วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

เพลโต

เพลโต
(Plato,  428-348  B.C.)
เพลโต (Plato, 428-348 ก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกที่เป็นศิษย์ของโซเครตีส และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักอะคาเดมี (Academy) ที่เป็นแหล่งสอนศิลปะวิชาการที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น
สุนทรียศาสตร์ของเพลโตมีลักษณะเป็นระบบมากขึ้นแต่ยังไม่นับว่ามีความสอดคล้องและเป็นเอกภาพมากนัก  เพลโตเขียนปัญหาสุนทรียศาสตร์ไว้อย่างกระจัดกระจายในงานเขียนเล่มต่างๆ  ซึ่งมักมีลักษณะเป็นบทสนทนา  (dialoques)  ผลงานหลักของเพลโตแบ่งได้เป็นสองช่วง
ช่วงแรกประมาณ  399  -  387  B.C.  ระหว่างความตายของโสคราติสและการก่อตั้งอะคาเดมี  (เช่น  Ion,  Symposium,  Republic)
ช่วงหลังเขียนในเวลา  15  ปีหลังของชีวิต  (เช่น  Sophist,  Laws)  และมีอีกสองเล่มคือ  (Phaedrus)  ซึ่งขาดหลักฐานชัดเจนว่าเขียนเมื่อไร  แต่คงใกล้กับช่วงหลัง  และ  (Greater  Hippias)  ซึ่งไม่แน่ใจนักว่าเพลโตเป็นผู้เขียนหรือไม่  แต่เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีความคิดที่เหมือนกับเพลโต
แม้ว่าความคิดที่เป็นระบบเกี่ยวกับความงามหรือทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์จะเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในปรัชญาของเพลโตเป็นครั้งแรก แต่แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของเขาก็มีอยู่อย่างกระจัดกระจายในงานเขียนที่เป็นบทสนทนา (dialogue) คือ ฮิปปีอัสใหญ่ (Greater Hippias) อีออน (lon) ซิมโปเซียม (Symposium) รีพับบลิค (Republic) ซึ่งเป็นผลงานในช่วงแรก ราว 399-387 ปีก่อนคริสตศักราช และยังมีปรากฏใน โซฟิสต์ (Sophist) ฟิดรัส (Phaedrus) นิติรัฐ (Laws) ซึ่งเป็นผลงานที่เขียนเหล่านี้ได้มีอิทธิพลต่อนักคิดนักปรัชญาในรุ่นต่อๆมา

เนื่องจากแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของเพลโตนั้นมีพื้นฐานอยู่บนแนวคิดทางอภิปรัชญาและญาณวิทยา ดังนั้น การจะเข้าใจความคิดทางสุนทรียศาสตร์ของเพลโตได้นั้นจึงจำเป็นที่เราจะต้องเข้าใจและมีพื้นฐานความคิดทางอภิปรัชญาของเขาก่อน
          ในอภิปรัชญา เพลโตแบ่งโลกออกเป็น 2 โลก คือ โลกของแบบ (World of Form / Idea) และโลกของผัสสะ (World of Senses) โดยโลกทั้งสองนี้อยู่แยกจากกัน เพลโตอธิบายว่า โลกของแบบหรือโลกแห่งมโนคตินี้ เป็นโลกแห่งความจริง เป็นโลกที่สมบูรณ์ มีความเป็นอมตะและเป็นนิรันดร์ โดยโลกของแบบเป็นที่อยู่และเป็นที่รวมของ “แบบ” (Form) ซึ่งเป็นแม่แบบของสิ่งต่างๆที่มีอยู่ในโลกแห่งผัสสะ โลกของแบบนี้มีลักษณะเป็นโลกแห่งความคิดที่เราจะเข้าถึงได้ด้วยเหตุผล
          สำหรับโลกแห่งผัสสะหรือโลกที่เราอาศัยอยู่นี้ เป็นโลกแห่งการเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลกแห่งผัสสะไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่เป็นธรรมชาติ เช่น คน สิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เตียง รวมทั้งการกระทำต่างๆของมนุษย์ เช่น “ความซื่อสัตย์” นั้นเป็นสิ่งเฉพาะ (particular) ที่เกิดจากการเลียนแบบ (imitation) “แบบ” ของมันที่มีอยู่ในโลกของแบบ เช่น
          คนแต่ละคนในโลกของเรานี้ ก็คือสิ่งที่เลียนแบบ “แบบของคน” หรือ “คนสากล” หรือ “ความเป็นคน” ที่มีอยู่ในโลกของแบบ โดยการเลียนแบบของสิ่งเฉพาะนั้นแม้จะทำได้ในลักษณะที่คล้ายคลึงกับ “สิ่งสากล” แต่ก็ยังห่างไกลจาก “สิ่งสากล” มันจึงมีค่าต่ำกว่า “สิ่งสากล” ซึ่งเป็นความจริงสูงสุด (ultimate
สำหรับเพลโต ความงาม (Beauty) เป็นสิ่งที่มีอยู่จริง โดยมีอยู่ในโลกของแบบหรือโลกแห่งมโนคติ ตามที่ศาสตราจารย์กีรติ บุญเจือ ได้อธิบายไว้ว่า ความงามมีแบบตายตัว นิรันดร เป็นมาตรฐานอยู่ในโลกแห่งมโนคติ และเป็นมโนคติประเภทอุตระ (transcendental) คือ อาจจะมีได้ในทุกสิ่งและไม่เป็นองค์ประกอบของสิ่งใดเลย จึงนิยามไม่ได้
ปัญหาสุนทรียศาสตร์ที่เขียนขึ้น  ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่พูดกันทั่วไปในสมัยนั้น  อาจมีบางปัญหาที่เพลโตตั้งขึ้นใหม่  และกำหนดอย่างชัดเจนและเจาะลึกเป็นคนแรก  คำถามที่ตั้งขึ้นเกี่ยวกับศิลปะและความงามเป็นคำถามที่จำเป็นและจุดประกายความคิด  บางคำถามสืบเนื่องมาจากความคิดทางอภิปรัชญาของเขา  และนอกเหนือจากการตั้งคำถามที่ดีแล้วเพลโต้ยังสร้างคำตอบที่มีคุณค่าด้วย  ทำให้เกิดประเด็นชวนสนใจเป็นอย่างมาก  ปัญหาสำคัญที่เพลโตกล่าวถึงพอสรุปได้ดังนี้
ศิลปะกับงานช่าง  (art  and  carft)
