วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


          ในสังคมปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสังคมสงฆ์หรือสังคมทั่วไป เราจะพบว่ามีความเห็นขัดแย้งกันด้วยเรื่องต่างๆ มากมายอยู่บ่อยครั้ง ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากพอสมควร ผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะชี้นำ สังคมเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมมากพอสมควร ผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะชี้นำ สังคมเพื่อแก้ปัญหาขัดแย้งที่มีความกล้าและทุกคนยอมรับฟังมีน้อยเต็มที ครั้งใดก็ตามเมื่อเกิดปัญหาข้อขัดแย้งขึ้นมาผู้ชี้นำที่จะแนะนำให้เรื่องนั้นยุติลงได้เรามักได้เห็นคำชี้นำที่เป็นหนังสือที่ทันกับเหตุการณ์นั้น ออกมาครั้งแล้วเรื่องนั้นก็จะยุติลงได้โดยสังคมยอมรับฟังที่กำลังกล่าว ถึงนี้คือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ท่านเป็นนักปราชญ์ของสังคมไทยในยุคปัจจุบันผู้ทรงความรู้อย่างกว้างขวางที่ละเอียดลึกทั้งทางฝ่ายโลกและทางฝ่ายธรรมอย่างแท้จริง มีผลงานอันโดดเด่นจำนวนมากเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชีวประวัติและผลงานของพระเถระชาวไทยรูปนี้จะได้นำเสนอต่อไป




ชีวประวัติพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) เกิดเมื่อพฤหัสบดีที่ ๑๒ มกราคม พ.ศ. ๒๔๘๑ ตรงกับแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๒ ปีขาล ณ บ้านตลาดศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี บิดาชื่อคุณพ่อสำราญ อารยางค์กูร มารดาชื่อ คุณแม่ชุนกี อารยางค์กูร มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ๖ คน

ประวัติการศึกษา

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต) ท่านเป็นผู้ที่มีความเพียบพร้อม ในทุกด้าน ตั่งแต่วัยเด็กถึงวัยเด็กวัยการศึกษา เป็นเรียนดี มีความพฤติ ดีมาโดยตลอด ประวัติการศึกษาของท่านมีดังนี้

พ.ศ. ๒๔๘๗ เข้าเรียนที่โรงเรียนอนุบาลครูเฉลียว ตลาดศรีประจันต์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี

พ.ศ. ๒๔๘๗-๒๔๙๓ เข้าเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓ ที่โรงเรียนมัธยมวัดปทุมคงคา เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร และได้รับทุน เรียนดีของกระทรวงศึกษาธิการ และให้พักอาศัยอยู่ที่วัด พระพิเรนทร์ จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ หรือชั้นประถมศึกษาปีที่ ๗ สมัยต่อไป ในช่วงระยะเวลาที่เรียนชั้นมัธยมศึกษานี้ พระธรรมปิฎกได้รับประสบการณ์ที่ดีงามหลายอย่างโดยเฉพาะที่วัดพิเรนทร์

พ.ศ. ๒๔๙๔ โดยมีพระครูเมธีธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดบ้านกร่าง และเจ้าคณะอำเภอศรีประจันต์เป็นอุปัชฌาย์     เป็นพระอนุสาวนาจารย์ได้รับฉายาว่า ปยุตฺโต พระมหาประยุทธ์ ปยุตฺโต ภูมิธรรมและความรู้ของพระธรรมปิฎกนั้นสูงและลึกซึ้ง จนได้รับคำยกย่องจากบุคคลทั่วไปว่าเป็น “ปราชญ์แห่งสยาม” บ้าง เป็น “ENCYCLOPEDIA เคลื่อนที่” บ้าง เป็น “ปรากฏการณ์ของโลกที่เกิดในยุคนสังคมปัจจุบัน” บ้าง รวมทั้งการได้รับการถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ทั้งหมดนี้ล้วนมีผลสืบเนื่องมาจากการศึกษาในเยาว์วัย และการศึกษาที่ได้รับขณะบรรพชา และอุปสมบทในพระบวรพุทธศาสนาเป็นการศึกษาทั้งในระบบและนอกระบบ สำหรับการศึกษานอกนั้นเกิดจากความเป็นนักอ่าน นักค้นคว้า การมีประสบการณ์ในการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดจนการมีประสบการณ์ในโลกกว้างทั้งภายในและภายนอกประเทศ สำหรับการศึกษาในระบบนั้นจะเรียงลำดับตั้งแต่สมัยออกบรรพชาและอุปสมบท ดังนี้



การบรรพชา

            สืบเนื่องจากพระธรรมปิฎก มีสุขภาพไม่ดีตั้งแต่เล็ก ๆ มีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเป็นประจำ เช่น หูน้ำหนวก โรคปอด ระบบทางเดินหายใจไม่สะดวก โดยเฉพาะโรคทางเดินอาหาร มีอาการท้องเสียเป็นประจำ ซึ่งเป็นโรคประจำตัว เคยผ่าตัดไส้ติ่ง หู และอีกหลาย ๆ โรค โดยมีโยมบิดาเป็นผู้ดูแล เพราะการเดินทางไปโรงพยาบาลลำบากมาก โยมทั้งสองจึงให้บรรพชาครั้งแรกขณะอายุได้ ๗ ขวบ เป็นการบวชบนตัว เพื่อให้หายจากโรคภัยไข้เจ็บ แล้วให้สึกมาเรียนหนังสือ จนกระทั่งเมื่อศึกษาอยู่ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ขณะที่ยังมีสุขภาพไม่ดี ได้พิจารณาเห็นคล้อยตามคำแนะนำชักจูงของโยมบิดาและพี่ชายคนที่สอง จึงได้เข้ารับการบรรพชา ณ วัดบ้านกร่าง อำเภอศรีประจันทร์ จังหวัดสุพรรณบุรี ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๙๔ มีพระครูเมธีธรรมสาร เจ้าอาวาสวัดบ้านกร่างเป็นพระอุปัชฌาย์ เริ่มศึกษา ณ วัดบ้านกร่างในปีแรกของการบรรพชา สอบได้นักธรรมชั้นตรี แล้วย้ายไปศึกษาต่อ ณ วัดปราสาททอง ซึ่งมีพระวิกรมุนี เป็นเจ้าอาวาสสอบได้นักธรรมชั้นโท ใน พ.ศ. ๒๔๙๕ ครั้น พ.ศ. ๒๔๙๖ ได้ย้ายมาสังกัดวัดพระพิเรนทร์ จังหวัดพระนคร ซึ่งพระศีลขันธโศภิต ยังคงเป็นเจ้าอาวาส ได้เพียรพยายามศึกษาเล่าเรียนต่อมาจนสอบได้นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม ๓ ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะเป็นสามเณร

การอุปสมบท

    เนื่องจากพระธรรมปิฎกสามารถสอบได้เปรียญธรรม ๓ ถึง ๙ ประโยคขณะยังเป็นสามเณร จึงได้รับพระราชทานพระบรมราชานุเคราะห์จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ธรรมิกมหาราชาธิราช องค์เอกอัครศาสนูปถัมภกรัชกาลปัจจุบัน ให้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในฐานะนาคหลวง เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๔ ตรงกับวันขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๘ ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (กิตติโสภณมหาเถระ) วัดเบญจบพิตร ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมคุณาภรณ์ (สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์) วัดสามพระยา เป็น พระกรรมวาจารย์ และพระเทพเมธี (พระธรรมเจดีย์) วัดทองนพคุณ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายาว่า “ปยุตฺโต” ภายหลังจากอุปสมบมแล้วก็ได้สำเร็จการศึกษาสอบได้ปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับ ๑) จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในปี พ.ศ. ๒๕๐๕ และในปีต่อมาคือ พ.ศ. ๒๕๐๖ พระธรรมปิฎกก็สามารถสอบได้วิชาชุดครู พ.ม. อีกวุฒิหนึ่ง ตลอดระยะเวลาของการศึกษาเล่าเรียน พระธรรมปิฎกมีผลการเรียนดีมาโดยตลอด ผลการสอบจะอยู่ในระดับที่ ๑ – ๒ เสมอ จนกระทั้งระดับปริญญา ซึ่งเป็นผลมาจากจิตสำนึกของการเป็นผู้ที่มีฉันทะในการที่จะแสวงหาความรู้ และมีวิริยะความบากบั่นเพียรพยายามที่จะให้ได้มาซึ่งความรู้นั้น ๆ ประกอบกับอานิสงส์ของความเป็นผู้ให้ คือ สอนให้ผู้อื่นได้รับความรู้ไปพร้อม ๆ กับการศึกษาเล่าเรียนของตนเอง คุณสมบัติทั้งสองประการนี้ ได้สั่งสมในพระธรรมปิฎกตราบจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

สรุปจากประวัติ จะเห็นได้ว่าพระธรรมปิฎกเป็นผู้มีสติปัญญายอดเยี่ยมมีความเมตตากรุณาสูงยิ่ง เป็นผู้นำทางวิชาการและการอบรมสั่งสอนให้บุคคลมีความรู้ ความประพฤติดีงาม มาตั้งแต่เป็นเด็กอายุน้อย ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ส่งผลให้พระคุณท่านเป็นผู้นำของสังคมทั้งทางทฤษฏีและทางปฏิบัติในเวลาต่อมาจนถึงปัจจุบัน


พื้นฐานความคิด

                          โดยกิจของพระสงฆ์ซึ่งจะต้องเผยแพร่พระพุทธศาสนาเป็นสำคัญ ย่อมต้องศึกษาพระธรรมวินัยจนแตกฉานเพื่อที่จะให้แนวทางปฏิบัติที่ดีงามแก่บุคคลทั่วไปโดยผ่านแนวความคิดซึ่งจะเห็นได้จากการเผยแพร่พระธรรมในรูปแบบต่าง ๆ และวัตรปฏิบัติที่เด่นชัด พระธรรมปิฎกได้นำวิธีคิดที่เป็นอมตะของพระพุทธศาสนา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ทรงแสดงธรรมไว้นานกว่า ๒,๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว มาแสดงเป็นหลักการสำคัญตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา นั่นคือแนวคิดแบบโยนิโสมนสิการหรือวิธีการแห่งปัญญา ซึ่งเป็นความคิดอย่างถูกวิธี คิดอย่างมีระเบียบ รู้จักวิเคราะห์ ไม่มองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างตื้น ๆ ผิวเผิน เป็นขั้นสำคัญในการสร้างปัญญาปัญญาที่บริสุทธิ์ที่เป็นอิสระทำให้ทุกคนช่วยตนเองได้ และนำไปสู่จุดหมายของพุทธธรรมอย่างแท้จริง ซึ่งวิธีโยนิโสมนสิการนี้ พระธรรมปิฎกได้แจกแจงรายละเอียดไว้ ๑ๆ แบบ ในหนังสือพุทธธรรม สรุปได้ดังนี้

๒.๑ วิธีคิดแบบสืบสาวเหตุปัจจัย หรือวิธีคิดแบบอิทัปปัจจยตาเป็นการพิจารณาปัญหาหาหนทางแก้ไขด้วยการค้นหาสาเหตุและปัจจัยต่าง ๆ ที่สัมพันธ์ส่งผลสืบทอดกันมา

๒.๒ วิธีคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ เป็นการคิดที่มุ่งให้มองและให้รู้จักสิ่งทั้งหลายตามภาวะของมันเองที่เกิดจากองค์ประกอบต่าง ๆ มาประชุมกันขึ้นมักใช้พิจารณาให้เห็นความไม่มีแก่นสารหรือความไม่เป็นตัวตนที่แท้จริงของสิ่งทั้งหลายให้หายยึดติดถือมั่นในสมมติบัญญัติ

๒.๓ วิธีคิดแบบสามัญลักษณ์ หรือ วิธีคิดแบบรู้เท่าทันธรรมดา คือ มองอย่างรู้เท่าทัน ความเป็นไปของสิ่งทั้งหลาย ซึ้งต้องเป็นอย่างนั้น ๆ ตามธรรมดาของมันเองที่เป็นสิ่งเที่ยง เปลี่ยนแปลงเป็นไปตามเหตุปัจจัย

๒.๔ วิธีคิดแบบอริยสัจหรือคิดแบบแก้ปัญหา ซึ่งเริ่มต้นด้วยการพิจารณาทุกข์ : สภาพปัญหา สมุทัย : เหตุแห่งทุกข์ นิโรธ : ความดับทุกข์ และจบด้วย มรรค : ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์

๒.๕ วิธีคิดแบบอรรถธรรมสัมพันธ์ หรือติดตามหลักการและความมุ่งหมาย คือ การพิจารณาให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างหลักการกับความมุ่งหมาย เมื่อจะลงมือปฏิบัติธรรมหรือทำการตามหลักการอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้ได้ผลตรงตามความมุ่งหมาย ไม่กลายเป็นการกระทำที่คลาดเคลื่อน เลื่อนลอย หรืองมงาย


๒.๖ วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก เป็นการมองสิ่งต่าง ๆ ทั้งหลายตามความจริงอีกแบบหนึ่ง ซึ่งเน้นการยอมรับความจริงตามสิ่งนั้น ๆ เป็นอยู่ทุกแง่ทุกด้าน ทั้งด้านดีด้านเสีย เป็นวิธีคิดที่ต่อเนื่องกับการปฏิบัติมาก


๒.๗ วิธีคิดแบบคุณค่าแท้ – คุณค่าเทียม หรือการพิจารณาเกี่ยวกับปฏิเสวนา คือ การใช้สอย หรือบริโภค เป็นวิธีคิดแบบสกัดหรือบรรเทาตัณหา วิธีคิดนี้ใช้มากในชีวิตประจำวันเพราะเกี่ยวข้องกับการบริโภคใช้สอบปัจจัย ๔ เพื่อให้ได้คุณประโยชน์หรือคุณค่าที่แท้จริงจากสิ่งที่บริโภคหรือใช้สอย


๒.๘ วิธีคิดแบบอุบายปลุกเร้าคุณธรรม หรือวิธีคิดแบบเร้ากุศลหรือคิดแบบกุศลภาวนา เป็นวิธีคิดในแนวสกัดกั้นหรือบรรเทาและขัดเกลาตัณหา เป็นข้อปฏิบัติระดับต้น ๆ สำหรับส่งเสริมความเจริญงอกงามแห่งกุศลธรรมและสร้างเสริมสัมมาทิฎฐิที่เป็นโลกียะ


๒.๙ วิธีคิดแบบเป็นอยู่ในขณะปัจจุบัน หรือวิธีคิดแบบมีปัจจุบันเป็นอารมณ์เป็นการคิดในแนวทางของความรู้ หรือคิดด้วยอำนาจปัญญา ซึ่งการคิดในแนวทางนี้สามารถอธิบายได้ว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่เป็นไปอยู่ในขณะนี้ หรือเป็นเรื่องล่วงไปแล้วหรือเป็นเรื่องของกาลภายหน้า เมื่อเป็นการคิดในเชิงปัญญา ก็จัดเข้าในการเป็นอยู่ในปัจจุบันทั้งนั้น


๒.๑๐ วิธีคิดแบบวิภัชชวาท ความจริงวิธีนี้เป็นวิธีพูดหรือการแสดงหลักการแห่งคำสอนแบบหนึ่ง อย่างไรก็ตามสิ่งที่พูดล้วนมาจากความคิดทั้งสิ้น มีลักษณะสำคัญ คือ เป็นการมองและแสดงความจริง โดยแยกแยะออกให้เห็นแต่ละแง่ละด้าน ครบทุกแง่ทุกด้าน ไม่ใช่จับเอาแง่หนึ่งแง่เดียว หรือบางแง่ขึ้นมาวินิจฉัยตีคลุมลงไปทั้งหมด


วิธีคิดทั้ง ๑๐ แบบนี้ เป็นวิธีที่พระธรรมปิฎกได้ใช้ผสมผสานกันมาตลอดชีวิตการทำงานที่อุทิศให้แก่พระศาสนาและสังคมของมวลมนุษย์ชาติ จะเห็นได้จากตัวอย่างผลงานที่จะกล่าวในตอนต่อไป ทั้งผลทางการแสดงธรรม การนิพนธ์หนังสือซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสังคมในทางที่ดีขึ้น เจริญขึ้น ทั้งเนื้อหาของตัวความคิดที่เป็นหลักสำคัญในวงการศึกษาระดับต่าง ๆ ผลงานของความคิดที่ก่อให้เกิดการพัฒนาและบรรเทาปัญหาทั้งหลาย และส่งอิทธิพลต่อความคิดและความประพฤติของบุคคลทุกระดับ ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง นักวิชาการ และประชาชนทั่วไปในปัจจุบัน จนได้รับการยกย่องให้เป็น ปราชญ์แห่งสยาม ตลอดจนได้รับการถวายรางวัลเกียรติยศต่าง ๆ เป็นอันมาก


นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่เห็นชัดในรูปธรรม คือ มีบุคคลสนใจศึกษาวิจัยประวัติและแนวคิดของพระธรรมปิฎก ไนฐานะทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าสูงสุดคนหนึ่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น Dr. Grant Olson จากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ผศ. ดร. อาภา จันทรสกุล จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ฯลฯ กล่าวได้ว่า พระธรรมปิฎก เป้นตัวแทนด้านสติปัญญาของประชาชาติที่ชาวโลกสามารถอ้างอิงได้ด้วยความภูมิใจ


ประวัติการเลื่อนสมณศักดิ์


พ.ศ. ๒๕๑๒ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระศรีวิสุทธิ์โมลี พ.ศ. ๒๕๑๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชวรมุนี พ.ศ. ๒๕๓๐ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที พ.ศ. ๒๕๓๖ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปิฎก

พ.ศ. ๒๕๔๗ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระราชาคณะชั้นหิรัณยปัฏที่ พระพรหม คุณาภรณ์ พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๗ ดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๙ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ เขตป้อมปราบ กรุงเทพมหานคร

