วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

อริสโตเติล

อริสโตเติล
(Aristotle,  384-322  B.C.)
อริสโตเติล  (Aristotle,  384-322  ก่อน  ค..)  เป็นนักปรัชญาชาวกรีกที่เป็นศิษย์คนสำคัญของเพลโต  และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักลีเซียม  (Lyceum)
ปรัชญาของอริสโตเติลนั้นแม้จะมีรากฐานมาจากความคิดของเพลโต  และแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของอริสโตเติลก็คล้ายกับของเพลโตในเรื่องของการเลียนแบบ  แต่หากดูในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย  โดยเฉพาะในเรื่องตำแหน่งที่อยู่ของความงามและคุณค่าของงานศิลปะ
สุนทรียศาสตร์ของอริสโตเติลได้มาจากบทความ  (เขียนประมาณ  347-342  B.C.)  ที่หลงเหลือและรวบรวมเป็นเล่ม  (ในชื่อ  Poetics)  และมีการปรับปรุงโดยอริสโตเติลและลูกศิษย์ในเวลาต่อมา  ถึงแม้เนื้อหาจะถูกเปลี่ยนแปลง  การโต้เถียงเข้มข้นและชวนสงสัย  แต่ก็มีอิทธิพลในศตวรรษต่อมาเป็นเวลายาวนาน
แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของอริสโตเติล  ส่วนใหญ่จะเป็นความคิดเกี่ยวกับศิลปะหลายประเภท  เช่น  กวีนิพนธ์  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ดนตรี  โดยแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของเขาได้มากจากเรื่อง  กวีนิพนธ์”  (Poetics)  ซึ่งเป็นงานชิ้นเดียวที่หลงเหลืออยู่  โดยเชื่อกันว่าอริสโตเติลเขียนงานชิ้นนี้ในช่วงเวลา  347-342  ก่อนคริสตกาล

อริสโตเติลจัดประเภทของศิลปะได้ชัดเจนกว่าเพลโต  แต่ยังคงเชื่อว่าศิลปะคือการเลียนแบบ  และสิ่งที่ศิลปะเลียนแบบคือวัตถุและเหตุการณ์และเรียกผลงานศิลปะนี้ว่า  “ศิลปะเลียนแบบ”  (imitative  art)  อริสโตเติลแบ่งศิลปะเลียนแบบออกเป็นสองประเภทใหญ่ๆ  คือ
1.  ศิลปะเลียนแบบปรากฏการณ์ที่มองเห็น  (วัตถุ)  ด้วยสีและเส้น  เช่น  จิตรกรรม
2.  ศิลปะเลียนแบบการกระทำ  (เหตุการณ์)  โดยคำพูด  เพลงและการเต้นรำ  ประเภทที่สองเรียกว่าศิลปะกวีนิพนธ์  (art  of  poetry)
ศิลปะกวีนิพนธ์  บางครั้งใช้ในความหมายกว้าง  คือหมายถึงศิลปะโดยทั่วๆ  ไป  (ใน  Metaphysics)  ดังนั้น  ศิลปะกวีนิพนธ์จึงต่างจากจิตรกรรมด้วยสื่อ-ใช้คำพูด  จังหวะ  ทำนอง  ศิลปะกวีนิพนธ์ต่างจากปรัชญาและประวัติศาสตร์ตรงที่เนื้อหาที่เลียนแบบ  ศิลปะกวีนิพนธ์แบ่งออกเป็นสองประเภท  คือ  ละคร  (drama)  และมหากาพย์  (epics)
ละครยังแยกออกเป็นโศกนาฏกรรม  (tregedy)  และสุขนาฏกรรม  (comedy)