เพลโตมักใช้คำบางคำให้เป็นกุญแจสำคัญในการอธิบายความคิด  แต่ให้ความหมายเปลี่ยนแปลงไปตามการอ้างเหตุผลของบทสนทนา  สร้างความแน่ใจในความสอดคล้องในความคิดของเขา  ยิ่งเมื่อมีการนำมาใช้เป็นภาษาอังกฤษด้วยแล้ว  โอกาสที่จะเข้าใจผิดในความคิดด้านสุนทรียศาสตร์ของเพลโตก็ยิ่งมีมากขึ้น
คำแรกที่มีลักษณะดังกล่าวคือคำว่า  งานช่าง  (craft,  เพลโตใช้คำว่า  techne)  มีความหมายครอบคลุมถึงสิ่งที่เรียกว่าวิจิตรศิลป์ในปัจจุบัน  งานช่างสำหรับเพลโต  คือ  ทักษะในการทำบางสิ่งด้วยความสามารถพิเศษหรือไม่ธรรมดา  เป็นการทำที่รู้เป้าหมายที่แน่นอนล่วงหน้าเพลโต  แบ่งงานช่างโดยทั่วไปออกเป็นสองประเภท
ประเภทแรกเรียกว่า  งานช่างถือสิทธิ์  (acquisitive  craft)  เช่น  การสร้างเงินตรา
ประเภทที่สองเรียกว่า  งานช่างสร้างสรรค์  (productive  or  creative  craft)  เป็นผลงานที่สร้างขึ้นใหม่โดยเป็นสิ่งที่ไม่เคยมีมาก่อน  (จาก  Sophist)  ผลงานเหล่านี้ประกอบด้วยงานที่ใช้ทักษะทั้งหลาย  เช่น  ผลงานของช่างไม้  ช่างทำขลุ่ย  จิตรกร  ช่างทอผ้า  สถาปนิก  ช่างเฟอร์นิเจอร์  (จาก  Republic)
นอกจากนี้ยังมีดนตรี  (Musicคำนี้เพลโตใช้อย่างคลุมเครือ  บางครั้งหมายถึงดนตรีอย่างเดียว  บางครั้งหมายถึงวิจิตรศิลป์ทั้งหมด  หรือหมายถึงวัฒนธรรม  และกวีนิพนธ์  (Poetryคำนี้บางครั้งหมายถึงผลงานศิลปะที่ใช้ภาษา  บางครั้งหมายถึงผลงานที่เป็นงานช่างทั้งหมด  (จาก  Symposium)  ผลงานเหล่านี้อาจมาจากพระเจ้าหรือมนุษย์  เพลโตไม่มีการแบ่งแยกศิลปะออกเป็น  วิจิตรศิลป์”  หรือ  อรรถศิลป์”  แต่ข้อสรุปจากความคิดของเขานับเป็นทฤษฎีแรกที่ครอบคลุมวิจิตรศิลป์ทั้งหมด
ยังมีงานช่างอีกประเภทหนึ่งซึ่งแบ่งแยกจากงานช่างที่กล่าวมาข้างต้นซึ่งมีความหมายแคบ  งานช่างชนิดนี้เรียกว่ารัฐช่าง  (statecraft)  เป็นงานช่างชนิดสูงสุดและประเสริฐสุด  เป็นงานช่างที่รวมงานช่างชนิดอื่นเข้าด้วยกันทั้งหมด
รัฐช่าง  คือ  ศิลปะการเมือง  หรือศิลปะแห่งกษัตริย์  (political  or  royal  art)  เมื่อใดที่เพลโตต้องการบอกว่างานชนิดใดที่นักกฎหมายต้องทำเพื่อสร้างสังคมที่ดีมีระเบียบ  ให้ความมั่งคั่ง  และมั่นคง  ยั่งยืน  เมื่อนั้นเพลโตจะนำรัฐช่างมาเปรียบเทียบกับผลงานศิลปะบางประเภท  เช่น  โศกนาฏกรรม  ประติมากรรม  จิตรกรรม  (จาก  Laws  และ  Republic)
ศิลปะกับการเลียนแบบ  (art  and  imitation)
คำว่า  การเลียนแบบ”  เป็นอีกคำหนึ่งซึ่งมีปัญหายุ่งยากมากในการแปลความหมาย  เพลโตใช้คำนี้ในหลายความหมายอย่างพลิกแพลงแต่มีความสำคัญมากในทฤษฎีศิลปะ  เพลโตยังใช้คำว่าการเลียนแบบกับสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ศิลปะด้วย  และการเลียนแบบที่ใช้กับศิลปะก็มีความหมายที่แตกต่างไปจากที่ใช้กับงานช่างชนิดอื่น
ความหมายแรกเป็นความหมายกว้าง  และเป็นหัวใจสำคัญในปรัชญาของเพลโต  การเลียนแบบ  (ภาษากรีก-mimesis)  ในความหมายนี้มีความหมายตรงกับคำอื่นอีกบางคำ  นั่นคือคำว่า  การมีส่วนร่วม  (participation/methexis)  และความเหมือน(likeness/homoiosis/paraplepiesia)  ความหมายนี้เป็นความสัมพันธ์ระหว่างจินตภาพกับต้นแบบเป็นความหมายที่พบได้ทุกแห่ง  เช่น วัตถุทั้งหลายถูกเลียนแบบโดยภาพเขียน  แก่นของสิ่งต่างๆ  ถูกเลียนแบบโดยชื่อของมัน  ความจริงถูกเลียนแบบโดยความคิด  ความเป็นนิรันดร์ถูกเลียนแบบโดยเวลา  นักดนตรีเลียนแบบการประสานเสียงของเทพ  คนดีเลียนแบบคุณค่า  นักกฎหมายผู้ชาญฉลาดเลียนแบบความดีในการสร้างรัฐ  พระเจ้าเลียนแบบแบบสากลในการสร้างโลก  คำในภาษาอังกฤษที่มีความหมายตรงกับคำนี้ในภาษากรีกไม่มี  แต่คำที่ใกล้เคียงที่สุดน่าจะเป็นคำว่า  representation  และ  imitation  คำหลังอาจมีความหมายที่แคบกว่า
การเลียนแบบในความหมายที่สอง  มีความหมายแคบลงมาอีกเป็นความหมายใกล้เคียงกับที่ใช้ในทฤษฎีศิลปะ  และปรากฏอยู่ในงานช่างสร้างสรรค์  งานช่างชนิดนี้เพลโตแบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
1.  ผลงาน  วัตถุจริง”  (actual  object)  เช่น  ต้นไม้และแร่ธาตุซึ่งสร้างสรรค์โดยพระเจ้า  และบ้านและมีดซึ่งสร้างสรรค์โดยมนุษย์
2.  ผลงานของ  จินตภาพ”  (image)  เช่น  เงาหรือความฝันซึ่งสร้างสรรค์โดยพระเจ้า  และภาพเขียนซึ่งเลียนแบบโดยมนุษย์  (จาก  Sophist)  การเลียนแบบในความหมายที่กำลังกล่าวถึง  คือผลงานของจินตภาพที่สร้างสรรค์หรือเลียนแบบโดยมนุษย์  เพลโตเรียกผลงานนี้ว่า  งานช่างเลียนแบบ”  (imitation  craft)
