วันศุกร์ที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556

ยูบิควิตัส(Ubiquitous) อาจารย์เรวัต



ยูบิควิตัส(Ubiquitous) คือ...
                   เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากแนวความคิดที่ต้องการเชื่อมโยงเครือข่ายกับเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
                   เป็นวิทยาการประยุกต์แขนงใหม่ที่อาศัยการผสมผสานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์การสื่อสารเข้าด้วยกัน ทำให้เราสามารถรับส่งข้อมูลข่าวสารถึงกันได้ทุกหนทุกแห่ง ทุกที่ทุกเวลา ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับมนุษย์ได้อย่างมากมายมหาศาล ไม่ว่าจะรับส่งข้อมูลข่าวสารในรูปแบบมัลติมีเดีย หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถรับส่งข้อมูลต่าง ๆ ได้ เช่น เครื่องออกกำลังกายที่สามารถตรวจสุขภาพ พร้อมกับส่งข้อมูลสุขภาพไปยังโรงพยาบาลโดยอัตโนมัติ เป็นต้น

                   ยูบิควิตัสเป็นภาษาลาตินมีความหมายว่า อยู่ในทุกแห่งหรือมีอยู่ทุกหนทุกแห่ง เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารทุกที่ทุกเวลา ทำให้เกิดสภาพแวดล้อมใหม่ของการสื่อสาร และเป็นทิศทางของสังคมสารสนเทศในอนาคต เรียกว่า สังคมยูบิควิตัส”
                   คนที่ใช้คำว่า ยูบิควิตัส” เป็นศัพท์ทางวิชาการคนแรก คือ มาร์ค ไวเซอร์” ซึ่งเป็นนักวิจัยแห่งศูนย์วิจัยพาโล อัลโต ของบริษัทซีรอกซ์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ให้คำนิยาม ยูบิควิตัสคอมพิวติ้ง (Ubiquitous Computing) ไว้ว่า โลกที่สามารถเข้าถึงคอมพิวเตอร์ได้ทุกหนทุกแห่งทุกสภาพแวดล้อมที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์เชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าจะอยู่ในที่แห่งใด
ความเป็นมาของยูบิควิตัส
                   เป็นเทคโนโลยีที่เกิดจากแนวความคิดที่ต้องการเชื่อมโยงเครือข่ายกับเทคโนโลยีที่มีอยู่เพื่อให้สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลาดังคําที่ว่า “Anytime Anywhere” หมายความว่าแนวความคิดนี้เป็นแนวความคิดที่จะใช้เทคโนโลยีเชื่อมโยงกับผลิตภัณฑ์เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มของผู้บริโภคหรือกลุ่มเป้าหมายเพื่อเป็นการตอบสนองความต้องการในการใช้งานผลิตภัณฑ์ที่มีเทคโนโลยีผสมผสานอยู่
องค์ประกอบของยูบิควิตัส
ยูบิควิตัสต้องประกอบไปด้วย เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายทั่วโลก อุปกรณ์เชื่อมต่อ ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ คอมเพรสเซอร์ รถยนต์ วิทยุ อะไรก็ตามที่เชื่อมต่อกับโครงข่ายอินเตอร์เน็ต ยูบิควิตัสต้องทำให้ผู้ใช้ไม่รู้ตัวว่ากำลังใช้คอมพิวเตอร์ เพราะยูบิควิตัสจะอยู่ในสภาพแวดล้อมรอบตัวผู้ใช้ และต้องมีผู้ใช้อุปกรณ์ จึงจะเป็นระบบยูบิควิตัสที่สมบูรณ์
                   

จุดเด่นของยูบิควิตัส
1. การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าจะมีการเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่าง ๆ
2. การสร้างสภาพการใช้งานโดยผู้ใช้ไม่รู้สึกว่ากำลังใช้คอมพิวเตอร์อยู่
3. การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ ทั้งสถานที่ อุปกรณ์ และปัจจัยทางกายภาพอื่น ๆ
จุดเด่นของยูบิควิตัส  (ต่อ)
                   หรือจะอธิบายง่าย ๆ ก็อย่างเช่น
                   - เราสามารถที่จะเรียนหนังสือที่บ้านได้ ผ่านหน้าจอทีวี ที่มีอาจารย์สอนอยู่