โศกนาฏกรรมและมหากาพย์ต่างจากสุขนาฏกรรมด้วยเรื่องราวหรือเหตุการณ์ที่เครียดและเศร้า
ละครมีลักษณะของการแสดง  (damatic)
ส่วนมหากาพย์ใช้การบรรยายเรื่องราว  (เขียนใน  Poetics)
อริสโตเติลได้ตั้งคำถามสำคัญอันหนึ่งของศิลปะกวีนิพนธ์  คำถามนั้นคือว่า  ธรรมชาติที่แท้จริงของศิลปะกวีนิพนธ์คืออะไร  คำตอบในเรื่องนี้สัมพันธ์กับกฎของการคิดหรือสาเหตุ  4  ประการ  (four  causes)  หรือ  4  แบบของการอธิบาย  (เขียนใน  Physics)  ตัวอย่างของอริสโตเติลเกี่ยวกับประติมากรรม  (ปรากฏใน  Metaphysics)  ดังนี้
1.  สาเหตุทางวัตถุ  (material  cause)  เช่น  บรอนซ์
2.  สาเหตุทางแบบหรือรูปแบบ  (formal  cause)  -  รูปแบบของประติมากรรม
3.  สาเหตุของผล  (efficient  cause)  -  ตัวประติมากรหรือกิจกรรมของประติมากร  และ
4.  สาเหตุสุดท้าย  (final  cause)  -  เป้าหมายหรือประโยชน์ที่ทำให้เป็นประติมากรรมชิ้นนี้
สาเหตุที่  4  นี้  คือสาเหตุของความดีของโศกนาฏกรรมหรือศิลปะกวีนิพนธ์  ซึ่งใช้เป็นสิ่งประเมินคุณค่าของศิลปะกวีนิพนธ์  มันเป็นข้อสรุปที่เราควรรู้ในการเข้าใจศิลปะกวีนิพนธ์  นอกเหนือจากการสืบสาวเชิงปรนัย  จากลักษณะข้อเท็จจริงของมัน
ความเพลิดเพลินเฉพาะจากโศกนาฏกรรม 
(The  proper  pleasure  of  tragedy)
อริสโตเติลเชื่อว่าการที่เราจะเข้าใจโศกนาฏกรรมได้ดีนั้น  เราจะต้องรู้ถึงบทบาทหน้าที่และเป้าหมาย  (หรือสาเหตุสุดท้าย)  ของโศกนาฏกรรมก่อน  และอริสโตเติลก็เชื่อว่าบทบาทหน้าที่หรือสาเหตุสุดท้ายของโศกนาฏกรรมก็คือ  การให้ความเพลิดเพลินเฉพาะชนิดหนึ่ง  (proper  pleasure)  เป็นความเพลิดเพลินชนิดที่ได้รับจากโศกนาฏกรรมโดยเฉพาะ
โศกนาฏกรรมในแต่ละชิ้นจะให้ความเพลิดเพลินชนิดนี้ในระดับที่ต่างกัน  ความเพลิดเพลินชนิดนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง  เพราะใช้ประเมินคุณค่าของโศกนาฏกรรม  แต่ความเพลิดเพลินชนิดนี้มาจากอะไร  คุณสมบัติอะไรในโศกนาฏกรรมที่ทำให้เกิดความเพลิดเพลินแก่เราอริสโตเติลบอกเราว่ามันมาจากสองสาเหตุ
สาเหตุประการแรกมาจากการเลียนแบบ
สาเหตุประการที่สองมาจากทำนองและจังหวะ  (melody  and  rhythm)