สาระสำคัญของ  จินตภาพ  หรือการเลียนแบบในความหมายที่สอง  คือ  การที่สิ่งที่เลียนแบบบกพร่องไปบางส่วนจากต้นแบบของมันด้วยการเลียนแบบบางวิธี  ถ้าไม่บกพร่องไม่ถือว่าเป็นจินตภาพ  ถ้าช่างทำมีดคนแรกเลียนแบบมีดด้ามหนึ่งจากมีดอีกด้ามหนึ่งที่ทำโดยช่างทำมีดคนที่สอง  สิ่งที่ทำขึ้นไม่ใช่จินตภาพของมีด  แต่เป็นการทำมีดอีกอันหนึ่งขึ้นมาใหม่  (เหมือนกับการเลียนแบบ  แบบของมีดสากล  ของช่างทำมีดคนที่สอง)  แต่ภาพเขียนมีดไม่เหมือนกัน  มันไม่มีน้ำหนัก  ไม่มีความคม  ไม่มีความแข็งจากต้นแบบของมัน  และใช้ตัดอะไรไม่ได้  (เพลโตถือว่าเป็นทั้งจริงและไม่จริง  ทั้งเป็นอยู่  และไม่เป็นอยู่)  มันมีความบกพร่องคุณสมบัติบางส่วนจากต้นแบบของมัน  และถือว่าเป็นจริงน้อยกว่าต้นแบบของมัน  (จาก  Sophist)
เพลโตยังแบ่งผลงานของจินตภาพหรือศิลปะเลียนแบบออกเป็น  ประเภท  คือ
1.  ผลงานที่เกิดจากการเลียนแบบคุณสมบัติของต้นแบบเท่าที่ทำได้ไม่ว่าขนาด  สัดส่วน  หรือสีสัน  การเลียนแบบลักษณะนี้  เป็นความเหมือนที่แท้จริง  (genuine  likeness)
                   2.  ผลงานที่เกิดจากการเลียนแบบโดยวิธีมองว่าเหมือนจากบางตำแหน่ง  การเลียนแบบในลักษณะนี้เป็นความเหมือนที่คล้ายคลึง  (apparent  or  likeness  semblance)  เช่น  การสร้างเสาอาคารของสถาปนิก  (ประติมากรหรือจิตรกร)  ถ้าสถาปนิกต้องการให้ดูเท่ากันตลอดเขาจะต้องบิดเบือนเสา  เพื่อทำให้ส่วนบนกว้างกว่าปกติ  เพราะถ้าเขาออกแบบเสาให้เท่ากันหมด  เวลามองย่อมจะเห็นว่าเสาไม่เท่ากัน
ความหมายที่สามของการเลียนแบบเป็นความหมายสุดท้าย  เป็นความหมายที่ดูต่ำสุดและแคบสุด  เพราะหมายถึงการทำให้คล้ายคลึงที่มีลักษณะหลอกหลวง  (deceptive  semblances)  เพลโตพูดโจมตีตำหนิจิตรกรผู้วาดภาพเตียง  (จาก  Republic)  ว่า  คือผู้เลียนแบบเตียงของช่างทำเตียง  ไม่ได้มาจากที่มันเป็นจริง  แต่เลียนแบบได้เพียงมุมใดมุมหนึ่งจากสภาพที่ปรากฏ  ภาพเขียนไม่จริงเหมือนการทำแผนผังที่ให้โครงสร้างตรงกับข้อเท็จจริง  แต่เป็นความคล้ายคลึงที่มีลักษณะลวงตา  เป็นการเลียนแบบที่ผิดไม่เพียงแต่จากความจริง  (reality)  แต่จากวัตถุจริง  (actual)  ด้วย  ความคิดคล้ายกันนี้ปรากฏเหมือนกับที่เพลโตเปรียบกวี  (เขียนใน  Timaeus)  ว่าเป็น  นักเลียนแบบจำพวกหนึ่ง”  (a  tribe  of  imitator)  หรือเป็น  นายช่างเทียม”  (psedo  craft)  เหมือนกับช่างแต่งหน้าที่มีความสามารถพิเศษเสริมให้ร่างกายเปล่งปลั่งมากกว่าทำให้สุขภาพแข็งแรง  (เขียนใน  Gorgias)
ศิลปะกับความรู้  (art  and  knowledge)
ถ้าศิลปะเกิดจากการเลียนแบบในความหมายสุดท้าย  และความรู้หมายถึงการเข้าถึงความจริง  แน่นอนว่าศิลปะกับความรู้ย่อมอยู่ห่างไกลกัน  เพลโตคิดว่าบรรทัดฐานของ  นายช่างเทียม”  ไม่ได้มาจากความรู้  และบุคคลเหล่านี้ไม่มีความชัดเจนในสิ่งที่ตัวเองทำ
จิตรกรสร้างผลงานโดยการสร้างความคล้ายคลึง  หรือสิ่งลวงตาอันห่างไกลจากความจริง
นักดนตรีร่วมมือกับนักประพันธ์เมื่อเขาใส่เนื้อร้องลงในผลงานเพลงของเขา  และสามารถทำให้นักร้องไม่ได้แสดงออกถึงความรู้สึกที่แท้จริงของตัวเอง
นักประพันธ์ดูจะผิดร้ายแรงที่สุด  นักประพันธ์เป็นผู้ที่ไม่มีความรู้ที่แท้จริง (ตำหนิโฮเมอร์ในท้ายเล่ม Republic) นักประพันธ์ไม่ได้รู้ในสิ่งที่ตัวเองพูด ถ้าเขารู้ว่าการสร้างเรือเป็นอย่างไร เขาจะไปทำเรือที่ใช้ประโยชน์ดีกว่ามาพูดถึงมัน ถ้าเขารู้ว่าชีวิตที่ดีหรือรัฐที่ดีเป็นอย่างไรเขาย่อมแนะนำแก่ประชาชนและผู้ปกครอง ไม่ใช่ไปเขียนถึงมัน ความบกพร่องของนักประพันธ์ไม่ได้มาจากการใช้เหตุผล แต่ถูกกระตุ้นโดยความปรารถนาต่อความพึงพอใจ (จาก Republic)
          ในทำนองเดียวกับการทำงานของนักประพันธ์ การประพันธ์เกิดจากส่วนของวิญญาณภาคต่ำหรือส่วนที่ไร้เหตุผล (เขียนใน Republic) เป็นส่วนที่เพลโตเรียกว่า สภาพของคนบ้า (a mad state) นักประพันธ์หรือกวีมักจะก้าวร้าวและประชดประชัน เพลโตโจมตีความไร้เหตุผลของนักประพันธ์ว่าเป็นการไม่รู้ในสิ่งที่ตัวเองพูด แต่เป็นสิ่งที่เกิดจาก “อัจฉริยภาพและแรงบันดาลใจ” ของนักประพันธ์ ความคิดของเพลโตดังกล่าวค่อนข้างจะไม่สอดคล้องในตัวเองนัก เนื่องจากในตอนหลังเพลโตได้สรุปถึงนักประพันธ์ในเชิงยกย่องว่า ความไร้เหตุผลของนักประพันธ์ บางทีอาจเป็นการอยู่เหนือเหตุผลก็ได้ แรงบันดาลใจของศิลปินแท้จริงแล้วเกิดจากพลังของเทพ (จาก Ion)
          นอกจากนี้ในงานเขียนบางเล่ม เพลโตได้พูดถึงความสัมพันธ์ของศิลปะกับความรู้ในลักษณะใหม่ นั่นคือว่าศิลปะต้องตัดสินด้วยความถูกต้องแน่นอน เนื่องจากศิลปะคือสิ่งที่เกิดจากการเลียนแบบ ดังนั้นมันจะต้องมีลักษณะตรงกับบางสิ่งที่ถูกเลียนแบบ ไม่ว่าสิ่งที่ถูกเลียนแบบจะเป็นปรากฎการณ์ วัตถุ หรือสิ่งที่มองไม่เห็น เช่น ความดีความชั่วของจิตใจ ศิลปะจึงถูกตัดสินด้วยความจริง
