วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประกอบการนำเสนอเรื่อง ภิกษุณี วิชาพุทธศาสนาในประเทศไทย (อ.ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์)

สัมภาษณ์ภิกษุณีธัมมนันทา

ประกอบการนำเสนอเท่านั้น!!!!!!! 

มิได้มีเจตนาล้อเลียนแต่อย่างใด

 พิธีกร สัมภาษณ์ นางสาวพัณณิตา พวงทับทิม 53020095 (รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว)


55555555555555

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การศึกษาของคณะสงฆ์ไทย

ความเป็นมา รูปแบบ และเป้าหมายการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย

๑. ความเป็นมาของการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย
  
        การศึกษาของคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้น ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันเพ็ญเดือน ๘ ของทุกปีที่ ๔๕ ก่อนพุทธกาล ขณะที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับรอยธรรมจักรด้วยการแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี จนได้บังเกิดพระอริยเจ้าผู้ได้รับการพัฒนาจนข้ามพ้นขีดขั้นของการศึกษาทั้งปวงที่มีอยู่ในโลก มาสู่ฝ่ายโลกุตระเป็นท่านแรกนับจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อลองเปรียบเทียบจากนิยามของการศึกษา จะพบว่ามีนักการศึกษาได้ให้นิยามไว้หลากหลายแต่คล้ายคลึง เช่น เพลโต้ ได้กล่าวว่า การศึกษา คือ การค้นหาความจริงแท้ซึ่งเป็นสิ่งสากล เป็นสัจจะและมีความเป็นนิรันดร์ หรือ จอห์น ดิวอี้ นักการศึกษาสมัยใหม่ได้นิยามการศึกษาไว้ว่า การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม การศึกษา คือ ขบวนการทางสังคม การศึกษา คือ ชีวิต ทางฝ่ายนักการศึกษาไทย ก็มองการศึกษาไม่ได้แตกต่างกันนัก โดยให้ความหมายว่า การศึกษา คือ ความเจริญงอกงามของชีวิต คือ กระบวนการกำจัดอวิชชาสำหรับมนุษย์ เป็นการนำความกระจ่างสู่จิตและทำให้เกิดปัญญา จนกระทั่งการศึกษา คือ การทำให้มนุษย์เป็นผู้ถูกต้องและสมบูรณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสติปัญญา มีวิชาชีพ และมนุษยธรรมตลอดถึงการกำจัด ราคะ โทสะและโมหะ จากข้อมูลเหล่านี้อาจสรุปได้ว่า การศึกษา คือ การพัฒนาชีวิตให้เจริญงอกงามถึงขีดสุดด้วยการกำจัดราคะ โทสะและโมหะ เพื่อนเข้าถึงความจริงแท้ซึ่งเป็นสัจจะ และมีความเป็นนิรันดร์ เมื่อมองการศึกษาโดยความหมายนี้ก็จะสามารถนำสวมทับกับความหมายของการพัฒนาจนเข้าถึงโลกุตระในฝ่ายพระพุทธศาสนาได้อย่างมีเหตุมีผล ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการศึกษาในพระพุทธศาสนา ได้เริ่มต้นขึ้นนับตั้งแต่มีผู้สามารถพัฒนาตนเองจนเข้าถึงโลกุตรธรรมได้ ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็เป็นการรับรองคำกล่าวที่ว่า “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการศึกษา” เพราะศาสนาพุทธนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการศึกษานั่นเอง

การปกครองคณะสงฆ์ไทย


การปกครองคณะสงฆ์ไทย
(Thai Songha Administration)
การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยกรุงสุโขทัย
ก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย พระเจ้าปรักกมพาหุ ขึ้นครองราชย์ในประเทศลังกา พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการทำสังคายนาครั้งที่ ๗ ขึ้น  พระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองในประเทศลังกาทั้งด้านการศึกษา การปฏิบัติธรรม กิตติศัพท์เลืองลือไปถึงประเทศพม่า พระสงฆ์จากเมืองพุกามและพระสงฆ์ชาวมอญได้เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัย และได้อุปสมบทใหม่ในคณะสงฆ์ลังกาและได้พาพระสงฆ์จากลังกา กลับมายังเมืองพุกามและเมืองมอญ ตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นในประเทศพม่า
ต่อมาพระสงฆ์ชาวลังกาชื่อ ราหุล ได้จาริกจากเมืองพุกามมาตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราชและได้เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชน
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง คนไทยเป็นอิสระมากขึ้น ทางตอนเหนือเกิดอาณาจักรล้านนา ทางใต้เกิดอาณาจักรสุโขทัย  สุโขทัยได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนาจากอาณาจักรศรีวิชัยโดยมีพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์จากศรีลังกา มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรศรีวิชัย

บทวิเคราะห์ ภิกษุณี (สรุปจากพุทธศาสนาไทยในอนาคต)



บทวิเคราะห์ ภิกษุณี (สรุปจากพุทธศาสนาไทยในอนาคต)



      สาเหตุสำคัญที่ปิดโอกาสไม่ให้ผู้หญิงบวชภิกษุณีได้ก็คือ เหตุผลทางด้านพระธรรมวินัย คือ ภิกษุณีบวชได้ต้องมีสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ พระสงฆ์ ๕ รูป ภิกษุณี ๕ รูป รองรับ แต่ภิกษุณีขาดสายไปนานแล้ว จึงทำให้ไม่ครบองค์ บวชตาม พระวินัยได้
         ทางออกฝ่ายสนับสนุนภิกษุณี อาศัยภิกษุณีสงฆ์ที่ไต้หวันมาทำพิธีอุปสมบทแบบเถรวาท ทำให้มีสงฆ์ครบทั้ง  ๒ฝ่าย จึงถือว่าภิกษุณีบวชถูกต้องตามพระวินัยแต่ไม่เป็นที่ยอมรับของชาวพุทธส่วนมากรวมถึงมหาเถรสมาคม

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เต๋า มีลักษณะอย่างไร ทุกแง่มุม

   เต๋า มีลักษณะอย่างไร ทุกแง่มุม
                1.เต๋าคืออะไร
เต๋า
ทาง (Wayเส้นทาง” (Pathถนน (Road) หรือวิถี (ทางที่ไร้หนทาง วิถีที่ปราศจากวิถี
ทางโลก
ทางที่และเห็น บรรลุถึงจุดหมายได้
ทางที่ยิ่งใหญ่
มีอยู่จริง ไปไม่ได้ด้วยการเดิน ตัวหนทางนั้นเองเป็นจุดหมาย ตัวเรานั้นคือทางสายนั้น
สมมุติว่าเราโดนมีดบาด           เราสามารถอธิบายได้ไหมว่าเจ็บอย่างไร นอกจากเคยมีประสบการณ์

มันเป็นสิ่งที่เป็น นามธรรม ไม่กินพื้นที่ เป็นอะไรก็ได้ที่อยากเป็น
ทำไมเรามีแฟนหลายคนเพราะเราสงสัยว่าที่มีอยู่ มันดีจริงหรือเปล่า เมื่อถึงจุดอิ่มเราก็ไม่สงสัยแล้ว เราก็จะหยุด ไม่ต้องเดินแต่ถึงที่สุดแล้ว

จุดเริ่มต้นกับสิ้นสุด คือ จุดเดียวกัน ตรงกับปรัชญา ซาร์ต เพราะทุกคนเกิดจากจิตที่ว่างเปล่า
จุดเริ่มต้นกับสิ้นสุด อยู่ที่ ตัวเรา สูงสุดคืนสู่สามัญ
เมื่อเราจบเส้นทางนั้นแล้วเราก็จะมีความสุข

สรุปปรัชญาฮั่นเฟ่ยจื้อ


สรุปปรัชญาฮั่นเฟ่ยจื้อ

 สรุปใจคความสำคัญของปรัชญาฮั่นเฟ่ยจื้อก็คือ เขาต้องการให้พลเมืองมีความสุข สังคมเป็นระเบียบ ประเทศมั่นคงและมั่งคั่ง การที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้รัฐจะต้องดำเนินการต่อไปนี้
 ๑. แต่งตั้งให้มีฮ่องเต้หรือกษัตริย์เป็นผู้นำของรัฐ มีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง มีหน้าที่ออกกฎหมาย กำหนดคุณและโทษไว้ให้ชัด และคอยดูแลให้ทุกอย่างดำเนินไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
๒. ผู้นำของรัฐจะต้องแต่งตั้งบุคคลอื่นๆให้ดำรงตำแหน่งต่างๆลดหลั่นกันไปตามลำดับ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของพระองค์ ทุกตำแหน่งต้องมีอำนาจและหน้าที่อยู่ในตัว ใครทำไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ให้ปลดออก ตั้งคนอื่นแทน
๓. ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศ ใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐานของการตัดสินปัญหาทุกอย่าง ให้เลิกชนชั้นสูงชั้นต่ำ ทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกันในสายตาของกฎหมาย
๔. รณรงค์ให้ชาวเมืองเป็นชาวไร่ ชาวนา และทหาร เพราะชนชาวไร่ชาวนาสามารถหารายได้เข้ารัฐได้ ทำให้ประเทศมั่งคั่ง ส่วนทหารก็จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงไม่ถูกรุกราน ทำให้บ้านเมืองมีเสถียรภาพสงบสุข บุคคลทั้ง ๒ ประเภทจึงได้รับการยกย่องมากว่าเป็นกำลังสำคัญของชาติ เป็นพลเมืองที่มีค่าของประเทศ
 ปรัชญาของฮั่นเฟ่ยจื้อเป็นที่ชอบใจของคนจีนยุคใหม่สมัยหลังสงครามระหว่างแคว้นต่างๆเพราะคนเบื่อหน่ายสงคราม เห็นความไม่ดีของการแบ่งแยกชนชั้น และเมื่อมาพบแนวความคิดใหม่ที่ใช้กฎหมายแทนจารีตประเพณีและคุณธรรม ทำให้เกิดความหวังใหม่ว่า กฎหมายคงจะช่วยได้ คงจะไม่ล้มเหลวอย่างการใช้ระบบจารีตประเพณีและคุณธรรมดังที่ผ่านมา รัฐจิ๋นเป็นรัฐแรกที่นำปรัชญานิตินิยมไปใช้ และก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้รัฐจิ๋นเป็นเลิศในทางกสิกรรมและทางทหาร จนรัฐจิ๋นซึ่งแม้เป็นรัฐเล็กๆแต่ก็สามารถกำจัดแคว้นปรปักษ์ได้หมด จนกระทั่งสามารถรวบรวมแคว้นทั้งหมดเข้าเป็นอาณาจักรประเทศจีนประเทศเดียวกันได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน ฮั่นเฟ่ยจื้อได้ปฏิวัติปรัชญาจีนที่ผ่านมาโดยใช้กฎหมายแทนที่จารีตประเพณีและคุณธรรม เป็นการนำเอาทฤษฎีใหม่มาใช้แทนทฤษฎีเก่าซึ่งยึดถือกันมานาน และจากอิทธิพลของปรัชญาฮั่นเฟ่ยจื้อ ทำให้คนจีนยุคถัดๆมาเห็นความสำคัญของกฎหมาย จึงหันมาใช้กฎหมายเข้าแก้ปัญหาต่างๆจนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อมา จนชนชั้นกรรมาชีพเป็นพลังสำคัญของประเทศ


ความแตกต่างปรัชญาจีน กับ ปรัชญาตะวันตก


ปรัชญาจีน กับ ปรัชญาตะวันตกมีความแตกต่างกันอย่างไร
1.ด้านหลักการสอน
ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาจีน
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิทยาศาสตร์
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจริยศาสตร์ การเมือง วรรณคดี และศิลปะ
แสวงหาความรู้เพื่อความรู้