พ.ศ. ๒๕๓๗ ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ตำบลบางกระทึก อำเภอพราน จังหวัดนครปฐมมาจนถึงปัจจุบัน

                    ความสัมพันธ์กับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในช่วงระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการและรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๙ อยู่นั้น ท่านได้สร้างความก้าวหน้าทางด้านการบริหารงานวิชาการให้กับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ประจักษ์ เป็นที่ยอมรับในทางวิชาการโดยทั่วไป โดยเฉพาะการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยให้เป็นไปอย่างสอดคล้องทันสมัยกับสาวะทางวิชาการที่เป็นระบบที่นิยมอยู่ในยุคสมัยปัจจุบัน และเกียรติประวัติแห่งคุณความดีและความสามารถทางวิชาการอันยิ่งที่ท่านได้รับ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๔ ที่ผ่านมาคือสำนักนายกรัฐมนตรีได้แจ้งพระบรมราชโองการโปรดเกล้า แต่งตั้งศาสตราจารย์พิเศษของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย แด่พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นศาสตราจารย์พิเศษ(สาขาวิชาพระพุทธศาสนาตั้งแต่วันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๔ เป็นต้นไป นับเป็นพระสงฆ์รูปแรกของประเทศไทยที่ได้รับตำแหน่งนี้


ผลงานของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปุตฺโต)

ผลงานของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปุตฺโต) ถ้าผลงานทั้งหมด ตั้งแต่เริ่มแรกเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่าท่านมีผลงานมากที่สุด มีมากมายหลายรูปแบบหลายร้อยชิ้นงาน เป็นผลงานที่ทรงคุณค่า ทางวิชาการทั้งสิ้น ผลงานการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของท่านปรากฏ ในหลายลักษณะ มีทั้งด้านการสอน การบรรยาย การปาฐกถา การอภิปรายแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแสดงพระธรรมเทศนา นอกจากนี้ ท่านได้รับอาราธนาให้ไปสอนวิชาการทางพระพุทธศาสนา ในมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศหลายครั้งหลายแห่ง เช่น


ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ได้รับอาราธนาให้ไปสอนที่ University Museum, University Of Pensylvania

ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้รับอาราธนาให้ไปสอนที่ Swarthmore College, Pensylvania

ในปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ได้รับอาราธนาให้ไปสอนที่ Harvard University พระพรหมคุณาภรณ์ เป็นพระสงฆ์ไทยที่ได้รับการอาราธนาเจาะจง ให้แสดงปาฐกถาในที่ประชุมนานาชาติ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ หลายครั้งเช่นปาฐกถาในการประชุมนานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเอเชีย กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ ๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ เรื่อง The International Conference On Higher Education and the Promotion of Peace เรื่อง Buddhism and Peace


ปาฐกถาในการประชุม เมื่อวันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๓ เรื่อง The Sixth Asian Workshop On Child and Adolescent Devenlopment เรื่อง Influence of Western and Asian Thought on Human Culture Devenlopment ได้รับอาราธนาให้จัดทำสารบรรยายสำคัญ เรื่องA Buddhist Solution for the Twenty-first Century ในการประชุมสภาศาสนาโลก Parliament of the World’s Religions ณ นครชิคาโก ประเทศ สหัฐอเมริกา เมื่อวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖


ผลงานนิพนธ์ของพระพรหมคุณาภรณ์ เป็นที่รู้จักกันอย่างทั่วไปอย่างแพร่หลายในแวดวงวิชาการ ในลักษณะที่เป็นตำราวิชาการ เอกสารทางวิชาการ และหนังสืออธิบายธรรมะทั่วๆ ไป มีมากมายกว่า ๓๐๐ กว่า เรื่อง ผลงานทางวิชาการของท่านที่แพร่หลายมากที่สุดและรู้จักเป็นที่ยอมรับในทางวิชาการมากที่สุด คือพุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ ธรรมนูญชีวิต การศึกษาของคณะสงฆ์ ปรัชญาหารศึกษา พุทธศาสนาในเอเชีย การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้นด้วยผลงานวิชาการที่โดดเด่น ของท่านนี้เอง สถาบันการศึกษาทั้งหลายที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศไม่น้อยกว่า ๑๐ สถาบัน ได้ถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ในหลายสาขาวิชาการให้แก่ท่าน นอกจากนี้ได้มีสถาบันการศึกษาและองค์กรต่างๆ ทั้งระดับนานาชาติและระดับประเทศได้ถวายรางวัลต่างๆ และประกาศเกียรติคุณของท่านให้เป็นที่ประจักษุแก่โลกและสังคมอีกมากมาย ผลงานของท่านหากใครได้ติดตามมาอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ จะรู้ดีว่าผลงานทางวิชาการที่เผยแพร่ออกไปในรูปของงานนิพนธ์ เป็นบทความ เป็นหนังสือ และปาฐกถาธรรมที่นำมาปรับปรุงแล้วพิมพ์เผยแพร่ออกไปในภายหลังมีจำนวนมากหลายๆ เรื่อง ในจำนวนผลงานเหล่านั้นได้ถูกนำไปพิมพ์ซ้ำแล้วซ้ำอีก เช่นผลงานฉบับกระเป๋าที่ชื่อเรื่องว่า ธรรมนูญชีวิต ได้ถูกนำไปพิมพ์เผยแพร่ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมาแล้ว มากกว่า ๒๐๐ ครั้ง ผลงานวิชาการเล่มใหญ่ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของ ท่านคือ พุทธธรรม ถูกพิมพ์ เผยแพร่มาแล้วหลายครั้ง หนังสือพุทธธรรม นี้วงวิชาการทางพุทธศาสนาต่างเห็นพ้องต้องกันให้เป็นสุดยอดงาน ชิ้นเอกที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่ของท่าน ผลงานของท่านเรื่องนี้ ไม่ว่าจะพิจารณา ในด้านไหนมีความครอบคลุมของเนื้อหาหรือความลุ่มลึกของเนื้อหาสมบูรณ์ ครบถ้วนทุกประการ รูปแบบของการนิพนธ์แสดงให้เห็นวิธีการค้นคว้าตามแบบของการวิจัยอย่างเคร่งครัด มีการอ้างอิงหลักฐานที่มากจากแหล่งที่เชื่อถือได้มากที่สุดคือพระไตรปิฎก หากเรื่องใดข้อความในพระไตรปิฏกไม่ชัดเจน มีการตีความหรือขยายความที่ต่างออกไป ท่านจะนำหลักฐานในชั้นคัมภีร์รองลงมาเช่น อรรถถา ฎีกา อนุฎีกา หรือ คัมภีร์ที่เชื่อถือได้ อื่น ๆ มาแสดงไว้ด้วย การอ้างอิงใน พุทธธรรม แทบจะทั้งหมด อ้าง จากหลักฐานในพระไตรปิฎกซึ่งยอมรับกันว่าเป็นแหล่งข้อมูลอ้างอิงที่ถูกต้อง ที่สุด การอ่านหนังสือพุทธธรรมให้เข้าใจอรรถะของเรื่องทั้งหมดจะเข้าใจ ได้ทันทีว่า พุทธธรรม หรือหลักธรรมของพระพุทธเจ้าที่แท้จริงนั้น สอนอะไรและสอนอย่างไรจึงไม่ต้องคลางแคลงใจเลยว่าเพราะอะไร ในวิชาการทางศาสนาจึงมีความเห็นสอดคล้องกันว่า พุทธธรรมคือหนังสือ ภาษาไทยที่บรรจุสาระสำคัญแห่งหลักคำสอนของพระพุทธศาสนาที่สมบูรณ์ที่สุดในยุคปัจจุบัน


ประกาศนียบัตรและรางวัล


ได้รับปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากสถาบันการศึกษา ๑๐ สถาบัน รวม ๑๑ ปริญญา ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนี้

๑) พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๒๕

๒) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญา) จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๒๓

๓) ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาหลักสูตรและการสอน) จากมหาวิทยาลัยศิลปากร พ.ศ. ๒๕๒๙

๔) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (ศึกษาศาสตร์การสอน) จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พ.ศ. ๒๕๓๐

๕) อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.๒๕๓๑

๖) ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาภาษาศาสตร์) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๒

๗) การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (สาขาปรัชญาการศึกษา) จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. ๒๕๓๓

๘) ตรีปิฏกาจารย์กิตติมศักดิ์ จากนวนาลันทามหาวิหาร รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย พ.ศ. ๒๕๓๘

๙) ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาศึกษาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง พ.ศ. ๒๕๓๘

๑๐) ศึกษาศาสตรดุษฎบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พ.ศ. ๒๕๓๘

๑๑) อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (จริยศาสตร์ศึกษา) จากมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. ๒๕๓๘

เคยดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๗-๒๕๑๗

เป็นเจ้าอาวาสวัดพระพิเรนทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๕-๒๕๑๙

ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดญาณเวศกวัน ต.บางกระทึก อ.สามพราน จ. นครปฐม

พุทธธรรม-การแต่งและนำเสนอเนื้อหาของพุทธธรรม

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ได้แสดงหลักธรรมคำสอนที่สำคัญยิ่งของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีอยู่เพียงเรื่องเดียวในหนังสือพุทธธรรม คือเรื่องอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค ซึ่งท่าน สามารถดึงเอาธรรมมะเกือบทั้งหมดบรรดามีในพระพุทธศาสนามารวมลงไว้ ในอริยสัจได้ทั้งหมด ในพุทธธรรมถ้าศึกษาให้เข้าใจสาระโดยละเอียดจะพบว่าท่านผู้แต่งอธิบายเรื่องริยสัจที่สร้างแรงจูงใจอยากรู้ให้กับผู้อ่านมากโดย ท่านจะตั้งเป็นประเด็นคำถามไว้ ปกติทั่วไปกาสอนเรื่องอริยสัจผู้สอนจะตั้งประเด็นแล้วอธิบายตามความหมายตรงๆ เช่น อะไรคือ ทุกข์ อะไร คือสมุทัย อะไรคือ นิโรธและไรคือ มรรค แล้วอธิบายขยายความไปตามลำดับของคำถามที่ตั้งไว้ซึ่งเป็นวิธีสอนแบบเดิมที่นิยมมาโดยตลอด แต่ในหนังสือพุทธธรรมท่านผู้แต่งไม่ใช้การอธิบายแบบนั้น ท่านใช้วิธีอธิบายเรื่องอริยสัจ ๔ ต่างออกไปจากที่เคยสอนมาแบบเดิม ก่อนอธิบายขยายความของอริยสัจ แต่ละข้อให้ละเอียดออกไป เช่น ทุกข์ อริยสัจข้อที่ ๑ ท่านจะตั้งคำถามว่า ชีวิตคืออะไร เมื่อตั้งคำถามแล้วท่านจะอธิบายขยายความโดยละเอียดว่าชีวิตคืออะไร แล้วสรุปเรื่องของชีวิตลงใน ทุกขอริยสัจ จบแล้วจะตั้งคำถามอริยสัจข้อต่อไปคือ


สมุทัย อริยสัจข้อที่๒ ท่านก็จะตั้งเป็นคำถามว่า ชีวิตควรให้เป็นไปอย่างไร ท่านก็จะอธิบายขยายความเรื่องนี้โดยละเอียดทุกประเด็น แล้วสรุปลงใน สมุยทัยอริยสัจ จบแล้วจะตั้งคำถามอริยสัจข้อต่อไปคือ นิโรธ อริยสัจข้อที่ ๓ ท่านก็จะตั้งเป็นคำถามว่า ชีวิตเป็นอย่างไร ท่านก็จะอธิบายขยายความว่าชีวิตเราควรให้เป็นไปอย่างไรโดยละเอียดแล้วสรุปลงใน นิโรธอริยสัจ แล้วตั้งโจทย์หรือคำถามสุดท้ายของวิธีสอนเรื่องอริยสัจ ข้อต่อไปคือ ละเอียดแล้วสรุปลงใน นิโรธอริยสัจ แล้วตั้งโจทย์หรือคำถามสุดท้ายของวิธีสอนเรื่องอริยสัจ ข้อต่อไปคือ


มรรค อริสัจข้อที่ ๔ ท่านก็จะตั้งเป็นคำถามว่า ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร แล้วท่านจะอธิบายส่วนนี้โดยละเอียดว่าชีวิตของเราควรเป็นอยู่อย่างไรแล้วสรุปลงใน มรรคอริยสัจ เป็นต้น


สาระหลักของพุทธธรรม สาระหลักของพุทธธรรมท่านผู้นิพนธ์ได้อธิบายขยายความประเด็นของเรื่องให้เด่นชัดขึ้น โดยแบ่งเนื้อหาหลักของพุทธรรมออกเป็น ๒ ตอน เนื้อหาหลักตอนที่ ๑ ว่าด้วยเรื่องหลักพุทธรรมที่เป็นกลางหรือ มัชเฌนธรรมเทศนา เนื้อหาหลักตอนที่ ๒ ว่าด้วยเรื่องหลักปฏิบัติที่เป็น ทางสายกลางหรือมัชฌิมาปฏิปทา หลักธรรมที่สำคัญในแต่ละตอนท่านจะแบ่งออกเป็นเรื่องๆ เนื้อหาโดยย่อในแต่ละตอนพอสรุปได้ดังนี้ ตอนที่ ๑ มัชเฌนธรรมเทศนา ท่านผู้นิพนธ์แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๔ ประเด็นหลัก ประเด็นที่ ๑ ตั้งคำถามว่าด้วยเรื่องของ มนุษย์ว่า ชีวิตคืออะไร หลักพุทธรรมที่สำคัญในตอนนี้ประกอบด้วยเรื่อง ขันธ์ ๕ อาตยนะ ๕ ประเด็นที่ ๒ ว่าด้วยเรื่อง ชีวิตเป็นอย่างไรหลักพุทธธรรมที่สำคัญในตอนนี้ประกอบด้วยเรื่อง ไตรลักษณ์หรือ สามัญลักษณะ ประเด็นที่ ๓ ว่าด้วยเรื่อง ปฏิจจสมุปบาท เรื่องกรรม ประเด็นที่ ๔ ว่าด้วยเรื่อง ชีวิตควรเป็นอย่างไร หลักพุทธธรรมที่สำคัญในตอนนี้ประกอบด้วยเรื่อง อวิชชา วิมุตติ วิสุทธิ สันติ และนิพพานไปตามลำดับ ต่อจากนั้นท่านได้อธิบายเรื่อง ประเภทและระดับของนิพพานและผู้บรรลุนิพพาน อธิบายเรื่องความเข้าใจที่ถูกต้อง เกี่ยวกับเรื่อง สมถะ วิปัสสนา เจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ หลักการ สำคัญของการบรรลุนิพพาน ประเด็นสุดท้ายในตอนนี้ ท่านได้แต่งเป็น บทสรุป เรื่องเกี่ยวกับนิพพาน เรื่องชีวิต เรื่องของคุณธรรมพื้นฐานของอารยชน เรื่องศีลกับเจตนารมณ์ทางสังคม เรื่องอิทธิปาฏิหารย์และเทวดา เรื่องปัญญาที่สร้างแรงจูงใจ และสุดท้ายว่าด้วยเรื่องความสุข ตอนที่ ๒ มัชฌิมาปฏิปทา ท่านผู้นิพนธ์แต่งโดยจัดความสำคัญของเนื้อหารวมเป็นตอนเดียวและบทสรุป สาระสำคัญในตอนนี้ประกอบด้วย เรื่องมนุษย์เช่นเดียวกันว่า ชีวิตควรเป็นอยู่อย่างไร ส่วนของเนื้อหาประกอบด้วย บทนำของมัชฌิมาปฏิปทา บุพภาคของการศึกษา ๑ คือ หมวดว่าด้วยเรื่องปัญญา เรื่ององค์ประกอบ ของมัชฌิมาปฏิปาทา ๒ คือ หมวดว่าด้วยเรื่องปัญญา เรื่ององค์ประกอบของมัชฌิมาปฏิปทา ๒ คือ หมวดว่าด้วยเรื่องศีล เรื่ององค์ประกอบของหมวดมัชฌิมาปฏิปทา ๓ คือ หมวดว่าด้วยเรื่อง สมาธิ ตอนสุดท้ายของพุทธธรรมท่านได้สรุปเรื่อง ที่สำคัญซึ่งเป็นประเด็นหลักของหลักพุทธธรรมของพระพุทธศาสนาคือเรื่อง อริยสัจ ๔ เป็นอันจบเนื้อหาที่สำคัญของหนังสือเล่มนี้ ส่วนเนื้อหาโดยละเอียดของพุทธธรรมสามารถศึกษาจากหนังสือพุทธธรรมโดยตรงเถิด ผลงานของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺติโต) นอกจากผลงานทั้งหลายที่ยกมานำเสนอเป็นตัวอย่างนี้แล้ว ผลงานที่ถือว่าท่านเป็นผู้มีส่วนแห่งความสำเร็จมากที่สุด ที่บุคคลในวงการพระพุทธศาสนาร็จักเป็นอย่างดีก็คือ ในการสร้างพระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์สำเร็จสมบูรณ์เป็น ฉบับแรกของโลกของมหาวิทยาลัยมหิดลซึ่งท่านเป็นที่ปรึกษาและเป็นผู้มี ส่วนผลักกันให้โครงการนี้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ด้วยดีทุกประการ พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์นี้ เป็นแรงบันดาลใจที่ทำให้เกิดหารศึกษา ค้นคว้าหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็วและถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น

ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ


“พระพุทธศาสนานั้น เราถือกันว่าเป็นศาสนาประจำชาติ การถืออย่างนี้ เป็นประเพณีที่ถูกสืบต่อมาโดยถูกต้องตามสมควรแก่เหตุ คือการที่พระพุทธศาสนากับชนชาติไทยได้มีความสัมพันธ์แนบแน่นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งในทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม


ในทางประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของชนชาติไทยเนื่องมาด้วยกันกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะนับตั้งแต่สมัยที่ชนชาติไทยมีประวัติศาสตร์อันชัดเจน ชาวไทยก็ได้นับถือพระพุทธศาสนาต่อเนื่องตลอดมา จนกล่าวได้ว่า ประวัติศาสตร์ของประเทศไทยเป็นประวัติศาสตร์ของชนชาติที่นับถือพระพุทธศาสนา


ในด้านวัฒนธรรม วิถีชีวิตของคนไทยได้ผูกพันประสานกลมกลืนกับหลักความเชื่อ และหลักปฏิบัติในพระพุทธศาสนาตลอดเวลายาวนาน จนทำให้เกิดการปรับตัวเข้าหากัน และสนองความต้องการของกันและกันตลอดจนผสมคลุกเคล้ากับความเชื่อและข้อปฏิบัติสายอื่นๆ ที่มีมาในหมู่ชนชาวไทย ถึงขั้นที่ทำให้ทำให้เกิดระบบความเชื่อและความประพฤติปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาที่เป็นแบบของคนไทยโดยเฉพาะ อันมีรูปลักษณะและเนื้อหาของตนเองที่เน้นเด่นบางแง่บางด้านเป็นพิเศษ แยกออกได้จากพระพุทธศาสนาอย่างทั่วๆไป ซึ่งเรียกได้ว่า เป็นพรพุทธศาสนาแบบไทย หรือ พระพุทธศาสนาของชาวไทย

วัฒนธรรมไทยทุกด้านมีรากฐานสำคัญอยู่ในพระพุทธศาสนา ถ้อยคำมากมายในภาษาไทยมีต้นกำเนิดมาจากภาษาบาลี และมีความหมายที่สืบเนื่อง ปรับ แปร หรือเพี้ยนมาจากคติในพระพุทธศาสนา แบบแผนและครรลองตามหลักการของพระพุทธศาสนาได้รับการยึดถือเป็นแนวนำ และเป็นมาตรฐานสำหรับความประพฤติ การบำเพ็ญกิจหน้าที่ และการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทยทุกระดับ ทั้งสถาบันพระมหากษัตริย์ที่ปกครองประเทศและไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน


คนไทยทั่วทั้งหมด ตั้งแต่องค์พระเจ้าแผ่นดินลงมา จนถึงผู้ชายชาวบ้านสามัญแทบทุกคนได้บวชเรียนได้รับการศึกษาจากสถาบันพระพุทธศาสนาดังมีประเพณีบวชเรียนเป็นหลักฐานสืบมา วัดเป็นศูนย์กลางการศึกษาของสังคมไทย เป็นแหล่งคำสอน การฝึกอบรม และอำนวยความรู้ทั้งโดยตรงแก่ผู้เข้าไปบวชเรียนอยู่ในวัดและโดยอ้อมแก่ทุกคนในชุมชนที่อยู่แวดล้อมวัดชุมชนทุกแห่ง แม้แต่ในหมู่บ้านชนบทห่างไกล ต่างก็มีวัดประจำเป็นศูนย์รวมจิตใจและเป็นศูนย์กลางกิจกรรมของชุมชน

กิจกรรมใหญ่ที่มีความสำคัญของรัฐก็ดี ของชุมชนก็ดี จะมีส่วนประกอบด้านพระพุทธศาสนาเป็นพิธีการเพื่อเน้นย้ำความสำคัญและเสริมคุณค่าทางจิตใจ แม้แต่กิจกรรมเล็กน้อยจนถึงการประกอบกิจส่วนตัวของบุคคลในชีวิตประจำวัน เช่น ตื่นนอน ล้างหน้า ออกเดินทางไปทำงานจนถึงเข้านอน ก็อาจเคร่งครัดถึงกับนำคำสอนและข้อปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนาเข้าแทรกเป็นส่วนนำสำหรับเตือนสติ กระตุ้นเร้าในทางกุศล หรือเพื่อความเป็นสิริมงคล (ดังปรากฏต่อมาภายหลัง บางทีเลือนรางเหลือเพียงเป็นการทำตามๆกันมาเป็นเรื่องโชคลาง หรือสักว่าทำพอเป็นพิธี) เหตุการณ์ทั้งหลายในช่วงเวลาและวัยต่างๆ ของชีวิต เช่น การเกิด การแต่งงาน และการตาย ก็ทำให้มีความสำคัญและดีงามด้วยกิจกรรมทางพรพุทธศาสนา กล่าวได้ว่าชีวิตของคนไทยผูกพันอิงอาศัยกันกับพระพุทธศาสนาเต็มตลอดตั้งแต่เกิดจนถึงตาย


สภาพที่กล่าวมานี้ได้เป็นมาช้านาน จนฝังลึกในจิตใจและวิถีชีวิตของชาวไทย กลายเป็นเครื่องหล่อหลอม กลั่นกรองนิสัยใจคอพื้นจิตของคนไทยให้มีลักษณะเฉพาะตน ที่เรียกว่าเป็นเอกลักษณ์ของสังคมไทย และทำให้พูดไดอย่างถูกต้องมั่นใจว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย


อย่างไรก็ตาม เมื่อ ๑๐๐ ปีเศษล่วงมานี้ ประเทศไทยได้ถูกคุกคามโดยลัทธิอาณานิคม เป็นเหตุให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบแบบแผนต่างๆในการบริหารประเทศตามแบบอย่างประเทศตะวันตก เพื่อเร่งรัดปรับปรุงตัวให้เจริญทัดเทียม ที่จะต้านทานป้องกันอำนาจครอบงำของประเทศที่กำลังเที่ยวล่าอาณานิคมอยู่ในเวลานั้น เริ่มแต่เปลี่ยนแปลงระบบการศึกษา ไปจนถึงเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองในที่สุด พร้อมกันนั้นวัฒนธรรมแบบตะวันตกก็หลั่งไหลเข้ามามากขึ้นตามลำดับ ทำให้วิถีชีวิตขอคนไทยเปลี่ยนแปลงไปในแนวทางที่แปลกแยกห่างเหินจากวัฒนธรรมไทยเดิมยิ่งขึ้นทุกที แม้ว่าเอกราชของประเทศชาติจะได้รับการดำรงรักษาให้รอดพ้นปลอดภัยมาได้แต่เอกลักษณ์ของสังคมไทยก็ได้ถูกกระทบกระเทือนจนสึกกร่อน และเลือนรางลงไปเป็นอันมาก


เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงยุคปัจจุบัน ความแปลกแยกห่างเหินจากวัฒนธรรมของตน และความกร่อนเลือนไม่ชัดเจนของเอกลักษณ์ไทย ก็ทำให้คนไทยจำนวนไม่น้อยเกิดความไม่มั่นใจหรือลังเลที่จะพูดว่า พระพุทธศาสนาก็เป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทย โดยเฉพาะในด้านการเมืองการปกครอง แม้ว่าบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญข้อว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามะกะ” จะมีผู้ตีความว่าเป็นการบ่งบอกโดยนัยว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ เพราะกำหนดตายตัวให้พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันคู่กันกับสถาบันพระมหากษัตริย์ และเป็นหลักประกันว่า องค์พระประมุขของชาติทรงเป็นศาสนิกแห่งเดียวกันกับประชากรส่วนใหญ่ของประเทศของระองค์ แต่กระนั้น คนไทยไม่น้อย แม้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบชะตากรรมของประเทศก็ยังขาดความมั่นใจ ต่างก็พยายามหลีกเลี่ยงที่จะพูดถึงคำพูดประโยคสั้นๆ ที่ว่า พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาตินี้ หรือไม่ก็พูดออกมาอย่างอึกอักอ้อมแอ้ม


ภาวะลังเล ขาดความมั่นใจ และไม่แน่วแน่เข้มแข็ง ที่เริ่มกลายเป็นความขัดแย้งกันนี้ ได้ครอบงำสังคมไทยอยู่ช่วงเวลาหนึ่ง จนกระทั่งในที่สุดความยืนยันตัวเองก็กลับคืนมาได้อีกครั้งหนึ่ง เมื่อชาวไทยทั่วประเทศได้ฟังกระแสพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ตรัสตอนรับพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ ๒ ประมุขแห่งศาสนจักรคาทอลิก ในคราวที่เข้าเฝ้า ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในวันที่ ๑๐ พฤษภาคม ๒๕๒๗ จำเพาะตอนนี้ว่า “คนไทยเป็นศาสนิกชนที่ดีทั่วกัน ส่วนใหญ่นับถือพระพุทธศาสนาอันเป็นศาสนาประจำชาติ”

หลังจากได้ความมั่นใจ ดุจเป็นพระราชวินิจฉัยจากพระราชบัญญัติครั้งนี้แล้ว บุคคลและวงการต่างๆ ก็พากักล้าหาญที่จะพูด หรือเขียนให้ชัดเจนออกมาว่า “พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ”

เหตุผลที่ถือว่าพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ มิใช่เฉพาะที่กล่าวไว้คร่าวๆ ข้างต้นเท่านั้น แต่มีมากมายหลายประการ ซึ่งพอจะประมวลได้ ดังนี้

๑. พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาของประชากรส่วนใหญ่ของประเทศ

๒. พระพุทธศาสนาเป็นแกนนำและเป็นรากฐานสำคัญของวัฒนธรรมไทย

๓. พระพุทธศาสนาเป็นศูนย์รวมจิตใจ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่ชนชาวไทย

๔. พระพุทธศาสนาเป็นหลักการที่ช่วยดำรงรักษาเสรีภาพในการนับถือศาสนา

๕. พระพุทธศาสนาเป็นสถาบันคู่ชาติไทย

๖. พระพุทธศาสนาสอดคล้องกับลักษณะนิสัยของคนไทยที่รักความเป็นอิสรเสรี

๗. พระพุทธศาสนาเป็นแหล่งสำคัญที่หล่อหลอมเอกลักษณ์ของชาติไทย

๘.พระพุทธศาสนาเป็นมรดกและเป็นคลังสมบัติอันล้ำค่าของชนชาติไทย

๙. พระพุทธศาสนาเป็นหลักนำทางในการพัฒนาชาติไทย

๑๐. พระพุทธศาสนาเป็นแหล่งของดีมีค่าที่ชนชาติไทยมอบให้แก่อารยธรรมของโลก”

อุดมธรรมนำจิตสำนึกของสังคมไทย

“เราพูดว่า พุทธศาสนานี้คนไทยส่วนใหญ่นับถือเป็นศาสนาของคนไทย หรือเป็นศาสนาประจำชาติ แต่หลายคนจะแย้งว่า คนไทยนับถือพุทธศาสนา แต่ทำไมประเทศไทยจึงเป็นอย่างนี้ คือเต็มไปด้วยปัญหาอย่างที่พูดมาเมื่อกี้นี้ ที่ว่าสังคมเราเด่นในการมีปัญหาที่ต่ำทรามของโลก คนไทยมีชื่อเป็นอันดับต้นๆ ในเรื่องที่เป็นความต่ำทรามเหล่านั้น แล้วประเทศไทยเรานับถือพุทธ ทำไมประเทศไทยจึงเป็นอย่างนี้เล่า หลายคนจะมาติเตียนพุทธศาสนา คล้ายๆจะให้พระพุทธศาสนารับผิดชอบ เป็นทำนองว่าเพราะนับถือพุทธศาสนาคนไทยจึงแย่ คนไทยจึงตกต่ำ ถ้าแค่นับถือกันธรรมดายังแย่อย่างนี้ ยิ่งไปบัญญัติเป็นศาสนาประจำชาติเข้าด้วยจะมิยิ่งแย่ใหญ่หรือคนไทยนับถือพุทธศาสนา ขนาดที่ไม่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญยังต่ำทรามขนาดนี้แล้ว ถ้าบัญญัติจะขนาดไหน

ถ้าจะมาติเตียนกันอย่างนี้ ก็จะต้องใช้ปัญญาพิจารณากันสักหน่อย ขอถามสัก ๓ อย่างว่า


๑. คนไทยนับถือพุทธศาสนากันจริงรึเปล่า หรือเป็นอย่างที่กล่าวเมื่อกี้ คือพับถือเพียงถ้อยคำพร่ำแต่วาจา ขอให้สำรวจกันให้จริง

๒. คนไทยรู้พุทธศาสนากันจริงหรือเปล่า ขอให้สำรวจดูสิว่า คนไทยนับถือพระพุทธศาสนาและรู้พุทธศาสนาแค่ไหน อะไรเป็นพุทธศาสนา

๓. คนไทยมีความตั้งใจจริงไหมที่จะเอาพระพุทธศาสนามาใช้ในการแก้ปัญหาหรือสร้างสรรค์สังคม และได้เอามาใช้หรือเปล่า

ถ้าได้ทำตามนี้แล้วสิ เราจึงจะบอกว่าพระพุทธศาสนาจะต้องรับผิดชอบ ถ้าคนไทยนับถือพุทธศาสนาจริง รู้พุทธศาสนา และได้มีความตั้งใจที่จะนำเอาพระพุทธศาสนามาใช้ในการแก้ปัญหาสังคมและสร้างสรรค์ประเทศชาติ ถ้าได้ปฏิบัติอย่างนี้แล้วคนไทยยังแย่ จึงมีความชอบธรรมที่จะพูดว่าพุทธศาสนา ทำให้ประเทศไทยต่ำทรามอย่างนี้ และเราจะยอมรับ แต่ขอให้ตอบคำถาม ๓ ข้อนี้ให้ได้เสียก่อน

เพราะฉะนั้น จะต้องมีความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้ ถ้าจะให้พุทธศาสนารับผิดชอบที่ว่าประเทศไทยนี้นับถือพุทธศาสนาแล้วเจริญหรือเสื่อม พุทธศาสนาจะต้องเป็นอุดมการณ์ของชาติ หรือเป็นอุดมธรรมของชีวิตและสังคมขึ้นมาจริงๆ แล้วคนไทยได้ทำอย่างนั้นหรือไม่ คือให้พระพุทธศาสนาเป็นอุดมการณ์ที่เป็นศูนย์รวมแห่งความคิดจิตใจ และเป็นอุดมธรรมที่นำจิตสำนึกของสังคม ถ้าได้ทำอย่างนั้นแล้วไม่สำเร็จค่อยว่ากัน สภาพของสังคมไทยเวลานี้ ขอพูดว่ามีลักษณะสามอย่าง คือ มองแคบ คิดใกล้ และใฝ่ต่ำ ตามหลักพระพุทธศาสนา ชาวพุทธจะต้อง มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง”

รากฐานปัญหาของสังคมไทย

ตามทรรศนะของพระธรรมปิฎก คนไทยมีพื้นเพภูมิหลังและปัจจัยแวดล้อมที่อ่อนแอหลายประการ จนกระทั่งกลายเป็นปัญหาชั้นพื้นฐานของสังคมไทย บางคนอาจจะมองว่าปัจจัยแวดล้อมเหล่านั้นเป็นข้อดีของสังคมไทย แต่พระธรรมปิฎกกลับเห็นว่าเป็นปัจจัยที่ก่อให้เกิดความอ่อนแอเพราะคนไทยปฏิบัติต่อปัจจัยเหล่านั้นอย่างไม่ถูกต้อง ภูมิหลังและปัจจัยแวดล้อมดังกล่าวมี ๔ ประการดังนี้

๑. ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมา เมืองไทยมีความอุดมสมบูรณ์เป็นอู่ข้าวอู่น้ำจนกระทั่งมีคำพูดที่เคยกล่าวกันโดยทั่วไปว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” สภาพอันเป็นข้อดีในทางภูมิศาสตร์นี่ทำให้คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างสุขสบายนับว่าเป็นปัจจัยในด้านบวก แต่ถ้ามองในอีกแง่หนึ่งความสุขสบายนี้ทำให้คนไทยขาดความกระตือรือร้น ไม่สู้ปัญหา และอ่อนแอ พระธรรมปิฎกกล่าวว่า ถ้าเราไม่ระวังตัวจะมีผลเสียเกิดขึ้น ก็คือว่าความอุดมสมบูรณ์สะดวกสบายนี้ จะทำให้คนไทยโน้มเอียงไปในทางชอบความสะดวกสบาย เอาอะไรง่ายๆ ไม่อยากสู้ความลำบาก ไม่อยากสู้ปัญหา เจอความยากลำบากก็หลบเลี่ยง


๒. การที่คนไทยเจอเข้ากับเทคโนโลยีสำเร็จรูปแบบบริโภคจากตะวันตกโดยไม่ต้องผ่านความยากลำบากในการคิดค้นประดิษฐ์เอง กลายเป็นปัจจัยใหม่หนุนปัจจัยเก่าที่เคยสะดวกสบายอยู่แล้วให้ยิ่งสะดวกสบายยิ่งขึ้น ทำให้คนไทยเป็นฝ่ายตามและลอกเลียนลัทธิบริโภคนิยมจากตะวันตก โดยมิได้รับเอาส่วนที่ดีของตะวันตก เช่น วัฒนธรรมวิทยาศาสตร์แห่งความใฝ่รู้ และวัฒนธรรมอุตสาหกรรมแห่งความฮึดสู้สิ่งยาก ที่มาพร้อมกับการประดิษฐ์คิดค้นเทคโนโลยีทำให้คนไทยที่เคยอ่อนแออยู่ก่อนแล้วกลับอ่อนแอยิ่งขึ้นไปอีก ท่านกลัวว่าเราไม่มีภูมิหลังในการสร้างเทคโนโลยีเลย เพราะสำเร็จรูปแบบบริโภคซึ่งมีแต่ความสะดวกสบายอย่างเดียว… เทคโนโลยีของไทยต่างกันมากกับชาวตะวันตกเทคโนโลยีชิ้นเดียวกันสำหรับฝรั่งมันมีความหมายอีกอย่างหนึ่ง... เขาสร้างขึ้นด้วยน้ำพักน้ำแรง เทคโนโลยีจะเจริญขั้นได้ต้องอาศัยวิทยาศาสตร์ อาศัยการค้นพบการแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เขาได้ความรู้มาพัฒนาเทคโนโลยี ก็เลยทำให้นิสัยเหล่านี้กลายเป็นคุณสมบัติของเขาไป มีความรักงานขยันสู้งานเพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรม เพราะฉะนั้นอันนี้เราต้องยอมรับแล้วก็รู้ตัวถึงความเสียเปรียบของเรา