          ดังนั้นการตัดสินศิลปะจึงจำต้องอาศัยความรู้ 3 ประเภท (จาก Laws)
1.      ความรู้ถึงธรรมชาติของสิ่งที่ถูกเลียนแบบ
2.      ความรู้ของการเลียนแบบที่ถูกต้อง
3.      ความรู้ของผลดีที่ได้เลียนแบบสิ่งที่ถูกเลียนแบบ
ศิลปะกับความงาม (art and beauty)
          “ความงาม” เป็นคำสำคัญอีกคำหนึ่งในศิลปะของเพลโตนอกจากมันเป็นคุณสมบัติของศิลปะแล้ว ยังเป็นคุณสมบัติของธรรมชาติด้วย
          เพลโตเชื่อว่าในบรรดาสิ่งเฉพาะต่างๆทั้งหลายบนโลกแห่งผัสสะนี้ ทุกสิ่งสามารถมีคุณสมบัติของความงามและมีได้หลายวิธี ความงามของบางสิ่งเปลี่ยนแปลงตามเวลา ความงามบางครั้งปรากฏแก่คนๆหนึ่ง (จาก Republic) แต่เบื้องหลังการปรากฏของความงามทั้งหลายบนโลกแห่งวัตถุซึ่งเป็นรูปธรรมนี้ มีความงามอันหนึ่งที่ปรากฏในความงามทั้งหมด มันคือแก่นของความงามเป็นแบบของความงาม เป็นความงามสัมบูรณ์ เป็นนามธรรม สามารถเข้าถึงโดยการคิดเท่านั้น ไม่สามารถเข้าถึงโดยประสาทสัมผัส (จาก Pheado) และการเชื่อว่ามีแบบของความงามซึ่งมีเพียงแบบเดียวนี้ มีเหตุผลเช่นเดียวกับการเชื่อว่ามีแบบของสิ่งอื่นๆ (แบบของความยุติธรรม แบบของคณิตศาสตร์ แบบของจำนวน แบบของความเท่ากัน)
          หนทางในการเข้าสู่หรือการได้ระลึกถึงแบบของความงามสัมบูรณ์นี้ คือการมีความรักในความงาม (love of beauty) การมีความรักในความงามจะทำให้เราพัฒนาการมองเห็นความงามจากระดับวัตถุ (โลกของผัสสะ) ไปสู่ระดับจิต (โลกของแบบ) จากความงามที่เป็นรูปธรรมไปสู่ความงามที่เป็นนามธรรม จากความงามระดับเจือจางไปสู่ความงามระดับเข้มข้น เราเริ่มจากการมองเห็นความงามของร่างกาย สู่ความงามของจิต สู่ความงามของสถาบัน สู่ความงามของกฎ สู่ความงามของศาสตร์ และสุดท้ายสู่ความงามในตัวเอง หรือแก่นแท้ของความงาม (จากบทสนทนาระหว่างดิโอติมาและแมนติเนียใน Symposium)
          เพลโตไม่ได้บอกเรา (ใน Symposium) ว่าศิลปะมีบทบาทหน้าที่อย่างไรในการเดินเข้าสู่ความงามสัมบูรณ์นี้ แต่เพลโตเคยพูดเอาไว้ (ใน Sophist) ว่า ผลงานศิลปะอย่างเช่นดนตรีหรือจิตรกรรม มีความงามอยู่ในระดับหนึ่ง มันมีส่วนร่วมและได้แสดง หรือเปิดเผยแบบของความงามในระดับที่แตกต่างกันในแต่ละชิ้น ถ้าเราคุ้นเคยกับมัน มันย่อมจะเปิดเผยความรู้ที่แท้จริงเกี่ยวกับความงาม และศิลปินผู้ซึ่งเลียนแบบความงามที่ปรากฏในวัตถุที่มองเห็นหรือเสียงที่ได้ยิน บางครั้งมีการตัดทอนบิดเบือนเพื่อความเข้าใจในแบบของความงามในระดับที่สูงขึ้น
          ส่วนความหมายของความงาม เพลโตได้นิยามไว้หลายแห่งและมีความหมายได้หลายอย่าง บางครั้งเพลโตเชื่อว่า สิ่งที่มีความงาม คือ สิ่งที่นำมาใช้งานได้ดีตามจุดหมายของมัน (จาก Phalebus) บางครั้งอธิบายว่า ความงามคือการใช้ประโยชน์ในความหมายที่ว่า ให้ความเพลิดเพลินจากการมองเห็นและได้ยิน เพลโตเรียกมันว่าความเพลิดเพลินเชิงประโยชน์ (beneficial pleasure) เป็นความหมายที่มีในสุนทรียศาสตร์ปัจจุบัน (เขียนใน Greater Hippias) ในบางที่ (ของ Philebus) เพลโตพยายามบอกเราว่ามีคุณสมบัติที่มีร่วมอยู่ในสิ่งที่มีความงามทั้งปวง มันคือเงื่อนไขสำคัญอันก่อให้เกิดความงาม แต่มันไม่ใช่ความหมายของความงาม หรือใช้ประกอบการวิเคราะห์ความงาม คุณสมบัตินี้มีทั้งที่ปรากฏในสิ่งซับซ้อน และสิ่งเรียบง่าย
          คุณสมบัติของความงามที่ปรากฏในสิ่งซับซ้อน คือ สัดส่วนอันเหมาะสมของความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เป็นการวัดและคำนวณทางคณิตศาสตร์ ตัวอย่างที่ปรากฏในวิหารต่างๆ (เขียนใน Timaeus) ส่วนคุณสมบัติของความงามในสิ่งเรียบง่าย ซึ่งเป็นองค์ประกอบเบื้องต้นของประสาทสัมผัส เช่น เสียงที่เรียบและชัดเจน โน้ตเดี่ยวๆ หรือสีเรียบๆ เดี่ยวๆ   หรือรูปทรงทางเรขาคณิตเบื้องต้น เช่นเส้นตรง ทรงกลม สี่เหลี่ยม คือ เอกภาพ (unity) ความสม่ำเสมอ (regularity) ความเรียบง่าย (simplicity)
          เพลโตคิดว่า คุณสมบัติเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้องค์ประกอบดังกล่าวมีความงามขึ้นมา (จาก Philebus)
ศิลปะกับศีลธรรม (art and moral)
          เพลโตได้พูดถึงผลกระทบต่างๆของศิลปะที่มีต่อชีวิต และสังคม เรื่องนี้เพลโตพูดไว้หลายแห่งแต่คิดไม่ตรงกัน ศิลปะประเภทที่ต่างกันให้ผลกระทบที่ต่างกัน แต่ทั้งหมดอยู่ภายใต้บรรทัดฐานของศีลธรรม นักกฎหมายและนักการศึกษามีหน้าที่ตรวจตราว่า หน้าที่และคุณค่าที่แท้จริงของศิลปะต่อสังคมคืออะไร อะไรคือเหตุผลที่เหมาะสมถึงการมีอยู่ของศิลปะ ความคิดของเพลโตในเรื่องนี้ เป็นแสงสว่างและเมล็ดพันธุ์ที่ส่องทาง และเติบโตขึ้นในประวัติศาสตร์ของสุนทรียศาสตร์ในเวลาต่อมา