ความรู้นั้นคือมรรควิธีที่นำไปสู่อุดมคติอันสูงส่งที่ปฏิบัติได้ในชีวิตจริง
รากฐานของปรัชญาจีน           ความกระหายของนักปราชญ์ที่อยากจะเข้าใจวิถีธรรมชาติ
สอนเรื่องความรักในพระเจ้า
สอนเรื่องความรักในเพื่อนมนุษย์ เน้นความสำคัญของจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเกี่ยวข้องทางสังคม หน้าที่ของพลเมืองดี และหลักปฏิบัติทางศีลธรรม

2.ด้านประเด็นที่มาของความรู้
ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาจีน
ความรู้จากทฤษฎีคือ ความรู้และความหมายที่ได้จากหลักคำสอนอันเป็นหลักจากอนุมาน การใช้ความคิดทางคาดคะเน และการวิเคราะห์เหตุผลแบบตรรกวิทยา
เน้นการภาวนาฝึกฝนอบรมตนเอง ซึ่งส่งผลให้มีความสนใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นรูปธรรม
สนใจเรื่องของความขัดแย้งกันของสิ่งที่แตกต่างจากกันในโลก เช่น ความขัดแย้งระหว่างคนกับพระเจ้า อุดมคติกับความเป็นจริง สังคมกับปัจเจก อำนาจกับเสรีภาพ
มีลักษณะไม่ใช่เป็นความขัดแย้ง แต่เป็นความกลมกลืนประสานกันของสิ่งทั้งหลายในโลก มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล โลกจักรวาลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น



               
3.ด้านเนื้อหาสาระ
ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาจีน
แบ่งออกเป็น 5 สาขา
แทบจะไม่มีการแยกคนออกจากความต้องการทางจริยธรรมและการปฏิบัติในชีวิตของบุคคลเลย
จิตมีความกลมกลืนกับทุกสรรพสิ่ง

4.ด้านจิตวิญญาณแห่งปรัชญา
ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาจีน
ฝังใจเกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งกันของสิ่งที่แตกต่างกันและกันที่มีอยู่ในโลก เช่น คนกับพระเจ้า อุดมคติกับความเป็นจริง สังคมกับปัจเจก อำนาจกับเสรีภาพ เป็นต้น
มีลักษณะเด่นไม่เป็นความขัดแย้ง แต่เป็นความกลมกลืนประสานสืบเนื่องกันของสิ่งทั้งหลายในโลก ปรัชญาจีนถือว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของโลกจักรวาล และโลกจักรวาลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้นสมบูรณ์ต่อกันและกัน

                                               

                          
                                          

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จริยธรรมของขงจื่อ


จริยธรรมของขงจื่อ

มี 2 ลักษณะ 1.ปัจเจกบุคคล 2.ระดับสังคม
                ระดับปัจเจกบุคคล มี ประการ ได้แก่
1. ความชอบธรรม 
หมายถึง ความถูกต้องเหมาะสม(กาละเทศะ) การวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น เวลาคนตาย แต่งชุดดำไว้ทุกข์ ถ้าใส่ชุดแดงถือว่าไม่ถูกต้อง ตามเหตุการณ์ ถึงจะไม่เป็นอะไรต่อกฎหมายแต่ก็ไม่ถูกต้องเหมาะสม อย่ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่ เป็นหลักปฎิบิของคนไทย                                             *ความถูกต้องเหมาะสมตามสถานการณ์ ต้องใส่ใจเรื่องการศึกษาไปด้วยไม่ใช่เรื่องง่าย  และอย่าเอาผลประโยชน์มาตัดสินความชอบธรรม เช่น หมอโกหกคนไข้ให้ไปทำสมาธิ แล้วคนไข้เชื่อทำตามแล้วหายจริง อันนี้ไม่ถูกต้อง คล้ายกับหลักของค้านท์
2. มนุษยธรรม  หมายถึง ความรักในผู้อื่น” รักทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลก ในบรรดาสิ่งที่เรารัก เรารักตัวเองมากที่สุด จากนั้นจึงรักญาติ รักเพื่อน รักในที่นี้ หมายถึง รักทุกคนเปรียบเหมือนญาติเรา มองทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่ว่าจะ ชาติ ศาสนา ภาษา ไหนก็ตาม
3.ความรู้สึกผิดชอบ  หมายถึง ปฎิบัติต่อคนอื่นเหมือนปฎิบัติต่อตนเอง  “อยากให้เขาปฏิบัติกับเราอย่างไร เราก็ปฏิบัติอย่างนั้นกับเขา” หรือพูดตามสำนวนไทยว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ปกติแล้วเราปรารถนาจะให้ผู้อื่นเข้าใจเรามากกว่าเลยลืมนึกถึงหัวอกของผู้อื่น ถ้าเราอ่อนไหวต่อความรู้สึกของผู้อื่น เราจะซึ้งใจดีว่า มนุษย์ทุกคนล้วนเกลียดความทุกข์ มุ่งหวังปรารถนาความสุขด้วยกันทั้งนั้น วิธีคิดแบบนี้ขงจื่อมองว่า เมื่อเราพัฒนาตัวเองให้ดีแล้ว สังคมก็จะดีตาม ความรู้สึกผิดชอบเป็นกลไกของความเอื้ออาทร ดูแลห่วงใยซึ่งกันและกัน เพราะเราอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้  เช่น สคส ส่งความสุข เราส่งให้คนอื่น เราไม่ต้องสนใจว่าเขาจะส่งให้เราหรือเปล่า

4.เห็นแก่ผู้อื่น  หมายถึง อย่าปฏิบัติต่อเขาในสิ่งที่เราไม่ต้องการให้เขาปฏิบัติต่อเรา” จริยธรรมข้อนี้จะเน้นพฤติกรรมของคนที่เราไม่ชอบ แต่เราเอาพฤติกรรมนั้นไปใช้กับผู้อื่น เข้าทำนอง นินทากาเล” ใส่ร้ายป้ายสีก่อให้เกิดความแตกแยก แตกร้าว เป็นการสร้างศัตรู บ่มเพาะความอาฆาตมาดร้าย ชิงชัง รังเกียจกันไม่มีที่สิ้นสุด

5.ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่   หมายถึงการทำหน้าที่ของตนเต็มกำลังความสามารถ โดยไม่ต้องกังวลถึงผลที่จะได้รับจากงานนั้น งานเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเอง ไม่ว่าผลของงานจะออกมาในรูปแบบไหนก็ไม่ยึดติดกับงานนั้น เหมือนกับที่ท่านพุทธทาสบอกว่า ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่” เป้าหมายมิใช่หวังอามิสสินจ้างรางวัลใด ๆ แต่ทำงานเพราะเป็นสิ่งมีคุณค่าที่มนุษย์พึงกระทำ เช่น กวาดบ้าน ได้ความสะอาด กินข้าวได้ความอิ่ม เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ เพื่อทำหน้าที่ให้ดีที่สุด อยู่ในสถานะไหนก็ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์

ภิกษุณี

ภิกษุณี

ประวัติการเกิดภิกษุณี
ในสมัยพุทธกาลนั้น แรกเริ่มเดิมทีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีได้ เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยั่งยืนต่อมา พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผู้เป็นพระน้านางและพระมาตุจฉา หรือพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัทธัตถะ ท่านได้มีศรัทธาอยากออกบวชจึงทูลอ้อนวอนขอบวชต่อพระพุทธเจ้าถึงสามครั้งสามครา แต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งพระอานนท์ได้ทูลขอให้ พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่า พระนางปชาบดีโคตมีจะต้องรับเอาครุธรรม8ประการ (แปลว่าข้อปฏิบัติที่หนักและทำได้ยาก) ไปปฏิบัติ ครุธรรม ๘ ประการ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพุทธศาสนา
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัตินานถึง ๔๒ ปี ซึ่งนับว่านานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของไทยในอดีต ตลอดระยะเวลาอันยาวนานแห่งการครองราชได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้แก่ประเทศชาติอย่างหาที่เปรียบมิได้ อย่างไรก็ดี ในที่นี้จะเสนอพระราชดำริพระบรมราโชบายและพระราชกรณียกิจ เฉพาะในส่วนแห่งการพระศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระราช
ศรัทธาอันมั่นคง เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชนชาวสยามตลอดกาลนาน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓) รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะทรงมีพระราชภารกิจทางด้านการปรับปรุงประเทศอยู่มากแล้วก็ตาม แต่ก็ทรงมีพระราชศรัทธาอันแรงกล้า ในการที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น        
         ดังจะเห็นได้จาก พระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า "เมื่อข้าพเจ้าได้ดำรงสิริราชสมบัติแล้ว ก็ตั้งใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงอยู่เป็นนิจ
ข้าพเจ้าอาจปฏิญาณใจได้ว่า ถ้าชีวิตข้าพเจ้ายังอยู่ตราบใด แลข้าพเจ้าคงคิดจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอยู่เป็นนิจ" และอีกตอนหนึ่งกล่าวว่า "ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า ซึ่งจะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาการพร้อมกันทั้งสองฝ่าย" การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชศรัทธาอันแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้า ดังพระราชดำรัสนั้น คงสืบเนื่องจากการที่ทรงยืดถือปฏิบัติตามกฎ ที่มีอยู่ในพระธรรมศาสตร์ ถือว่าพระมหากษัตริย์มีหน้าที่ ทรงเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปภถัทมภก เช่นเดียวกับพระบูรพกษัตริย์ ซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมา รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลักษณะต่างๆ ดังนี้

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพุทธศาสนา
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัตินานถึง ๔๒ ปี ซึ่งนับว่านานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของไทยในอดีต ตลอดระยะเวลาอันยาวนานแห่งการครองราชได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้แก่ประเทศชาติอย่างหาที่เปรียบมิได้ อย่างไรก็ดี ในที่นี้จะเสนอพระราชดำริพระบรมราโชบายและพระราชกรณียกิจ เฉพาะในส่วนแห่งการพระศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระราช ศรัทธาอันมั่นคง

เฮเกล ( Hegel )




เชื่อว่า มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวที่จะใช้ตัดสินได้

    เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “ ปรนัยนิยม ” ( Objectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า มีเกณฑ์มาตรฐานตายตัวแน่นอนในทางศิลปะ ซึ่งสามารถนำไปตัดสินผลงานได้ในทุกสมัย เกณฑ์มาตรฐานนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกใครหรือศิลปินคนไหน กลุ่มนี้มีความเชื่ออีกว่า สุนทรียธาตุมีอยู่จริง แม้ว่าเราจะเข้าถึงมันไม่ได้ก็ตาม แต่มันก็มีอยู่จริง และด้วยเหตุผลนี้ การที่เราตัดสินศิลปะออกมาไม่เหมือนกันก็เพราะเราแต่ละคนไม่สามารถเข้าถึงสุนทรียธาติที่แท้จริงได้หรือตัวจริงมาตรฐานนั่นเอง การที่เราจะเข้าถึงเกณฑ์มาตรฐานนี้ได้นั้น เราจำเป็นต้องฝึกพัฒนาจิตให้สมบูรณ์จนสามารถเห็นความงามมาตรฐานได้ บางคนอาจทำสมาธิ บางคนอาจฝึกฝนทางศิลปะจนชำนาญ เป็นต้น


วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เต๋า



ปรัชญาเต๋า (TAOISM)