สาเหตุประการแรกนั้น  อริสโตเติลคิดว่ามนุษย์ในฐานะที่เป็นสัตว์ที่มีเหตุผล  ย่อมจะได้รับความเพลิดเพลินจากการเลียนแบบ  เพราะการได้เห็นหรือการได้รู้จักสิ่งที่เลียนแบบคือการเรียนรู้ชนิดหนึ่ง  (เช่น  การได้เห็นภาพสุนัขตัวหนึ่ง)  และการเรียนรู้ทุกอย่างให้ความเพลิดเพลินแก่เรา  ดังนั้นผลงานจิตรกรรม  ประติมากรรม  และกวีนิพนธ์ซึ่งเป็นผลงานที่เกิดจากการเลียนแบบ  ย่อมจะให้ความเพลิดเพลินแก่เราด้วยถึงแม้ว่าสิ่งที่ถูกเลียนแบบเป็นสิ่งที่ไม่ได้ให้ความเพลิดเพลินแก่เรา  แต่ตราบเท่าที่สิ่งที่เลียนแบบกับสิ่งที่ถูกเลียนแบบมีลักษณะเหมือนกัน  การเรียนรู้ย่อมเกิดขึ้น  และย่อมนำมาซึ่งความเพลิดเพลิน  (จาก  Rhetoric)
สถานะทางความรู้ของศิลปะตามความคิดของอริสโตเติลในลักษณะเช่นนี้  ย่อมแตกต่างไปจากของเพลโต  การเรียนรู้หรือการได้เห็นสิ่งที่เลียนแบบ  คือการมองเห็นลักษณะของสิ่งสากลไม่ใช่สิ่งเฉพาะซึ่งถือเป็นการรู้ที่แท้จริง
อริสโตเติลคิดว่าในการเห็นภาพสุนัข  เราจะเห็นมันในฐานะที่เป็นสุนัขตัวหนึ่ง  (เห็นลักษณะเหมือนกับสุนัขตัวอื่น)  ไม่ใช่ในฐานะที่เป็นสุนัขตัวนั้นตัวนี้  (เห็นลักษณะของสุนัขบางตัว)  ดังนั้นความรู้ที่ได้จากศิลปะมีความหมายที่ดีกว่าที่เพลโตกล่าวไว้  ซึ่งถือว่าศิลปะห่างไกลจากความจริงและเป็นสิ่งลวงตา  และดังนั้นความเพลิดเพลินที่ได้จากศิลปะในความคิดของอริสโตเติลย่อมจะมีความหมายที่ดีกว่าด้วย  เพราะเป็นความเพลิดเพลินที่ได้จากการรู้ความจริง
จากคำอธิบายข้างต้น  ย่อมแสดงให้เห็นว่าโศกนาฏกรรมให้ความเพลิดเพลินแก่เราเนื่องจากการเลียนแบบ  แต่ถ้าความเพลิดเพลินจากการเลียนแบบในโศกนาฏกรรมเป็นความเพลิดเพลินเดียวกับความเพลิดเพลินจากการเลียนแบบอย่างอื่น  ความเพลิดเพลินจากโศกนาฏกรรมย่อมไม่ใช่ความเพลิดเพลินเฉพาะชนิดหนึ่ง
อริสโตเติลได้พยาพยามตอบเรื่องนี้ว่ามีบางสิ่งที่ทำให้ความเพลิดเพลินจากโศกนาฏกรรมแตกต่างจากความเพลิดเพลินชนิดอื่น  บางสิ่งที่ว่านี้คือเนื้อหาที่เลียนแบบ  แต่การตอบเรื่องนี้ไม่ค่อยมีความชัดเจนมากนัก  อริสโตเติลบอกเราว่า  ความเพลิดเพลินชนิดที่เราได้รับจากโศกนาฏกรรม  เพราะเกิดจากการเลียนแบบเหตุการณ์ที่น่ากลัวและน่าเวทนา  (จาก  Rhetoric)  แต่การกล่าวเช่นนี้  ย่อมหมายความว่าความเพลิดเพลินจากโศกนาฏกกรมยังมีหลายประเภท  ขึ้นอยู่กับประเภทของเหตุการณ์  หรือเนื้อหาที่เลียนแบบอีก  ถ้าเลียนแบบเหตุการณ์อื่นย่อมให้ความเพลิดเพลินชนิดอื่น  เพียงแต่ถ้าเลียนแบบเหตุการณ์ที่น่ากลัวและน่าเวทนาจะให้ความเพลิดเพลินที่รุนแรงกว่า