          เพลโตเชื่อว่าศิลปะให้ความเพลิดเพลินทางสุนทรียะแก่เรา แต่ความเพลิดเพลินทางสุนทรียะที่แท้จริงคืออะไร ความเพลิดเพลินทางสุนทรียะที่แท้จริง เป็นความเพลิดเพลินที่เกิดจากความงามของสีและรูปทรงจากกลิ่นและเสียงบางประเภท และจากรูปทรงทางเรขาคณิตเป็นความเพลิดเพลินชนิดที่ไม่ได้เกิดจากการเรียกร้อง และสิ้นสุดลงโดยไม่มีผลต่อมาภายหลัง ซึ่งต่างจากความเพลิดเพลินจากการเกาหัด(จาก Philebus) ความเพลิดเพลินชนิดนี้ (ความเพลิดเพลินจากการฟัง การอ่านบทกวี การเห็นรูปทรงสวยงาม) จัดเป็นความเพลิดเพลินชนิดดีและมีค่าสูง มันมีไว้สำหรับคนดีและสังคมที่ดี และเป็นสิ่งประเมินคุณค่าทางศิลปะ เช่น ดนตรีที่มีความเพลิดเพลินสูง คือดนตรีที่มีคุณค่าสูงและปริมาณของมันต้องวัดจากที่เกิดแก่ผู้ฟังที่ถูกต้อง นั่นก็คือคนที่ดีที่สุดและมีการศึกษาสูงเท่านั้น (จาก Laws)
          เพลโต้ไม่มองความเพลิดเพลินจากศิลปะในแง่ดีเสมอไป ความเพลิดเพลินจากศิลปะบางประเภทถูกตำหนิว่า ส่งผลในแง่ร้ายแก่เราโดยเฉพาะศิลปะประเภทละคร หรือกวีนิพนธ์ประเภทโศกนาฏกรรม และสุขนาฏกรรม ซึ่งเป็นศิลปะประเภทที่เลียนแบบโชคชะตาของมนุษย์ ความเพลิดเพลินของศิลปะชนิดนี้ เกิดจากการเลียนแบบบุคคลในสภาพของการมีอารมณ์อย่างรุนแรงซึ่งกระตุ้นอารมณ์ของผู้ชมอย่างมาก ศิลปะประเภทนี้จึงส่งเสริมอารมณ์ซึ่งเป็นวิญญาณภาคต่ำ ไม่ใช่วิญญาณภาคสูง ซึ่งหมายถึงเหตุผล (เขียนใน Republic) มันเป็นผลร้ายต่ออุปนิสัยของเรา คือการเอาแต่อารมณ์และไม่สามารถควบคุมตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการใช้อารมณ์ดีใจหรือเสียใจ มันหล่อเลี้ยงกิเลสซึ่งควรจะลดและควบคุมมันไว้ หลักการดังกล่าว เพลโตไม่ได้นำมาใช้กับศิลปะทุกประเภท แต่ใช้กับศิลปะที่มีเนื้อหาบางประเภทซึ่งรวมหมายถึงการเต้นรำ ดนตรีที่มีเนื้อร้อง ละคร และกวีนิพนธ์ การพิจารณาถึงเรื่องนี้ คือการที่เพลโตกำลังตั้งคำถามหรือปัญหาเกี่ยวกับผลกระทบทางศีลธรรมของศิลปะที่มีต่ออุปนิสัยและการกระทำของมนุษย์
          ในงานเขียนบางเล่ม (Laws) เพลโตพูดถึงเรื่องนี้ในทิศทางที่แตกต่างออกไป ในงานเขียนเล่มนี้เพลโตพูดในทำนองที่ว่า ศิลปะมีสองประเภท คือ ประเภทที่ไม่ได้เกิดจากการเลียนแบบ และประเภทที่เกิดจากการเลียนแบบ
          ประเภทแรกนั้น (เช่น เครื่องดื่มไวน์) เราสามารถใช้บรรทัดฐานของความเพลิดเพลิน (ซึ่งเพลโตเรียกว่า ความเพลิดเพลินที่ไม่มีพิษภัย harmless pleasures) ได้อย่างเดียว โดยไม่มีบรรทัดฐานอื่นที่สูงกว่าในการตัดสินว่าดีหรือไม่ ตราบเท่าที่มันไม่มีประโยชน์ใช้สอย ไม่ได้ให้ความจริง แต่กระนั้นก็ไม่มีพิษภัย
          แต่ประเภทหลังเราต้องใช้บรรทัดฐานของความจริงในการตัดสิน (ถึงแม้ศิลปะทั้งหมดจะเกิดจากการเลียนแบบ) ความจริงนี้ต้องเป็นความจริงทางศีลธรรม (moral truth) ไม่ใช่ความจริงในความหมายว่าตรงกับข้อเท็จจริง (จาก Laws) จะเห็นได้ส่าตามความคิดของเพลโตบางครั้งเราสามารถซาบซึ้งความงามของศิลปะเพื่อตัวมันเอง บางครั้งเราสามารถซาบซึ้งศิลปะเพื่อศีลธรรม แต่ความคิดหลักโดยรวมของเพลโตแล้ว เพลโตคือนักศีลธรรม (moralist) ผู้เคร่งครัดคนหนึ่ง และเป็นนักศีลธรรมในฐานะที่ยืนยันว่า บรรทัดฐานสุดท้ายของศิลปะและการตัดสินว่าศิลปะควรมีอยู่ในรัฐหรือไม่ จะต้องขึ้นอยู่กับเป้าหมายสำคัญและคุณค่าของสังคมโดยรวม ไม่ใช่ความเพลิดเพลินส่วนตัวของใคร
          ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นที่เราจะต้องศึกษาผลกระทบทางศีลธรรมของศิลปะ และวิธีการศึกษาของเพลโตคือ การยึดถือความรู้ทางจิตวิทยาที่ไว้ใจได้จากศิลปะแขนงต่างๆ ซึ่งเราคาดหวังว่าจะมีผลต่อประชาชน ไม่ใช่จากทฤษฎีใดๆ แต่มาจากประสบการณ์ของเรา
          เมื่อเป็นเช่นนี้ เพลโตจึงแบ่งศิลปะออกเป็นศิลปะที่ส่งผลดี (ศิลปะดี) กับศิลปะที่ส่งผลเลว (ศิลปะเลว) “การเลียนแบบสิ่งที่ดีหรือเลว” กับ “การส่งผลกระทบต่อการทำดีหรือเลว” เป็นความสัมพันธ์ที่ไม่สามารถแยกออกจากกันได้สำหรับเพลโต
          พิจารณาถึงศิลปะในยุคของเพลโต เทพนิยายที่จะนำมาใช้ในระบบการศึกษา ถ้ามีการเลียนแบบเทพ หรือวีรบุรุษที่ไร้ศีลธรรม (ศิลปะที่มีอยู่ในสมัยนั้นส่วนใหญ่มักเป็นเช่นนี้) เยาวชนก็จะรับอุปนิสัยที่ไร้ศีลธรรมด้วย แต่ถ้าเลียนแบบเทพหรือวีรบุรุษที่มีศีลธรรม การมีศีลธรรมย่อมประทับอยู่ในใจของเยาวชนด้วย (จาก Republic) ดนตรีมีลักษณะเดียวกัน ถ้าเนื้อเพลงมีการเลียนแบบความดีและมีความกลมกลืนงดงาม ย่อมส่งผลต่อจิตใจกลมกลืนงดงามและเปี่ยมไปด้วยคุณธรรม ถ้าดนตรีเลียนแบบลักษณะตรงข้ามย่อมส่งผลในลักษณะตรงข้ามด้วย กวีนิพนธ์และดนตรีจึงเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับการศึกษา  การฝึกฝนด้านจิตใจและความมีระเบียบของสังคม