                   - เราสามารถที่จะชอปปิ้งจากที่บ้านได้เลย ไม่ต้องเดินไปที่ตลาดเอง
                   - ตู้เย็นมีเซนเซอร์ตรวจจับและบอกวันหมดอายุของที่อยู่ข้างใน
                   - ห้องต่าง ๆ สามารถปรับอุณหภูมิให้เหมาะกับผู้อาศัยได้อัตโนมัติ
ที่สำคัญก็คือตอนนี้ เทคโนโลยียูบิควิตัสได้รับการพัฒนาให้เป็นเทคโนโลยีที่ใกล้ชิดกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ประมาณว่านอกจากจะไฮเทคล้ำยุคแล้ว ก็ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย แบบที่เรียกกันว่า อีโคซิตี้ (Eco City
                   ศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากเทคโนโลยีที่มีอยู่ด้วยการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ซอฟท์แวร์ และเทคโนโลยีในผลิตภัณฑ์ของตนเองเพื่อให้เกิดการผสมผสานที่ลงตัวตามแนวความคิดที่สามารถพกพาและควบคุมการใช้งานผ่านระบบสื่อสารในทุกที่ทุกเวลาเพื่อการสนองความพึงพอใจของผู้บริโภค ซึ่งโดยหลักการของการยูบิควิตัสนั้น การควบคุมจะเกิดขึ้นกับผลิตภัณฑ์ได้ต่อเมื่อมีการบรรจุไมโครชิพ (Microchip) ที่ทําหน้าที่เป็นหน่วยประมวลผลเป็นส่วนประกอบที่สําคัญเพื่อใช้ในการควบคุมการทํางานของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้น เช่น เตาอบ เครื่องซักผ้าตู้เย็น โทรทัศน์ เครื่องปรับอากาศ โทรศัพทมือถือ เป็นต้น ให้สามารถเชื่อมต่อควบคุมและสั่งการได้ทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก
                   ตัวอย่างของ ยูบิควิตัส เช่น การควบคุมอาคารอัตโนมัติ (Building Automation) ซึ่งเป็นการควบคุมอุปกรณ์อํานวยความสะดวกภายในหรือภายนอกอาคาร ในด้านระบบรักษาความปลอดภัยลิฟต์ เครื่องปรับอากาศอัตโนมัติโดยสามารถควบคุมระบบการเตือนภัยเมื่อเกิดมีปัญหาภายในห้องหรือมีผู้บุกรุกการควบคุมการสั่งในการเปิด ปิดเครื่องปรับอากาศและการควบคุมอุณหภูมิภายในห้องโดยบริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ต่างให้ความสําคัญกับการพัฒนาและการสร้างเพื่อให้ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นใหม่นี้มีความสามารถรองรับกับเทคโนโลยียูบิควิตัสได้
                   จากยูบิควิตัสการทำธุรกรรมอิเลคทรอนิกส์ (Electronic Commerce หรือ E - Commerce) ตั้งแต่เริ่มจะมีการทำกันในอินเตอร์เน็ตด้วยการสั่งซื้อสินค้าตามเว็บไซต์ต่าง ๆ และได้มีการพัฒนาการทําธุรกรรมผ่านโทรศัพท์ มือถือเราจะเรียกว่าเอ็มคอมเมิร์ซ (Mobile Commerce หรือ M - Commerce) และในปัจจุบันนี้การพัฒนาของการทําธุรกรรมได้ให้ความสนใจกับธุรกรรมอิเลคทรอนิกส์ประเภทใหม่ที่เรียกว่า ยูคอมเมิร์ซ(Ubiquitous Commerce หรือ U - Commerce) สิ่งที่เกิดขึ้นจากยูคอมเมิร์ซทําให้เกิดการทําธุรกรรม ผู้บริโภคสามารถสั่งซื้อสินค้าจากซุปเปอร์มาเก็ตโดยสั่งตรงเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ของซุปเปอร์มาเกตยูคอมเมิร์ซตามหลักการสากลของการทําธุรกรรมอิเลคทรอนิกส์ ประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 4 ประการดังนี้ คือ
                   1. ยูบิควิตัส (Ubiquitous) เป็นการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ทุกหนทุกแห่งเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีไมโครชิพ (Microchip) เป็นองค์ประกอบที่ทำหน้าที่เป็นไมโครโปรเซสเซอร์(Microprocessor) ทำหน้าที่ในการควบคุมที่สามารถรับคำสั่งให้ทำงานได้โดยอุปกรณ์ ที่ทำหน้าที่ในการสั่งงาน เช่น โทรศัพท์มือถือ เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาเป็นต้น
