วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ชีวิตกับความดิ้นรน



ชีวิตกับความดิ้นรน 

 (สรุปอ่านสอบอาจารย์ขันทอง)


แรงผลักดันในชีวิตของเราคืออะไร อะไรเป็นตัวที่ผลักดันให้เราทำสิ่งต่างๆตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย โดยชีวิตตามพุทธศาสนานั้นคือความดิ้นรน โดยจะใช้หลักอริยสัจข้อที่2 คือหลักสมุทัย สาเหตุของทุกข์คือตัณหา ตัณหาเป็นแรงผลักดันให้ชีวิตของเราต้องดิ้นรน

โดยตัณหาแบ่งออกเป็น 3หมวดคือ 1.กามตัณหา 2.ภวตัณหา 3.วิภวตัณหา

1.กามตัณหา ความอยากให้มา (มี) อยากได้ในกามคุณ5 รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส

2.ภวตัณหา ความอยากให้อยู่ (อยู่) อยากรักษาไม่ให้สูญสิ้นไป อยากให้มีอยู่อย่างนั้นตลอดไป

คนเรา เมื่อแสวงหาในโลกของกามตัณหาถึงจุดอิ่มตัวแล้ว(อยากได้อะไร บ้าน รถ คู่ครอง สิ่งที่ปรารถนาได้หมดแล้ว) ความปรารถนาเปลี่ยนไป(ที่อิ่มในกามตัณหาแล้ว)

เริ่มละจาก “ความมี” มาแสวงหา “ความเป็น”



ความแตกต่าง

กามตัณหา วัตถุหรือบุคคลที่น่าปรารถนา

ภวตัณหา การมีสถานภาพเป็นอะไรสักอย่างหนึ่ง

สังคมของคนรวย คือสังคมที่ปรากฏตัวของตัณหาประเภทนี้มากที่สุด เป็นขั้นที่อยากมีความหมายในสายตาคนอื่น

3.วิภวตัณหา ความอยากให้ไป(ไป) ไม่อยากมี ไม่อยากเป็น อยากหนีไปให้พ้น ทำลายให้ดับไป เช่น การฆ่าตัวตาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การฆ่าตัวตายโดยไตร่ตรองไว้ และ ฆ่าตัวตายโดยขณะที่มีสติสัมปชัญญะทุกประการ

ระดับของตัณหา เป็น1.ระดับปัจเจกบุคคล 2.ระดับสังคม

โดยสรุปแล้ว

1.แสวงหาสิ่งตอบสนองความสุขทางประสาทสัมผัสมาให้ตน คือ กามตัณหา

2. แสวงหาสถานภาพบางอย่างให้ตัวเองเป็นบุคคลสำคัญ เป็นที่ยอมรับในสังคม ในขณะเดียวกัน พยามยามทำทุกทางเพื่อให้ตัวเองอยู่รอดให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ คือ ภวตัณหา

3. เมื่อถึงจุด อยู่ในสถานการณ์ที่เมื่อไตร่ตรองรอบคอบแล้ว เห็นว่า การดำรงอยู่ในสถานภาพใดสภาพหนึ่ง ทำให้ตนเองเจ็บป่วยและทุกข์ทรมาน ก็จะแนะนำตนเองให้หนีออกไปจากสถานภาพนั้นๆ คือ วิภวตัณหา

การจัดการกับตัณหามีทางเดียวคือ ยุติตอบสนองเท่านั้น ถ้าเลี้ยงมันตามที่ปรารถนา ด้วยหวังว่า “ถ้ามันอิ่ม” จะไม่มีทางอิ่มเลย พระพุทธเจ้าตรัสว่า..... นัตถิ ตัณหา สมา นที แม่น้ำเสมอด้วยตัณหาหาไม่มี

ทีนี้ เราจะมีวิธีควบคุมหรือสละตัณหาได้อย่างไร มี2วิธีคือทางกายกับทางใจ

1)ทางกาย ตัณหาอยู่ที่ตัวเรา ก็ต้องทำลายที่ตัวเพราะตัณหาเกิดขึ้นเนื่องจากมีความคิดปรุงแต่งหรือยึดติดเหนียวแน่นในวัตถุกาม (สิ่งที่อยากครอบครองสนองตัณหา) แต่พอมีสติ ใจกลับมาอยู่กับปัจจุบัน มีความรู้สึกตัวขึ้นมา การปรุงแต่งก็ขาดลง หรือไม่ใจก็ละวางจากสิ่งที่ยึดติดจดจ่อ

2)ทางใจ การพิจารณาโทษของตัณหา หรือการทำตามตัณหานั้น ๆ หากสิ่งที่กระตุ้นตัณหานั้น เป็น ร่างกาย ก็ลองพิจารณาเห็นความไม่งามของมัน ทั้งในขณะนี้และเมื่อเป็นซากศพเน่าเปื่อย จะช่วยลดตัณหาไปได้มาก การมองดูร่างกายที่เน่าเปื่อยในป่าช้า ดูพิจารณาสังขารว่าเป็นสิ่งไม่ยั่งยืน

สุดท้ายก็คือ การข่มใจไม่ทำตามตัณหา หรือไม่ก็ควบคุมกายวาจาของตนเอาไว้ อันหลังนี้เกี่ยวข้องกับ ศีลหรือวินัยซึ่งเป็นเครื่องช่วยให้เราไม่ปล่อยตัวไปตามความอยาก แม้ว่าใจจะอยากก็ตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น