๓. คนไทยมีวัฒนธรรมน้ำใจซึ่งเป็นสิ่งที่ดี แต่คนไทยส่วนใหญ่ใช้วัฒนธรรมน้ำใจนี้ในทางที่ไม่ถูกต้อง กล่าวคือ มีการช่วยเหลือกันในหมู่ญาติสนิทมิตรสหายจนกระทั่งบ่อยครั้งละเมิดกติกาของสังคม หรือแม้แต่ละเมิดกฎหมายก็มี และถ้าจะมีการเคร่งครัดกฎหมายก็มักจะใช้เป็นเครื่องมือในการเล่นงานฝ่ายตรงกันข้าม ลักษณะเช่นนี่ทำให้สังคมไทยอ่อนแอ ขาดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนชัดเจนกลายเป็นปัจจัยหนุนระบบอุปถัมภ์เก่าให้กลายเป็นระบบการเล่นพวกพ้องในปัจจุบัน ลักษณะเช่นนี่ตรงกันข้ามกับสังคมตะวันตก สังคมตะวันตกเคารพกฎหมายและกติกาของสังคมเป็นใหญ่ แต่ขาดน้ำใจเป็นแบบตัวใครตัวมัน พระธรรมปิฎกกล่าวว่า วัฒนธรรมน้ำใจเป็นสิ่งที่ดีงาม แต่ว่าด้านเสียของมันคืออะไร วัฒนธรรมน้ำใจที่คนพร้อมจะช่วยเหลือกัน มีเมตากรุณาสูง ก็ทำให้คนจำนวนไม่น้อยที่หวังพึ่ง นี่ถ้าเราจะเดือดร้อนมีปัญหายากลำบากขาดแคลน ก็หาผู้ใหญ่คนนั้นได้หาญาติคนนี่ได้ ไปหาเพื่อนคนนั้นได้ แกไม่ดิ้นสิ แกก็เฉื่อยชาหวังพึ่งคนอื่นก็อ่อนแอ การอ่อนแอของแต่ละคนนั้นรวมเป็นสังคมก็คือ ไม่สามารถทำให้สังคมพัฒนาก้าวหน้าได้ สังคมไทยน่าจะพัฒนาไปสู่ทางสายกลางที่ถูกต้อง กล่าวคือ รักษาวัฒนธรรมไทยไว้ แต่ขณะเดียวกันก็เคารพกติกาสังคมและกฎหมายดังเช่นประเทศตะวันตก ถ้าหากทำได้เช่นนี้ก็จะเกิดดุลยภาพความพอดี อันเป็นปัจจัยหนุนให้เกิดความเจริญก้าวหน้าแก้สังคมไทยในทิศทางที่ถูกต้อง

๔. เมื่อคนไทยอ่อนแอไม่สู้ปัญหา จึงมีแนวโน้มที่จะหวังพึ่งอำนาจจากภายนอก ในทางสังคมก็หวังพึ่งผู้ใหญ่ที่มีอำนาจ เกิดระบบการประจบสอพลอขึ้นในเกือบทุกวงการของสังคมไทย ในทางจิตใจก็หวังพึ่งอำนาจดลบันดาลของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายนอก นับเป็นความอ่อนในระดับลึกของสังคมไทย พระธรรมปิฎกกล่าวว่า คนไทยชอบความสบายไม่สู้ปัญหา… ในกระแสสังคมไทยนี่มีความเชื่ออยู่สองอย่าง หนึ่งคือพระพุทธเจ้าศาสนาที่สอนให้คนพึ่งตนเอง ทีนี่อีกสายหนึ่งก็คอความเชื่อในเรื่องของสิ่งศักดิ์สิทธิ์อำนาจเร้นลับ คนที่ไม่อยากสู้ปัญหาเผชิญกับความยากลำบากจะเอาความเชื่อ เลยเลือกเอาการพึ่งอำนาจดลบันดาลดีกว่า ทีนี่ก็เลยเรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่า “การถ่ายโอนภาระ” คือมีภาระแล้วเราก็ไม่สู้ โอนไปให้คนอื่น มันก็กล่อมใจไปได้อีกแหละ พอสบายใจก็หวังลมๆแล้งๆ ไอ้ทางเลือกนี้ก็กลับมาซั้วเองให้อ่อนแอลงไปอีก

ปัจจัยแห่งความเจริญของสังคมไทย

ตามทรรศนะของพระธรรมปิฎก สังคมไทยในปัจจุบันขาดจิตสำนึกรวมที่จะทำให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หรือวิถีทางร่วมกันที่จะไปในทิศทางเดียวกันทำให้เป็นข้อเสียเปลรียบ เมื่อสังคมไทยประสบปัญหานานัปการดังเช่นในปัจจุบันหนทางแก้ไขก็คือจะต้องช่วยกันแก้ปัญหาจากทุกจุดของสังคม โดยการเริ่มที่ตัวเราเอง ไม่ต้องมัวเกี่ยงให้คนอื่นทำก่อน ท่านกล่าวว่า ในแง่หลักการแล้วเราจะมัวไปหวังซึ่งกันและกัน มันก็เป็นระบบซัดทอดไป เพราะฉะนั้นในสังคมอย่างนี้ต้องเอาเป็นว่า ใครรู้ตัวว่าทำอะไรได้ที่เป็นสิ่งดีงามที่เกิดจากปัญญาแล้วทำ ไม่มัวรอไม่มัวเกี่ยง ซึ่งเราก็เกี่ยงเราก็กัดกันมานานแล้ว ขืนมัวแต่เถียงแล้วก็ซัดกันต่อไปก็ช่วยอะไรไม่ได้


พระธรรมปิฎกเสนอว่า ชั้นต่อไปเราจะต้องเริ่มต้นที่ปัญญา ค้นหาศักยภาพในกรที่จะใช้ปัญญาและเหตุผล พร้อมทั้งหาตำแหน่งแห่งที่ของเรา เช่น เราจะต้องพิจารณาให้รู้ถึง สภาพของสังคมในปัจจุบัน พร้อมทั้งกำหนด เช่น เราจะต้องพิจาณาให้รู้ถึง สภาพของสังคมในปัจจุบัน พร้อมทั้งกำหนดบทบาทและสถานะของเราให้ถูกต้อง ไม่สิ่งไปตามกระแส เมื่อใช้ปัญญาไตร่ตรองรอบคอบแล้วก็จะเริ่มเห็นทิศทางที่ถูกต้องได้เอง ท่านกล่าวว่า ในการแก้ไขปัญหาความมีสติปัญญารู้สถานการณ์แล้วก็คิดว่า เราอยู่ไหน เราทำอะไรอยู่ เราวิ่งไปทิศทางไหน รู้ตัวขึ้นมารงนั้นเป็นจุดเริ่มได้เลย ให้สำนึกแก่สังคมแก่เพื่อนพ้องบ้าง ไม่ใช่ตัวใครตัวมัน เราเป็นจุดเริ่มที่จะให้รวมคน เป็นจุดเริ่มรวมพลัง ตามทรรศนะของพระธรรมปิฎก สังคมไทยอยู่ในภาวะที่ต้องแก้ไขไปเป็นขั้นๆโดยในขั้นแรกควรจะร่วมกันสร้างจิตสำนึกรวมของสังคม เปลี่ยนเป้าหมายจากความเห็นแก่ตัวไปเป็นเห็นแก่สังคมโดยส่วนรวม ก็จะสามารถแบ่งเบาความเครียดและความทุกข์ของแต่ละคนได้ จากนั้นควรจะขยายเป้าหมายเป็นเห็นแก่มนุษย์ชาติและโลกทั้งมวล ซึ่งเป็นเป้าหมายสูงสุด ท่านกล่าวว่า อยู่ในจิตสำนึกของสังคมแล้ว มันจะผ่อนเบาความทุกข์ของแต่ละคน และทำให้คล้ายๆว่าอย่างน้อยก็เปลี่ยนเวทีการแข่งขัน หรือผ่อนเบาการแข่งขันรวมของแต่ละคน กลายเป็นการแข่งขันของสังคมใหญ่ ก็ทำให้เบาลงแล้วมันก็ดีขึ้น… แต่ขั้นต่อไปก็คือว่า ทั้งหมดในการแข่งขันของมนุษย์นั้นคือความพินาศของโลกนะ ถ้ามองภาพรวมมนุษย์ยังแข่งขันกันไปสังคมอย่างนี้ ก็คือทำลายโลกด้วยกัน ทำยังไงมนุษย์จึงจะก้าวไปอีกชั้นหนึ่งก็คือว่า การแก้ปัญหาของโลกนี้ทำให้โลกนี่อยู่ด้วยดี


นอกจากนี้แล้วท่านได้กล่าวถึงความสำเร็จในชีวิตของมนุษย์ว่า มิใช่อยู่ที่การได้ผลประโยชน์หรือผลกำไรสูงสุด แต่อยู่ที่การทำให้ชีวิตและสังคมให้ดีงามท่านกล่าวว่า ตอนนี้คนจะมองความสำเร็จของตนเอง ไปกับการที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุด กำไรสูงสุด แล้วมันก็หลงเพลินไปจนไม่รู้ว่าความสำเร็จที่แท้จริงคืออะไร… แต่ความสำเร็จที่แท้จริงของมนุษย์คือการทำชีวิตให้งามทำให้สังคมให้ดีงามเราไม่มองแล้วใช่ไหม

ท่านเห็นว่าสังคมไทยควรจะมีความชัดเจนในทุกขั้นตอน เพื่อว่าคนแต่ละกลุ่มแต่ละบุคคลจะสามารถกำหนดบทบาทของตัวเองได้ถูกต้อง ยกตัวอย่างเช่น สังคมไทยยังมีคนที่ยากจนอยู่เป็นจำนวนไม่น้อย เป็นเรื่องที่น่าเห็นใจและต้องช่วยกันหาทางแก้ไข แต่การช่วยเหลือคนยากจนที่ผ่านมาขาดความชัดเจน ครึ่งๆกลางๆ ทำให้คนยากจนไม่เข้าใจสถานะของตนเอง คอยแต่จะหวังพึ่งคนอื่น กลับเป็นการยิ่งซ้ำเติมความยากจนนั้นอีก ท่านกล่าวว่า คนที่ถูกบีบคั้นมีทุกข์เต็มที่นะรู้ตัวว่าไม่มีใครช่วย คนนั้นจะดิ้นเต็มที่และแข็ง เขาอาจจะพัฒนาทะเลทรายให้สมบูรณ์ก็ได้ แต่คนที่ครึ่งๆกลางๆ อยากจะมีคนช่วยแต่ยังไม่รู้จะช่วยอย่างไรนี่ ไอ้ตัวเอง มันก็ไม่เร่งรัดทำเพราะรออยู่ครึ่งๆกลางๆ อย่างนี่ไปไม่รอด… สังคมต้องชัดเจน ถ้ารู้ตัวชัดเจนแล้วไม่มีใครจะช่วย ทีนี้เราก็ดิ้น ดิ้นเต็มที่เลย ฉะนั้นมันก็ดิ้นกันทุกคนใช่ไหม มันก็ทำให้เจริญก้าวหน้าแล้วก็เข้มแข็ง แต่ละคนมันก็แข็ง ผลรวมมันก็คือ ประเทศก้าวหน้า


พระธรรมปิฎกเห็นว่าสังคมทุกสังคมเมื่อเจริญพัฒนา มีความดีงามความสุข จะตกหลุมความประมาท แล้วก็เสื่อมไป เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะในวิถีชีวิตของบุคคลหรือสังคม ตั้งแต่ครอบครัวไปกระทั่งถึงอารายธรรม จึงมีความหมุนเวียนเป็นวงจนแห่งความเสื่อมและความเจริญอยู่เรื่องไป


ในยามที่มีทุกข์บีบคั้นภัยคุกคาม มนุษย์จะดิ้นรนขวนขวายแล้วก็ก่อร่างสร้างตัว เพียรพยายามทำให้เกิดความเจริญก้าวหน้าและความสำเร็จ แต่เมื่อมนุษย์ประสบความสำเร็จดีงาม มีความสุขแล้ว มนุษย์ก็จะเพลิดเพลินนอนใจหลงมัวเมาแล้วก็ต่อจากนั้นวงจรของความเสื่อมก็จะตามมาจึงกลับเสื่อมอีก เพื่อแก้วงจรนี่ พระพุทธศาสนาจึงสอนย้ำเน้นถึงการที่ยืนหยัดดำรงรักษาความเจริญไว้ และทำให้เจริญยิ่งขึ้นไปอีกโดยไม่มีการเสื่อม ท่านสอนให้เรากระตือรือร้นขวนขวายเร่งแก้ปัญหาและสร้างสรรค์โดยไม่ต้องรอให้ทุกข์บีบคั้นและภัยคุกคาม คือต้องมีความไม่ประมาทด้วยสติปัญญา

กล่าวโดยสรุป ปัญหาทางสังคมไทยเป็นปัญหาที่เชื่อมโยงกับค่านิยมและวิธีคิดของคนไทยทุกคน ตามทรรศนะของพระธรรมปิฎก การแก้ไขปัญหาของสังคมไทยจะต้องเริ่มต้นที่คนไทยทุกคน โดยไม่ต้องเกี่ยงหรือรอกัน ท่านแนะนำให้คนไทยหันมาสำรวจตัวเอง ใช้ปัญญาเป็นเครื่องนำทางในการดำรงชีวิตและแก้ไขปรับปรุงสังคม โดยการละความเห็นแก่ตัว ไม่มุ่งหวังแต่ผลประโยชน์ส่วนตนให้เห็นแก่ประโยชน์สุขของสังคม ประเทศชาติ ตลอดจนถึงมนุษย์ชาติ และโลกแห่งธรรม พร้อมทั้งตระหนักถึงกฎแห่งความเจริญและความเสื่อมซึ่งเป็นของคู่กัน โดยตั้งตนอยู่ในความไม่ประมาท


ผลกระทบต่อสังคม

พุทธสาวกที่มีคุณค่าและหาได้ยากยิ่ง…ผู้ใช้วิถีแห่งปราชญ์ชี้ทางแก้วิกฤตสังคม

ภายใต้ภาวะวิกฤตของประเทศไทยซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาทุกด้านโดยเฉพาะในช่วงระยะ ๑๐ ปีที่ผ่านมา ยามที่ประเทศดูเหมือนหาทางออกได้ยากมากเป็นช่วงเวลาที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)อาพาธหนัก ไม่สามารถบรรยายนานๆได้ หนังสือ MP3 VCD และ DVD ของท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้รับการนำไปเผยแผร่อย่างกว้างขว้าง โดยเฉพาะบางเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น เรื่อง การพัฒนาจริยธรรม การพัฒนาที่ดีหนีไม่พ้นธรรม การพัฒนาที่ยั่งยืน ( Sustainable Developmeent) การศึกษาเครื่องมือพัฒนาที่ยังต้องพัฒนา การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์การสร้างสรรค์ประชาธิปไตย การสร้างสรรค์ปัญญาเพื่ออนาคตของมนุษย์ชาติ ชาวพุทธกับชะตากรรมของสังคม ดำเนินชีวิตด้วยความไม่ประมาท ไตรลักษณ์ จริยธรรมนักการเมืองจริยธรรมสำหรับคนรุ่นใหม่มองให้ลึก นึกให้ไกล ข้อคิดจากเดือนพฤษภาคม ๒๕๓๕ มองอเมริกา มาแก้ปัญหาไทย เมืองไทยจะวิกฤต ถ้าคนไทยมีศรัทธาวิปริต สลายความขัดแย้ง-สังคมศาสตร์ที่หยั่งถึงธรรมชาติ ทางออกของสังคมไทยเบื่อการเมือง:เรื่องขุ่นใจก่อนการเลือกตั้ง พระพรมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต)บอกวิธีทำใจ ฯลฯ

มีตัวอย่างที่คัดจากเว็บไซต์ซึ่งนำเทปจากธรรมธรรมบรรยายของท่านเจ้าคุณอาจารย์ มาเผยแพร่ในยามที่ประชาชนล้า เบื่อหน่ายการเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมือง แม้ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิต ผลประโยชน์ของตนเองและประเทศชาติ เช่นเรื่องการเลือกตั้ง ท่านเจ้าคุณอาจารย์ก็ได้แสดงธรรม และมีการนำธรรมบรรยายของท่านมาจัดทำเป็นหนังสือเรื่อง “ เบื่อการเมือง :เรื่องขุ่นใจก่อนการเลือกตั้ง” ในปี พ.ศ.๒๕๕0 ผ่านมาแล้วถึงปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ในปัจจุบัน ธรรมยายและหนังสือนี้ก็ยังได้รับการเผยแพร่อย่างไม่หยุดนิ่ง (เฉพาะเว็บไซต์ที่เกี่ยวกับธรรมบรรยายเรื่องเบื่อการเมืองภาคภาษาไทยมีจำนวน ๒,๒๑0 เว็บไซต์) ขอยกตัวอย่างข้อความต่อไปนี้


“…ต้องบอกไว้ก่อนว่า เรื่องการเมืองนี่ พระไม่ยุ่งด้วยนะ แต่พระต้องพูดนะ แต่พระต้องพูดนะ เรื่องธรรมะสำหรับการเมือง สำหรับคราวนี้ ดูเหมือนจะเป็นการช่วยแก้ปัญหาของคนที่มีความทุกข์เพราะการเมือง….ถ้าเราไปอยู่ในสถานที่แห่งหนึ่ง หรือเราต้องไปพักที่ไหนสักแห่งหนึ่ง เราก็น่าจะต้องรู้จักสภาพแวดล้อมที่นั่นว่าเป็นอย่างไร รู้จักบริเวณนั้นว่าปลอดภัยไหมทางหนีที่ไล่เป็นอย่างไร มีอะไรที่เป็นข้อมูลทั่วไปพอให้ทราบไว้ เพื่อว่าเราจะอยู่ได้โดยมีความสนใจพอสมควร อย่างน้อยในแง่ความมั่นคงปลอดภัยของตัวเราเอง อันนี้อาตมาคิดว่า มันก็คล้ายๆ กันนั่นแหละนี่มองในแง่กว้างออกไปเป็นประเทศชาติ สังคมนี้ก็เป็นสิ่งที่แวดล้อมเราอยู่มีอะไรเกิดขึ้น ก็ต้องกระทบตัวเรา กระทบกับคนที่เรารัก กระทบคนและกิจการที่เรารับผิดชอบ เราจึงต้องรู้ไว้ พอให้มองอะไรออกๆบ้างพอจะวางตัวได้ในสถานการณ์ที่เป็นไป อย่างน้อยในจิตใจก็พอจะมีความรู้สึกมั่งคงปลอดภัยพอสมควร มิฉะนั้น ความไม่รู้นี้ มันจะทำให้เราปรับตัวไม่ได้ทันการณ์ และจะมองจะคิดอะไรไม่ออก เพราะไม่มีข้อมูลที่จะเอามาใช้ในการพิจารณา คือเอาแค่พอรู้ทันว่าอะไรเป็นอะไร


“….การที่จะไม่ยอมรับรู้ ปิดหูปิดตา ก็สุดโต่งไปข้างหนึ่ง แต่ถ้าจะติดตามเรื่องเอาจริงเอาจัง จนเสียงานของเราก็สุดโต่งไปอีกข้างหนึ่ง….


ในฐานะคนทั่วไปที่อยู่ในสังคมนี้ควรรู้ว่าสถานการณ์บ้านเมืองเป็นอย่างไร เราจะได้เตรียมตัวตั้งรับหรือปฎิบัติต่อมันอย่างถูกต้องทั้งในปัจจุบันและอนาคต มีปัญญา ดีกว่า การไม่รับรู้อะไรเลย…


ย้อนไปเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕ หนังสือเรื่อง สลายความขัดแย้ง ได้สะท้อนความแหลมคมและทันสมัยจนถึงยุคปัจจุบัน เกี่ยวกับต้นตอของความขัดแย้งและวิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้ง ดังตัวอย่างคำกล่าวของท่านเจ้าคุณอาจารย์บางข้อความ “…ในสถานการณ์ที่ขัดแย้งกันนั้นแต่ละฝ่ายต่างก็มีจุดหมายอยู่ที่ (การมุ่ง) จะเอาประโยชน์ของตน เมื่อจะไม่รบหรือล้างกันก็ต้องยุติด้วยการประนีประนอม…” และ “…วิธีแก้ปัญหา ให้เกิดการประสานสอดคล้องก็คือต้องให้ทั้งสองฝ่าย หรือทุกฝ่ายมองเห็นจุดหมายใหญ่เหนือขึ้นไปซึ่งเป็นประโยชน์ร่วมกัน…”


สำหรับเหตุการณ์วิกฤตมากที่สุดของสังคมไทยตั้งแต่เดือนมีนาคม-พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๓ เป็นช่วงระยะเวลาที่กล่าวได้ว่านานสำหรับการวิกฤตที่รุนแรงของประเทศ ซึ่งไม่ควรเกิดขึ้นแม้เพียงวันเดียว ท่านเจ้าคุณอาจารย์ก็ได้ให้แนวคิดในวันที่ ๒๔ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๓ ซึ่งบุคคลมี่ได้รับฟังต่างกล่าวว่าตรงประเด็นสำหรับการแก้ปัญหามากที่สุด ขณะนี้กำลังมีการนำ DVD แนวคิดการแก้ปัญหาสังคมไทยดังกล่าวเผยแพร่ ในวงกว้างกับบุคคลกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะผู้มีความรับผิดชอบสังคมของประเทศทุกระดับ คาดว่าในระยะยาว ปัญหาทุกอย่างจะคลี่คลาย ถ้าผู้รับผิดชอบบ้านเมืองมีสติและปัญญาในการดึงข้อคิดดังกล่าวไปใช้อย่างไม่สิ้นหวังดังที่เจ้าคุณอาจารย์กล่าวว่า “เป็นคนต้องเพียรพยายามเรื่อยไป จนกว่าจะบรรลุเป้าหมาย” ขอยกตัวอย่างคำพูดบางประโยค เป็นช่วงๆที่ให้แนวทางชัดเจนในแต่ละประเด็นดังต่อไปนี้


“…สังคมได้สั่งสมเหตุปัจจัยมานาน เปรียบเทียบเหมือนแผลพุพองโผล่ขึ้นมา เหตุปัจจัยอยู่ลึก ถ้ายังไม่แก้แผลพุพอง ไม่แก้เหตุปัจจัยปัญหาพุพองก็จะไม่หาย…ปัญหาเฉพาะหน้านี้ คิดว่า เพียงแต่จะประคับประคองให้ผ่านไปด้วยดี ข้อสำคัญอยู่ที่การแก้ปัญหาระยะยาว ซึ่งเรามักจะมองข้าม คิดแก้ปัญหาเฉพาะหน้า …พอเสร็จไปแล้วก็อย่างเก่า…การมีเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างนี้ ต้องถือเป็นเครื่องเตือนสติ ปลุกให้ตื่นดูเหตุปัจจัยที่สะสมระยะยาวที่จะต้องแก้ไขปัญญา อย่าทิ้งไว้ ตั้งใจเอาจริงเอาจังในการวางแผนแก้ปัญหาในระยะยาว…


…ถ้านักปกครองของเรามีความจริงใจต่อประชาชน ต่อประเทศชาติมีเมตตาจิต หวังดี อยากให้ประชาชนมีความสุขอย่างแท้จริง เหมือนอย่างที่ว่า ฉันจะมีความสุขไม่ได้ถ้าประชาชนยังมีความทุกข์มาก หรือยังเดือดร้อน ยังไม่มีความสุข…


…มุ่งมั่นอธิฐานตัวเดียวนี่แหละ เป็นตัวกำหนดความสำเร็จของคนไทย… ต้องอธิษฐานแบบแท้ แบบธรรมะ คืออธิฐานแบบตั้งใจมั่นในการกระทำการแบบเด็ดเดี่ยวทำให้สำเร็จ บบรลุจุดหมาย …ท่ามกลางความวุ่นวาย เรามีเป้าหมายระยะยาวเป็นตัวตั้ง ช่วยได้มาก ทำให้ใจสงบงานของเราอยู่ที่เป้าหมายระยะยาว เมื่อใจเรามีทางเดินแล้ว ปัญหาเฉพาะหน้ามันก็เดินทางไปได้…


…ถ้าจิตใจถูกความชอบใจ ไม่ชอบใจมาเป็นตัวครอบงำ หรือเป็นตัวเบนทิศทาง มันก็ไป ฉะนั้นต้องตัดตั้งแต่ต้น ความชอบใจไม่ชอบใจเกิดขึ้นก็มีสติยั้งไม่ให้ความชอบใจมาเป็นตัวกำหนดตัดสิน แม้แต่ตัวที่จะมาครอบงำจิตใจของตัวเอง เวลานี้คำอะไรต่างๆ ก็ไม่ชัดไปหมดอย่างคำว่า เป็นกลาง กลายเป็นว่าไม่ไปเอาฝ่ายใดเป็นกลางก็คือไม่ลำเอียงก็พูดง่ายๆชัดอยู่แล้ว เป็นกลางก็คือไม่ลำเอียง ไม่ลำเอียงก็คืออยู่กับธรรมะนั่นเอง ไม่เข้าไหนนั้นเอง คือ เอาคสามถูกต้อง เอาธรรมมะ…”



มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง วัตรปฎิบัติและแนวทางพัฒนาที่ใช้ได้ทุกยุค


ในช่วง ๒ -๓ ทศวรรษที่ผ่านมา มีความเปลี่ยนแปลงต่างๆเกิดขึ้นในสังคมระดับโลก ระดับประเทศและชุมชนต่างๆ อย่างรวดเร็ว อาทิ ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและการสื่อสารขณะเดียวกันความขาดแคลนทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ ก็ปรากฏชัดเจนยิ่งขึ้น พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต) ได้พยายามเตือนสังคมให้ระวังโดยพยายามเน้นในเรื่องความไม่ประมาทอยู่เสมอ เพราะความเจริญมักเกิดขึ้นควบคู่กับปัญหา ท่านเจ้าคุณอาจารย์มีวิถีปฎิบัติในการพัฒนาเรื่องต่างๆที่สำคัญประการหนึ่งมาเป็นเวลานานคือ เป็นบุคคลที่มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง ในทุกเรื่อง คุณหญิงกระจ่างศรี รักตะกนิษฐ กล่าวว่า “…ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นผู้มีอุดมการณ์สูงส่งและรักษาอุดมการณ์ไว้ทุกเรื่อง จะทำอะไรก็ต้องทำให้ดีที่สุด จะรู้อะไรก็ต้องรู้ให้ลึกที่สุด จะมองอะไรก็มองให้กว้างที่สุด ไกลที่สุด …” ฉะนั้นบ่อยครั้งที่สังคมประสบปัญหาวิกฤต มีความสับสนในเรื่องความดี ความชั่ว ความถูกและความไม่ถูกต้อง พระพรหมคุณาคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต) จึงเป็น “สติของสังคม”มาจนปัจจุบัน ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้พยายามถ่ายทอดวิถีปฎิบัตินี้ให้เกิดขึ้นในบุคคลต่างๆทั้งในธรรมนิพนธ์และธรรมบรรยาย โดยท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้กล่าวว่า การพัฒนามนุษย์ให้เกิดสติปัญญาและสร้างสรรค์ความไม่ประมาทที่เป็นไปด้วยสติปัญญาอย่างแท้จริง คนเราต้อง มองกว้าง คิดไกล ใฝ่สูง โดยได้แจกแจงให้ชัด ในแต่ละวิธีดังนี้ “มองกว้าง” พุทธศาสนาถือว่าทุกสิ่งในโลกอยู่ในระบบความสัมพันธ์สายตาของเราควรมองไปทั่วโลกด้วยปัญญาที่หยั่งเห็นธรรม มองเห็นจริงเกี่ยวกับผลกระทบของสิ่งต่างๆ ที่มีต่อโลกและประเทศซึ่งจะทำให้เรามีส่วนช่วยสร้างสรรค์และแก้ปัญหาโลก อันจะส่งผลให้สามารถแก้ปัญหาสังคมไทยได้ดี “คิดไกล” คือการมองแบบสืบสาวเหตุและปัจจัย ต้องมองด้วยปัญญาเนื่องจากปัจจุบันเป็นผลจากอดีต ฉะนั้นต้องเป็นคนที่มองจากอดีตโดยสายตาที่สืบสาวเหตุปัจจัยให้ชัดเจน แล้วมองไปข้างหน้าด้วยการรู้จักวางแผนโดยใช้ปัจจุบันเป็นฐานในการแก้ไขปัญหาและสร้างสรรค์อนาคตได้ “ใฝ่สูง” คือความใฝ่สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงาม สิ่งใดที่ดีงามมีประโยชน์จะต้องก้าวหน้าไปเรื่อยจะหยุดอยู่มิได้ พระพุทธศาสนาสอนให้ไม่สันโดษในกุศลธรรมแต่สันโดษด้านปัจจัยที่เป็นเรื่องบำรุงบำเรอความสุข ปัจจุบันไม่ต้องการความใฝ่สูงในแง่หาเหตุผลประโยชน์ส่วนตัวไม่ว่าทรัพย์สมบัติ ลาภ ยศ หรืออำนาจ แต่ต้องการความใฝ่สูงที่ถูกต้องแท้จริง คือมุ่งหมายสิ่งที่ดีงาม มีคุณค่าสูงประเสริฐ เพื่อชีวิตและสังคมเราต้องช่วยสร้างสังคมและประเทศ จนกระทั่งโลกของเราเป็นโลกที่ดีงามมีสันติสุข เจริญด้วยความรุ้และปัญญา


สำหรับมุมมองของบุคคลทั่วไปทั้งนักวิชาการ ผู้บริหารภาครัฐและเอกชน ครู อาจารย์ นักเรียน นักศึกษา ประชาชน เกี่ยวกับแนวคิดภูมิธรรม ภูมิปัญญา และผลงานของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)ที่มีส่วนหรือเป็นแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่องด้านต่างๆเช่น สังคม คุณภาพชีวิต วัฒนธรรม ศาสนา ปรัชญา สันติภาพ การศึกษาและวิชาการ วิทยาศาสาตร์ และด้านเศรษศาสตร์นั้น ได้รับการสะท้อนจากผลการสัมภาษณ์ที่สอดคล้องกันทุกกลุ่มว่า การแสดงธรรมของท่านเจ้าคุณอาจารย์แต่ละครั้งมีการนำไปขยายผลในวงกว้างผ่านกระบวนการที่หลากหลาย การขยายผลดังกล่าวก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่างๆอย่างกว้างไกล ทำให้วิถีชีวิตของคนในสังคมดีขึ้น แต่ละคนมีความถนัดมีพื้นฐานความรู้ความเข้าใจ มีประสบการณ์ชีวิตที่แตกต่างกัน แต่ความรอบรู้ของท่านเจ้าคุณอาจารย์ครอบคลุมทุกศาสตร์ สามารถตอบคำถามของแต่ละบุคคลได้เป็นอย่างดี หากมีการนำแนวคิดของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.ต.ปยุตโต)ไปสู่การปฎิบัติอย่างถูกต้องแล้ว ย่อมทำให้คนในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างสันติ เกื้อกลูกัน ซึ่งจะนำความเจริญมาสู่ชุมชนแต่ละแห่งอย่างยั่งยืนทำให้คุณภาพวิถีการดำเนินชีวิตโดยรวมมีความเป็นสุขมากขึ้น

กลุ่มบุคคลผู้ให้ข้อมูลยังแสดงความคิดเห็นต่อพัฒนาการทางภูมิปัญญาแนวคิด และผลงานที่ไม่หยุดนิ่งของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต)ในการแก้ปัญหา และพัฒนาสังคมโดยรวมในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงของประเทศทั้งในยามวิกฤตและสงบสุข ท่านเจ้าคุณอาจารย์มีฉันทะในการสร้างสรรค์งานทางวิชาการออกมาอย่างสม่ำเสมอ และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆทั้งนี้ เพราะท่านเจ้าคุณอาจารย์มีพื้นฐานทางธรรมที่ชัดเจน รู้จริงเห็นความเชื่อมโยงขององค์ธรรมอย่างเป็นระบบ เมื่อมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นในสังคม ท่านจะนำเสนอทางออกที่เป็นเหตุเป็นผล ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ความถูกต้องดีงาม ไม่เอนเอียงไปเข้าข้างใดข้างหนึ่งท่านถือธรรมเป็นใหญ่ เป็นที่ตั้ง ท่านหลีกเลี่ยงการกระทบตัวบุคคลแต่นำเสนอหลักความจริงให้สังคมนำไปพิจารณา ซึ่งทำให้มองเห็นทางออกของสังคมในยามวิกฤตได้เป็นอย่างดี ท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญทางศาสนา ปรัชญาและสามารถนำความเชี่ยวชาญดังกล่าวมาเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาสังคมได้อย่างดียิ่ง หาผู้เทียบได้ยากยิ่งนักในยุคปัจจุบัน


ชาวพุทธและชาวโลกสามารถกล่าวได้อย่างสมบูรณ์ว่า ทุกช่วงชีวิตของพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) มีคุณค่าต่อมนุษยชาติอย่างหาที่เปรียบมิได้ ท่านเป็นผู้นำทางความคิดและเป็นผู้นำทางปฏิบัติตลอดมาถ้าจำแนกกว้างๆ โดยใช้ช่วงเวลาเป็นเกณฑ์อาจแบ่งได้เป็น ๒ ช่วงใหญ่ๆคือ ช่วงแรก เป็นช่วงสร้างคุณูปการงานบริหารศาสนกิจและวรรณกรรมล้ำค่า ช่วงที่สองหรือช่วงหลัง เป็นช่วงเผยแผ่พระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคมก้าวไกลในยุคไอที

