิ่งเดียวกันไม่ได้ ผู้สร้างย่อมเป็นบ่อเกิด เป็นต้นตอของสิ่งที่ถูกสร้าง สิ่งที่ถูกสร้างก็คือผู้อิงอาศัยเกิดจากผู้สร้าง ดังนั้น มนุษย์คือสิ่งที่ถูกสร้าง พระเจ้าก็คือผู้สร้างนั่นเอง


3.) ผู้สร้างสิ่งใดๆ ได้ ย่อมเป็นผู้มีปัญญาเฉลียวฉลาด มีอำนาจ มีเหตุผลจึงจะคิดสร้างสิ่งนั้นๆ ได้ ยิ่งผู้สร้างสิ่งที่มีความคิด มีเหตุผล มีความฉลาดเช่นมนุษย์แล้ว ผู้สร้างยิ่งเป็นผู้มีพุทธิปัญญาสูงส่ง ฉลาดรอบคอบ และมีเหตุผลสมบูรณ์ ดังนั้น ผู้มีคุณสมบัติอย่างนี้ก็คือพระเจ้า


ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้คือการพิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้า จะเห็นว่าล็อคได้พิสูจน์การมีอยู่ของพระเจ้าโดยหลักตรรกวิทยานั่นเอง อย่างไรก็ตาม ล็อคยืนยันสัตที่มีอยู่จริง 3 อย่าง คือ สสาร จิต และพระเจ้า เพราะสัตทั้ง 3 ประการนี้สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส อย่างไรก็ตาม ท่านยืนยันสัตทั้ง 3 ว่าเป็นสัจภาวะเท่าๆ กันว่า สสารบวกกับการเคลื่อนไหวไม่สามารถจะเข้าใจว่าเป็นการเกิดใจ ทั้งใจและสสารเป็นอมตะเท่าๆ กัน


จริยศาสตร์ (Ethics)


ทฤษฎีทางจริยศาสตร์ของล็อคตั้งอยู่บนพื้นฐานของประสบการณ์ คือ สิ่งที่รับรู้ว่าสุขหรือทุกข์ ดีหรือชั่ว ไม่ใช่สิ่งที่อยู่นอกเหนือไปจากประสาทสัมผัส ทฤษฎีจริยศาสตร์ของล็อค จึงเป็นสุขนิยมเชิงอัต (Egoistic Hedonism) เพราะพูดถึงความสุขของปัจเจกบุคคลและสาธารณชนด้วยการสัมผัสเท่านั้น ไม่ใช่ความสุขหรือความทุกข์ที่เป็นอัชฌัตติกญาณ (การที่จิตเกิดความรู้แจ่มแจ้งชัดเจนโดยตรง ไม่ต้องอาศัยการอ้างเหตุผลหรือความรู้อันเป็นตัวกลาง)


ความดีและความชั่วคืออะไร จากปัญหานี้ ล็อคกล่าวว่า “ความดี” คือ การกระทำที่ก่อให้เกิดความสุขแก่ตัวเอง มนุษย์เรียกสิ่งที่ก่อให้เกิดความสุขว่าความดี อะไรก็ตามที่ก่อให้เกิดความสุขและไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนทีหลัง ก็ถือว่าเป็นความดีทั้งนั้น ในทางตรงกันข้าม “ความชั่ว” คือ ความทุกข์ทรมาน ความเจ็บปวด ความเดือดร้อน ล็อคถือว่าเป็นความชั่ว เพราะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้กระทำ เขาเดือดร้อนจากการกระทำของเขาเองหรือเขาเจ็บปวดจากการกระทำของผู้อื่นซึ่งเกี่ยวกับเขา ก็ถือว่าเป็นความชั่ว อะไรคือเกณฑ์ตัดสินความดีความชั่ว ล็อคกล่าวว่า มาตรการตัดสินความดีความชั่วอยู่ที่หัวใจมนุษย์ มนุษย์เป็นเครื่องวัดและตัดสินทุกอย่างโดยตัวของมนุษย์เอง ดังนั้น ดีหรือชั่วจึงขึ้นอยู่ที่ใจมนุษย์เป็นผู้พิจารณาแล้วตัดสิน


ล็อคกล่าวว่า โดยธรรมชาติแล้วมนุษย์ไม่ต้องการกฎเกณฑ์ใดๆ มาควบคุมตัวเองแต่ถ้ากฎเกณฑ์นั้นๆ มันก่อให้เกิดความพึงพอใจ ความสุขหรือให้คุณแก่มนุษย์ในสังคม เขาก็ต้องการมัน ดังนั้น ล็อคแบ่งกฎเกณฑ์ออกเป็น 3 อย่าง คือ


1. กฎของสวรรค์ (Divine Law)


กฎข้อที่ 1 หมายถึง กฎที่พระเจ้าประทานมาให้เพื่อให้มนุษย์ได้ประพฤติปฏิบัติตามโดยรางวัลและการลงโทษเป็นสิ่งตอบแทนในโลกนี้และโลกหน้า หลังจากที่บุคคลคนนั้นตายไปแล้ว การประทานกฎเกณฑ์นี้มาให้ พระองค์ประทานโดยแสงแห่งธรรมชาติหรือเสียงแห่งการวิวรณ์ (Revelation) อย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้ง 2 อย่างก็ได้ และพระองค์ทรงมีอำนาจบังคับให้คนปฏิบัติตาม ถ้าใครฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษอย่างใดอย่างหนึ่ง


2. กฎของประชาชน (Civil Law)


กฎข้อที่ 2 หมายถึง ข้อตกลงที่มนุษย์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมีหลักการร่วมกัน โดยการวางกติกาสังคมเอาไว้เพื่อผลประโยชน์ร่วมกัน เน้นหนักทางการปฏิบัติ ใครจะละเมิดข้อตกลงต้องมีการลงโทษตามโทษานุโทษที่ตกลงกันนั้น กฎในข้อนี้นอกจากหวังความสงบสุขสังคมเป็นพื้นฐานแลัว ยังเป็นปัจจัยเอื้อความสุขในโลกหน้าด้วย


3. กฎสากล (Law of Opinion)


กฎข้อที่ 3 นี้ หมายถึง กฎที่คนทั่วโลกยอมรับว่าผิดหรือถูกร่วมกัน เช่น การฆ่าคน เป็นต้น มนุษย์ชาติไหนๆ ก็ยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ผิด เพราะถ้าไม่ถือว่าผิด มนุษย์ก็จะฆ่ากันและกันแล้วเกิดการโกลาหลไปทั่ว การฆ่ากันจึงมีการตำหนิ (นิคคัยหะ) และจับไปพิจารณาโทษตามกติกาของสังคมนั้นๆ ส่วนการเสียสละทรัพย์ของตนเองเพื่อกลุ่มชนหรือเพื่อคนใดคนหนึ่ง โดยหวังด้วยใจบริสุทธิ์ที่จะสงเคราะห์เขาให้พ้นจากการเดือดร้อนถือว่าเป็นสิ่งที่ดี บุคคลนั้นย่อมได้รับการยกย่อง (ปัคคัยหะ) การกระทำใดๆ ก็ตามที่สอดคล้องกับความคิดของคนส่วนใหญ่ในสังคม ล็อคเรียกว่า “กฎสากล” และท่านพูดว่าไม่มีใครที่ทำผิดต่อกฎสากลแล้ว จะรอดพ้นจากการลงโทษโดยการเกลียดชังหรือดูหมิ่นของคนส่วนมาก ดังนั้น การยกย่องและตำหนิของคนส่วนใหญ่จึงถือว่าเป็นกฎสากล





















ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น