                   2. ยูนิเวอร์ซอล (Universal) เป็นระบบการสื่อสารที่มีการเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่ายทั่วโลก เช่นโทรศัพท์มือถือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพาหรือเครื่องปาล์มหรือเครื่องพ็อกเก็ตพีซีเป็นต้น โดยผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตและระบบการสื่อสารผ่านดาวเทียมที่ไม่มีขีดจำกัดในเรื่องพรมแดนระยะทางและเวลา
                   3. ยูนิค(Unique) เป็นระบบการสื่อสารที่มีการเชื่อมต่อที่เป็นรูปแบบเดียวกันซึ่งข้อมูลที่ผ่านการติดต่อสื่อสารระหว่างกันจะเป็นข้อมูลที่มีรูปแบบเดียวกันและสามารถรับส่งข้อมูลในรูปแบบของข้อความรูปภาพ วิดีโอ และอื่น ๆ จากแหล่งของข้อมูลต่าง ๆในรูปแบบของการดาวน์โหลด (Download) ข้อมูลผ่านกองบริการระบบคอมพิวเตอร์สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานครกองบริการระบบคอมพิวเตอร์สำนักนโยบายและแผนกรุงเทพมหานครระบบการสื่อสารที่กระทำผ่านระบบดาวเทียมวงโคจรสถิตและดาวเทียมวงโคจรต่ำในการติดต่อสื่อสารระหว่างกันทำให้สามารถเชื่อมต่อถึงกันได้ทุกแห่งทุกเวลาที่เรียกกันว่าบรอดแบนด์ (BoardBand)
                   4. ยูนิซัน(Unison)  เป็นระบบการสื่อสารที่ทํางานในลักษณะเดียวกัน โดยเครื่องคอมพิวเตอร์โทรศัพท์มือถือเครื่องคอมพิวเตอร์พกพา หรือเครื่องปาล์มหรือเครื่องพ็อกเก็ตพีซีและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ จะสามารถจัดเก็บข้อมูลภายใต้ระบบเดียวกัน โดยสามารถสื่อสารทําความเข้าใจกันได้โดยไม่ต้องมีการแปลงแฟ้มข้อมูล (Convert) อีกครั้งหนึ่ง
                   เทคโนโลยียูบิควิตัสเป็นสิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นและเป็นสิ่งที่มีส่วนเกี่ยวข้องและมีผลกระทบกับผลิตภัณฑ์และผู้บริโภคบริษัทผู้ผลิตจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีบรรจุในผลิตภัณฑ์ของตนเองให้มีประสิทธิภาพตามแนวความคิดนี้โดยเทคโนโลยียูบิควิตัสเป็นเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาในประเทศพัฒนาแล้วและประเทศที่กําลังทดลองใช้เทคโนโลยียูบิควิตัส คือ สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ทั้งนี้แนวโน้มการใช้งานของทั้งสองประเทศนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากในระบบเทคโนโลยีจะต้องเข้าสู่ยุคที่เรียกว่า โฟตเจนเนอเรชั่น (Fourth Generation) ในระบบการสื่อสารอื่นอินเตอรเน็ตที่สามารถดาวน์โหลดข้อความ ภาพ เสียงข้อมูลและควบคุมการทํางานได้จากระยะไกลโดยไม่มีขีดจํากัดใด ๆ
                   ดังนั้น หากรวมกับระบบอีนัม (ENum)ที่เป็นระบบการจัดการเกี่ยวกับการกําหนดตัวเลขของคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบอินเตอร์เน็ตที่เป็นเบอร์เดียวทั่วโลกให้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นแนวทางที่ทําให้เทคโนโลยียูบิควิตัสเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอนนอกจากนี้ระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบการสื่อสารเป็นส่วนที่สําคัญอย่างยิ่งในการเชื่อมต่อเพราะการรับส่งข้อมูลผ่านระบบสื่อสารที่ดีจะต้องมีระบบโครงสร้างพื้นฐานของระบบการสื่อสารที่ดีมีระบบการทํางานที่สามารถรองรับกับการรับส่งข้อมูล ภาพ เสียง ภาพเคลื่อนไหว โปรแกรมประยุกต์และอื่น ๆ ได้