ช่วงสร้างคุณูปการบริหารศาสนกิจและวรรณกรรมล้ำค่า


เป็นช่วงก่อนได้รับรางวัลการศึกษาเพื่องานสันติภาพ คือช่วงก่อน พ.ศ. ๒๕๓๗ ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้อุทิศตนเพื่อศาสนา สังคม วิชาการสาขาต่างๆ ตั้งแต่เยาว์วัย นอกจากผลิตงานวิชาการที่มีคุณค่ามหาศาลจำนวนมากแล้ว ท่านเจ้าคุณอาจารย์ยังได้ทุ่มเทเวลาให้งานบริหารและการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาต่างๆ โดยเฉพาะหลังสูตรเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา พระครูปลัดสุวัฒนพรหมคุณได้เล่าว่าระยะแรกของการบวชพระพำนักที่วัดพระพิเรนทร์ ไม่มีโอกาสพบท่านเจ้าคุณอาจารย์บ่อยนักพระท่านเจ้าคุณอาจารย์เป็นทั้งอาจารย์ผู้สอนและผู้บริหารวิทยาลัยสงฆ์มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย จนประมาณ ๒๓.๐๐ – ๒๔.๐๐ น. จึงกลับมาที่วัดพิเรนทร์ ต่อมาเมื่อเป็นเจ้าอาวาสวัดพิเรนทร์ ก็ทำงานหนักมากจนเกิดการเปลี่ยนแปลงและก้าวหน้า ในระบบของศาสนาทั้งบริหารและวิชาการจนปัจจุบัน งานนิพนธ์ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในช่วงนี้มี ๑๖๕ เล่ม และจำแนกได้เป็น ๑๕ ประเด็นสาขา คือ ประเด็นเกี่ยวกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กรรม การปฏิบัติธรรม ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา สถาบันสงฆ์ จริยธรรมสันติภาพ วัฒนธรรม ประเพณี ศิลปศาสตร์ การศึกษา สังคมไทย เศรษฐกิจ การเมือง วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม การแพทย์ สุขภาพ จิตวิทยา ชีวิตประจำวัน การทำงาน ประเด็นเกี่ยวกับความสุข มีหนังสือที่ทรงคุณค่า และมีชื่อเสียงเกิดในนี้เช่น พุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ธรรมนุญชีวิต ไตรลักษณ์ ปฏิบัติธรรมให้ถูกทาง จาลึกอโศก มาตรฐานชีวิตชาวพุทธ เศรษฐศาสตร์แนวพุทธ โพชฌงค์ : พุทธวิธีเสริมสุขภาพ การศึกษาที่สากล บนฐานแห่งภูมิปัญญาไทย ความสุขที่สมบูรณ์ Toward Sustainable Science , A Buddhist Solutions for the Twenty first Century เป็นต้น


ช่วงเผยแพร่พุทธศาสนา และพัฒนาสังคมก้าวไกลในยุคไอที

เป็นช่วงหลังการได้รับ รางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ คือช่วง พ.ศ. ๒๕๓๗ – ปัจจุบัน ช่วงนี้สะท้อนอนิสงค์ผลงานในอดีต ผลจากการได้รับรางวัล การศึกษาเพื่อสันติภาพของ Unesco ทำให้ท่านพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ต้องทำงานหนักขึ้นอีกหลายเท่า จากที่ทำงานหนักเป็นประจำ เป็นการทำงานหนักภายใต้บริบทของ ปัญหาสุขภาพ หากพิจารณาตามศาสตร์ ผลงานของท่านเจ้าคุณอาจารย์ เรียกได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้น และกระบวนการต่อเนื่องของ การพัฒนาทั้งในภาพรวม ศาสนา ปรัชญา การศึกษา การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ ช่วงนี้มีผลงานทางธรรมและผลงานชั้นยอด จากความเป็นเลิศแห่งปัญญาของท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้แพร่กระจายหลากหลายรูปแบบ สู่สังคมโลกาภิวัฒน์ ในวงกว้างอย่างรวดเร็ว ภายใต้ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ที่ไม่เคยหยุดนิ่ง งานนิพนธ์ในช่วงแรกได้นำมาปรับปรุงให้เหมาะสม กับบริบทของสังคม ในแต่ละการเสมอตลอดเวลา และได้รับการพิมพ์เผยแพร่ เป็นธรรมทานมิเคยหยุด เพราะเนื้อหาสาระมีความทันสมัยเสมอ ในทุกช่วงเวลา ขณะเดียวกับงานนิพนธ์ใหม่ๆ ก็มีขึ้นมิขาดช่วง วัดญาณเวศกวัน ได้รวบรวมรายชื่อหนังสือที่พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) นิพนธ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๕๒ เท่าที่ได้ ณ ปัจจุบัน พบว่ามีธรรมนิพนธ์ ๔๙๕ เล่ม ซึ่งบุคคลทั่วไปสามารถศึกษาค้นคว้าได้จาก หอญาณเวศก์ ธรรมสมุจย์ วัดญาณเวศกวัน จังหวัดนครปฐม ดาวน์โหลดเพื่ออ่านเนื้อหาได้จาก เว็ปไซด์ต่างๆ ที่มีจำนวนมาก

ากพุทธธรรม...สู่การพัฒนาสังคม

จากแนวคิดของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ดังกล่าวข้างต้น ได้มีการขยายผล ในธรรมนิพนธ์ และธรรมบรรยายจำนวนมาก แนวคิดและผลงานของท่านเจ้าคุณอาจารย์นั้น นอกจากเป็นการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก ครอบคลุมเกี่ยวพันธ์ไปยังศาสตร์ต่างๆ ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์และวิทยาศาสตร์แล้ว ยังเป็นต้นแบบที่มีคุณค่า ให้ประชาชนในสังคม ได้นำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติและดำเนินชีวิตเพื่อผดุงสังคมให้หน้าอยู่ และเพื่อสร้างสันติสุข ให้เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ตลอดทั้งเพื่อให้สติรวมทั้งแก้ปัญหาให้สังคม สิ่งสำคัญที่เห็นได้ชัดในปัจจุบันคือ ผลงานจากภูมิปัญญา ที่ล้ำลึกของท่านเจ้าคุณอาจารย์ เป็นผลงานทางวิชาการ ที่เป็นอมตะซึ่งสามารถหยิบมาใช้เมื่อไหร่ก็ได้ ก่อนนำเสนอแนวคิด ปัญญาของท่านเจ้าคุณอาจารย์ในการช่วยพัฒนาสังคม และวัฒนธรรมนั้น ขอให้นิยามเฉพาะสำหรับความเข้าใจตรงกันในการอ่านเอกสารนี้ว่า การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรมในที่นี้ครอบคลุมบริบททั้งหมด ทั้งด้านคุณภาพชีวิต ศาสนา ปรัชญา สันติภาพ การศึกษา วิชาการ รวมทั้งเศรษฐศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพราะในเชิงของการพัฒนานั้น ยากที่จะแยกส่วนการพัฒนา เรื่องหนึ่งย่อมส่งผลต่อการพัฒนาอีกเรื่องหนึ่ง มีลูกศรโยงซึ่งกันและกัน ทั้งซ้ายไปขวาและขวาไปซ้าย เนื้อหาต่อจากนี้ จึงเป็นการสรุปบางตัวอย่าง ที่สะท้อนวิธีคิดของท่านเจ้าคุณอาจารย์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการพัฒนาด้านต่างๆทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึกดังต่อไปนี้


หนึ่งในครูผู้ทรงคุณค่ายิ่ง...ทั้งมีคุณูปการยิ่งใหญ่ต่อการศึกษา


    คำถามที่มักพบและได้ยินเสมอตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันคือ “...เราพยายามพัฒนาการศึกษามายาวนานทุกยุคทุกสมัย แต่ทำไมคุณภาพคนจึงมีปัญหา ทำไมประเทศของเราจึงต้องเผชิญปัญหามากมาย ทั้งวิกฤตสังคม เศรษฐกิจ ความยากจน ความลุ่มหลงในวัฒนธรรมใหม่บางเรื่อง ที่นำไปสู่ความเสื่อม เช่น วัฒนธรรมวัตถุนิยม ความเสื่อมในทางจริยธรรมที่เห็นได้จากชีวิตจริงและข่าวที่ปรากฏตามสื่อต่างๆ...” แม้พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) จะมิได้มีหน้าที่โดยตรงในการจัดการศึกษาของประเทศแต่มีบุคคลจำนวนไม่น้อยกล่าวว่า ถ้าผู้รับผิดชอบการจัดการศึกษา ทุกระดับนำแนวคิดและสาระจากธรรมนิพนธ์ ธรรมบรรยายของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) มาวิเคราะห์ให้เข้าใจ แล้วนำไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่ได้ยินจะค่อยๆบรรเทา และอาจหมดลงได้ อย่างไรก็ดี ปรากฏการณ์ในสังคมไทย ที่ต้องตระหนักคือ นักวิชาการ และบุคคลในวงการณ์ศึกษาจำนวนมาก ได้พยายามศึกษาและทำความเข้าใจหลักคิดของท่านเจ้าคุณอาจารย์ รวมทั้งได้นำไปสู่การปฏิบัติ แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งและระดับหนึ่ง มักไม่ครอบคลุมอำนาจในการจัดการศึกษาระดับนโยบาย ผู้มีอำนาจมาจากฝ่ายการเมือง ทั้งรัฐมนตรี หรือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งหมุนเวียนเปลี่ยนกันมาบริหารประเทศ ข้อมูลที่ปรากฏใน ๑-๒ ทศวรรษที่ผ่านมานั้น กล่าวได้ว่ามีผู้บริหาร ระดับนโยบายน้อยคนนักที่แสดงให้สังคมเห็นว่า ได้ตระหนักในการนำหลักคิดของท่านเจ้าคุณอาจารย์ มาเป็นหลักสำคัญประการหนึ่ง ในการดำเนินงานพัฒนาทางการศึกษา


ขอยกคำพูดในการให้สติแก่สังคมล่าสุด ในวันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ ที่สำนักสหปฏิบัติ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อย้อนกลับไปสู่แนวคิด ทางการศึกษา ที่ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้ให้ไว้ตั้งแต่อดีตมากเหนือคณานับ “…การศึกษา ของเราควรแก้ปัญหาระยะยาว พูดถึงอนาคตของประเทศชาติแล้วลงไปถึงว่า เด็กเป็นอนาคตของประเทศชาติ คือการมองระยะยาว ...แต่ในทางปฏิบัติจริง การเอาใจใส่ ให้ความสำคัญจริงจังในเรื่องนี้ค่อนข้างน้อย ยอมรับกันมานาน แต่ยังไม่เห็นความเป็นจริงการศึกษา สภาพของครูเป็นเครื่องบ่งชี้อนาคตของประเทศ บอกว่าเด็กเป็นอนาคตของชาติ ถ้าว่าไปแล้ว สภาพครูนี่แหละ คือตัวบ่งชีอนาคตของประเทศ เด็กจะเป็นอนาคตได้อย่างไรถ้าครูไม่ดี ...การยอมรับสถานของครูเป็นสิ่งที่ยอมรับกันมานานว่า ฐานะของครูนั้นตกต่ำ ทำอย่างไรจะยกระดับของครู อาตมาเคยเขียนไว้แรงๆว่านักการเมืองไปในชนบท ต้องให้เกียรติเคารพครู ไม่ใช่ไปแสดงตัวยิ่งใหญ่กว่าครู ถึงแม้ครูท่านจะมีตำแหน่งน้อยกว่าก็จริง แต่ก็เป็นคนสำคุญอย่างยิ่งสำหรับสังคม ชุมชนเป็นบุคคลที่ควรจะให้ความเคารพนับถือ โบราณเราให้ความสำคัญมานาน คือไม่จำเป็นต้องถือเอาฐานะของครู เมื่อรู้ว่าเป็นครูอาจารย์ เราก็ให้ความเคารพนับถือ ให้ความสำคัญ จริงแล้วนักการเมืองเราต้องเริ่มก่อน เพราะเป็นผู้นำในสังคม เป็นคนที่มีบทบาทใหญ่ ในเรื่องของการที่จะกำหนด กำกับวิธีของสังคม ...คิดว่าการศึกษาเป็นเรื่องใหญ่ ...แต่ในทางปฏิบัติถือว่าไม่เดินหน้าเท่าไหร่ จริงอยู่เรื่องเศรษฐกิจก็สำคัญ แต่ว่าระยะยาวก็ยอมรับเลยว่า การสร้างประเทศอยู่ที่การศึกษา เราต้องเอาจริงเอาจังให้มาก ...”

ท่านเจ้าคุณอาจารณ์เคยพูดไว้นานกว่า ๒๐ ปี แต่มีความชัดเจนเหลือเกินตราบจนปัจจุบัน “การพัฒนาคนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั่นแหละเป็นเนื้อเป็นตัว เป็นความหมายที่แท้จริงของการศึกษา...” และ “คุณภาพในการจัดการศึกษาสูงสุดหรือผลของการจัดการศึกษาที่ควรจะเป็นคือการที่สามารถสั่งสอนอบรมจนเป็นคนที่มีความสุขในการให้”


จากคำกล่าวข้างต้นอธิบายความโดยสรุปได้ดังนี้ พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ได้จำแนกความหมายของการศึกษาเป็น ๒ ลักษณะคือ การศึกษาเพื่อเรียนรู้กายและจิตใจที่เรียกว่า ภาวนา ใช้วิธีอบรมและพัฒนา ประกอบด้วย กายภาวนา เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาร่างกาย ศีลภาวนา เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาพฤติกรรมที่ทำให้เกิดจากผลการอบรมด้วยศีล จิตตภาวนา เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาจิต และปัญญาภาวนา เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาปัญญา อีกลักษณะหนึ่งคือ การศึกษาเรียนรู้สิ่งที่อยู่ภายนอกเพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมที่เรียกว่า ไตรสิกขา ซึ่งประกอบด้วยศีล เป็นการศึกษา ฝึกฝน พัฒนาพฤติกรรมร่างกายและวาจา ให้สัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมอย่างถูกต้อง มีผลดี สมาธิ เป็นการศึกษาที่ทำให้เกิดการฝึกฝนพัฒนาจิตใจและปัญญา เป็นการศึกษาที่ทำให้เกิดการพัฒนาปัญญา ซึ่งเป็นตัวนำทางและควบคุมพฤติกรรมทั้งหมด สำหรับจุดมุ่งหมายของการศึกษานั้น ท่านเจ้าคุณอาจารณ์ช่วยให้บุคคลทั้งหลายเข้าใจแจ่มชัดว่า เป็นสิ่งเดียวกับจุดมุ่งหมายของชีวิต เป็นกิจกรรมของชีวิต ด้วยชีวิต และเพื่อชีวิต ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียด ได้จากงานนิพนธ์ของท่าน แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการศึกษาของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) นั้น นอกจากมีแนวทางการจัดการศึกษาตามหลักไตรสิกขาแล้ว ท่านยังให้แนวคิดอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของการจัดการศึกษาโดยทั่วไปเป็นแนวคิด ที่มองว่ามนุษย์สามารถฝึกได้ และต้องไม่แยกคนออกจากสิ่งแวดล้อม เป็นการศึกษาเพื่อพัฒนาคนแบบองค์รวม แนวทางพื้นฐานของการจัดการศึกษาประเภทนี้มี ๒ ประการ คือ ต้องให้ผู้เรียนรู้จักปัจจัยเบื้องต้นของการศึกษา เพื่อจะได้มีแนวทางในการเรียนให้บรลุเป้าหมายชีวิต การเป็นอยู่ในสังคม เป็นหลักวิธีการศึกษาเรียนรู้แบบอุปสมนสิการ คือวิธีคิดแบบแยบคาย ซึ่งถูกต้องตามหลักความจริงแห่งชีวิต และต้องทำให้ผู้เรียนมีหลักประกันชีวิตอย่างน้อยก็มีศีลเป็พื้นฐานการดำเนินชีวิต

สำหรับประเด็นเกี่ยวกับกระบวนการจัดการศึกษาที่ต้องดำเนินการเป็นระยะอันได้แก่ การปฏิรูปการศึกษานั้น ต้องยอมรับว่าแนวคิดของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ได้รับการนำมาเป็นแนวงทางการทำงานอย่างเหมาะสมในหลายส่วน พระณรงค์ กิตฺติธโร (เด่นประเสริฐ) ได้วิเคราะห์ไว้ในงานวิจัยเกี่ยวกับทัศนะของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ในประเด็นของสิ่งที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษาว่า ประกอบด้วยปัจจัยสำคัญดังต่อไปนี้ ประการแรกคือ การพัฒนาวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยี การปฏิรูปการศึกษาที่ถูกต้องจะต้องทำให้ผู้ศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องวัฒนธรรมวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมเทคโนโลยีให้ได้ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาปรับประยุกต์การดำเนินชีวิตในสังคม สิ่งแวดล้อมได้ตามสภาวะแห่งความเป็นจริง ประการต่อมา ได้แก่ การพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคม พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ตั้งข้อสังเกตว่า ประเทศไทยมีการจัดทำแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศมาหลายฉบับ แต่ยังคงประสบปัญหาเศรษฐกิและสังคมอยู่ ท่านเจ้าคุณอาจารย์กล่าวถึงหลักการพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมที่ทำให้เจริญก้าวหน้า ต้องทำให้คนเข้าใจความหมายของการพัฒนา ประกอบด้วย ปัจจัย ๓ ประการ คือ การพัฒนามนุษย์ ทั้งกายและจิต การพํฒนาสังคมซึ่งครอบคลุมองค์ประกอบทางวัฒนธรรมในระบบต่างๆ เพื่อพัฒนาจัดสรรการดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคม และการพัฒนาธรรมชาติทำให้เข้าใจระบบพึ่งพาอาศัยระหว่างสิ่งมีชีวิตด้วยกันและกับสิ่งไม่มีชีวิต


ปัจจัยอีกประการหนึ่งที่ส่งผลต่อการปฏิรูปการศึกษาได้แก่ การพัฒนาประชาธิปไตย ซึ่งพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ให้แนวคิดไว้มากและบ่อยครั้ง ท่านแสดงให้เห็นว่า การเรียนรู้เรื่องประชาธิปไตยเป็นสิ่งจำเป็น ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจหลักอธิปไตยในพระพุทธศาสนาที่ท่านเจ้าคุณอาจารย์ใช้เป็นแนวทางในการศึกษา ประกอบด้วย ๓ ประการ คือ อัตตาธิปไตย หรือ การยึดถือความคิดเห็นของตนเองเป็นใหญ่ สภาธิปไตย หมายถึงการกระทำด้วยความปรารถนานิยมของโลก หรือคนส่วนใหญ่ และธัมมาธิปไตย คือการยึดเอาธรรมเป็นใหญ่ กระทำการต่างๆด้วยความถูกต้อง เป็นไปตามสมควรแห่งธรรม ท่านเจ้าคุณอาจารย์ระบุว่าสาเหตุแห่งความสับสนประการหนึ่งในสังคมนั้นสืบเนื่องมาจากประชาชน ผู้นำทางการเมืองและทางการศึกษาไม่สามารถแยกแยะความแตกต่างได้อย่างชัดเจนระหว่างประชาธิปไตย ซึ่งเป็นระบบการปกครอง และธัมมาธิปไตยซึ่งเป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจของบุคคลในการเข้าร่วมกิจกรรม ท่านเจ้าคุณอาจารณ์มีแนวคิดว่าการเรียนรู้หลักประชาธิปไตยและธัมมาธิปไตยเป็นรื่องสำคัญ ควรส่งเสริมให้มีการฝึกปฏิบัติตั้งแต่อยู่ในระบบโรงเรียนจนถึงระดับอุดมศึกษา ทำให้มีการศึกษาเรียนรู้หลักการประชาธิปไตยที่ถูกต้อง เป็นการสร้างอุดมการณ์ทางการศึกษาและการพัฒนาบ้านเมืองของเด็กและเยาวชนต่อไป


ขอสรุปแนวคิดทางการศึกษาที่ชัดเจน เข้าใจง่ายประการหนึ่งด้วยคำกล่าวของท่านเจ้าคุณอาจารย์ 
“...คำว่าการศึกษาเป็นการปฏิบัติไม่ใช่เล่าเรียน เล่าเรียนเป็นเบื้องต้นของการศึกษา ถ้าพูดให้เต็มก็คือเรียนให้รู้ เข้าใจ และทำให้ได้ให้เป็น หรือเรียนรู้และฝึกทำให้ได้ผล จึงจะเรียกว่าการศึกษา ไม่ใช่เรียนแต่เนื้อหาวิชาอย่างเดียว...”