ในบรรดากระบวนการความคิดทางธรรมและทางปรัชญาที่เป็นของจีนแท้นั้น กระแสแห่งความคิดที่ทรงอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดของชาวจีนมากที่สุดมีอยู่ด้วยกันสองทางคือ กระแสแห่งลัทธิธรรมของขงจื้อ และกระแสแห่งปรัชญาเต๋าของเหลาจื้อ กระแสแห่งหลักธรรมของท่านทั้งสองนี้เป็นรากฐานอันสำคัญที่ได้หล่อหลอมอารยธรรมจีนให้มีลักษณะเด่นชัด และเป็นตัวของตัวเองอย่างแท้จริง


ถ้าเปรียบเทียบหลักธรรมคำสั่งสอนของขงจื้อเป็น “โลกียธรรม” แล้ว หลักธรรมแห่ง “เต๋า”ของเหลาจื้อก็จะเป็น “โลกุตรธรรม”ของชาวจีนทีเดียว คำสอนของขงจื้อเน้นหนักไปทางศีลธรรมจรรยา และการอยู่ร่วมกันโดยสันติของบุคคลในสังคม ส่วนหลักธรรมของเหลาจื้อนั้นเป็นอีกระดับหนึ่งกล่าวคือเป็นหลักธรรมที่อยู่เหนือโลก อยู่เหนือจริยธรรมในสังคมนั้นอีกต่อหนึ่ง มุ่งสู่ความเต็มเปี่ยมและเสรีภาพอันแท้จริงของความเป็นมนุษย์


นักปราชญ์ในปรัชญาเต๋าที่สำคัญมีสองท่านคือ เหลาจื้อ และจวงจื้อ ถือกันว่าเหลาจื้อเป็นศาสดาผู้ก่อตั้งปรัชญาเต๋าขึ้น ส่วนจวงจื้อนั้นเป็นสานุศิษย์คนสำคัญของเหลาจื้อ เป็นผู้สืบต่อขยายความและเพิ่มเติมปรัชญาเต๋าให้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

เหลาจื้อ (Lao Tzu)

คำว่า “เหลาจื้อ” แปลว่า อาจารย์ผู้เฒ่า หรือนักปราชญ์ผู้เฒ่า (Old Master, Old Sage)เป็นชื่อที่รู้จักกันดีว่าเป็นผู้ที่ก่อตั้งปรัชญาเต๋าขึ้นในประเทศจีน เหลาจื้อ (604-517 ก่อน ค.ศ.) มีชื่อสกุลเดิมว่า ลี่ (Li) และมีชื่อตัวว่า ตัน (Tan) เกิดก่อนขงจื้อประมาณ 50 ปี ท่านจึงมีชีวิตอยู่ในสมัยที่ใกล้เคียงกับโสกราตีส (Socrates) แห่งกรีซ โซโรแอสเตอร์ (Zoroaster) ในเปอร์เซีย พระพุทธเจ้า(Buddha) และมหาวีระ (Mahavira) ในอินเดีย และศาสดาพยากรณ์ที่ยิ่งใหญ่ชาวฮีบรู (ยิว) อีกหลายท่าน

                     ชีวิตของเหลาจื้อ

เหลาจื้อเป็นคนพื้นเมืองในรัฐจู (The State of Ch’u) ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของจังหวัดโฮนาน (Honan) ทางภาคกลางของประเทศจีนในปัจจุบัน ท่านทำหน้าที่เป็นผู้ดูแลเอกสารสำคัญต่าง ๆ ของราชสำนักแห่งราชวงศ์โจว (Chou Dynasty) เนื่องจากตำแหน่งหน้าที่และความรอบรู้อันล้ำเลิศของท่าน ขงจื้อจึงได้เดินทางมาเยี่ยม “นักปราชญ์ที่น่าเคารพ” (The Venerable Philosopher) ขณะนั้นขงจื้ออายุได้ 34 ปี กำลังเป็นคนหนุ่มนักประวัติศาสตร์และนักปฏิรูปรูปสังคม ที่ต้องการค้นหาประวัติศาสตร์ของจีนและพยายามฟื้นฟูความรุ่งเรืองของอดีตด้วยวิธีการประพฤติตัวทางสังคม เหลาจื้อได้กล่าวตำหนิขงจื้อว่า


“บุคคลที่เธอพูดถึงนั้นได้ตายไปหมดแล้ว และกระดูกของคนเหล่านั้นก็ผุกร่อนกลายเป็นฝุ่นผงไปแล้ว จงละทิ้งลักษณะท่าทางอันเย่อหยิ่งและความต้องการอันมากมายของเธอเสีย”


เหลาจื้อเร่งเร้าขงจื้อให้เสาะแสวงหา “เต๋า” (Tao) เงียบ ๆ เป็นส่วนตัวแทน เต๋าอันเป็นหลักที่ลึกซึ้งของจักรวาล และเป็นสิ่งที่จะช่วยไขความลี้ลับของโลกและการใช้ชีวิต เมื่อขงจื้อหนุ่มได้กล่าวย้ำถึงเรื่องที่ว่าเขาได้ศึกษาค้นคว้าตำรับตำรามาอย่างขยันขันแข็งตลอดยี่สิบปีที่ผ่านมา เหลาจื้อตอบว่า


“ถ้าเต๋าเป็นสิ่งที่สามารถหยิบยื่นให้แก่กันได้แล้ว ใครเล่าที่ไม่สามารถปรารถนาจะหยิบยื่นให้แก่พระราชาของตน ถ้าเต๋าเป็นสิ่งที่สามารถแสดงแก่กันได้แล้ว ใครบ้างที่ไม่ปรารถนาจะแสดงให้แก่พ่อแม่ของตน ถ้าเต๋าเป็นสิ่งที่สามารถบอกกล่าวกันได้แล้ว ใครบ้างไม่ปรารถนาจะบอกกล่าวแก่พี่น้องของตัว ถ้าเต๋าเป็นสิ่งที่ส่งมอบกันได้แล้ว ใครบ้างที่ไม่ปรารถนาจะส่งมอบให้แก่ลูกของตัว ทำไมเธอจึงไม่รู้จักเต๋า เหตุผลก็คือ เป็นเพราะเธอไม่ได้ให้เต๋าพักพิงอยู่ในหัวใจของเธอนั่นเอง”


หลังจากที่ได้พบปะกันแล้ว ขงจื้อซึ่งต่อมาภายหลังได้กลายเป็นนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงและเป็นครูของชาวจีนทั้งมวล ได้กล่าวกับสานุศิษย์ของตนว่า


“ฉันรู้ว่านกนั้นบินอย่างไร ปลาว่ายน้ำอย่างไร และสัตว์วิ่งอย่างไร แต่ยังมีมังกรที่ฉันไม่สามารถบอกได้ว่ามันขึ้นไปในอากาศผ่านกลุ่มเมฆและบินผ่านสวรรค์ได้อย่างไร วันนี้ฉันได้พบเหลาจื้อและฉันเพียงแต่สามารถเปรียบเขาได้เหมือนกับมังกรเท่านั้น”


สำหรับชีวิตที่เหลือของเหลาจื้อนั้น เราได้ทราบจากบทสรุปในหนังสือชีวประวัติซึ่งแต่งโดยสุมาเฉียน (Su-Ma Chien) ดังนี้


“เหลาจื้อปฏิบัติเต๋า (Tao) (ทาง, สัจธรรม) และ เต๋อ (Te) (คุณธรรม, พลังอำนาจ) ปรัชญาของท่านมุ่งไปที่การซ่อนเร้นตัวเอง (Self-Concealment) และการไร้ชื่อ (Namelessness)”


เหลาจื้อใช้เวลาส่วนใหญ่ของชีวิตพำนักอยู่รัฐโจว เมื่อท่านมองเห็นถึงความเสื่อมของรัฐโจวเป็นการล่วงหน้า ท่านได้ออกจากเมืองและเดินทางมาถึงชายแดนรัฐยิน-ไฮ (Yin-Hi) เจ้าหน้าที่ด่านตรวจชายแดนได้ขอร้องเหลาจื้อว่า “ท่านครับ เมื่อท่านปรารถนาจะจากไปแต่ลำพังคนเดียว ข้าพเจ้าใคร่จะขอร้องท่านให้ช่วยเขียนหนังสือขึ้นสักเล่มหนึ่ง” ด้วยเหตุนั้นเหลาจื้อจึงได้เขียนหนังสือเล่มหนึ่งแบ่งเป็นสองตอน และประกอบด้วยคำ 5,001 คำ หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงแนวคิดในเรื่อง เต๋า และ เต๋อและแล้วท่านก็จากไป ไม่มีใครรู้ว่าท่านตายที่แห่งหนตำบลใด


คัมภีร์ที่สำคัญในปรัชญาเต๋า


หนังสือที่เหลาจื้อได้ทิ้งไว้แก่โลกก่อนที่ท่านจะหายไปในประวัติศาสตร์นั้นชื่อว่า เหลาจื้อ (The Lao-Tzu) หรือที่รู้จักกันต่อมาในภายหลังว่า เต๋าเต๋อจิง (Tao Te Ching) ซึ่งแปลว่า “คัมภีร์ที่ว่าด้วยเรื่องเต๋าและเต๋อ” (Classic of the Way and Power)


คัมภีร์เต๋าเต๋อจิง ได้รับการถ่ายทอดสู่ภาษาอังกฤษกว่า 12 สำนวน และสู่ภาษายุโรปอื่น ๆ อีก 6 ภาษา คัมภีร์เล่มนี้มีความงดงามและลึกซึ้ง การแปลเป็นภาษาอื่นนั้นนับเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากลำบาก ในปี ค.ศ. 1788 บาทหลวงแกรมอนท์ (Father Gramont) ผู้สอนศาสนาโรมันคาทอลิก ได้แปลคัมภีร์เล่มนี้เป็นภาษาลาตินด้วยความเชื่ออันคลาดเคลื่อนที่ว่า “ความลี้ลับแห่งพระบิดา พระบุตรพระจิต และแห่งพระผู้เป็นเจ้าผู้สถิตอยู่ภายใน ได้ถูกเปิดเผยต่อประชาชาติจีนแล้วตั้งแต่ครั้งโบราณ”(Legge 1885, 39: XIII) และในปี ค.ศ. 1823 บาทหลวงเรอมูซาท์ (Father Remusat) ได้แปลออกเป็นภาษาฝรั่งเศส ซึ่งนับว่าเป็นการแปลเป็นภาษายุโรปสมัยใหม่เป็นครั้งแรก


เนื้อหาของคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง เป็นการกล่าวถึงจักรวาล โลก ชีวิต และสังคมอย่างกว้าง ๆ มีอยู่ 3 บท ที่กล่าวพาดพิงถึงชีวประวัติส่วนตัว (บท 20.3-9, 67.1-2, 70.1-2) มีการพูดถึงสถานการณ์ทางสังคมในสมัยนั้นอย่างกว้าง ๆ เพียงไม่กี่แห่ง นอกนั้นไม่มีการอ้างถึงประวัติศาสตร์ไม่ว่าในลักษณะใดไม่ว่าจะเป็นตัวบุคคลหรือเหตุการณ์ใด ๆ ในประเทศจีน ในบทสั้น ๆ ทั้งหมด 81 บท ของคัมภีร์เล่มนี้ไม่ปรากฏชื่อเฉพาะใดๆ เลยแม้แต่ชื่อเดียว


ในประวัติศาสตร์ของคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง นั้นมีเหตุการณ์ที่แสดงถึงการยกย่องความสำคัญของคัมภีร์นี้บางประการ พระจักรพรรดิชิงตี่ (Ching Ti) (156-140 ก่อน ค.ศ.) ได้ประกาศยกย่องหนังสือเล่มนี้ให้เป็น “คัมภีร์” (Classic) อย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรก ต่อมาพระจักรพรรดิมิงตี่ (Ming Ti) (ค.ศ.227-239) ได้เคยบรรยายถึงเนื้อหาของคัมภีร์เล่มนี้ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแห่งรัฐ พร้อมกับกล่าวคำตำหนิอย่างรุนแรงต่อ “ข้าราชการที่ไม่ตั้งใจฟัง นั่งหาว หรือบ้วนน้ำลาย ในระหว่างการบรรยาย” (Giles 1915, 181)