การตีความดังกล่าวอาจจะถูกต้อง  แต่อาจก่อให้เกิดปัญหาบางประการ  เนื่องจากว่าความน่ากลัวและความน่าเวทนา  เป็นความรู้สึกที่เจ็บปวดเป็นทุกข์  มันจะปลุกความเพลิดเพลินแก่เราได้อย่างไร  คำตอบที่ใกล้เคียงที่สุด  เราน่าจะพบได้จากคำกล่าวของอริสโตเติลที่ว่า  บางสิ่งซึ่งในความเป็นจริงหรือในตัวมันเองเป็นความเจ็บปวด  แต่หากมีการเลียนแบบหรือทำขึ้นมาใหม่ให้เหมือน  ย่อมจะให้ความเพลิดเพลิน  เช่น  การเลียนแบบสัตว์ที่น่ากลัวหรือซากศพ  (จาก  Rhetoric)  บางทีความหมายของอริสโตเติลอาจจะเป็นว่า  เหตุการณ์ที่น่ากลัวหรือน่าเวทนาในละครอาจจะปลุกความรู้สึกที่เจ็บปวดแก่ผู้ดู  อย่างไรก็ตาม  มันไม่ได้ทำลายความเพลิดเพลินที่เราได้รับจากการเลียนแบบซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
ยังมีการตีความอีกอย่างที่น่าเป็นไปได้ นั้นคือว่าโศกนาฏกรรมเหตุการณ์ที่น่ากลัวกับเหตุการณ์ที่น่าเวทนา เป็นคนละเหตุการณ์กันแต่ความสัมพันธ์ของเหตุการณ์ทั้งสองส่งผลกระทบที่แน่นอนอันหนึ่ง (ปลุกความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง) เมื่อฉากสำคัญได้ผ่านพ้นไป ความรู้สึกที่น่ากลัวหรือเลวร้ายได้คลี่คลายลง ความน่าเวทนาเข้ามาแทนที่ การดำเนินเรื่องของโศกนาฏกรรม  เปลี่ยนความน่ากลัวไปเป็นความน่าเวทนาได้ปลดเปลื้องจากความน่ากลัว (หรือความรู้สึกเจ็บปวดอย่างอื่น เช่น ความโกรธหรือความเกลียดชัง) – ตัวอย่างจากละครเรื่อง โอดิปัส เร็ก (Oedipus Rex) การตีความนี้สอดคล้องความคิดของอริสโตเติล (ใน Rhetoric)
สำหรับสาเหตุประการที่สองที่ทำให้เรื่องโศกนาฏกรรมปลุกความเพลิดเพลินแก่คนดู คือคุณสมบัติของความกลมกลืนและจังหวะ (Melody and Rhythm) อริสโตเติลพูดถึงเรื่องนี้ไว้เพียงเล็กน้อยและไม้ชัดเจนนัก แต่ชวนให้สงสัยว่า ทำไมความกลมกลืนและจังหวะจึงปลุกความเพลิดเพลินแก่เรา คำตอบที่พอจะพบได้จากอริสโตเติลก็คือว่า เพราะความกลมกลืนและจังหวะจึงปลุกความเพลิดเพลินแก่เรา คำตอบที่พอจะพบได้จากอริสโตเติลก็คือว่า เพราะความกลมกลืนและจังหวะคือคุณสมบัติของความงาม
          อริสโตเติลบอกเราใน (nicomachean Ethics) ว่ากิจกรรมที่สมบูรณ์ย่อมให้ความเพลิดเพลินแก่เรา และเป็นความเพลิดเพลินเฉพาะตัวกิจกรรมชนิดที่แตกต่างกัน ย่อมให้ความเพลิดเพลินต่างกัน การใช้ผัสสะ (เช่นการดูรูปปั้น) หรือการครุ่นคิด (เช่น การอ่านหนังสือ) เป็นกิจกรรมชนิดหนึ่ง ย่อมให้ความเพลิดเพลินแก่เรา ถ้ากิจกรมนี้สมบูรณ์หรือสัมพันธ์กับสิ่งที่ดีและมีคุณค่าหรือมี “ความงาม” คุณสมบัติของความงามอริสโตเติล หมายถึงความกลมกลืน หรือความมีระเบียบขององค์ประกอบย่อยของสิ่งเหล่านั้น ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย เช่น มนุษย์หรือสัตว์เป็นสิ่งสวยงาม และปลุกความเพลิดเพลินชนิดหนึ่งแก่เรา เพราะสัดส่วนหรือองค์ประกอบย่อยต่างๆ ของมัน รวมตัวกันอย่างมีระเบียบและกลมกลืนเหมาะสม ในทำนองเดียวกับการรับรู้โศกนาฏกรรม เราจะได้รับความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง จากมัน ถ้าโศกนาฏกรรมนั้นมีความงาม นั้นคือเหตุการณ์หรือการกระทำในโศกนาฏกรรมนั้นมีความสมบรูณ์และสอดคล้องกัน มีจุดเริ่มต้น จุดกลาง จุดจบ
คำตอบของอริสโตเติลที่มีต่อเพลโต้
          จากข้อสรุปเกี่ยวกับเป้าหมายหรือบทบาทหน้าที่ของโศกนาฏกรรมได้นำไปสูบรรทัดฐานเชิงวิจารณ์ โศกนาฏกรรมของอริสโตเติลนี้ว่า ลักษณะใดของโศกนาฏกรรมที่จะทำให้บรรลุผลในบทบาทหน้าที่หรือเป้าหมายของมัน คำตอบของอริสโตเติลในเรื่องนี้ ก็คือว่าโครงเรื่อง (plot) หรือชุดของเหตุการณ์ (course of even) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโศกนาฏกรรม จะต้องดำเนินหรือพัฒนาไปในทิศทางที่ส่งผลในอนาคตอย่างจำเป็น (nessesarrity) หรือน่าจะเป็น (profably) ว่าจะต้องเกิดขึ้น และเราสามารถเข้าใจความคิดในเรื่องนี้ได้จากคำอธิบายของอริสโตเติลเรื่องความเรื่องความเป็นปรัชญามากกว่าการเป็นประวัติศาสตร์ของโศกนาฏกรรม
          ประวัติศาสตร์ในความหมายของอริสโตเติล(ใช้ในความหมายแคบคือการบันทึกเหตุการณ์เฉพาะอันหนึ่ง ซึ่งไม่ได้พยายามอธิบายถึงหรือเกี่ยวโยงกับเหตุการณ์อื่นอย่างไร แต่ในกวีนิพนธ์ กวีจะต้องบอกเรา ว่าการกระทำอันหนึ่งเกิดจากแรงกระตุ้นของมันได้อย่างไร และแรง กระตุ้นนั้นเกิดจากสถานการณ์หรือเหตุการณ์หนึ่งได้อย่างไร และการจะบอกอย่างนี้ได้ กวีจะต้องพูดในลักษณะที่เป็นสากล หรือ เป็น “กฎทางจิตวิทยา” (การที่จะบอกได้ว่าภายใต้สถานการณ์หนึ่ง คนจะต้องมีพฤติกรรมอย่างนั้นอย่างนี้อย่างน่าจะเป็นหรืออย่างจำเป็น) กวีนิพนธ์บอกเราถึง “เหตุการณ์สากล” (ลักษณะของปรัชญา) แต่ประวัติศาสตร์บอกเราถึง เหตุการณ์เฉพาะ
          อันที่จริงอริสโตเติลไม่ได้ต้องการจะเน้นว่ากวีนิพนธ์มีความเป็นปรัชญามากกว่าประวัติศาสตร์ แต่ต้องการจะบอกเราว่า กวีนิพนธ์เกี่ยวข้องกับ “ความรู้ทางจิตวิทยา” (Psycological knowledge) ขณะที่ประวัติศาสตร์ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ แต่ความคิดนี้กลายเป็นต้นกำเนิดสำคัญของทางทฤษฏีทางสุนทรียศาสตร์มากมายในเวลาต่อมา ที่มีรากฐานความเชื่อที่ว่ากวีนิพนธ์หรือศิลปะ คือการเลียนแบบสิ่งสากลหรือแก่น (art as imitation of universals or essences)