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต)...ผู้ให้แนวคิด แนวปฏิบัติที่ลุ่มลึกเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบวัฒนธรรม

เป็นที่ทราบดีว่าวัฒนธรรมเป็นแกนสำคัญของสังคมมนุษย์ เพราะวัฒนธรรมเป็นแบบแผนในการดำรงชีวิตที่มนุษย์สร้างขึ้นและเป็นเครื่องกำหนดพฤติกรรมของมนุษย์ รวมทั้งเป็นลักษณะเด่นของแต่ละสังคม จำแนกเป็นวัฒนธรรมที่สัมผัสได้หรือวัฒนธรรมทางวัตถุและวัฒนธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ ทั้งเรื่องของจิตใจ ภูมิปัญญา ความเชื่อ ความรู้สึก ฯลฯ แต่เดิมบุคคลทั่วไปมักไม่มีความเข้าใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับวัฒนธรรม โดยเฉพาะการที่สังคมไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งมีภูมิหลังทางวัฒนธรรมแตกต่างจากสังคมไทย พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ให้ความรู้ ความคิดที่ชัดเจนลึกซึ้งแก่บุคคลต่างๆ โดยเฉพาะในเรื่องของวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับจิตใจและภูมิปัญญาคุณูปการที่ท่านเจ้าคุณอาจารย์มีต่อการพัฒนาวัฒนธรรมในสังคม ได้แก่ การเสนอวิธีพัฒนาสังคมไทยด้วยการสร้างสรรค์วัฒนธรรมสำหรับสังคมไทยโดยเฉพาะ วัฒนธรรมที่สำคัญและเป็นวัฒนธรรมที่คนไทยจะต้องสร้างสรรค์ขึ้นมาในท่ามกลางวัฒนธรรมของโลกปัจจุบัน คือ วัฒนธรรมความใฝ่รู้ สู้สิ่งยาก ท่านเจ้าคุณอาจารย์ เป็นบุคคลซึ่ง มีส่วนช่วยทำให้บุคคลยุคปัจจุบันมีความเข้าในวงกว้างมากขึ้น ท่านเป็นภิกษุที่สร้างสรรค์ผลงานด้านวัฒนธรรมด้วยจิตวิญญาณมันเป็นธรรมชาติ โดยมีวัตรปฏิบัติที่ส่งผลต่อการพัฒนาวิถีชีวิตและสังคม โดยตลอดจนสังคมมนุษยชาติในโลกอย่างสม่ำเสมอจนจวบถึงปัจจุบัน ผลงานที่สำคัญด้านวัฒนธรรมของท่านเจ้าคุณอาจารย์ ได้แก่ความเป็นผู้นำทางความคิดและแนวปฏิบัติของประชาชนทั่วไปทุกระดับ งานนิพนธ์เกี่ยวกับวัฒนธรรมหลายเรื่องของท่านได้รับการนำไปพิมพ์เผยแพร่ซ้ำแล้วซ้ำอีกนานกว่า ๒๐ ปี เป็นหลักในการพัฒนาและจัดระบบวัฒนธรรมเป็นเกณฑ์ในการพิจารณาวัฒนธรรม ตัวอย่างแนวคิดด้านวัฒนธรรมของท่านเจ้าคุณอาจารย์ เช่น


“...วัฒนธรรม เป็นผลรวมของการสั่งสมสิ่งสร้างสรรค์และภูมิธรรมปัญญา ที่ถ่ายทอดสืบต่อกันมาของสังคมนั้นๆ ซึ่งได้ขยายความให้เห็นชัดขึ้นว่า วัฒนธรรมเป็นการสั่งสมประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ ภูมิธรรม ภูมิปัญญาทั้งหมดที่ได้ช่วยให้มนุษย์ในสังคมนั้นๆอยู่รอดและเจริญสืบต่อมาได้ และเป็นอยู่อย่างที่เป็นในบัดนี้ หรือคือ เนื้อตัวทั้งหมดของทั้งสังคมนั้นเอง...” ฉะนั้นโดยนัยแห่งความหมายนี้ท่านเจ้าคุณอาจารย์ชี้ให้เห็นชัดว่า การพัฒนาสังคมมนุษย์ที่มุ่งแต่ด้านเศรษฐกิจด้วยการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แล้วตัดปัจจัยด้านวัฒนธรรม หรือไม่คำนึงถึงคุณค่าความเป็นมนุษย์ในตัวบุคคล เป็นการพัฒนาที่นำไปสู่ความสูญเสียคุณภาพชีวิต ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ท่านเจ้าคุณอาจารย์สรุปลักษณะสำคัญของวัฒนธรรมไว้ ๓ ประการ คือวัฒนธรรมเป็นรูปแบบที่สื่อสารสำหรับคนหมู่ใหญ่ วัฒนธรรมจะดีต้องพร้อมทั้งสาระและรูปแบบ และวัฒนธรรมมีความต่อเนื่องเป็นกระแส

พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ได้ชี้ทางให้คนทั่วไปมีความเข้าใจกระจ่างชัดในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการพัฒนาตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ว่าทั้งสองต่างก็เป็นเรื่องความเจริญงอกงาม โดย “วัฒน” ในวัฒนธรรม คือคำตอบเดียวกับ “พัฒนา” ถ้าแปลง่ายๆ วัฒนธรรมหมายถึงสิ่งที่เป็นความเจริญงอกงาม ส่วนที่พัฒนาแปลว่า การทำให้เจริญงอกงาม

“...วัฒนธรรมเน้นส่วนที่สืบมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน การพัฒนาเน้นการทำต่อจากปัจจุบันที่จะสืบเนื่องไปในอนาคต วัฒนธรรมเป็นทุนจากเดิมเท่าที่มีอยู่ อันได้จัดเตรียมไว้ให้พร้อมสำหรับการที่จะก้าวเดินต่อไปในอนาคต ส่วนการพัฒนาเป็นการตัดแต่งเพิ่มขยายจาก (ทุนที่มีอยู่ในปัจจุบัน) ปัจจุบันให้เจริญงอกงามพรั่งพร้อมยิ่งขึ้นไปในอนาคต... ” สำหรับเรื่องการพัฒนาวัฒนธรรม การใช้วัฒนธรรมเป็นปัจจัยรว่มในการพัฒนาและการสืบสานวัฒนธรรมไว้ ตามแนวคิดของท่านเจ้าคุณอาจารย์ขยายความสั้นๆได้ดังคำพูดของท่านต่อไปนี้

“...การพัฒนาวันฒนธรรม หมายถึง การทำให้วัฒนธรรมได้รับการปรับปรุงและปรับตัวให้มีคุณค่าสมสมัย และกำลังก้าวเดินต่อไปในอนาคต ...ความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมกับการพัฒนาในการที่สิ่งทั้งหลายจำดำรงอยู่ด้วยดี พร้อมที่จะเจริญงอกงามต่อไป องค์ประกอบของมันจะต้องประสานสัมพันธ์เกื้อกูลกันจนทำให้องค์รวมอยู่ในภาวะสมดุล ...การที่จะพัฒนาวัฒนธรรมได้ดีจนเป็นผู้นำอย่างยอดเยี่ยม โดยการศึกษาของเราจะต้องทันทางปัญญาของประเทศ ...เร่าต้องจับทันไม่ใช่คอยตามหลังอยู่ ๒๗ ปีข้างหลัง 

...การใช้วัฒนธรรมเป็นปัจจัยร่วมในการพัฒนา หมายถึงการนำเอาประสบการณ์ ความชัดเจน และภูมิธรรม ภูมิปัญญา ที่ได้สั่งสมสืบกันไว้ในสังคมของตน ตลอดจนออกมาเป็นเครื่องมือในการที่จะเผชิญต้อนรับ ปรับ ดัดแปลงและสร้างสรรค์จัดทำสิ่งใหม่ๆมาให้เข้ากันและบังเอิญคุณค่า อำนวยประโยชน์แก่ชีวิตและสังคมอย่างแท้จริง ...” ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้ขยายความว่า การที่จะนำวัฒนธรรมมาใช้ในการพัฒนา ต้องรู้จักวัฒนธรรมของเราเอง ให้ชัดเจนทั้งข้อดีข้อเสีย ความมีคุณค่า ส่วนที่ควรรักษา ส่วนที่ควรแก้ไขปรับปรุง การนำไปใช้ให้เกิดผลดี การพัฒนาในยุคที่ผ่านมา ขัดปัจจัยด้านวัฒนธรรมจึงผิดพลาด แต่ถ้าไม่มี โยนิโสมนสิการ แม้จะเอาวัฒนธรรมเข้ามาร่วมในการพัฒนาก็อาจจะผิดพลาดได้อีก


ในด้านการสืบสานวัฒนธรรม พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ได้แสดงปาฐกถาธรรม สะท้อนให้เห็นว่า วัฒนธรรมที่จะเจริญต้องเป็นวัฒนธรรมของนักทำหรือนักสร้างสรรค์ และสามารถสืบสานได้ พร้อมทั้งขยายความสรุปได้ว่า การสืบสานวัฒนธรรมได้ ต้องมีความรู้หลายอย่าง เช่น สภาพสังคมไทย ปัญหาสังคมไทย ปัญหาความเสื่อมความเจริญของสังคมโลกทั้งหมด รู้เท่าทันความเป็นไปของอารยธรรม และต้องรู้จักโยงปัจจุบัน อดีต อนาคตเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถสืบต่อวัฒนธรรมได้ดีภายในกระแสที่สืบเนื่องมาจากอดีต นอกจากนี้ยังได้กล่าวว่าสังคมที่เจริญย่อมต้องรู้จักเลือกรับจากภายนอกไม่ใช่ยืนตัวปิดตาย ถ้าเป็นสังคมปิดตาย ก็จะมีวัฒนธรรมที่นิ่งาย ไม่มีความเจริญงอกงามอีกต่อไป แนวคิดที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวัฒนธรรมที่มีความรักใคร่ไมตรีและการร่วมมือกัน เป็นมาตรฐานที่สำคัญระหว่างมนุษย์ และระหว่างมนุษย์กับสัจธรรม


ผลงานของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือ ให้แนวคิดเกี่ยวกับเกณฑฑ์การตรวจสอบวัฒนธรรมโดยเริ่มจากธรรม ๓ ระดับ คือ สัจธรรม จริยธรรม และวัฒนธรรม ขยายเป็นเกณฑ์พิจารณา ๖ ประการ โดยให้พิจารณาว่าวัฒนธรรมนั้นอยู่ได้ด้วยดีมีประโยชน์สมจริงตามความมุ่งหมาย มีคุณค่า เพียงพอหรือไม่ ดังต่อไปนี้ วัฒนธรรมตั้งอยู่บนพื้นฐานแห่งสัจธรรม มีเนื้อหาสาระและมีเหตุผลตามความจริงของธรรมชาติหรือไม่ มีความดีงามอยู่ในวัฒนธรรมนั้นหรือไม่ วัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบหรือวิธีการนั้น ได้ผลหรือไม่ หรือมากน้อยเพียงใด ในการที่จะให้สำเร็จความต้องการตามกระบวนการของกฎธรรมชาติวัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบวิธีการนั้น เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม คือ กาลเทศะหรือไม่ เข้ากับยุคสมัยและถิ่นฐานบ้านเมืองที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ วัฒนธรรมที่เป็นรูปแบบ เหมาะสมกับสังคมของเราและกระทบต่อผลประโยชน์ของสังคมเราหรือไม่ รูปแบบวัฒนธรรมมีลักษณะที่น่าชื่นชมชวนนิยม มีความน่าตื่นตาตื่นใจ เร้าความสนใจแค่ไหนอย่างไร เกณฑ์พิจารณาทั้ง ๖ ประการ ได้ใช้สืบมาจนถึงยุคปัจจุบัน


พระภิกษุ...ผู้พัฒนาสันติภาพในมวลมนุษย์ผ่านกระบวนการศึกษาและวัฒนธรรม

ตลอดชีวิตพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ได้อุทิศตนเพื่อการทำงาน โดยมีเป้าหมายเพื่อความสุขที่แท้จริงของมวลมนุษย์ ใช้ความเพียรพยายามอย่างยิ่งยวดในการปลูกฝังบุคคลให้มีจิตสำนึกความคิดการตัดสินใจและแก้ปัญหาต่างๆด้วยวิจารณญาณของตนเองโดยไม่ลืมเรื่องวินัย ประโยชน์ส่วนรวม เน้นให้ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบปัญหาสังคมและช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นแล้วใช้ปัญญาไตร่ตรองตามแนวทางของท่านเจ้าคุณอาจารย์นั้น สันติภาพระดับชาติจะต้องเกิดขึ้นในระดับบุคคลก่อน ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้ให้ความหมายของสันติภาพว่าเป็นเช่นเดียวกับความสุข กล่าวคือ บุคคลไม่มีความสุข ย่อมไม่สามารถหาสันติได้เลย และจะไม่มีสันติถ้าปราศจากความสุข ความสุขมี ๒ ลักษณะ คือ ความสุขที่ขึ้นกับวัตถุ และความสุขที่ไม่ได้ขึ้นกับวัตถุ หลักการสำคัญที่จะทำให้เกิดสันติภาพของท่านเจ้าคุณอาจารย์ การวิเคราะห์ อย่างแจ่มแจ้งลึกซึ้ง และการนำหลักธรรมของพระพุทธศาสนามาใช้กับหลักของศาสตร์สมัยใหม่โดยสอนให้บุคคลใช้วิธีแก้ปัญหาด้วยการวิเคราะห์สาเหตุที่แท้จริง และการเห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของสิ่งทั้งปวง

ผลงานเพื่อสันติภาพของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ประกอบด้วยการชี้ให้เห็นถึงความสำนึกอย่างมีสติรอบคอบ มีความตระหนักถึงสันติภาพและคุณภาพที่แท้จริงของชีวิต ซึ่งปรากฏในการบรรยายธรรมทุกเรื่อง ทั้งทางเศรษฐศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การเมือง แพทย์ รวมทั้งทางศาสนา กิจกรรมภายใต้หัวข้อการศึกษาเพื่อสันติภาพของท่านเจ้าคุณอาจารย์อยู่ในรูปของความคิด เน้นให้ความสำคัญแห่งปัญญา และการพิจารณาอย่างมีเหตุผลต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนโลก ตลอดจนชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่ต้องแสดงจุดมุ่งหมายของชีวิต คือสันติภาพและความดีของบุคคลและสังคมนั่นเอง วิธีการให้การศึกษาผ่านสื่อต่างๆนี้ แม้จะเห็นผลช้าไม่เหมือนกับการสร้างสันติภาพด้วยการยุติสงคราม แผลที่ได้รับย่อมถาวรมั่นคง เพราะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในจิตใจจากการคิดวิเคราะห์ด้วยปัญญาอย่างมีเหตุผล มีตัวอย่างการนำศาสตร์ต่างๆมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างสันติภาพ เช่น การมองเศรษฐศาสตร์ เพื่อโยงไปสู่การสร้างสันติภาพ ท่านเจ้าคุณอาจารย์มองว่าเศรษฐศาสตร์แนวพุทธไม่ได้แยกโดดเดี่ยวจากความรู้และความชัดเจนด้านอื่นๆ ในการแก้ปัญหาของมนุษย์เศรษฐศาสตร์จึงไม่เป็นศาสตร์ที่เสร็จสิ้นในตัว แต่อิงอาศัยกันกับวิทยาการด้านอื่นๆ ในระบบความสำคัญของชีวิตและสังคม กล่าวคือ หลักการทางเศรษฐศาสตร์สัมพันธ์กับเรื่องระบบการดำรงอยู่ของมนุษย์ที่ว่ามีองค์ประกอบ ๓ อย่างสัมพันธ์อิงอาศัยกันอยู่ ได้แก่ องค์ประกอบด้านมนุษย์ ธรรมชาติ และสังคม