คัมภีร์เต๋าเต๋อจิง ฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษโดย หลินยู่ถัง (Lin Yutang) นักเขียนที่มีชื่อเสียงของจีน ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุดว่า หากไม่ใช่ฉบับแปลภาษาอังกฤษที่ถูกต้องที่สุดแล้วก็เป็นฉบับแปลที่น่าอ่านที่สุด (Lin 1942, 583-624)


ความหมายของเต๋า


คำว่า “เต๋า” (Tao) ตามรากศัพท์แล้วแปลว่า “ทาง” (Way) “เส้นทาง” (Path) “ถนน” (Road) แต่ในความหมายเฉพาะที่สูงสุดแล้ว “เต๋า” หมายถึง “สิ่งที่สมบูรณ์สูงสุด” (The Absolute) ทั้งในความหมายทางปรัชญาและความหมายทางศาสนา


คารัส (Carus) ได้แปลคำว่า “เต๋า” ออกเป็นภาษาอังกฤษว่า “Reason” (เหตุผล) และพาคเคอร์ (Parker) ใช้คำว่า “Providence” (พระกรุณาของพระเจ้า, พระเจ้า) ส่วนอเล็กซานเดอร์(Alexander) ใช้คำว่า “God” (พระเจ้า) สำหรับฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสของเรอมูซาท์ (Remusat) ใช้คำว่า “Supreme Being” (สิ่งสูงสุด) “Reason” (เหตุผล) “Word” (คำ) “Logos” (พระคำ)


คัมภีร์ไบเบิลฉบับภาษาจีนในบทที่ว่าด้วย “คริสต์ประวัติจากเซนต์จอห์น” เริ่มต้นด้วยประโยคแรกดังนี้ “ในครั้งแรกสุดนั้นมีเต๋าอยู่ก่อน และเต๋าอยู่กับพระเจ้า และเต๋าคือพระเจ้า”


ทั้งหมดนี้เป็นความพยายามของชาวตะวันตกที่จะเข้าใจเต๋า แต่เต๋าก็มิใช่พระเจ้าในความหมายแบบตะวันตก เหนือสิ่งอื่นใดเต๋าก็คือเต๋า ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว แม้ว่าการพูดถึงคุณลักษณะจะใกล้เคียงกับสิ่งสูงสุดในศาสนาต่าง ๆ ก็ตาม และเนื่องจากชาวจีนคุ้นเคยกับเรื่องเต๋าอยู่ก่อนแล้ว เมื่อพุทธศาสนาจากอินเดียไปถึงประเทศจีน ชาวจีนได้แปล “พระธรรม” ว่า “เต๋า”เช่นเดียวกับที่ได้แปล “พระเจ้า” ว่า “เต๋า”


คุณลักษณะของเต๋า

ในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง เหลาจื้อได้กล่าวถึงคุณลักษณะของ “เต๋า” ไว้หลายประการ ซึ่งพอสรุปหลักสำคัญได้ดังนี้

1. เต๋าเป็นสิ่งที่เรียกขานด้วยชื่อไม่ได้

สิ่งทั้งหลายที่เป็นรูปธรรม ที่สามารถสัมผัสแตะต้องได้ มีรูปร่าง ลักษณะ (Shapes and Features) อยู่ภายใต้อำนาจของกาลเวลา และถูกจำกัดโดยสถานที่ (Space and Time) เป็นสิ่งที่เรียกขานด้วยชื่อได้ (Namable)

แต่ “เต๋า” เป็นสิ่งที่เป็นนามธรรม ไม่มีรูปร่างลักษณะ อยู่เหนืออำนาจของเวลาและสถานที่ เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเรียกขานด้วยชื่อได้ (Unnamable) เต๋าที่สามารถเรียกขานด้วยชื่อได้ ไม่ใช่เต๋าที่แท้จริง ดังนั้นคำว่า “เต๋า” ที่มนุษย์ใช้เรียกกันนั้น จึงยังไม่ใช่เต๋าที่แท้จริง เป็นเพียงสมบัติบัญญัติเท่านั้น

มีธรรมชาติอยู่อย่างหนึ่งซึ่งมีอยู่โดยตัวของมันเอง มันมีอยู่ก่อนฟ้าและดิน ไม่มีรูปร่างลักษณะหรือสุ้มเสียงอย่างใดเลย ดำรงทั่วสากลโดยไม่รู้จักเกียจคร้านเหน็ดเหนื่อย กล่าวได้ว่าแต่เพียงว่ามันเป็นมารดรของสรรพสิ่ง ฉันไม่รู้จักชื่อของมันว่าอะไร แต่ขอสมมติเรียกว่า เต๋า (บทที่ 25)

เต๋าที่นำมาว่าขานกันได้มิใช่เต๋าที่แท้จริง นามซึ่งมาบัญญัติเรียกร้องกันได้ก็มิใช่นามที่เที่ยงแท้ (บทที่ 1)

เต๋าเป็นสิ่งที่นิรันดร ไร้ชื่อ เป็นสิ่งที่ไม่ถูกปรุงแต่ง..... เมื่อเกิดการปรุงแต่งขึ้นชื่อจึงได้เกิดขึ้น (บทที่ 32)

เต๋าอันซ่อนเร้นอยู่เบื้องหลังเป็นสิ่งที่ไร้ชื่อ (บทที่ 41)


2. เต๋าเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง


ในปรัชญาเต๋ามีคำที่ให้ความหมายตรงกันข้ามอยู่ 2 ชุด คือ


(ก) คำว่า “ยู” (Yu) ซึ่งแปลว่า “ภาวะ” หรือ “ความมี” (Being) และคำว่า “ยู-หมิง” (Yu-Ming) ซึ่งแปลว่า “มีชื่อได้” (Having-Name) หรือ “เรียกชื่อได้” (Nameable)


(ข) คำว่า “วู” (Wu) ซึ่งแปลว่า “อภาวะ” หรือ “ความไม่มี” (Non-Being) และคำว่า “วู-หมิง” (Wu-Ming) ซึ่งแปลว่า “ไม่มีชื่อ” (Having-No-Name) หรือ “เรียกชื่อไม่ได้” (Unnamable)


ฟ้าและดินและสรรพสิ่งคือ ยู เป็นภาวะหรือสิ่งที่มีอยู่ จึงเรียกได้ว่า “ฟ้า” “ดิน” “สรรพสิ่ง”ส่วนเต๋านั้นคือ วู เป็นอภาวะหรือสิ่งที่ไม่สามารถสัมผัสแตะต้องหรือนึกคิดได้ จึงเรียกชื่อไม่ได้หรือไม่มีชื่อเรียก คำว่า “เต๋า” นั้นเป็นชื่อที่ไม่มีชื่อ แต่ทั้ง ๆ ที่เต๋าเป็นอภาวะไม่สามารถสัมผัสแตะต้องหรือนึกคิดได้ และไม่มีชื่อเรียก เต๋าก็เป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง เหลาจื้อกล่าวว่า


“สิ่งที่เรียกขานด้วยชื่อไม่ได้เป็นที่ตั้งแห่งฟ้าและดิน สิ่งที่เรียกขานด้วยชื่อได้เป็นมารดรของสรรพสิ่ง” (บทที่ 1) หมายความว่า เต๋าซึ่งเรียกขาน ด้วยชื่อไม่ได้นั้น เป็นต้นกำเนิดของฟ้าและดินนอกจากนั้นฟ้าและดินก็เป็นบ่อเกิดของสิ่งทั้งปวง


“สรรพสิ่งในโลกล้วนถือกำเนิดขึ้นจาก ภาวะ (Being) และภาวะ ก็ถือกำเนิดขึ้นจากอภาวะ(Non-Being)” (บทที่ 40) ภาวะในที่นี้คือ ฟ้าและดิน อภาวะ คือ เต๋า


“เต๋าเป็นมูลให้เกิดหนึ่ง หนึ่งเป็นมูลให้เกิดสอง สองเป็นมูลให้เกิดสาม และสามเป็นมูลให้เกิดสรรพสิ่ง” (บทที่ 42) เต๋า (อภาวะ) เป็นต้น


เหตุให้เกิดหนึ่ง (ภาวะ) ส่วนข้อความที่ว่า หนึ่งเป็นต้นเหตุให้เกิดสอง สองเป็นต้นเหตุให้เกิดสาม และสามเป็นต้นเหตุให้เกิดสรรพสิ่ง มีความหมายเท่ากับ หนึ่ง (ภาวะ) เป็นต้นเหตุให้เกิดสรรพสิ่งเพราะสองและสามเป็นการเริ่มต้นของจำนวนนับที่มากขึ้นไปเป็นลำดับนั่นเอง


“ฉันไม่รู้ว่าใครสร้างมัน (เต๋า) ขึ้นมา แต่ดูเหมือนว่ามันจะมีอยู่ก่อนพระเจ้า (Ti)” (บท 4)


เหลาจื้อไม่สามารถหาต้นกำเนิดของเต๋าได้อีก หมายความว่า การมีอยู่ของเต๋าไม่ต้องอิงอาศัยอยู่กับสิ่งใดอีก นอกจากตัวของมันเอง เต๋าจึงมีความสมบูรณ์สูงสุดในตัวเอง และดูเหมือนว่าเต๋าจะมีมาก่อนพระเจ้าคือ ฉ่างตี่ (Shang Ti) หรือเทียน (Tien) หรือสวรรค์ (Heaven) กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือเต๋าเป็นต้นกำเนิดของพระเจ้าที่กล่าวถึงนี้นั่นเอง


จวงจื้อ (Chaung-Tzu) สานุศิษย์คนสำคัญของเหลาจื้อก็กล่าวไว้ในทำนองเดียวกันนี้ว่า “ต้นกำเนิดอันยิ่งใหญ่ของสรรพสิ่งนั้นคือ อภาวะ มันไม่ใช่ ภาวะ และเรียกขานด้วยชื่อก็ไม่ได้ แต่มันเป็นมูลให้เกิดหนึ่ง ครั้นเมื่อเกิดหนึ่งแล้วก็ยังไม่มีรูปร่าง และจากหนึ่งซึ่งไม่มีรูปร่างนี้สรรพสิ่งก็ถือกำเนิดขึ้นมา” (ตอน 12)


3. เต๋ามีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง และทุกสิ่งทุกอย่างก็คือเต๋า


ในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง บทที่ 21 กล่าวไว้ว่า “ตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน มีการกล่าวถึงเต๋าอยู่มิได้ขาด และเต๋านั้นก็ได้เห็นการตั้งต้น (ของสิ่งทั้งมวล)” เต๋าเป็นต้นตอให้สรรพสิ่งเกิดขึ้น เมื่อมีสิ่งต่าง ๆ อยู่เสมอ ก็ย่อมจะมีเต๋าอยู่เสมอ และชื่อของเต๋าก็ได้รับการกล่าวถึงอยู่เสมอมิได้ขาด เต๋าเป็นการตั้งต้นของสิ่งแรกเริ่มทั้งหมด ดังนั้นเต๋าจึงได้เห็นการตั้งต้นของสิ่งทั้งมวล อยู่กับสิ่งทั้งมวล และก็เป็นสิ่งทั้งมวลด้วย