          การที่อริสโตเติลอธิบายว่า กวีนิพนเกี่ยวข้องกับความรู้ทางจิตวิทยา เพราะจะต้องการจะบอกว่ากวีนิพนธ์มีเนื้อหาที่แสดงสติปัญญามันมีนัยแฝงแห่งการโต้ตอบเพลโต้ ที่บอกเราว่ากวีคือผู้หลอกลวง กวีไม่ได้มีความรู้ที่แท้จริง (กวีพูดถึงเรื่อแต่ไม่ได้พูดถึงความรู้เรื่องเรือ) ความคิดนี้ไม่ถูกต้อง แท้ที่จริงแล้ว กวีเป็นผู้ที่มีความรู้ในธรรมชาติของมนุษย์ (ความรู้ทางจิตวิทยา) ถ้ากวีไม่มีความรู้ชนิดนี้ ย่อมไม่สามารถเขียนกวีนิพนธ์ที่ดีและมีโครงเรื่องที่กลมกลืนกันได้ หรือมีการเลียนแบบการกระทำของมนุษย์ได้สำเร็จ จากการอ้างเรื่องการรู้กฎทางจิตวิทยาของกวีนิพนธ์ (แสดงว่าเป็นเรื่องจริง เพราะไม่เช่นนั้นเหตุการณในเรื่องย่องหลีกเลี่ยงได้และจะทำให้การดำเนินเรื่องขาดความกลมกลืน) ของอริสโตเติล แสดงว่าเขามีลักษณะของนักวิจารณ์โครงสร้าง (structure critic) นักวิจารณ์ที่มีหน้าที่วิเคราะห์โครงสร้างหรือโครงเรื่อง ว่าได้แสดงอะไรที่ปลุกความเพลิดเพลินของโศกนาฏกรรมแก่เรา นอกจากนี้อริสโตเติลยังมีลักษณะของนักวิจารณ์ทางภาษา (textual critic) ด้วย  นักวิจารณ์ที่มีหน้าที่วิเคราะห์ของระดับภาษาในบทประพันธ์ (ลักษณะนี้พบได้ในงานเขียน Rhetoric และ Poetics) ลักษณะทั้งสองทั้งการวิจารณ์โครงสร้างและการวิจารณ์ภาษา ได้ส่งอิทธิพลให้กับนักพูดและนักวิจารณ์ของยุคฟื้นฟูและสมัยใหม่ตอนต้นเป็นจำนวนมาก
          ยังมีเรื่องน่าพิจารณาอีกเรื่องหนึ่งของอริสโตเติล เรื่องนี้อริสโตเติลพูดไว้น้อยมากและแปลความหมายยาก เรื่องการใช้คำๆ หนึ่งในโศกนาฏกรรม คำนั้นคือคำว่า “การชำระให้บริสุทธิ์” (catharsis) อริสโตเติลเขียนไว้ในบรรทัดสั้นๆ (ใน Poetics) แต่มีการนำคำนี้มาตีความหมายอย่างหลากหลาย และมีการวิจารณ์จนเกิดทฤษฏีที่หน้าสนใจมากมายในหลายทศวรรษต่อมา มีการแปลคำนี้ไว้สองความหมาย
          ความหมายแรกเป็นความหมายที่นิยมใช้ต่อกันมา แปลโดย บัตเช่อร์ (S.H. Butcher) ซึ่งแปลประโยคที่แสดงความคิดนี้ของอริสโตเติลจากภาษากรีกเป็นภาษาอังกฤษว่า (through pity and fear effecting the proper purgation of these emotion – ผลจากการปลุกอารมณ์น่าเวทนาและน่ากลัวของโศกนาฏกรรมแก่ผู้ชม จิตใจของผู้ชมถูกชำระให้บริสุทธิ์ทฤษฏีโดยทั่วไปที่อ้างถึงอริสโตเติลตีความว่าจากการปลุกอารมณ์อันน่าเวทนาและน่ากลัวของโศกนาฏกรรม ได้ส่งผลต่อจิตใจของผู้ชม ให้เกิดความเพลิดเพลินจากการได้ปลดเปลื้องความทุกข์จิตใจสงบ กิเลสถูกชำระจนหมดสิ้น ความหมายนี้ยังมีการตีความแยกย่อยไปอีก เช่น การเปรียบเทียบการชำระความเจ็บปวดให้หมดสิ้นจากร่างกายในความหมายของยารักษาโรค (medical interpretion) ความหมายนี้สอดคล้องเกี่ยวกับงานเขียน (poetics) ของอริสโตเติลเอง อย่างไรก็ตาม ยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการแปลความหมายในลักษณะนี้ก็คือว่าอารมณ์ที่ปลดเปลื้องจิตใจผู้ชมให้บริสุทธิ์นั้นเป็นเพียงอารมณ์น่ากลัวและน่าเวทนาเท่านั้น หรือรวมหมายถึงอารมณ์ที่ไมพึงปรารถนาทั้งหมด
          ความหมายที่สองแปลโดย เอลส์ (Gerald F. Else) ซึ่งท้าทายความหมายที่บัตเช่อร์แปล เอลส์แปลไว้ดังนี้ จากการนำไปสู่เป้าหมายด้วยชุดของเหตุผลอันน่าเวทนาและน่ากลัวของโศกนาฏกรรม ความเจ็บปวดและเคราะห์กรรมจากการกระทำอันน่าเวทนาและน่ากลัวของโศกนาฏกรรม ถูกชำระไปจนหมดสิ้น (carrying to completion through a course of events involing pity and fear, the purification of those painful or fatal act which have that quality) การชำระให้บริสุทธ์ในความหมายนี้ไม่ได้บ่งชี้ถึงผลในใจผู้ชม (เรื่องของจิตวิทยา) ทั้งหมดแต่บางอย่างเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในตังโศกนาฏกรรมเอง (เรื่องโครงสร้าง) เป็นผลมาจากเหตุการณ์ที่ดำเนินไปอย่างแน่นอนของโครงเรื่อง ความเจ็บปวดจากการกระทำอันหน้าเศร้าของตัวละครถูกชำระไปจนหมดสิ้น เมื่อเรื่องราวดำเนินไปให้ตังละครเกิดความสำนึกผิด และการกระทำผิดของตังละครได้รับการอภัยจาอผู้ชม
          ความหมายที่บัตเช่อร์แปลได้รับการยกย่องมากกว่าเอลส์แปลเนื่องจากสอดคล้องกับข้อความที่อริสโตเติลเขียนเกี่ยวกับเรื่องดนตรีในระบบการศึกษา (ในเล่มแปดของ politics) ซึ่งสะท้อนและพัฒนาจากความคิดของเพลโต้ (ใน laws) อริสโตเติลพูดว่า ดนตรีให้ประโยชน์ในการปลดเปลื้องอารมณ์แก่เรา ในการฟังทำนองเพลงทางศาสนา อริสโตเติลคิดว่าจิตใจของเราจะถูกทำให้สงบเหมือนถูกเยียวยาและถูกทำให้บริสุทธ์ ผลเช่นนี้ย่อมเกิดขึ้นเช่นเดียวกับดนตรีที่แสดงอารมณ์น่ากลัวและน่าเวทนาหรืออารมณ์ชนิดอื่นๆ เป็นความตั้งในของอริสโตเติลที่จะนำทฤษฏีการชำระให้บริสุทธิ์ของดนตรี(ใน politics) มาสร้างทฤษฏีที่ใช้กับโศกนาฏกรรม (ใน politics) ในขณะที่ความหมายของเอลส์ไม่สอดคล้องกับแบบแผนของโศกนาฏกรรมนี้ของอริสโตเติล
