วันพุธที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต)


          ในสังคมปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นสังคมสงฆ์หรือสังคมทั่วไป เราจะพบว่ามีความเห็นขัดแย้งกันด้วยเรื่องต่างๆ มากมายอยู่บ่อยครั้ง ก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากพอสมควร ผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะชี้นำ สังคมเพื่อแก้ปัญหาทางสังคมมากพอสมควร ผู้ที่มีความรู้ความสามารถที่จะชี้นำ สังคมเพื่อแก้ปัญหาขัดแย้งที่มีความกล้าและทุกคนยอมรับฟังมีน้อยเต็มที ครั้งใดก็ตามเมื่อเกิดปัญหาข้อขัดแย้งขึ้นมาผู้ชี้นำที่จะแนะนำให้เรื่องนั้นยุติลงได้เรามักได้เห็นคำชี้นำที่เป็นหนังสือที่ทันกับเหตุการณ์นั้น ออกมาครั้งแล้วเรื่องนั้นก็จะยุติลงได้โดยสังคมยอมรับฟังที่กำลังกล่าว ถึงนี้คือ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต) ท่านเป็นนักปราชญ์ของสังคมไทยในยุคปัจจุบันผู้ทรงความรู้อย่างกว้างขวางที่ละเอียดลึกทั้งทางฝ่ายโลกและทางฝ่ายธรรมอย่างแท้จริง มีผลงานอันโดดเด่นจำนวนมากเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ ชีวประวัติและผลงานของพระเถระชาวไทยรูปนี้จะได้นำเสนอต่อไป

ท่านพุทธทาสภิกขุ


ท่านพุทธทาสภิกขุ
บทที่ ๑ประวัติท่านพุทธทาสภิกขุ
กำเนิดแห่งชีวิต
            ท่านพุทธทาสเดิมชื่อ เงื่อม พานิช โยมบิดาชื่อ นายเซี้ยง ส่วนโยมมารดาชื่อ นางเคลื่อน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่  ๒๗  เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช  ๒๔๔๙   ณ  ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎธานี บรรพบุรุษฝ่ายโยมบิดามาจากเมืองจีน แต่โยมบิดาเกิดที่พุมเรียง สกุลเดิมทางบรรพบุรุษคือ แซ่โข่ว หรือ ข่อ ออกเสียงแต้จิ๋ว เป็นแซ่โค้ว ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีพระราชบัญญัตินามสกุล  ทางการจึงเปลี่ยนให้เป็น พานิชเพราะทำการค้าขาย ส่วนทางโยมมารดาเป็นคนไทย  เป็นชาวท่าฉาง  ท่านพระพุทธทาสมีพี่น้อง ๓ คน ท่านเป็นคนโต น้องคนรองเป็นชายชื่อ ยี่เกย หรือ นายธรรมทาส น้องสุดท้องเป็นหญิงชื่อ กิมซ้อย
            ท่านพุทธทาสได้นิสัยประหยัดมาจากโยมมารดาซึ่งเป็นผู้ประหยัดในทุกๆเรื่องแม้แต่กระทั่งเวลา กล่าวคือ ต้องใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ท่านสนิทกับโยมมารดามากกว่าเพราะโยมบิดาไม่ค่อยอยู่บ้าน ท่านจึงสามารถทำอาหารและขนมได้เป็นอย่างดี สำหรับสิ่งที่ท่านได้รับการถ่ายทอดจากโยมบิดา คือช่างไม้ และการแต่งโคลงกลอน โยมบิดามีอาชีพคือ ช่างไม้ต่อเรือ นอกจากนี้โยมบิดายังสนใจเรื่องยาแผนโบราณ ซึ่งศึกษาจากวัดและหนังสือที่พิมพ์ จึงทำให้ท่านพุทธทาส มีความรู้ทั้งเรื่องยาแผนโบราณ  การแต่งโคลงกลอนและช่างไม้ เป็นอย่างดี
       

วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สำนักปฏิบัติธรรม

สำนักปฏิบัติธรรม
ปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร
          จุดหมายแห่งการปฏิบัติธรรมนั้น เพียงเพื่อฝึกจิตให้รู้เท่าทันสภาพความจริงแท้ของอุปทาน ในความหลงยึดถือรูปร่างกายและสิ่งต่างๆในโลกนี้ อันเป็นธาตุ ๔ ว่าเป็นตัวเราของเรา ออกให้หมดสิ้นเท่านั้นเอง
          มิใช่เพื่อความมีความเป็นใดๆทั้งสิ้น ผลคือเพื่อความไม่ทุกข์ทางใจอีกต่อไปเท่านั้นเอง เพราะการมีตัวเราของเราเกิดขึ้นในจิตเมื่อไหร่ทุกข์จะเกิดขึ้นเมื่อนั้นทันที เช่นสิ่งของผู้อื่นหาย ใจเราเฉยๆแต่พอของเราหาย ใจเราจะเกิดทุกข์ขึ้นมาทันที จริงไหม เพราะมี “ของเรา” เกิดขึ้นนั่นเอง
ดังนั้น จุดหมายแท้ของการปฏิบัติธรรม เพื่อออกจากทุกข์ใจให้หมดสิ้นเท่านั้น ส่วนทุกข์ทางกายเป็นเรื่องธรรมดาของสังขารอันไม่เที่ยงเท่านั้นเอง

วันพฤหัสบดีที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สันติอโศก

สันติอโศก

       
   โดยเหตุที่สมณะโพธิรักษ์ บวชที่วัดอโศการาม และไปบรรยายธรรมบริเวณ “ลานอโศก” วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฏิ์ อยู่เนื่อง ๆ จนได้สมญานามว่า “ขวานจักตอก” และเมื่อทำหนังสือยุคแรกก็ใช้ชื่อ “เรวดียุครุ่งอรุณ ฉบับอโศก” ทั้งนามปากกาก็ใช้เป็นอย่างเดียวกันว่า “อโศก” ไม่วาใครเขียนก็ตาม
          เพราะได้มีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กับคำ “อโศก” หลายสถานะหลายเหตุการณ์ดังกล่าวแล้ว เราจึงนับเอาคำว่า “อโศก” มาเป็นฉายาของเราตั้งแต่บัดนั้น และร่วมเผยแพร่ธรรมะจนเกิดกลุ่มพุทธบริษัทอันมีทั้งนักบวชและฆราวาส
          ญาติธรรมรุ่นแรก ได้ร่วมมือกันก่อตั้งสถานที่ปฏิบัติธรรมถวายท่าน เนื่องจากมีสภาพเป็นสวนจึงได้ชื่อว่า “สวนอโศก” ตั้งอยู่ที่ อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี แต่ก็ยังไม่เข้ารูปรอยและไม่ลงตัวด้วยเหตุหลายประการ จึงได้ย้ายมาที่แห่งใหม่ เรียกชื่อว่า “ธรรมสถานแดนอโศก” ตั้งอยู่ที่ ต.ทุ่งลูกนก อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖ และได้ใช้สถานที่นี้อบรมบำเพ็ญธรรม จนกระทั่งเกิดเหตุการณ์บีบคั้นมากมายทำให้ลำบากในการเผยแพร่ธรรมะ ซึ่งไม่มีทางเลือก สุดท้ายสมณะโพธิรักษ์ และหมู่สงฆ์คณะต้องตัดสินใจประกาศตนเป็น “นานาสังวาส” ตามพระธรรมวินัย เมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม ๒๕๑๘ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม

วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สำนักวัดธรรมกาย


สำนักวัดธรรมกาย

ความเป็นมาของสำนักวัดธรรมกาย
                สำนักวัดธรรมกาย เริ่มก่อตั้งโดยศิษย์ของพระมงคลเทพมุนี หรือ หลวงพ่อสด จนฺทสโร วัดปากน้ำภาษีเจริญ ศิษย์กลุ่มนี้สนใจปฏิบัติธรรมตามแนววิชชาธรรมกายและศรัทธาแรงกล้า ศิษย์กลุ่มนี้เรียกว่า กลุ่มทายาททางธรรมกายเมื่อจบการศึกษาแล้วทยอยอุปสมบทเป็นภิกษุที่วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เผยแผ่พุทธธรรมพร้อมกับสร้างศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรม มีนโนปณิธานว่า จะสร้างวัดให้เป็นวัด” “จะสร้างพระให้เป็นพระ” “จะสร้างคนให้เป็นคนคุณหญิงประหยัด แพทยพงศาวิสัทธาธิบดี และนางสาววรณี สุนทรเวช มีจิตศรัทธายกที่ดินจำนวนเนื้อที่ ๑๙๖ไร่  ๙ ตารางวา เพื่อจัดสร้างสำนักปฏิบัติธรรม ชื่อว่า ศูนย์พุทธจักรปฏิบัติธรรมต่อมาเปลี่ยนเป็นชื่อ วัดธรรมกายปัจจุบันมีพื้นที่ ๒,๐๐๐ กว่าไร่

วันพฤหัสบดีที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

แซลลี แมคเฟก

แซลลี  แมคเฟก : โลกอันเป็นกายของพระเจ้า
จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม
       เช่นเดียวกับนักเทววิทยาร่วมสมัยที่มีความวิตกกังวลเกี่ยวกับนิเวศ แซลลี แมคเฟก นักเทววิทยานิกายโปรเตสแตนท์กล่าวว่า เทววิทยาของศาสนาคริสต์ดั้งเดิมกำลังต้องการการคิดทบทวนและการฟื้นฟูแล้วภาพลักษณ์ละตัวแบบของพระเจ้าที่ครอบงำความคิดทางศาสนาคริสต์ไม่เพียงแต่ล้าสมัยไปแล้วในตอนนี้ หากยังเป็นอันตรายด้วย เธอกกล่าวว่ามันเป็นอันตรายเพราะสนับสนุนท่าทีต่อโลกที่ละเลยเมินเฉยต่อการที่มนุษย์หยั่งรากฝังอยู่ในโลก และต้องพึ่งพาโลกเพื่อยู่รอดให้ได้มันอันตรายเพราะซ้ำเติมความโน้มเอียงของมนุษย์ที่จะคิดถึงโลกและสิ่งสร้างอื่นที่ไม่ใช่มนุษย์ว่าถูกสร้างขึ้นมาโดยพระเจ้าเพื่อให้กับมนุษย์เป็นการเฉพาะ มันอันตรายเพราะสนับสนุนท่าทีของมนุษย์ที่ไม่รู้สึกคุ้นเคย เหมือนอยู่ที่บ้านในโลกหากแต่เป็นผู้มาค้างแรมเท่านั้น  มีความโน้มเอียงชัดเจนในเทววิทยาแบบศาสนาดั้งเดิมที่จะกล่าวถึงพระเจ้าว่าเป็นกษัตริย์ผู้ทรงอานุภาพและอยู่เหนือผู้อื่น กล่าวถึงพระเจ้าว่าทำสงครามกับศัตรูและมีชัยชนะ ให้ภาพพระเจ้าว่าเป็นชายเฒ่าที่สง่างามราวกับกษัตริย์ ห่างเหิน และน่ากลัว ผู้ดำรงอยู่นอกโลกที่พระองค์รังสรรค์ความคิดที่กล่าวมานี้ทั้งหมดได้ตอกย้ำทวิภาคระหว่างพระเจ้ากับโลก ความคิดเช่นนี้ตอกย้ำสิ่งที่แมคเฟกเรียกว่า ความโน้มเอียงทวิลักษณ์สมมาตรระหว่างพระเจ้ากับธรรมชาติ และระหว่างพระเจ้ากับมนุษย์