นอกจากนี้พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) สอนให้เห็นว่าการอยู่ร่วมกันระหว่างศาสนานั้น มนุษย์ต้องมีเมตตาและปฏิบัติต่อกันด้วยความเห็นใจ ทำให้คนต่างศาสนาอยู่ร่วมกันได้ด้วยความเห็นใจไมตรี ผลกระทบจากการทำงานสร้างสรร์สันติภาพ ได้ทำให้เหตุการณ์ต่างๆในสังคมที่อยู่ในภาวะตึงเครียดบรรเทาเบาบางลง บุคคลมีจิตใจที่สงบขึ้นแต่งานของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) ก็เพิ่มขึ้น จากการอาราธนาแบบระบุให้ไปบรรยายและแสดงธรรม ณ ที่ต่างๆ จนแทบมิได้มีเวลาพักผ่อน ส่งผลให้องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโก (UNESCO) ได้ถวาย “รางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ” แด่พระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ. ปยุตฺโต) เมื่อครั้งมีสมณศักดิ์เป็นพระธรรมปิฎก นับเป็นคนไทยคนแรกและภิกษุรูปแรกของโลกที่ได้รางวัลนี้ รวมทั้งเป็นคนเอเชียคนแรกที่มีโอกาสได้รับรางวัลดังกล่าว โดยไม่มีบุคคลอื่นหรือองค์กรอื่นร่วมรับพร้อมกัน







Mr.A. Badran รองผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโกกล่าวว่า “...รางวัลนี้ถวายแด่พระปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต) เพื่อเป็นการยกย่องผลงานในช่วงระยะเวลาหลายปีของพระคุณท่าน ซึ่งเน้นความสำคัญของสันติภาพภายใน และความรับผิดชอบของทุกคนต่อปัญหาต่างๆของสังคม... ” ในขณะที่ Ms. Nazli Moawas ประธานคณะกรรมการการพิจารณาตัดสินรางวัลกล่าวว่า “ …คณะกรรมการประทับใจพระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต) ซึ่งเพียบพร้อมทั้งในด้านภูมิปัญญา ปรัชญา และ คุณธรรม สามารถใช้ทั้งภูมิปัญญาและคุณธรรมในการให้การศึกษาและสอนเรื่องสันติภาพ และ ชื่นชมอย่างสูงสุดต่อแนวควมคิดของพระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่เน้นความสำคัญต่ออย่างยิ่งยวดของสันติภาพภายใน และความร่วมมือของมนุษย์ที่ทุกคนจะรับผิดชอบรวามกันแสวงหาวิธีการแก้ไขปัญหา สังคม เศรษฐกิจ และศีลธรรมอย่างสันติ โดยเน้นความคิดที่ว่าสันติภาพเป็นค่านิยมที่ลึกซึ้งอยู่ภายใน เน้นค่านิยม ความเป็นมนุษย์ เกิดขึ้นจากพลังภายในของมนุษย์ และทอแสงออกมาให้ประจักษ์เมื่อได้สัมผัสกับผู้อื่น ซึ่งในที่สุดจะสะท้อนผลดีต่อความสัมพันธ์ระดับนานาชาติ ระหว่างประชาชนและระหว่างรัฐ...”


รางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพที่ท่านเจ้าคุณอาจารย์ได้รับนี้ ท่านได้มอบให้เป็นทุนจัดตั้งมูลนิธิการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต) มีสำนักงานใหญ่ ตั้งอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา และสำนักงานสาขาที่มหาวิทยาลัยรายภัฏสวนสุนันทา เป็นมูลนิธิที่ดำเนินกิจกรรมหลายอย่างเพื่อส่งเสริมการศึกษาเพื่อสันติภาพหนึ่งในกิจกรรมนั้นคือ การพิจารณาเลือกบุคคลที่เหมาะสม ประกอบด้วยคุณงามความดี มีความเสียสละ เพื่อให้กำลังใจและยกย่องเป็นแบบอย่างที่ดีของสังคม ซึ่งก็คือคนไทยที่จะปฏิบัติตนเจริญรอยตามวัตรปฏิบัติของท่านเจ้าคุณอาจารย์เข้ารับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพ พระธรรมปิฏก (ป.อ. ปยุตฺโต) เป็นประจำทุกปี

นานาทัศนะ


• พระธรรมโกศาจาร (ประยูร ธมฺมจิตฺโต)

ในฐานะที่ท่านเจ้าคุณเป็นสมาชิกของคณะสงฆ์ ไม่ทราบว่าภาพพจน์ของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎกที่มีต่อสังคมเป็นอย่างไรบ้างครับ พอจะเป็นตัวแทนของคณะสงฆ์ได้หรือเปล่าครับ

วงการคณะสงฆ์มองท่านเจ้าคุณอาจารย์ด้วยความชื่นชม ท่านเป็นหน้าตาของสงฆ์ไทยยุคนี้ มีผลงานของท่านก็คุ้มไปหลายเรื่อง พระสงฆ์อื่นเบาแรงไปเยอะ หมายถึงว่าคุณค่าของสถาบันสงฆ์ที่สังคมยอมรับส่วนหนึ่งเป็นเพราะผลงานของท่าน เราอาศัยบารมีท่านในหลายเรื่องความคงอยู่ของสถาบันก็เนื่องจากประโยชน์ของสถาบัน ถ้าสถาบันใดไม่เอื้อประโยชน์ต่อสังคม สถาบันนั้นก็ลดคุณค่าลงในสายตาของคนในสังคม โดยเฉพาะในช่วงที่ประชาชนมีวิกฤติศรัทธาต่อพระสงฆ์นี้ท่านเจ้าคุณอาจารย์ก็มีส่วนช่วยสร้างภาพด้านบวกให้กับพระสงฆ์เป็นอย่างมาก การที่ท่านเป็นสมาชิกสถาบันสงฆ์และทำงานในฐานะสมาชิกของสถาบันนี้ได้เพิ่มศักดิ์ศรีและความสำคัญให้กับตัวสถาบันเอง นี่มองจากมุมของคนใน เห็นว่าคณะสงฆ์ผลิตพระอย่างนี้มาได้ก็เกินคุ้ม สิ่งที่ท่านกระทำประสบความสำเร็จเป็นเรื่องที่ควรเป็นแบบอย่างและทิศทางที่ควรเดินตาม โดยเฉพาะในกลุ่มของพระนักศึกษาและนักเผยแผ่ และอิทธิพลจากคำสอนของท่านทำให้เราเห็นว่าพระพุทธศาสนาเข้าถึงกลุ่มปัญญาชน ปัญญาชนเป็นผู้ที่พูดแล้วคนเชื่อ ถ้าพวกเขาพูดถึงพระพุทธศาสนาในทางที่ไม่ดีก็มีผลกระทบเร็ว เพราะพวกเขาเข้าถึงสื่อมวลชน ไม่ว่าปัญญาชนเหล่านี้จะพูดถึงพระพุทธศาสนาในแง่บวกหรือแง่ลบก็มีผลต่อลูกศิษย์และคนทั่วไป ท่านเจ้าคุณอาจารย์เข้าถึงคนกลุ่มนี้เพราะหนังสือ พุทธรรม คนรุ่นใหม่ศึกษาพระศาสนาอย่างเป็นระบบได้ก็เพราะอาศัยผลงานของท่าน พุทธรรม เป็นหนังสือสำหรับคนมีการศึกษาพอสมควร สังคมไทยยุคข้อมูลข่าวสารจะมีคนที่มีการศึกษาระดับปริญญาเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะขณะนี้สถาบันราชภัฏ ๓๖ แห่ง มีกฎหมายรับรองให้แสดงบทบาทของมหาลัยเต็มที่ ยิ่งคนมีการศึกษามากขึ้นเท่าไร ความสนใจหนังสือ พุทธรรม ก็จะเพิ่มขึ้นเท่านั้น

- ศ.นพ.ประเวศ วะสี

ข้อเขียนของอาจารย์ก็รู้สึกว่าพยายามช่วยเหลือแก้ไขปัญหาต่างๆในสังคม

ครับ ผมคิดว่าจำเป็น เพราะทางพุทธถ้าดูไป ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องวิธีคิด วิธีคิดของพุทธซึ่งเป็นเรื่องสำคัญ แต่ก่อนไม่ค่อยได้ยินมาพูดกัน ผมอ่านพระไตรปิฎก และอ่านเป็นประจำ ในนั้นเต็มไปด้วยวิธีคิด เป็นวิธีคิดที่ต่างไปจากวิธีคิดของคนทั่วไป คนทั่วๆไปนั้นจะคิดแบบอะไรสำเร็จรูปในตัว พอคิดสำเร็จรูปในตัวก็แยกส่วน แล้วนำไปสู่การขัดแย้ง ต่อไปก็เป็นความรุนแรง นี้ขึ้นกับวิธีคิด แต่วิธีคิดแบบพุทธนี่ไม่ใช่อย่างนั้น เช่นในพระสูตรชานุโสสณิสูตร ชานุโสสณีพราหมณ์ถามพระพุทธองค์ว่า “พระสมณโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงมีอยู่จริงหรือหนอ” พระพุทธเจ้าตอบว่า “พราหมณ์โวหารอย่างนี้เป็นที่สุดอย่างหนึ่ง” เป็นที่สุดหมายถึงสุดโต่ง นี้มันตายตัวนะ บางคนอาจจะไม่รู้ทิศทาง นี่คือตายตัวว่า สิ่งทั้งหลายมีอยู่อย่างนี้ตายตัว พราหมณ์ถามปัญหาที่ ๒ ว่า “สมณโคดมผู้เจริญ สิ่งทั้งปวงไม่มีอยู่จริงหรือหนอ” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “พราหมณ์ โวหารอย่างนี้เป็นที่สุดประการที่ ๒ เช่นเดียวกับคำว่า มี คือตายตัว ไม่มีก็ตายตัว ตถาคตจะไม่เข้าใกล้ส่วนสุดทั้งสอง แต่ท่านจะสอนทางสายกลาง เพราะสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี” ทุกสิ่งไม่ได้ตายตัว ขึ้นอยู่กับเงื่อนไข อันนี้เป็นการคิด แบบที่เรียกว่า อิทัปปัจจยตา หรืออาจจะบอกว่าเป็นแบบ dynamic relationship แบบปฏิสัมพัทที่เป็นพลวัตร หรืออาจจะเรียกว่าเป็นสัมพัทธ์ก็ได้

Einstein คนพบทฤษฎีแห่งความสัมพัทธ์ ที่จริงพระพุทธเจ้าสอนมาตั้งสองพันห้าร้อยกว่าปี อันนี้คือความสัมพัทธ์ที่เป็น dynamic มันไม่ตายตัว สิ่งต่างๆเป็นอนิจจัง อนิจจังก็เคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าเราเอาความคิดที่เป็นอนิจจังที่ตายตัวเข้าไปมันก็ขัดแย้งกัน คนส่วนใหญ่จะคิดอย่างอนิจจัง ฉะนั้นพระไตรปิฎกจะเต็มไปด้วยเรื่องอย่างนี้ ถ้าเราสังเกตดู แม้แต่พวกเรื่องวิญญาณก็ตาม วิญญาณไม่ใช่เรื่องอะไรที่ตายตัว จะเป็นสิ่งที่เกิดจากผัสสะ อายตนะภายนอกอายตนะภายในกระทบกันก็เกิดการรับรู้เรียกว่า วิญญาณ เป็นจักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ มันเป็น process เป็นปรากฏการณ์ที่มีปัจจัยผลักดันกันต่อไป ไม่ใช่อะไรที่ตายตัวด้วยตัวมันเอง คนส่วนใหญ่มักจะคิดว่าตายตัวด้วยตัวมันเอง แล้วจะเข้าสู่ความขัดแย้งที่รุนแรง

      พระพรหมคุณาภรณ์ พระมหาเถระนักวิชาการท่านนี้ เป็นชาวอำเภอ ศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งวิชชาและจรณะในยุคปัจจุบันเป็นพระมหาเถระรูปหนึ่งในองค์กรคณะสงฆ์ไทยที่ทรงปัญญา สามารถถ่ายทอดพุทธธรรมไปสู่มวลชนได้อย่างลุ่มลึก ชัดเจน มั่นคง ช่วยเป็นดวง ประทีปส่องทางในยามที่สังคมกำลังมืดมนเข้าสู่วิกฤตให้เบาบางลงไปได้ จนเป็นที่ยอมรับในระดับโลก องค์กรระดับโลกสหประชาชาติหรือ ยูเนสโก จึงได้อบถวายรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพแก่ท่าน ปัจจุบัน ท่านได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของสังคมไทยในฐานะเป็นผู้แก้ปัญหาข้อขัดแย้ง เดี่ยวกับหลักธรรมในศาสนา บ่อยครั้งจะออกเป็นหนังสือหรือสิ่งพิมพ์ที่หาทางออก ให้กับปัญหานั้นๆ อย่างทันท่วงทีมาโดยตลอดที่สังคมยอมเชื่อฟังด้วยดี


ผลงานของท่านมีหลายรูปแบบมีทั้ง การบรรยาย การปาฐกถา การแสดงธรรม และงานนิพนธ์ ผลงานของท่าน เป็นวิชาการทั้งสิ้น มีมากหลายร้อยชิ้นงานมีทั้งงานที่ท่านบรรยายในสถานที่ต่างๆ แล้วนำไปปรับปรุงพิมพ์ออกมาเป็นหนังสือเผยแพร่ออกไปเป็นผลงานฉบับกระเป๋าเล่มไม่ใหญ่นัก งานนิพนธ์ออกมาเป็นหนังสือเผยแพร่ออกไปเป็นผลงานฉบับกระเป๋าเล่มไม่ใหญ่นัก งานนิพนธ์เล่มใหญ่ เช่น พุทธธรรม พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์ พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พุทธศาสนามากที่สุดมาเป็นเวลาหลายปีจนถึงปัจจุบันคือ พุทธธรรม เนื้อหาของพุทธธรรมได้ขยายความหลักพุทธธรรมของพระพุทธธรรมของพระพุทธศาสนาให้เด่นชัดขึ้นทุกเรื่อง ท่าน สามารถอธิบายขยายความถ่ายทอดได้อย่างดียิ่งทุกเรื่อง ที่เด่นที่สุดนอกจากเนื้อหาของหลักธรรมแล้ว ท่านได้อ้างแหล่งที่มาของหลักธรรมแต่ละเรื่องเป้ฯอย่างดี ผู้อ่านสามารถศึกษาค้นคว้าต่อไปได้อย่างละเอียดทุกเรื่อง ในยุคปัจจุบันท่านจัดเป็นมันสมองขององค์กรสงฆ์ไทยและของสังคมพุทธศาสนาอย่างแท้จริง


ด้วยมุมมองแห่งมิติทางวัฒนธรรม ผู้บริหารการศึกษาท่านหนึ่งซึ่งเป็นผู้มีความรู้อย่างลุ่มลึกด้านวัฒนธรรม รวมทั้งแนวคิดและผลงานของพระพรหมคุราภรณ์(ป.อ.ปยุตโต) ตลอดจนมีวิถีปฎิบัติที่เจริญรอยตามวัตรปฎิบัติของท่านเจ้าคุณอาจารย์มาโดยตลอด ได้ให้ความคิดเห็นที่มีความกระจ่างชัด


“…ถ้าเรากล่าวถึงวัฒนธรรมในความหมายสากล ความหมายของ UNESCO สามารถพูดได้ว่า วัฒนธรรมคือลักษณะเด่นของสังคมแต่ละแห่งเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีทั้ง tangible culture และ culture สำหรับ tangible culture หมายถึงลักษณะของวัฒนธรรมทางวัตถุ จับต้องได้มีความเป็นรูปธรรม เช่น ตึกราม ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ ยานพาหนะ เป็นต้น intangible cultre หมาบถึงลักษณะของวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจมนุษย์ มีความเป็นนามธรรม ประกอบด้วยเรื่องของ spiritual หรือส่วนที่เกี่ยวกับจิตใจ จิตวิญญาณ intellectual หรือเรื่องของภูมิปัญญาและ emotional หรือส่วนของ อารมณ์ ความรู้สึก ค่านิยมฯลฯ เมื่อวัฒนธรรมถูกสร้างขึ้นแล้ว ย่อมมีการยึดถือปฎิบัติ สืบสาน และพัฒนาไปเรื่อยๆ…


…เมื่อมองในมิติวัฒนธรรม พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต)ท่านมีความลึกซึ้งและเด่นมากในเรื่องของ intangible culture ทั้ง ๓ องค์ประกอบ ท่านเจ้าคุณอาจารย์อธิบายมิติวัฒนธรรมให้เห็นสัจธรรมในเชิงพุทธธรรมได้อย่างชัดเจน ทั้งเรื่องของ จิตใจ จิตวิญญาณ ภูมิปัญญา อารมณ์ ความรู้สึก ค่านิยมต่างๆโดยท่านได้สรุปสาระสำคัญทั้งหมดไว้ในรูปของไตรสิกขา ความเด่นและลึกซึ้งของท่านในประเด็นนี้ย่อมนำมาสู่ประโยชน์ของการพัฒนาและแก้ปัญหาสังคมและประโยชน์ของงานในมิติวัฒนธรรมของประเทศได้อย่างมีคุณค่ายิ่ง…”

บทสะท้อนประวัติชีวิต ผลงาน และแนวคิดของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตโต) ที่กล่าวข้างต้นแม้เป็นเพียงบางส่วน ประกอบกับความคิดเห็นของบุคคลในสังคมที่มีต่อตัวท่านเจ้าคุณอาจารย์ ย่อมเป็นที่ประจักษ์ว่าพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) เหมาะสมยิ่งนักกับการเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางวัฒนธรรม สามารถชี้นำทิศทางการพัฒนา และแก้ปัญหาสังคมทุกยุคด้วยความแหลมคมแห่งภูมิปัญญาและตัวอย่างของวัตรปฎิบัติที่งดงามเป็นกำลังสำคัญในบริบทของการช่วยเหลือด้านนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการการวัฒนธรรมแห่งชาติสืบไป









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น