วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การปกครองคณะสงฆ์ไทย


การปกครองคณะสงฆ์ไทย
(Thai Songha Administration)
การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยกรุงสุโขทัย
ก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย พระเจ้าปรักกมพาหุ ขึ้นครองราชย์ในประเทศลังกา พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการทำสังคายนาครั้งที่ ๗ ขึ้น  พระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองในประเทศลังกาทั้งด้านการศึกษา การปฏิบัติธรรม กิตติศัพท์เลืองลือไปถึงประเทศพม่า พระสงฆ์จากเมืองพุกามและพระสงฆ์ชาวมอญได้เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัย และได้อุปสมบทใหม่ในคณะสงฆ์ลังกาและได้พาพระสงฆ์จากลังกา กลับมายังเมืองพุกามและเมืองมอญ ตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นในประเทศพม่า
ต่อมาพระสงฆ์ชาวลังกาชื่อ ราหุล ได้จาริกจากเมืองพุกามมาตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราชและได้เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชน
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง คนไทยเป็นอิสระมากขึ้น ทางตอนเหนือเกิดอาณาจักรล้านนา ทางใต้เกิดอาณาจักรสุโขทัย  สุโขทัยได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนาจากอาณาจักรศรีวิชัยโดยมีพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์จากศรีลังกา มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรศรีวิชัย
พ.ศ. ๑๘๒๐ พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์      ได้สดับกิตติศัพท์ของลังกาวงศ์ และ ได้อาราธนา พระมหาเถรสังฆราชมาพำนักอยู่ ณ วัดอรัญญิก ในกรุงสุโขทัย พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์จึงเจริญรุ่งเรืองตั้งแต่บัดนั้น ในยุคแรกมีพระสงฆ์อยู่ ๒ พวก คือ คณะสงฆ์เดิมที่มีอยู่ก่อนแล้ว                          และพระสงฆ์ลังกาวงศ์  ในที่สุดก็รวมตัวเป็นนิกายเดียวกัน ดังปรากฏใน ศิลาจารึกหลักที่ ๑ เบื้องตะวันตกเมืองสุโขทัยนี้มีอรัญญิก พระขุนรามคำแหงกระทำโอยทานแก่มหาเถรสังฆราชปราชญ์เรียนจบปิฎกไตร   หลวก (รู้หลัก) กว่าปู่ครูในเมืองนี้ทุกคนลุก (จารึก) แต่เมืองนครศรีธรรมราชมา
พ.ศ. ๑๘๙๗ พระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ ๕ แห่งกรุงสุโขทัย ได้ทรงอาราธนาพระมหาสวามีสังฆราชเมืองลังกา นามว่า สุมนเถระ เข้ามาสู่กรุงสุโขทัย
พ.ศ. ๑๙๐๔ ครั้นออกพรรษาแล้วพระองค์ทรงเสด็จออกผนวชชั่วคราว ณ วัดอรัญญิก และทรงนิพนธ์หนังสือเรื่อง เตภูมิกถา หรือ ไตรภูมิพระร่วง
การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์มีปรากฏเป็นแบบแผนชัดเจน ในรัชสมัยของพระมหาธรรมราชาลิไท ผู้ทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชจากเมืองนครพันมาตั้งสำนักเผยแผ่พระศาสนา ณ วัดป่ามะม่วงกรุงสุโขทัย ใน พ.ศ. ๑๙๐๔ดังข้อวามหนึ่งในหลักศิลาจารึกวัดป่ามะม่วง เป็นภาษาเขมรที่ว่า 