เต๋าเป็นสิ่งว่างเปล่า แต่เมื่อใช้มันขึ้นมาดูเหมือนจะใช้มันไม่รู้จักหมดสิ้น มันช่างเป็นธรรมชาติที่ลึกซึ้งเสียนี่กระไร ประหนึ่งเป็นต้นเค้าของสิ่งทั้งปวง มันไม่แสดงความคมกล้าของมันออกมา และมันก็พ้นจากความยุ่งเหยิงวุ่นวาย ในที่ที่มีความสว่าง มันก็กลมกลืนกับแสงสว่างนั้น ในที่ที่มืดสกปรกมันก็กลมกลืนกันกับความโสมมได้ และ ณ ท่ามกลางความขมุกขมัวดูประหนึ่งมันจะอยู่ ณ ที่นั้น (บท 4)


ครั้งหนึ่ง ก๋วยจื้อ ได้ถาม จวงจื้อ สานุศิษย์ของเหลาจื้อว่า


“สิ่งที่เรียกว่าเต๋านั้นอยู่ที่ไหน”


จวงจื้อตอบว่า “ไม่มีที่ไหนที่จะไม่มีเต๋าอยู่”


ก๋วยจื้อจึงบอกว่า “ขอให้พูดเจาะจงลงมาสักหน่อยเถิด”


“เต๋าอยู่ที่ตัวมด”


“ทำไมของสูงสุดจึงไปอยู่กับเดรัจฉาน”


“เต๋าอยู่ที่ต้นพืชไร่นา”


“ทำไมของสูงสุดจึงไปอยู่ในสถานที่ต่ำเช่นนั้น”


“เต๋าอยู่ที่ก้อนอิฐ”


“ทำไมของสูงสุดจึงไปอยู่กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต”


“เต๋าอยู่ที่อุจจาระและปัสสาวะ”


สำหรับเหลาจื้อและจวงจื้อแล้ว เต๋ามีอยู่ในที่ทุกหนทุกแห่ง และทุกสิ่งทุกอย่างก็คือเต๋านั่นเอง


เต๋าในฐานะกฎธรรมชาติ
(Tao as the Invariable Laws of Nature)


เมื่อเต๋าเป็นต้นกำเนิดของสิ่งทั้งปวง และเต๋าครอบคลุมทุกสิ่งทุกอย่างทั้งหมดไว้ ไม่ว่าจะเป็นจักรวาล โลก สังคม และชีวิต ดังนั้นเต๋าจึงครอบคลุมธรรมชาติทั้งมวลไว้ และเนื่องจากเต๋าแผ่ซ่านไปทั่วทุกหนทุกแห่ง เต๋าจึงเป็นเนื้อแท้ของธรรมชาติ และเมื่อสรรพสิ่งดำเนินไปตามวิถีทางของเต๋า เต๋าจึงเป็นกฎธรรมชาติด้วย และเป็นกฎธรรมชาติที่เหนือกฎธรรมชาติทั้งหลาย เต๋าในฐานะกฎธรรมชาติเรียกว่า “หนึ่งที่ยิ่งใหญ่” (Tai Yi; “Super One”) เป็นสิ่งที่ “ไม่เปลี่ยนแปลง” (Ch’ang; Invariable, Eternal, Abiding)

ทุกสิ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่ “กฎของความเปลี่ยนแปลง” นี้โดยตัวมันเองแล้วไม่เปลี่ยนแปลง เป็นกฎแน่นอน ตายตัว เที่ยงแท้ มั่นคง ถาวร ตลอดไป และกฎที่แน่นอนนี้คือ เต๋า


กฎธรรมชาติที่อยู่ในขั้นพื้นฐานที่สุดกฎหนึ่งคือ “กฎแห่งความหมุนกลับ” กล่าวคือ เมื่อสิ่งหนึ่งไปถึงขีดสุดของมันแล้ว มันจะหมุนกลับไปในทิศทางที่ตรงกันข้าม ดุจดังลูกตุ้มของนาฬิกา เมื่อแกว่งไปสุดข้างหนึ่งแล้วก็จะแกว่งไปในทิศทางตรงกันข้าม เหลาจื้อกล่าวว่า “ความหมุนกลับคือวิถีแห่งการเคลื่อนไหวของเต๋า” (Reversing is the Movement of Tao) (บท 40)

การก้าวไปและการก้าวไปข้างหน้า หมายถึงการวกกลับมาอีกครั้งหนึ่ง (บท 25)

ความสมบูรณ์พูนสุขย่อมมีมาภายหลังภัยพิบัติ และภัยพิบัติจะติดตามมาหลังจากความสมบูรณ์พูนสุขได้หมดสิ้นลง (บท 58)

ผู้ที่มีน้อยจะได้มา ผู้ที่มีมากจะถูกทำให้หลง (บท 22)

พายุใหญ่ไม่พัดตลอดรุ่ง พายุฝนไม่ตกตลอดวัน (บท 23)

เมื่อลดสิ่งหนึ่งลงมันกลับจะเพิ่มมากขึ้น เมื่อเพิ่มสิ่งหนึ่งขึ้นมันกลับจะลดลง (บท 42)


ข้อความที่ดูเหมือนจะขัดแย้งกันในตัว (paradox) นี้ ถ้าเราเข้าใจกฎธรรมชาติในขั้นพื้นฐานอย่างถ่องแท้แล้ว ก็จะไม่ขัดแย้งกันอีกต่อไป เหลาจื้อกล่าวว่า “การเข้าใจ ‘สิ่งที่มาเปลี่ยนแปลง’ (The Invariable) เรียกว่า ‘การรู้แจ้ง’ (Enlightenment)” (บทที่ 16) และ “ผู้ที่รู้จักกฎธรรมชาติจะเป็นอิสระเมื่อเป็นอิสระก็จะไม่มีอคติ เมื่อไม่มีอคติก็จะเข้าใจในสิ่งทั้งปวง เมื่อเข้าใจในสิ่งทั้งปวงก็จะกว้างขวางเมื่อกว้างขวางก็จะเข้าถึงความจริง เมื่อเข้าถึงความจริงเขาจะอยู่ตลอดไปและไม่ล้มเหลวตลอดชั่วชีวิตของเขา” (บท 16)


“กฎแห่งความหมุนกลับ” ในลัทธิเต๋ามีความสำคัญต่อความรู้สึกนึกคิดและการดำเนินชีวิตของชาวจีนเป็นอย่างสูง ทำให้ชาวจีนเมื่อต้องประสบกับภัยพิบัติก็ไม่เกิดความท้อแท้ และเมื่อประสบความรุ่งเรืองมั่งคั่งก็ไม่ลืมตัว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างสามารถเปลี่ยนแปลงเป็นรงข้ามได้เสมอ


มนุษย์กับการดำเนินชีวิตแบบเต๋า (Man and the Way of Tao)


เหลาจื้อกล่าวเตือนไว้ว่า “การไม่รู้จัก ‘สิ่งที่ไม่เปลี่ยนแปลง’ และการทำอย่างมืดบอดเป็นการไปสู่ความพินาศ” (บท 16) มนุษย์ควรจะรู้จักกฎธรรมชาติและปฏิบัติตัวให้สอดคล้องกับกฎธรรมชาตินั้น ชีวิตของมนุษย์จึงมีความหมายและมีคุณค่าอย่างแท้จริง กฎธรรมชาติที่สูงที่สุดนั้น คือ เต๋า การรู้จักเต๋า และการดำเนินชีวิตตามวิถีทางแห่งเต๋า จึงเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุดในชีวิตมนุษย์ หลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ตามวิถีทางของเต๋าที่สำคัญ มีดังนี้

1. วู – เหว่ย (Wu-Wei)

คำว่า วู–เหว่ย (Wu-Wei) แปลว่า “การไม่กระทำ” (Non-Action) “หรือไม่มีการกระทำ”(Having-No-Activity) หรือ “การกระทำโดยไม่ต้องทำ” (To do without doing) ข้อความที่สำคัญประโยคหนึ่งในปรัชญาเต๋าก็คือ “ไม่ทำอะไร แต่ก็ไม่มีอะไรที่จะทำไม่เสร็จ” (Do nothing and there is nothing that is not done) (บท 48) เป็นข้อความที่แสดงให้เห็นถึงหลัก วู–เหว่ย ในลัทธิเต๋า


วู–เหว่ย เป็นหลักที่ต่อเนื่องกับ “กฎแห่งความหมุนกลับ” ถ้าหากเราต้องการบรรลุถึงผลอย่างหนึ่ง เราต้องทำในสิ่งที่ดูเหมือนตรงกันข้าม และเราก็จะได้รับผลนั้นโดยสมบูรณ์ นี้เป็นความลับในการครองชีวิตของมนุษย์ให้ประสบผลสำเร็จบนหนทางแห่งสัจจะ และรอดพ้นจากภัยอันตรายในโลกของมนุษย์ เหลาจื้อกล่าวว่า


ในหนทางของการศึกษาบุคคลเรียนรู้เพิ่มขึ้นทุกวัน ในหนทางของเต๋าบุคคลกระทำน้อยลงทุกวัน บุคคลกระทำน้อยลง ๆ จนกระทั่งไม่ทะอะไรเลย และเมื่อบุคคลไม่ทำอะไรเลยก็ไม่มีอะไรที่จะทำไม่เสร็จ (บท 48)


บัณฑิตนำตัวเองไปอยู่หลังสุด แต่ก็พบว่าเขาอยู่หน้าสุด นำตัวเองไปอยู่ข้างนอก แต่ก็พบว่าเขาอยู่ข้างใน มิใช่เป็นเพราะเขาไม่ดิ้นรนเพื่อตัวเองดอกหรือ ที่ทำให้จุดมุ่งหมายทุกอย่างของเขาประสบความสำเร็จ (บท 7)


โดยไม่ได้แสดงตัวเขาก็เป็นที่รู้จัก โดยไม่ได้อวดอ้างคุณสมบัติเขาก็มีชื่อเสียง โดยไม่ได้โอ้อวดความสามารถเขาก็ได้รับความนับหน้าถือตา โดยไม่ได้มีมานะทิฐิเขาก็ได้ปกครองคนอื่น และโดยไม่ได้แข่งขันกับใครก็ไม่มีใครสามารถจะแข่งขันกับเขาได้ (บท 22)


สิ่งที่ดีเลิศที่สุดก็เป็นดุจเดียวกันกับน้ำ ที่ปรากฏโดยการเป็นประโยชน์ต่อทุกสิ่ง และโดยการอยู่ในที่ต่ำอันบุคคลทั้งหลายรังเกียจ (บท 8)


บุคคลผู้เข้าถึงเต๋าย่อมอ่อนน้อมถ่อมตน และไม่แสดงตัว ดังนั้นเมื่อมองดูจากภายนอกแล้ว เขาก็มีลักษณะที่ไม่แตกต่างไปจากบุคคลธรรมดาทั่วไป และบางทีจะดูธรรมดากว่าบุคคลทั่วไปเสียอีกและเมื่อตัดสินจากค่านิยมของสังคมโดยทั่วไปแล้ว เขาอาจจะดูด้อยหรือล้าหลังกว่าบุคคลอื่น เหลาจื้อ กล่าวว่า


สิ่งที่สมบูรณ์ที่สุดดูคล้ายกับไม่สมบูรณ์ แต่ก็ใช้ไม่รู้จักบกพร่อง สิ่งที่เต็มเปี่ยมที่สุดดูคล้ายกับว่างเปล่าแต่ก็ใช้ไม่รู้จักหมด สิ่งที่ตรงที่สุดดูคล้ายกับคดงอ ผู้ที่ชำนาญที่สุดดูคล้ายกับงุ่มง่าม ผู้ที่พูดจับใจที่สุดดูคล้ายกับตะกุกตะกัก (บท 45)