          เมื่อศิลปะมีความหมายต่อชีวิตและสังคมเช่นนี้ มันย่อมเป็นสิ่งจำเป็นที่จะต้องมีการควบคุมศิลปะ การในอิสระกับศิลปินเป็นเรื่องอันตราย ศิลปินไม่ควรมีอิสระในการสร้างผลงานศิลปะ แต่จะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ศิลปินจะต้องยอมจำนนต่อการตรวจตราภายใต้ข้อกำหนดของนักกฎหมาย (จาก Laws, Republic) ความคิดดังกล่าวพูดได้ว่า เป้าหมายหลักของเพลโตนั้นก็คือ ศิลปินหรือศิลปะจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม และจะต้องอยู่ในที่อันเหมาะสมหรือมีเหตุผลท่ามกลางระเบียบและแบบแผนของสังคม
ตามทรรศนะของเพลโต สิ่งต่างๆที่เราเห็นว่างามในโลกของเราซึ่งเป็นโลกแห่งผัสสะนั้นก็เพราะมันมีการเลียนแบบ “แบบของความงาม” ที่อยู่ในโลกของแบบ โดยสิ่งที่งามเหล่านั้นจะงามมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับว่ามีการเลียนแบบมาจาก “แบบของความงาม” ได้มากหรือน้อย แต่ในบรรดาสิ่งที่งามทั้งหลายไม่ว่าจะงามมากหรืองามน้อย มันจะต้องมี “แบบของความงาม” (Form of Beauty) อยู่ในสิ่งเหล่านั้นด้วยกันทั้งสิ้น ความงามจึงเป็นสิ่งที่มีอยู่จริงในวัตถุ แต่ความงามของสิ่งต่างๆ ในโลกเรานี้เป็นความงามที่ไม่คงทน คือเปลี่ยนแปลงได้ และยังเป็นความงามสัมพัทธ์ (relative beauty) คืออาจจะงามสำหรับบางคนและไม่งามสำหรับคนอื่นๆก็ได้ จึงจัดเป็นความงามที่ไม่สัมบูรณ์ และไม่ใช่ความงามที่แท้จริง แต่เนื่องจากความงามของสิ่งที่งามเหล่านี้จะมีแบบของความงามที่แท้จริงที่เป็นสิ่งสัมบูรณ์และเป็นนิรันดร์อยู่ ด้วยเหตุนี้ความงามของสิ่งต่างๆในโลกนี้จึงสามารถทำให้เรามีการระลึกถึง (recollection) ความงามที่แท้จริง (true beauty) ได้
          สำหรับเพลโต ความงามคือการเลียนแบบ (imitation ซึ่งมาจากคำ mimesis ในภาษากรีก) และความงามที่แท้จริงซึ่งเป็นสากล (universal) และเป็นสิ่งที่สัมบูรณ์ (absolute) นั้น ก็คือ “แบบของความงาม” (Form of beauty) ที่มีอยู่ในโลกของแบบซึ่งเป็นโลกแห่งปัญญา (The Intelligible world) โดยตัวความงาม (Beauty itself) หรือ “แบบของความงาม” นี้จะไม่สามารถเห็นได้ด้วยตาเนื้อ แต่จะสามารถเข้าถึงได้ด้วยการเพ่งพินิจหรือการเข้าฌาน (contemplation) ในลักษณะที่ผู้รู้หลอมรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับสิ่งนั้น คือเป็นการเห็นและเข้าใจความงามด้วยปัญญาหรือเหตุผล และผู้ที่จะเข้าถึงและชื่นชมความงามที่แท้จริงได้ก็คือผู้มีปัญญาญาณ (The intellectual) ไม่ใช่ศิลปิน (artist)
          ใน Symposium เพลโตบอกว่ามนุษย์มีสัญชาตญาณที่จะรักในความงาม และมนุษย์ก็สามารถที่จะเข้าถึงความงามสัมบูรณ์ได้ โดยวิถีทางที่เราจะเข้าถึงความงามที่แท้จริงเป็นอมตะก็ด้วยการมีความรู้ในความงาม ด้วยการเริ่มต้นจากความงามของสิ่งที่เป็นรูปธรรม คือความงามของร่างกาย (bodily beauty) แล้วพัฒนาไปสู่ความรักในความงามของสิ่งที่เป็นนามธรรม คือความงามของปัญญา (beauty of mind) ความงามของสถาบัน ความงามของกฎหมาย ความงามของศาสตร์ต่างๆซึ่งในที่สุดก็จะทำให้เราสามารถมีการหยั่งเห็นตัวความงาม (intuition of beauty itself) ที่แท้จริงได้ ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าในการเข้าถึงตัวความงามที่แท้จริงนั้นเพลโตไม่ได้ใช้ศิลปะ (arts) เข้าช่วยแต่อย่างใด นอกจากนั้น ถ้าพิจารณาดูแล้วก็จะเห็นว่าวิถีทางในการเข้าถึงความงามของเพลโตนั้นก็สอดคล้องกับแนวคิดทางอภิปรัชญา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าวิถีทางในการเข้าถึงความงามของเพลโตนั้นก็สอดคล้องกับแนวคิดทางอภิปรัชญา ซึ่งแสดงตามแผนภูมิเส้นแบ่ง (The Twice Divided Line) ของเพลโต
โลกแห่งปัญญา                              แบบ
(The Intelligible World)              
                             รู้ได้ด้วยเหตุผลและปัญญา      คณิตศาสตร์ (Mathematics)
 


โลกแห่งผัสสะ                     สิ่งเฉพาะ (particular)
(The Sensible World)                 
                                   รู้ได้ด้วยผัสสะ            สิ่งเลียนแบบสิ่งเฉพาะ (Image of Particular)

          เมื่อพิจารณาแผนภูมินี้ เราจะเห็นได้ว่าวิถีทางการเข้าถึงความงามที่แท้นั้นสดคล้องกับแนวคิดทางอภิปรัชญาที่การเข้าถึงความจริงสูงสุด (ultimate reality) หรือ แบบ (Form) นั้นจะเป็นการเคลื่อนไปในแนวตั้ง จากสิ่งที่เป็นรูปธรรมไปสู่สิ่งที่เป็นนามธรรม จากสิ่งเฉพาะไปสู่สิ่งสากล จากโลกแห่งผัสสะไปสู่โลกแห่งปัญญา
          ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ เนื่องจากในสมัยของเพลโตยังไม่มีการแบ่งศิลปะออกเป็นวิจิตรศิลป์ (Fine Arts) และอรรถศิลป์ (Useful Arts) อย่างในปัจจุบัน แต่แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของเพลโตก็คลุมถึงวิจิตรศิลป์ทั้งหมด ดังนั้นในการพูดถึงสุนทรียศาสตร์ของเพลโต เราจะหมายถึงวิจิตรศิลป์ คือศิลปะที่เป็นภาพเขียน รูปปั้น สถาปัตยกรรม วรรณศิลป์ ศิลปะทางดนตรี การเต้นระบำ โดยที่เมื่อเพลโตพูดถึงสิ่งเหล่านี้ ก็จะเป็นการพูดไว้ในส่วนที่พูดถึง techné ซึ่งหมายถึงสิ่งที่ทำด้วยทักษะ ความเชี่ยวชาญ เพลโตใช้คำว่า techné นี้ในความหมายค่อนข้างกว้างคือตั้งแต่งานแกะไม้จนกระทั้งถึงงานทางการเมือง หากทำด้วยทักษะ ความเชี่ยวชาญ ก็จะเรียกว่า techné ทั้งหมด
สำหรับเพลโต ความรู้นั้นคือการสามารถเข้าถึงธรรมชาติอันเป็นที่มาที่สำคัญของสรรพสิ่งที่เขาเรียกว่า แบบ” (Forms) ได้ โดยนักปรัชญานั้นเป็นผู้ที่เข้าถึง แบบ และเป็นผู้ที่มีความรู้ที่แท้จริง สำหรับพวกช่างต่างๆ เช่น ช่างทำเตียงนั้นก็มีความรู้ แต่เป็นความรู้ที่เลือนราง คือในทางปฏิบัติพวกช่างก็จะมีความรู้ในสิ่งที่เขาทำ คือรู้ว่าจะต่อเตียงได้อย่างไร แต่พวกเขาไม่ได้มีความรู้ในลักษณะที่จะอธิบายและให้เหตุผลได้ว่าเพราะเหตุใดทำไมจึงต้องทำในลักษณะนั้น สำหรับศิลปินนั้นยิ่งรู้น้อยกว่าพวกช่าง เพราะเขาเพียงแต่เลียนแบบหรือทำให้ดูเหมือนสิ่งที่ช่างไปเลียนแบบมา หากดูตามผังข้างล่างที่เพลโตพูดถึงความรู้ 3 ระดับ คือ
1.      นักปรัชญา เข้าถึง            “แบบของเตียง
2.      ช่างทำเตียง          สร้างเตียง       ด้วยการเลียนแบบ แบบของเตียง”   
3.      ศิลปิน       วาดภาพเตียง  ด้วยการเลียนแบบเตียงที่ช่างทำเตียงสร้างขึ้นด้วยการ          เลียนแบบ แบบของเตียง ซึ่งเป็นการเลียนแบบสิ่งที่เลียนแบบมาอีกทีหนึ่ง (imitation of imitation)
ศิลปินจะเป็นผู้ที่อยู่ห่างจากความจริง (reality) ออกไปถึง 2 ขั้นตอน
          ในทรรศนะของเพลโต ศิลปินเป็นเรื่องของการเลียนแบบที่ห่างไกลจากความจริงใน Republic เพลโตกล่าวไว้ว่า ในการวาดภาพเตียงนั้น จิตรกรคือผู้เลียนแบบเตียงของช่างทำเตียง ที่ช่างผู้ทำเตียงนั้นได้เลียนแบบมาจาก แบบของเตียง ที่มีอยู่ในโลกของแบบอีกทีหนึ่ง ศิลปะจึงเป็นเพียงการเลียนแบบของสิ่งที่ไปเลียนแบบมาจากโลกของแบบ มันจึงเป็นเพียงสิ่งที่คล้ายแม่แบบหรือของจริง แต่ก็ไม่สามารถให้ความจริงแก่เราได้ ซึ่งถ้าดูจากแผนภูมิเส้นแบ่งของเพลโตที่แสดงไว้ข้างต้นแล้ว ศิลปะซึ่งเป็นสิ่งเลียนแบบสิ่งเฉพาะนั้นจะเป็นเพียง image ซึ่งอยู่ในระดับต่ำสุดของแผนภูมิ
          อนึ่ง เมื่อศิลปินวาดภาพเตียงนั้น เพลโตบอกว่าศิลปินไม่ได้เขียนภาพเตียงอย่างที่มันเป็น (as it is) แต่เข้าเขียนภาพเตียงอย่างที่มันปรากฏ (as it appears) เพราะศิลปินเป็นผู้ที่ไม่เคยเข้าถึง แบบศิลปินไม่รู้ความงามที่แท้จริง ศิลปินจึงเป็นเพียงผู้เลียนแบบ (imitator) หากเปรียบเทียบศิลปินผู้วาดภาพเตียงกับช่างผู้สร้างเตียง ในความคิดของเพลโตนั้นศิลปินอยู่ในระดับต่ำกว่าช่าง เพราะช่างยังรู้ในสิ่งที่เขาสร้าง แต่ศิลปินไม่รู้ในสิ่งที่ตนสร้าง ในสายตาของเพลโต ฐานะของศิลปิน (artist) จึงต่ำกว่าช่าง (craftsman) และในแง่ของการให้ความรู้แล้วศิลปะก็เป็นสิ่งที่อยู่ในระดับต่ำสุด
          สำหรับเพลโต ศิลปะเป็นเพียงผลผลิตที่เกิดจากทักษะและความชำนาญของศิลปิน ในมุมมองของเขา  กวีนิพนธ์ไม่ได้เป็นสิ่งที่ให้ความรู้ในสิ่งที่เป็นสากลแต่เป็นการแสดงความคิดส่วนตัวของผู้ประพันธ์ เป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล และกวีก็ไม่ได้มีความรู้ในสิ่งที่ตนเขียน แต่งานกวีนิพนธ์เป็นสิ่งที่เกิดจากแรงบันดาลใจ ซึ่งเป็นความบ้าอันสูงส่งของกวี (divine frenzy)
          เพลโตมองแรงบันดาลใจอันเป็นที่มาของกวีนิพนธ์ว่าเป็นความบ้าที่สูงส่งก็ด้วยเหตุที่กวีสร้างสิ่งสวยงามขึ้นมาจากแรงบันดาลใจที่ได้จากเบื้องบน มันจึงเป็นสิ่งที่สูงส่ง แต่ในขณะเดียวกันกวีนั้นก็ไม่ได้มีความรู้ในสิ่งที่ตนพูด เช่น กวีโฮเมอร์ (Homer) พูดถึงสงคราม โดยที่ตัวเขาเองก็ไม่ได้รู้อะไรเกี่ยวกับสงคราม และกวีก็พูดถึงสิ่งสวยงามแต่ก็ไม่ได้รู้เลยว่าเพราะเหตุใดมันจึงสวยงาม เขาสร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร และเพราะเหตุใดจึงสร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร และเพราะเหตุใดจึงสร้าง ในมุมมองของเพลโต้ กวีไม่รู้ไม่เข้าใจในสิ่งที่เขาทำ กวีเพียงแต่รู้สึกและสร้างงานจากความรู้สึกและแรงบันดาลใจที่ไม่สามารถควบคุมได้และอธิบายด้วยเหตุผล ในแง่นี้มันจึงเป็นเหมือนความสับสน ความบ้า ตรงจุดนี้ สิ่งที่เพลโต้ต้องการจะชี้ก็คือศิลปินนั้นทำงานจากแรงบัลดาลใจ จากสัญชาตญาณและแรงกระตุ้นโดยไม่รู้จักเกณฑ์ ไม่มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่ทำ งานของศิลปะจึงเป็นสิ่งที่ไม่มีเหตุผล (irrational) และไม่ใช่สิ่งที่ให้ความรู้