                สมเด็จบพิตรทรงใช้ราชบัณฑิตไปอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชผู้มีศีลเรียนจบพระไตรปิฎก ซึ่งสถิตอยู่ในลังกาวงทวีป ซึ่งมีศีลาจารคล้ายพระขีณาสพทั้งหลายในโบราณจากนครพัน
การที่พระมหาธรรมราชาลิไท ทรงอาราธนาพระมหาสามีสังฆราชมายังกรุงสุโขทัยนี้ ทำให้สถานภาพของพระสงฆ์คณะลังกาวงศ์มีความมั่นคงยิ่งขึ้นอีกทั้งพระสงฆ์ในคณะลังกาวงศ์เป็นพระนักปฏิบัติกรรมฐาน นิยมพำนักอยู่ในวัดที่ห่างไกลจากตัวเมืองคณะนี้จึงมีชื่อเรียกในสมัยนั้นว่า
 คณะอรัญญวาสี หมายถึง กลุ่มพระสงฆ์ที่พำนักอยู่ในวัดป่าอันแตกต่างจากพระสงฆ์ฝ่ายที่อยู่กรุงสุโขทัยดั้งเดิม
พระสงฆ์กลุ่มหลังนี้เรียกว่า คณะคามวาสี หมายถึง  กลุ่มพระสงฆ์ที่พำนักอยู่ในวัดซึ่งอยู่ห่างไม่ไกลจากหมู่บ้านหรือตัวเมือง พระสงฆ์กลุ่มนี้เป็นพระสายนักวิชาการจะศึกษาพระปริยัติธรรมเป็นหลัก
ดังนั้น การปกครองคณะสงฆ์ในสมัยสุโขทัย จึงมีการจัดรูปแบบการจัดการองค์กรสงฆ์ โดยแบ่งแยกออกเป็น    ๒ คณะด้วยกันคือ คณะคามวาสี และ คณะอรัญญวาสี
ในหนังสือพงศาวดารเหนือบันทึกการแบ่งคณะสงฆ์เป็นสองฝ่าย โดยเรียก คณะคามวาสี ว่า คณะฝ่ายขวาและเรียกคณะอรัญญวาสี ว่า คณะฝ่ายซ้าย  คณะสงฆ์ทั้งสองฝ่ายแยกการปกครองเป็นอิสระจากกัน  ด้วยเหตุนั้น ในสมัยกรุงสุโขทัยจึงมีสังฆนายก ๒ รูป คือพระสังฆราชคณะคามวาสี และ พระสังฆราชคณะอรัญญวาสี  
การปกครองคณะสงฆ์ในหัวเมืองที่สำคัญๆ นอกจากกรุงสุโขทัย พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งพระสังฆราชประจำตำแหน่งหัวเมือง ในลักษณะเดียวกันกับที่ทรงแต่งตั้งเจ้าประเทศราชไปครองเมืองใหญ่  ในฝ่ายอาณาจักรในสมัยกรุงสุโขทัยจึงมีพระสังฆราชหลายองค์
สรุปการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยกรุงสุโขทัย
มีลักษณะการปกครองแบ่งเป็น ๒ คณะ ได้แก่
. คณะอรัญญวาสี คือ พระสงฆ์ที่ปฏิบัติตนเองอย่างเคร่งครัดตามพระธรรมวินัยจะหลีกเร้นอยู่ตามป่าเขาหรือที่ห่างไกลจากย่านชุมชนหรือที่เรารู้จักกันในนามว่า พระสายวิปัสสนาธุระ
. คณะคามวาสี คือ พระสงฆ์ที่ใส่ใจในเรื่องของการศึกษาสาย พระปริยัติธรรมมุ่งเน้นศึกษาวิชาการทางพระพุทธศาสนาอยู่ร่วมกับหมู่บ้านหรือชุมชนนั้นๆ หรือที่เราเรียกกันภายหลังว่า พระสายคันถธุระ
คณะคามวาสี  (คันถธุระ)
คณะอรัญวาสี  (วิปัสสนาธุระ)
                     พระสงฆ์ที่มีหน้าที่เรียนหนังสือ
                     เป็นพระสงฆ์ในสุโขทัยที่มีมาแต่เดิม
                     มีพระสังฆราชรูจีมหาเถระเป็นเจ้าคณะ
                     พระสงฆ์ที่มีหน้าที่ปฏิบัติวิปัสสนา
                     พระสงฆ์คณะใหม่ที่ได้รับอาราธนามาจากนครศรีธรรมราช
                     มีพระบรมครุติโลกติลกติรัตนสีลคันธวนวาสีธรรมกิตติสังฆราชมหาสวามี  เป็นเจ้าคณะ

การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยา
ในยุคต้นการปกครองคณะสงฆ์ยังคงยึดรูปแบบลักษณะการปกครองมาจากกรุงสุโขทัย โดยแบ่งลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็น ๒ คณะ คือ คณะคามวาสีกับ คณะอรัญญวาสี ต่อมาจึงมีการพัฒนารูปแบบการปกครองคณะสงฆ์เพิ่มเติมขึ้น เพราะ เกิดจากการพัฒนาของคณะอรัญญวาสีเดิม ที่มีการเจริญอย่างแพร่หลาย ทำให้คณะคามวาสีมีพระสงฆ์ลดจำนวนน้อยลง และมีการส่งพระสงฆ์จากอยุธยา เชียงใหม่ และกัมพูชาไปสู่ลังกาประเทศ บวชใหม่เป็นนิกายสิงหล กลับมาสู่กรุงศรีอยุธยา  เกิดการเปลี่ยนแปลงนิกายเพิ่มขึ้นเป็น คณะป่าแก้ว