ดังนั้น วู-เหว่ย จึงไม่ได้หมายถึงความเกียจคร้านไม่ทำอะไร แต่หมายถึงการกระทำด้วยจิตใจที่อิสระจนกระทั่งรู้สึกว่าตนเองไม่ได้ทำอะไร แต่ทั้ง ๆ ที่รู้สึกว่าตัวเองไม่ได้ทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จสมบูรณ์ด้วยดี วู-เหว่ย จึงเป็นหลักพื้นฐานของ “การทำหน้าที่เพื่อหน้าที่” หรือกระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างปราศจาก “ตัวตน” ผู้ที่ปฏิบัติตามหลัก วู-เหว่ย ย่อมไม่แสดงตนจึงพ้นไปจากความยุ่งยากทั้งหลายในโลก


ได้มีผู้พยายามอธิบายหลัก วูเหว่ย ในลักษณะอื่น ๆ อีก ดังนี้

1) การไม่ทำอะไรที่ขัดกับกฎธรรมชาติหรือเต๋า

2) การไม่ทำอะไรโดยอาการของความเห็นแก่ตัว

3) การกระทำสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นปกติธรรมดาโดยปราศจากการยึดมั่นในผลของการกระทำ

4) สภาวะแห่งชีวิตที่ปฏิบัติสิ่งต่าง ๆ อย่างเป็นธรรมชาติที่สุด

เหลาจื้อกล่าวว่า “การที่จะเอาชนะโลกได้นั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องปฏิบัติตามหลักขอก การไม่กระทำ (วูเหว่ย) ด้วยการกระทำบุคคลไม่อาจจะเอาชนะโลกได้” (บท 48) และ “ดังนั้นนักปราชญ์จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าปฏิบัติ วูเหว่ย” (บท 57)


2. เต๋อ (Te)

คำว่า เต๋อ (Te) แปลว่า “พลังอำนาจ” (Power) หรือ “คุณธรรม” (Virtue) ข้อความตอนหนึ่งในคัมภีร์เต๋าเต๋อจิง กล่าวว่า “ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของเต๋าและมีคุณค่าของเต๋อ” (บท 51) เต๋าและเต๋อจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เหลาจื้อได้พูดถึง และเต๋าเต๋อจิงเองก็เป็นคัมภีร์ที่กล่าวถึงเรื่องเต๋ากับเรื่องเต๋อโดยเฉพาะ


กฎธรรมชาติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดซึ่งครอบงำสรรพสิ่งทั้งหลายทั่วสากลจักรวาลนั้นคือเต๋า ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตตั้งแต่สิ่งที่เล็กที่สุดจนถึงสิ่งที่ใหญ่ที่สุด ต่างก็ดำเนินไปตามกฎเกณฑ์ของเต๋าทั้งสิ้น สำหรับสิ่งที่มีชีวิตนั้นไม่ว่าจะเป็นมนุษย์ สัตว์ พืช หรืออื่น ๆ จะมีคุณสมบัติอย่างหนึ่งที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวเรียกว่าเต๋อ เต๋อจึงเป็นได้ทั้งพลังชีวิตและคุณธรรม สำหรับสัตว์ พืช และสิ่งมีชีวิตในลักษณะอื่น ๆ นั้น เต๋อคือพลังชีวิตที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ สำหรับมนุษย์แล้ว เต๋อคือพลังชีวิตที่ทำให้ชีวิตดำรงอยู่ และคือคุณธรรมที่ทำให้ชีวิตนั้นมีค่าโดยสมบูรณ์ จริยธรรมอันสูงสุดของมนุษย์ก็คือเต๋อนั่นเอง ทั้งเต๋าและเต๋อในส่วนที่ลึกที่สุดนั้นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน


ดังนั้น ตามทัศนะของเหลาจื้อ เต๋อเป็นสิ่งที่มีอยู่ในตัวมนุษย์มาแต่ดั้งเดิม และโดยสาระที่แท้จริงแล้วมนุษย์มีความสมบูรณ์สูงสุดอยู่ในตัว เมื่อยังไม่รู้ เต๋อเป็นเพียงพลังชีวิตที่ทำให้มนุษย์ดำรงอยู่เช่นเดียวกับสัตว์ พืช และอื่น ๆ แต่เมื่อรู้ เต๋อคือคุณธรรมอันยิ่งใหญ่ที่ทำให้ชีวิตมนุษย์มีค่าโดยสมบูรณ์ เมื่อรู้จักเต๋อย่อมรู้จักเต๋า และชีวิตย่อมเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับจักรวาล การค้นหาสัจจะจึงต้องกระทำภายในตัวชีวิตของมนุษย์เอง เพราะสัจจะนั้นสมบูรณ์อยู่ในธรรมชาติเดิมแท้ของมนุษย์แล้ว


ชีวิตที่รู้จักเต๋อ และเข้าถึงเต๋า ย่อมอยู่เหนือความดีและความชั่ว อยู่เหนือความเป็นคู่ (Duality) ของสิ่งทั้งหลาย เหลาจื้อกล่าวว่า “ชนในโลกเมื่อรู้จักความงามว่าเป็นความงามแล้ว ความมางามก็เกิดขึ้น เมื่อรู้จักความดีว่าเป็นความดีแล้ว ความชั่วก็เกิดขึ้น” (บท 2)


บุคคลผู้สูงส่งไม่ยึดติดในคุณความดี แต่คุณความดีก็ยังอยู่กับเขา ผู้ที่ต่ำกว่านั้นพยายามยึดติดคุณความดี แต่คุณความดีได้จากเขาไป (บท 38)


เมื่อเต๋อสูญเสียไป มนุษยธรรมจึงได้เกิดขึ้น เมื่อมนุษยธรรมได้สูญเสียไป ความชอบธรรมจึงได้เกิดขึ้น เมื่อความชอบธรรมได้สูญเสียไป พิธีรีตองจึงได้เกิดขึ้น พิธีรีตองเป็นความตกต่ำของความซื่อตรงและความเชื่อมั่นที่ดี และเป็นจุดเริ่มต้นของความยุ่งยากในโลก (บท 38)


สำหรับเหลาจื้อแล้ว ความดีและความชั่วที่สั่งสอนกันในโลก เป็นเพราะมนุษย์พลาดไปจากสัจจะที่สูงส่งนั่นเอง


บุคคลทั้งหลายได้สูญเสียเต๋ออันเป็นคุณสมบัติดั้งเดิมของเขา ด้วยเหตุสองประการ คือ


1. เพราะเขามีความปรารถนามากเกินไป (Too many desires)


2. เป็นเพราะเขามีความรู้มากเกินไป (Too much knowledge)


ในประการแรกเมื่อมนุษย์เกิดความปรารถนาขึ้น ก็ออกแสวงหาสิ่งที่จะมาสนองความปรารถนานั้น แต่ถ้าการแสวงหานั้นมีมากเกินไป แทนที่จะได้ผลดีกลับจะได้รับผลในทางตรงกันข้ามเหลาจื้อกล่าวว่า


สีทั้งห้าทำให้คนตาบอด เสียงทั้ง 5 ทำให้หูหนวก รสทั้ง5ทำให้ลิ้นด้าน การขี่ม้าและสัตว์ทำให้จิตใจเตลิด ทรัพย์สมบัติที่หายากปิดบังความประพฤติอันถูกต้อง (บท 12)


ไม่มีความทุกข์ยากอันใดจะใหญ่ไปกว่าการไม่รู้จักพอ ไม่มีบาปอันใด จะใหญ่ไปกว่าความโลภ ผู้ที่รู้จักพอเท่านั้นจึงจะมีเพียงพออยู่เสมอ (บท 46)


เหลาจื้อจึงต้องการให้บุคคลทั้งหลายมีความปรารถนาแต่น้อย เพื่อว่าความปรารถนาเหล่านั้นจะได้ไม่บดบังการแสวงหาเต๋ออันมีอยู่แต่เดิมในชีวิตของเขา


ในประการที่ 2 เหล่าจื้อไม่ต้องการให้คนรู้อะไรมาก เพราะความรู้ที่คนส่วนใหญ่แสวงหากันอยู่ไม่ใช่ความรู้ที่แท้จริง ยิ่งรู้มากก็ยิ่งมีความปรารถนามากและยิ่งก่อความยุ่งยากมากขึ้น “เมื่อความรู้และความเฉลียวฉลาดเกิดขึ้น เล่ห์เหลี่ยมความฉ้อฉลก็เกิดขึ้นด้วย” (บท 18) ดังนั้นเหลาจื้อจึงต้องการให้คนรู้แต่น้อย แต่รู้ให้จริง คือรู้จักเต๋ากับเต๋อนั่นเอง เหลาจื้อกล่าวว่า “ผู้ที่รู้จริงย่อมไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมาก ผู้ที่รู้อะไรมากมักไม่ใช่ผู้ที่รู้จริง” (บท 81)


และสุดท้ายเหลาจื้อได้ทิ้งข้อคิดไว้ว่า

บัณฑิตได้สดับเรื่องเต๋าแล้ว ก็ย่อมปฏิบัติตามเต๋าด้วยความหากเพียร ผู้ที่ฉลาดปานกลางได้สลับเรื่องเต๋าแล้ว ไม่สู้จะเชื่อมั่นคงนัก ส่วนผู้ที่ต่ำต้อยกว่าสดับเรื่องเต๋าแล้ว ก็ชวนกันหัวเราะเยาะ อันที่จริงถ้าคนเหล่านั้นไม่หัวเราะเยาะเต๋าก็ปราศจากคุณค่าสมควรกับความเป็นเต๋าของมัน (บท 41)

หลักจริยธรรม (Ethics) 
หลักจริยธรรมของเหลาจื้อ พอจะประมวลเป็นหัวข้อใหญ่ ๆ ได้ 4 หัวข้อ ดังนี้

1. การรู้จักตนเอง
2. การชนะตนเอง
3. ความสันโดษ
4. อุดมคติแห่งเต๋า

(1) การรู้จักตนเอง


จริยธรรมที่เด่นที่สุดข้อหนึ่งที่เหลาจื้อสอนก็คือให้รู้จักตัวเอง การรู้จักตัวเอง 
การรู้จักตังเองในที่นี้หมายถึงการรู้จักธรรมชาติภายในที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตจิตใจของมนุษย์โดยตรง เหลาจื้อไม่ส่งเสริมการแสวงหาความรู้ภายนอกเพราะมีแต่จะทำให้คนเราเหินห่างจากความรู้ความเข้าใจในชีวิตของตนและก่อให้เกิดความยุ่งยากขึ้นแก่โลกไม่มีสิ้นสุด

เหลาจื้อกล่าวว่า “ผู้ใดไม่รู้จักกฎธรรมชาติและปฏิบัติอย่างคนตาบอด ผู้นั้นย่อมได้รับความทุกข์ ผู้ใดรู้จักกฎธรรมชาติและปฏิบัติตาม ผู้นั้นย่อมเข้าใจและย่อมเข้าถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแก่น” (บท 16) จากคำพูดนี้ เหลาจื้อเน้นที่การรู้จักกฎธรรมชาติที่ครอบงำชีวิตและจิตใจของมนุษย์ การรู้จักและเข้าใจกฎธรรมชาตินี้คือการรู้จักและเข้าใจตัวเอง

“ผู้ที่รู้จักบุคคลอื่นที่เป็นผู้เฉลียวฉลาด ผู้ที่รู้จักตนเองชื่อว่าเป็นผู้ที่มีแสงสว่าง” (บท 33) แสงสว่างในที่นี้หมายถึงปัญญาที่เกิดขึ้นจากความรู้ความเข้าใจในกฎธรรมชาติที่เกี่ยวเนื่องกับชีวิตจิตใจของตน เป็นปัญญาที่รุ่งเรื่องสว่างไสวอยู่ภายใน

