วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

อ.เก้ง วิชาพุทธในประเทศไทย (ศีลธรรมกับการบันเทิงไทย)


 รายการ VRP เป็นวิดีโอก่อนนำเข้าช่วงการเสวนา ศีลธรรมกับการบันเทิงไทย ซึ่งจัดขึ้นภายใต้รายวิชาพุทธศาสนาในประเทศไทย

 ตอนปี3เทอม2

วิดีโอตอนถ่ายแบบลวกๆๆๆ สุดท้ายอย่างฮา

 ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ 





ต้องขอขอบคุณเพื่อนๆ ที่ร่วมแรงร่วมใจกัน

 จนงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี RP 10

วันจันทร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2556

อริสโตเติล

อริสโตเติล
(Aristotle,  384-322  B.C.)
อริสโตเติล  (Aristotle,  384-322  ก่อน  ค..)  เป็นนักปรัชญาชาวกรีกที่เป็นศิษย์คนสำคัญของเพลโต  และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักลีเซียม  (Lyceum)
ปรัชญาของอริสโตเติลนั้นแม้จะมีรากฐานมาจากความคิดของเพลโต  และแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของอริสโตเติลก็คล้ายกับของเพลโตในเรื่องของการเลียนแบบ  แต่หากดูในรายละเอียดแล้วจะเห็นว่ามีความแตกต่างกันอยู่ไม่น้อย  โดยเฉพาะในเรื่องตำแหน่งที่อยู่ของความงามและคุณค่าของงานศิลปะ
สุนทรียศาสตร์ของอริสโตเติลได้มาจากบทความ  (เขียนประมาณ  347-342  B.C.)  ที่หลงเหลือและรวบรวมเป็นเล่ม  (ในชื่อ  Poetics)  และมีการปรับปรุงโดยอริสโตเติลและลูกศิษย์ในเวลาต่อมา  ถึงแม้เนื้อหาจะถูกเปลี่ยนแปลง  การโต้เถียงเข้มข้นและชวนสงสัย  แต่ก็มีอิทธิพลในศตวรรษต่อมาเป็นเวลายาวนาน
แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของอริสโตเติล  ส่วนใหญ่จะเป็นความคิดเกี่ยวกับศิลปะหลายประเภท  เช่น  กวีนิพนธ์  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ดนตรี  โดยแนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของเขาได้มากจากเรื่อง  กวีนิพนธ์”  (Poetics)  ซึ่งเป็นงานชิ้นเดียวที่หลงเหลืออยู่  โดยเชื่อกันว่าอริสโตเติลเขียนงานชิ้นนี้ในช่วงเวลา  347-342  ก่อนคริสตกาล

วันอาทิตย์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2556

เพลโต

เพลโต
(Plato,  428-348  B.C.)
เพลโต (Plato, 428-348 ก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกที่เป็นศิษย์ของโซเครตีส และเป็นผู้ก่อตั้งสำนักอะคาเดมี (Academy) ที่เป็นแหล่งสอนศิลปะวิชาการที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น
สุนทรียศาสตร์ของเพลโตมีลักษณะเป็นระบบมากขึ้นแต่ยังไม่นับว่ามีความสอดคล้องและเป็นเอกภาพมากนัก  เพลโตเขียนปัญหาสุนทรียศาสตร์ไว้อย่างกระจัดกระจายในงานเขียนเล่มต่างๆ  ซึ่งมักมีลักษณะเป็นบทสนทนา  (dialoques)  ผลงานหลักของเพลโตแบ่งได้เป็นสองช่วง
ช่วงแรกประมาณ  399  -  387  B.C.  ระหว่างความตายของโสคราติสและการก่อตั้งอะคาเดมี  (เช่น  Ion,  Symposium,  Republic)
ช่วงหลังเขียนในเวลา  15  ปีหลังของชีวิต  (เช่น  Sophist,  Laws)  และมีอีกสองเล่มคือ  (Phaedrus)  ซึ่งขาดหลักฐานชัดเจนว่าเขียนเมื่อไร  แต่คงใกล้กับช่วงหลัง  และ  (Greater  Hippias)  ซึ่งไม่แน่ใจนักว่าเพลโตเป็นผู้เขียนหรือไม่  แต่เนื้อหาในหนังสือเล่มนี้มีความคิดที่เหมือนกับเพลโต
แม้ว่าความคิดที่เป็นระบบเกี่ยวกับความงามหรือทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์จะเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างเด่นชัดในปรัชญาของเพลโตเป็นครั้งแรก แต่แนวคิดทางสุนทรียศาสตร์ของเขาก็มีอยู่อย่างกระจัดกระจายในงานเขียนที่เป็นบทสนทนา (dialogue) คือ ฮิปปีอัสใหญ่ (Greater Hippias) อีออน (lon) ซิมโปเซียม (Symposium) รีพับบลิค (Republic) ซึ่งเป็นผลงานในช่วงแรก ราว 399-387 ปีก่อนคริสตศักราช และยังมีปรากฏใน โซฟิสต์ (Sophist) ฟิดรัส (Phaedrus) นิติรัฐ (Laws) ซึ่งเป็นผลงานที่เขียนเหล่านี้ได้มีอิทธิพลต่อนักคิดนักปรัชญาในรุ่นต่อๆมา