          นอกจากนั้นเพลโต้ยังมองว่าศิลปะซึ่งเป็นการเลียนแบบนั้นเป็นเพียงการเลียนแบบของเปลือกนอก และเลียนแบบได้เพียงในบางแง่บางมุมของสิ่งที่เขาเลียนแบบเท่านั้น ดังนั้นคนที่หลงใหลในศอลปะซึ่งเป็นการเลียนแบบนั้นเป็นเพียงการเลียนแบบของเปลือกนอก และเลียนแบบได้เพียงในบางมุมของสิ่งที่เขาเลียนแบบของเปลือกนอก และเลียนแบบได้เพียงในบางมุมของสิ่งที่เขาเลียนแบบเท่านั้น ดังนั้นคนที่หลงใหลในศิลปะจึงเป็นพวกที่ติดอยู่กับสิ่งที่เขาเลียนแบบเท่านั้น ดังนั้นคนที่หลงใหลในศิลปะจึงเป็นพวกที่ติดอยู่กับสิ่งที่ปรากฏ และอยู่ในโลกของความลวง (World of illusion) ไม่สามารถเข้าถึงโลกแห่งความจริงได้ ศิลปะมุมมองนี้จึงเป็นสิ่งลวงที่ทำให้คนหลงทางและไม่อาจทำให้เข้าถึงความจริง หรือ ความรู้ได้
          เหตุที่เพลโตมองว่าศิลปะนั้นทำให้มนุษย์ห่างจากสัจจธรรมก็เพราะศิลปะเป็นเรื่องของความไม่มี เหตุผลและเป็นเรื่องของอารมณ์ โดยศิลปะบางอย่าง เช่น ดนตรีนั้นจะเร้าอารมณ์และมีผลในการไปกระตุ้นกิเลสตัณหา (appetite) ซึ่งเป็นเรื่องของอารมณ์ฝ่ายต่ำ หรืองานวรรณกรรมโดยเฉพาะโศกนาฏกรรม (tragedy) มหากาพย์ (Epic) ซึ่งโดยมากเป็นเรื่องของการฆ่า การล้างฆ่า การล้างแค้น การสงครามนั้นจะเป็นเรื่องที่ให้ความสนุกเพลิดเพลิน แต่มันก็จะมีผลทำให้คนอ่านดูดซึมซับสิ่งเหล่านั้นไปโดยไม่รู้ตัว และอาจจะมีอิทธิพลในการทำให้คนเอาอย่างในสิ่งไม่ดี อีกทั้งการดูการแสดงมากๆ เข้าก็จะทำให้คนดูคิดว่าชีวิตจริงเป็นเหมือนในละคร และแทนที่คนจะได้เรียนรู้จากชีวิตจริง พวกเขาก็จะไปเรียนรู้จากละคร และทำตัวอย่างในละคร เพลโต้จึงเห็นว่าศิลปะนั้นเป็นดาบสองคมซึ่ง วนิดา ขำเขียว ได้อธิบายสรุปในจุดนี้ไว้ว่า
          “ศิลปะนั้นเป็นเรื่องเกี่ยวกับความงาม เมื่อบุคคลใดขาดการพัฒนาทางปัญญา ไม่ได้เรียนรู้ในเรื่องโลกแห่งมโนคติมาอย่างเพียงพอ และ จิตไม่สามารถเข้าถึงโลกแห่งมโนคติแล้วจะทำให้หลงใหลความงาม มองไม่เห็นความจริงและแก่นแท้ของสรรพสิ่ง จึงตกเป็นทาสของกิเลสได้ง่าย เพราะจิตยังวนเวียนอยู่ในเรื่องทางโลก ไม่สามารถหลุดพ้นเข้าสู่โลกแห่ง มโนคติ  แต่ความงามของศิลปะจะมีประโยชน์เฉพาะผู้ที่สามารถสามารถเข้าถึง มโนคติแห่งความงามเท่านั้น”
จริงๆ แล้ว ใช่ว่าเพลโตจะปฏิเสธศิลปะเสียโดยทั้งหมด แต่จากการที่เขาเห็นว่าศิลปะเป็นสิ่งที่มีผลต่อ ลักษณะนิสัยและพฤติกรรมของมนุษย์ และสามารถส่งผลต่อสังคมได้ในทางบวกและทางลบ โดยผลในทางบวกก็คือช่วยให้มนุษย์มีความสุขมีความเพลิดเพลิน จิตใจดีมีคุณธรรม และทำในสิ่งที่ดี ส่วนผลในทางลบก็คือ ทำให้มนุษย์ขาดเหตุผล ตกเป็นทาสของอารมณ์ เกิดการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดีของตังละคร ซึ่งจะทำลายความสงบเรียบร้อยของสังคม และด้วยเหตุผลทางลบที่อาจเกิดขึ้นนี้เอง เพลโต้จึงมองศิลปะว่าเป็นสิ่งอันตรายมีพิษภัย และจะต้องให้มีการควบคุมโดยบ้านเมือง โดยผู้ที่มีความรู้หรือราชาปราชญ์ Philosopher king) ที่จะต้องดูแลและอนุญาตให้มีเฉพาะศิลปะ ที่ดี โดยศิลปะที่ดีในที่นี้ก็คือ ศิลปะที่สร้างทัศนะคติและลักษณะนิสัยที่ถูกต้องดีงาม เป็นศิลปะที่ให้ความเพลิดเพลินที่บริสุทธิ์ ไม่เป็นอันตรายต่อสภาพจิตใจและเป็นประโยชน์ต่อ สังคมเท่านั้น ตามทรรศนะของเพลโต้ ศิลปะจะต้องเป็นไปเพื่อการสร้างและส่งเสริมศิลธรรมอันดีงาม คือทำให้คนมีความสมดุล สามารถครองตนในสังคมได้อย่างเหมาะสม กลืนและสามารถดำรงอยู่ในสังคมได้อย่างสง่างาม แต่ปัญหาก็คือ จะทำอย่างไรให้ศิลปินมีจิตสำนึกที่ดี มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยสร้างแต่ศิลปะที่ดี
          สรุปได้ว่า สำหรับเพลโตนั้น ศิลปะไม่ใช่สิ่งที่ดีหรือมีคุณค่าในตัวเอง แต่คุณค่าของศิลปะนั้น อยู่ที่การสามารถทำให้คนในสังคมเป็นคนดีมีศีลธรรม และมาตรการที่เพลโต้ใช้ตัดสินศิลปะนั้นก็ไม่ใช่มาตรการที่เป็นเรื่องของความงาม หากแต่เป็นมาตรการที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของความจริง ศีลธรรม การศึกษาและ การเมือง ศิลปะตามแนวความคิดของเพลโต้จึงไม่ใช่ศิลปะเพื่อศิลปะ แต่เป็นศิลปะเพื่อสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น