“ไม่ต้องออกจากประตูบ้าน ก็สามารถรู้ความเป็นไปในโลกได้ ไม่ต้องมองออกไปนอกหน้าต่าง ก็สามารถเห็นวิถีทางของธรรมชาติได้ ยิ่งแสวงหาไปไกลเท่าใด ก็ยิ่งรู้น้อยเท่านั้น ดังนั้น บัณฑิตจึงสามารถรู้ได้โดยไม่ต้องเดิน เห็นได้โดยไม่ต้องมอง และบรรลุผลสำเร็จได้โดยไม่ต้องยุ่งยากวุ่นวาย” (บท 47) ความรู้ในกฎธรรมชาติของชีวิต เป็นความรู้ที่สูงที่สุด ความรู้นี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแสวงหาได้จากภายนอก เป็นความรู้ที่ต้องแสวงหาจากชีวิตจิตใจภายในของตนเอง และเป้นความรู้ที่ทำให้เข้าใจสรรพสิ่งตามที่เป็นจริงได้ถึงที่สุด ถ้าหากว่าสิ่งแสวงหาความรู้ภายนอกไปไกลเท่าใด ก็จะยิ่งรู้จักตัวเองน้อยเท่านั้น ดังนั้น ในการแสวงหาความรู้ที่สูงที่สุดคือ ความรู้ในธรรมชาติของชีวิต บุคคลไม่จำเป็นจะต้องเดินทางไปแสวงหาในที่ไกล ๆ ไม่จำเป็นต้องแสวงหาจากสิ่งภายนอก เพียงแต่สนใจศึกษาธรรมชาติภายในเท่านั้นก็อาจบรรลุผลสำเร็จได้

“ผู้รู้ไม่พูด ผู้พูดไม่รู้” (บท 56) ความรู้ในกฎธรรมชาติของชีวิต เป็นสิ่งที่มาสามารถแสดงออกได้ด้วยคำพูดหรือด้วยภาษาใดๆ เป็นความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ในส่วนลึกของจิตใจโดยตรง และประสบการณ์นี้ไม่สามารถถ่ายทอดกันได้ด้วยคำพูด นอกจากจะต้องประสบด้วยตนเองเท่านั้น คำพูดหรือภาษาเปรียบเหมือนนิ้วมือที่ชี้ไปยังดวงจันทร์ แต่ไม่ใช่ดวงจันทร์ ถ้าต้องการรู้จักดวงจันทร์จะต้องมองไปที่ดวงจันทร์ไม่ใช่มามองที่นิ้วมือ คำพูดหรือภาษาจึงเป็นเพียงสื่อเท่านั้น ความรู้ที่แท้จริงจะต้องเกิดจากประสบการณ์โดยตรง

“ผู้รู้จริงย่อมไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมาก ผู้รู้อะไรมากมักจะไม่ใช่ผู้รู้ที่แท้จริง” (บท 81) ความรู้ในกฎธรรมชาติของชีวิตเป็นความรู้ที่แท้ที่สุด เพราะเป็นความรู้ที่ประจักษ์และเห็นแจ้งด้วยตนเอง ผู้ที่รู้จักกฎธรรมชาติได้อย่างถ่องแท้แล้วไม่จำเป็นต้องรู้อะไรมากอีก เพราะความรู้ที่นอกเหนือไปจากนั้นเป็นความรู้ที่ไม่จำเป็นต่อชีวิตโดยตรง ผู้ที่มัวแต่แสวงหาความรู้ภายนอกอันไม่จำเป็นต่อชีวิตและมีมากนับไม่ถ้วน มักจะเป็นผู้ที่ไม่รู้จักกฎธรรมชาติของชีวิตอย่างแท้จริง


ดังนั้นจริยธรรมข้อแรกของเหลาจื้อ คือ “จงรู้จักตนเอง” การรู้จักตนเองคือการรู้จักกฎธรรมชาติของชีวิต การรู้จักกฎธรรมชาติของชีวิตก็คือการรู้จักเป้าหมายอันแท้จริงของชีวิตนั่นเอง

(2) การชนะตัวเอง



เมื่อรู้จักกฎธรรมชาติของชีวิตได้อย่างถ่องแท้และปฏิบัติตามกฎธรรมชาตินั้นอย่างถึงที่สุดแล้ว จนกระทั่งตัวเองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกฎธรรมชาตินั้น ไม่มีการฝืนใจอีกต่อไป เรียกว่า การชนะตัวเองได้อย่างเด็ดขาด


เหลาจื้อกล่าวว่า “ผู้ที่ชนะบุคคลอื่นชื่อว่าเป็นผู้มีกำลัง ผู้ที่ชนะตนเองชื่อว่าเป็นผู้เข้มแข็ง” (บท 33) การชนะบุคคลอื่นไม่ประเสริฐเท่าการชนะตัวเอง เพราะศัตรูที่แท้จริงของมนุษย์นั้นไม่ได้อยู่ภายนอก แต่อยู่ภายในจิตใจของมนุษย์นั่นเอง และศัตรูที่สำคัญที่สุดของมนุษย์ก็คือ อวิชชา ความไม่รู้ถึงกฎธรรมชาติของชีวิต การชนะตัวเองจึงหมายถึง การชนะอวิชชา และรู้แจ้งเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับกฎธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ของชีวิต


“ผู้ที่รู้จักกฎธรรมชาติจะเป็นอิสระ เมื่อเป็นอิสระก็จะไม่มีอคติ เมื่อไม่มีอคติก็จะเข้าใจในสิ่งทั้งปวง เมื่อเข้าใจในสิ่งทั้งปวงก็จะกว้างขวาง เมื่อกว้างขวางก็จะเข้าถึงความจริง เมื่อเข้าถึงความจริงเขาจะคงอยู่ตลอดไป และจะไม่ล้มเหลวตลอดชีวิตของเขา” (บท 16) นี่คือลักษณะของผู้ที่รู้จักกฎธรรมชาติของชีวิตและสามารถปฏิบัติตามกฎธรรมชาตินั้นได้สำเร็จ เป็นการรู้จักตัวเองและชนะตัวเองอย่างแท้จริง


“นี้คือความลับของชีวิต ความอ่อนโดยชนะความกระด้าง ความอ่อนแอชนะความแข็งแรง”(บท 36) ผู้ที่ชนะตัวเองจะมีลักษณะอ่อนโยน และในสายตาของปุถุชนทั่วไปอาจจะเห็นว่าเป็นคนอ่อนแอ เพราะหมดพิษภัยที่จะทำร้ายหรือเบียดเบียนผู้อื่น แต่ความอ่อนโยนและความ “อ่อนแอ” ของผู้ที่ชนะตัวเองนั้น จะมีความเข้มแข็งเด็ดขาดในส่วนลึก จึงไม่มีสิ่งใดจะต้านทางเขาได้


“จงปลูกฝังคุณธรรมให้เกิดขึ้นในตัวเอง จนกระทั่งเป็นอันหนึ่งอันเดียวแยกกันไม่ออก... ฉันรู้จักโลกและชีวิตได้อย่างไร ก็ด้วยสิ่งที่มีในตัวฉัน” (บท 54) การปลูกฝังคุณธรรมให้เกิดขึ้นแก่ตัวเองเป็นการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติของชีวิต และเป็นวิถีทางที่จะเอาชนะตัวเอง เมื่อชนะตัวเองได้ก็จะชนะทุกสิ่งทุกอย่าง


ดังนั้นจริยธรรมข้อที่สองนี้ คือ “จงชนะตัวเอง” ชนะตัวเองคือการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติของชีวิตได้ถึงที่สุด เมื่อปฏิบัติตามกฎธรรมชาติของชีวิตได้ถึงที่สุดจึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติเมื่อเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่าง


(3) ความสันโดษ


เมื่อรู้จักกฎธรรมชาติของชีวิตและปฏิบัติตามกฎธรรมชาตินั้นจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับตัวธรรมชาติแล้ว ชีวิตก็จะเกิดความรู้สึกที่เต็มเปี่ยมขึ้นมา มีแต่ความหยุดความพอ ไม่รู้สึกขาดตกบกพร่องอีกต่อไป นี้คือชีวิตที่มักน้อยสันโดษที่สุด


เหลาจื้อกล่าวว่า “ผู้ที่รู้จักพอจะพ้นจากความเสื่อมเสีย ผู้รู้จักหยุดจะพ้นภัยพิบัติ” (บท 44) สำหรับชีวิตที่มีความเต็มเปี่ยมอยู่ภายในนั้นไม่ต้องการอะไรอีก นอกจากเครื่องยังชีพเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามสมควรแก่อัตภาพเท่านั้น เพราะว่าชีวิตได้บรรลุถึงความสมบูรณ์หมดจดถึงที่สุดแล้ว ความเสื่อมเสียและภัยพิบัติทั้งปวงย่อมไม่มีสำหรับเขา


“ไม่มีความทุกข์ยากอันใดจะใหญ่ไปกว่าการไม่รู้จักพอ ไม่มีบาปอันใดจะใหญ่ไปกว่าความโลภ ผู้ที่รู้จักพอเท่านั้นจึงจะมีเพียงพออยู่เสมอ” (บท 46) สำหรับชีวิตที่พร่องอยู่ภายในนั้น จะต้องหาสิ่งต่าง ๆ มาเติมอยู่เสมอ แต่ดูเหมือนว่ายิ่งเติมก็ยิ่งพร่องมากขึ้น นอกเสียจากว่าเขาจะเติมชีวิตของเขาให้เต็มขึ้นมาด้วยความรู้และความเข้าใจในกฎธรรมชาติของชีวิต ผู้ที่เข้าใจและเข้าถึงธรรมชาติของชีวิตเท่านั้นจึงจะรู้สึกว่ามีเพียงพออยู่เสมอ


“ดังนั้นบัณฑิตจึงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติอันยิ่งใหญ่ และเป็นแบบอย่างแก่โลกโดยไม่ได้แสดงตัวเขาก็เป็นที่รู้จัก โดยไม่ได้อวดอ้างคุณสมบัติเขาก็มีชื่อเสียง โดยไม่ได้โอ้อวดความสามารถเขาก็ได้รับความนับหน้าถือตา โดยไม่ได้มีมานะทิฐิเขาก็ได้ปกครองคนอื่น และโดยไม่ได้แข่งขันกับใครก็ไม่มีใครสามารถจะแข่งขันกับเขาได้” (บท 22)


“ผู้ที่โอ้อวดตัวเองจะไม่เป็นที่ชื่นชอบ ผู้ที่อวดอ้างคุณสมบัติของตัวเองจะไม่รุ่งโรจน์ ผู้ที่โอ้อวดความสามารถของตัวเองจะไม่ได้รับความนับหน้าถือตา ผู้ที่มีมานะทิฐิจะไม่ได้ปกครองคนอื่น” (บท 24) นี่คือความจริงที่ซ่อนเร้นอยู่ในธรรมชาติของชีวิต กล่าวคือ ยิ่งจะเอาก็ยิ่งไม่ได้ ยิ่งไม่เอาก็จะยิ่งได้


“คนดีย่อมไม่ต้องพูดโต้เถียงเพื่อตัวเอง คนที่ชอบพูดโต้เถียงเพื่อตัวเองมักไม่ใช่คนดีจริง”(บท 81) สำหรับผู้ที่มีความเต็มภายใน เขาย่อมอ่อนน้อมถ่อมตนอยู่เสมอ และถ้าหากเขารู้สึกว่าได้กระทำผิดลงไปเขาก็จะยอมรับความผิดนั้น เขาจะไม่โต้เถียงเพื่อตัวเองเป็นอันขาด ชีวิตของเขาเป็นชีวิตของความอ่อนน้อมถ่อมตนและสันโดษ