          สิ่งที่ทำให้ความหมายที่บัตเช่อร์แปลน่าเชื่อถือมากที่สุดน่าจะมาจากความหมายนี้มีนัยแฝงการโต้แย้งความคิดของเพลโต้ที่ว่ากวีนิพนธ์ทำได้เพียงการหล่อเลี้ยงกิเลส และสุดท้ายจะนำไปสู่การทำลายความกลมกลืนของจิตวิญญาณ และความมีเหตุผลของคนในสังคมอริสโตเติลคิดว่าไม่มีเรื่องเช่นนี้ ถ้ามองตามที่เห็นโดยตรงอาจจะเป็นเช่นนั้น แต่ถ้าดูผลตามจิตวิทยาแล้ว (มีการปลดเปลื้องอารมณ์จิตใจจะถูกชำระให้บริสุทธิ์และได้พบแสงสว่างราวกับผู้มีศรัทธาทางศาสนา ผู้มีประสบการณ์กับโศกนาฏกรรมที่ยาวนาน จิตใจจะสงบและฉลาด เพราะเขาถูกกำจัดอารมณ์อันไร้เหตุผล ซึ่งเป็นพิษทางอารมณ์และจิตใจออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า อันที่จริงแล้ว ถึงแม้อริสโตเติลไม่พูดถึงทฤษฎี การชำระให้บริสุทธิ์” เขายังตอบปัญหาในเรื่องนี้ให้กับเพลโตได้อย่างน้อยความงามของโศกนาฏกรรมที่อริสโตเติลเคยพูดไว้ เป็นสิ่งที่ให้ความเพลิดเพลินที่ไม่มีพิษและมีภัยและมีคุณค่าอยู่แล้ว (เพลโตก็เคยพูดถึงเรื่องนี้ไว้ใน Philebus) หรืออย่างน้อยเราก็สามารถพูดได้ว่าความไร้ศีลธรรมในโศกนาฏกรรมไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัว บางทีจุดประสงค์ของอริสโตเติลอาจจะอยู่ที่ว่า บรรทัดฐานของโศกนาฏกรรมไม่น่าจะเป็นศีลธรรม แต่น่าจะเป็นเรื่องของสุนทรียะเองมากกว่า
สรุปได้ว่าสำหรับอริสโตเติลแล้ว ศิลปะไม่ว่าจะเป็นแบบชนิดใดก็ตามก็เป็นเรื่องของความรู้เป็นเรื่องของการเปิดเผยทำความจริงให้ปรากฏ  และเป็นการช่วยให้เราเข้าถึงความจริงศิลปะจึงเป็นสิ่งที่มีสถานะทางความรู้ที่ได้รับความสำคัญและได้รับการยกย่อง ในมุมมองของอริสโตเติล   ศิลปะเป็นสิ่งที่ดีและมีคุณค่า ศิลปะเป็นสิ่งที่ให้ทั้งความรู้ ความสุข ความเพลิดเพลิน   อีกทั้งยังเป็นสิ่งที่มีผลดีทางจิตวิทยาในการช่วยปลดเปลื้องอารมณ์ทำให้เกิดการผ่อนคลาย   และยังช่วยชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ ทำให้จิตใจสงบได้  สำหรับอริสโตเติล   ศิลปะเป็นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง การตัดสินศิลปะจึงต้องไม่ใช้มาตรการอื่นที่ไม่ใช่เรื่องของศิลปะ  เช่น  ศีลธรรม ศาสนา การเมือง แต่ต้องตัดสินด้วยมาตรการทางความงามเอง ซึ่งเป็นแนวคิดแบบที่เรียกว่าศิลปะเพิ่อศิลปะนั้นเอง

บรรณานุกรม
จรูญ โกมุทรัตนานนท์. (2547). สุนทรียศาสตร์ กรีก-ยุคฟื้นฟู. กรุงเทพฯจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลักษณวัต ปาละรัตน์. (2551). สุนทรียศาสตร์. กรุงเทพฯมหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น