ดังนั้นจริยธรรมข้อที่สามของเหลาจื้อคือ “จงพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่” ความพอใจในสิ่งที่ตัวเองมีอยู่เป็นความรู้สึกของชีวิตที่มีความเต็มเปี่ยมอยู่ภายใน ชีวิตที่มีความเต็มเปี่ยมอยู่ภายในคือชีวิตที่รู้จักและเข้าถึงธรรมชาตินั่นเอง


(4) อุดมคติแห่ง “เต๋า”


การรู้จักกฎธรรมชาติของชีวิตการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติของชีวิตจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาติ ความรู้สึกที่เต็มเปี่ยมอยู่ภายในตัวชีวิต ทั้งหมดนี้คืออุดมคติแห่ง “เต๋า”


“ผู้ที่ปฏิบัติตาม เต๋าย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเต๋า ผู้ที่ปฏิบัติตามเต๋อ ย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ เต๋อ... ผู้ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ เต๋า เต๋าย่อมต้อนรับด้วยความยินดี ผู้ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ เต๋อ เต๋อย่อมต้อนรับด้วยความยินดี” (บท 23) ผู้ที่ปฏิบัติตามกฎจริยธรรมอันสูงสุด ย่อมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับจริยธรรมอันสูงสุด และจริยธรรมอันสูงสุดนั้นย่อมต้อรับเขาด้วยความยินดี


“สิ่งที่สมบูรณ์ที่สุดดูคล้ายกับไม่สมบูรณ์แต่ก็ใช้ไม่รู้จักพร่องสิ่งที่เปี่ยมที่สุดดูคล้ายกับว่างเปล่าแต่ก็ใช้ไม่หมด สิ่งที่ตรงที่สุดดูคล้ายกับคดงอ ผู้ที่ชำนาญที่สุดดูคล้ายกับงุ่มง่าม ผู้ที่พูดจับใจที่สุดดูคล้ายกับตะกุกตะกัก” (บท 45) นี้คือธรรมชาติของเต๋า ผู้ที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ เต๋า เป็นบุคคลที่สมบูรณ์ที่สุด เต็มเปี่ยมที่สุด ซื่อสัตย์ที่สุด ชำนาญที่สุด และพูดจับใจที่สุด แต่โดยลักษณะภายนอกเขาดูคล้ายกับเป็นตรงกันข้าม


“ผู้ที่เปี่ยมด้วยเต๋อ ชีวิตเขาอ่อนโยนและซื่อตรงคล้ายกับเด็ก” (บท 55) ความอ่อนโยนซื่อตรงของเด็กเกิดจากความไร้เดียงสาและอ่อนต่อโลก แต่ความอ่อนโยนและซื่อตรงของบัณฑิตผู้เต็มเปี่ยมอยู่ด้วยเต๋อ เกิดจากความรอบรู้และความเข้าใจในธรรมชาติอย่างลึกซึ้ง ความอ่อนโยนและซื่อตรงทั้งสองกรณีนี้ แม้จะมีลักษณะเหมือนกันแต่อันหนึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติโดยขาดปัญญารองรับ ส่วนอีกอันหนึ่งเกิดขึ้นจากการขัดเกลาอบรมตัวเองจนถึงที่สุดโดยปัญญาเป็นฐานรองรับ


ดังนั้น จริยธรรมข้อที่สี่ของเหลาจื้อคือ “จงมีเต๋า เป็นอุดมคติ” การมีเต๋าเป็นอุดมคติคือ การปฏิบัติตามเต๋า เมื่อปฏิบัติตามเต๋าได้โดยสมบูรณ์ชีวิตก็เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ เต๋า ชีวิตที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับ เต๋า ก็คือชีวิตที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกับทุกสิ่งทุกอย่าง นี่คือเป้าหมายอันแท้จริงของชีวิต


จริยธรรมทั้งหมดของเหลาจื้อที่กล่าวมาแล้วก็คือ การรู้จักตัวเอง การชนะตัวเอง ความสันโดษ และอุดมคติแห่ง เต๋า นั้นในความหมายที่ลึกซึ้งที่สุดแล้วเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันแยกกันไม่ออก การรู้จักตัวเองก็คือการรู้จักธรรมชาติของชีวิต การชนะตัวเองก็คือการปฏิบัติตามกฎธรรมชาติของชีวิตจนเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับธรรมชาตินั้น ความสันโดษจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อชีวิตมีความเต็มเปี่ยมอยู่ภายใน และทั้งหมดนี้คือชีวิตในอุดมคติของ “เต๋า” นั่นเอง


ทฤษฎีการเมือง (Political Theory)


ตามทัศนะของปรัชญาขงจื้อรักปราชญ์เท่านั้นที่ควรเป็นผู้ปกครองรัฐ และเมื่อนักปราชญ์ได้เป็นผู้ปกครองรัฐ เขาก็มีหน้าที่ที่จะต้องกระทำหลายสิ่งหลายอย่างเพื่อประชาชนของเขา ปรัชญาเต๋าเห็นด้วย เฉพาะในประเด็นที่ว่านักปราชญ์ควรเป็นผู้ปกครองรัฐ แต่คุณสมบัติของนักปราชญ์ในปรัชญาเต๋าต่างไปจากนักปราชญ์ในปรัชญาขงจื้อ เมื่อนักปราชญ์ในปรัชญาเต๋าได้ปกครองรัฐเขาก็จะมีหน้าที่ที่จะ “ไม่กระทำ (วู-เหว่ย)” ในรัฐของเขา เพราะว่าความยุ่งยากทั้งหลายในโลกนี้มิได้เกิดขึ้นเพราะการที่ยังไม่ได้ทำสิ่งต่างๆ แต่เกิดขึ้นเพราะการทำสิ่งต่างๆ หลายสิ่งหลายอย่างมากเกินไป เหลาจื้อกล่าวว่า

ยิ่งมีกฎเกณฑ์และข้อบังคับมากเท่าใด ประชาชนก็ยิ่งยากจนลงเท่านั้น ยิ่งมีอาวุธมากเท่าใด ประเทศก็ยิ่งจะมีความยุ่งยากมากเท่านั้น ยิ่งมีผู้ชำนาญงานที่ฉ้อฉลมากเพียงใด ก็จะยิ่งมีโครงการที่ร้ายกาจเกิดขึ้นเพียงนั้น ยิ่งอกกฎหมายมากเท่าใด โจรผู้ร้ายและคนคดโกงก็ยิ่งจะมีมากเท่านั้น (บท 57)

หน้าที่ประการแรกของนักปราชญ์ผู้ปกครองรัฐคือผู้ปลดปล่อยทุกสิ่งทุกอย่างให้เป็นอิสระเหลาจื้อกล่าวว่า “จงทอดทิ้งความเฉลียวฉลาด เลิกละวิชาความรู้ แล้วประชาชนจะได้รับประโยชน์เพิ่มขึ้นอีกร้อยเท่า จงทอดทิ้งเรื่องมนุษยธรรม เลิกละแนวคิดเรื่องความชอบธรรม แล้วประชาชนจะตรงต่อหน้าที่และมีความกรุณาต่อกัน จงทอดทิ้งความเชี่ยวชาญ เลิกละผลกำไร แล้วขโมยและคนฉ้อฉลจะหมดไปเอง (บท 19)”

อย่าได้ยกย่องความเก่ง ประชาชนจะไม่ทะเลาะเบาะแว้ง อย่าได้ยกย่องสิ่งที่มีค่าประชาชนจะไม่คดโกง ถ้าประชาชนไม่เห็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความปรารถนา จิตใจของเขาก็จะไม่สับสนดังนั้นนักปราชญ์จึงปกครองโดยทำให้จิตใจผ่อนคลาย ทำให้ท้องอิ่ม ทำความปรารถนาให้น้อยลง และทำให้ร่างกานแข็งแรงให้ประชาชนเป็นอิสระจากความรู้และความปรารถนาอยู่เสมอ (บท 3)


เมื่อนักปราชญ์ได้ยกเลิกสิ่งที่เป็นสาเหตุของความยุ่งยากในโลกหมดแล้ว หน้าที่ต่อไปก็คือทำการ “ปกครองโดยไม่ปกครอง” ตามหลักวู-เหว่ย โดยที่ไม่ทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างก็สำเร็จด้วยดีเหลาจื้อ กล่าวว่า “โดยที่ฉันไม่ได้กระทำสิ่งใด ประชาชนก็เปลี่ยนแปลงเอง โดยความสงบของฉัน ประชาชนก็เกิดความสงบสุขเอง โดยที่ฉันไม่ได้เข้าไปยุ่งเกี่ยวประชาชนก็รุ่งเรืองมั่งคั่งด้วยตนเอง โดยที่ฉันไม่มีความปรารถนาในสิ่งใด ประชาชนก็มีสิ่งที่เรียบง่ายเอง” (บท 57)

การเคารพยกย่อง(The Veneration of the Lao Tzu)
-ค.ศ. 156
จักรพรรดิหวัน (Hwan) ของจีนได้ประกอบพิธีบูชาเหลาจื้อเป็นครั้งแรก

-คริสต์ศตวรรษที่ 4
เกิดมีความเชื่อในสิ่งเหนือธรรมชาติเกี่ยวกับ “นักปราชญ์ผู้น่าเคารพ” (The Venerable Philosopher) โดยที่ชื่อ “เหลาจื้อ” สามารถแปลได้อีกอย่างหนึ่งว่า “เด็กแก่” (The Old Boy) จึงเกิดความเชื่อที่เล่าลือขึ้นมาว่าเหลาจื้ออยู่ในครรภ์มรดานาน 72 ปี หรือ 81 ปี ครั้นเมื่อคลอดออกมาก็มีผมสีขาวเต็มศีรษะมีความเฉลียวฉลาดและสติปัญญาเกินเด็กธรรมดาและเป็นผู้ที่เติบโตโดยสมบูรณ์ตั้งแต่คลอด (SBE,39:35 note 1)

-ค.ศ. 586
เมื่อวัดในบ้านเกิดของเหลาจื้อได้รับการบูรณะซ่อมแซมมีการจารึกในแผ่นจารึกในแผ่นศิลาถึงเรื่องการมาเกิดอีกหลายครั้งของเหลาจื้อ (SBE, 40:311-313)

-ค.ศ. 666
จักรพรรดิเกา-จุง (Kao Tsung) แห่งราชวงศ์ (Tang) ได้ประกาศแต่งตั้งให้เหลาจื้อเป็น “พระจักรพรรดิผู้สูงสุดแห่งต้นกำเนิดอันเร้นลับ” (The Most High Emperor of Mystic Origin) และงานเขียนของท่านได้ถูกรวมอยู่ในวิชาสำหรับสอบบรรจุเข้ารับราชการ

ค.ศ. 713-742
เหลาจื้อได้รับยกย่องให้เป็น “บรรพบุรุษนักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่” (The Great Sage Ancestor)

-ยุคต่อมา

เหลาจื้อได้ถูกจัดให้เป็นหนึ่งในสามสิ่งแห่งปรัชญาเต๋า (Taoist Trinity) สิ่งที่สองได้แก่หลักในทางอภิ-ปรัชญา ของปรัชญาเต๋า สิ่งที่สาม ได้แก่บุคคลในประวัติศาสตร์อีกคนหนึ่งซึ่งเป็นที่รู้จักกันว่า “พระจักรพรรดิไข่มุก” (The Pearly Emperor) (Soothill 1923, 82-83)