ใน พ.. ๑๙๖๗ ได้ทำการศึกษาพระธรรมวินัย ณ ลังกาประเทศอยู่หลายปีจนแตกฉาน และ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุงศรีอยุธยา ได้นิมนต์พระมหาเถระชาวลังกาประเทศจำนวน ๒ รูป คือ พระมหาวิกรมพาหุ และพระอุดมปัญญา เดินทางร่วมมาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศไทย เมื่อเดินทางถึงกรุงศรีอยุธยาแล้ว พระสงฆ์เหล่านั้นได้แยกย้ายกันออกเผยแผ่พระพุทธศาสนาจน มีผู้คนเลื่อมใสศรัทธา  และขออุปสมบทเป็นจำนวนมาก ในที่สุดพระสงฆ์เหล่านั้นได้แยกตัวออกมาตั้งคณะปกครองสงฆ์ใหม่ เรียกว่า คณะป่าแก้ว ด้วยสาเหตุที่พระอุปัชฌาย์ชาวลังกาของพระสงฆ์เหล่านั้น ชื่อว่า วันรัต ซึ่งแปลว่า ป่าแก้ว และยังมีที่พำนักจำพรรษาของคณะสงฆ์เหล่านี้ มีชื่อต่อท้ายด้วยคำว่าป่าแก้ว เช่น วัดไตรภูมิคณะป่าแก้ว เป็นต้น

สรุปการปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยอยุธยาตอนปลาย
แบ่งการปกครองออกเป็น ๓ คณะ ซึ่งได้แก่                                    
 . คณะคามวาสีฝ่ายซ้าย คือ พระสงฆ์ที่สืบมาจากนิกายเดิมที่มีมาตั้งแต่แรกสมัยกรุงสุโขทัย และทำการศึกษาพระไตรปิฎกตลอดถึงการศึกษาจากคัมภีร์ต่างๆ จนแตกฉานหรือที่รู้จักว่า  สายคันถธุระ
. คณะอรัญญวาสี  คือ    พระสงฆ์ดั้งเดิมที่ได้ประพฤติปฏิบัติสืบต่อๆกันมา ตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานเป็นหลัก และจำพรรษาอยู่ตามวัดต่างๆซึ่งอยู่ห่างไกลจากชุมชน ที่รู้จักกันว่า พระสายวิปัสสนาธุระหรือพระป่า
. คณะคามวาสีฝ่ายขวา คือ คณะสงฆ์นิกายเดิมที่ไปบวชและแปลงนิกายที่ลังกาประเทศแล้วกลับมา เผยแผ่พระพุทธศาสนาจนมีผู้คนเลื่อมใสศรัทธา และขออุปสมบทเป็นจำนวนมากและรู้จักกันต่อมาว่าภายหลังว่า คณะป่าแก้ว
สำหรับการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยานั้น  มีเจ้าคณะใหญ่อีก ๓ รูป คือ เจ้าคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย เจ้าคณะอรัญญวาสี และเจ้าคณะคามวาสีฝ่ายขวา เป็นผู้ปกครองบังคับบัญชาพระสงฆ์ของแต่ละคณะ พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทรงสถาปนาเจ้าคณะใหญ่รูปใดรูปหนึ่ง ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช โดยดำรงตำแหน่งเป็นประมุขสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร
การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยกรุงธนบุรี
ในด้านพระพุทธศาสนา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาเท่าที่ทรงมีโอกาส เช่น การสร้างวัดบางยี่เรือเหนือ (วัดราชคฤห์ ปัจจุบัน)ทรงทำการปฏิสังขรณ์วัดเก่า อาราธนาพระภิกษุผู้รู้ธรรมมีศีลาจารวัตรปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ เข้ามาตั้งเป็นพระราชาคณะช่วยรับภาระบำรุงพระพุทธศาสนา พระองค์ทรงรวบรวมคัมภีร์พระไตรปิฎกหัวเมืองต่างๆ มาเลือกคัดจัดเป็นฉบับหลวง แต่ยังไม่ทันเสร็จสมบูรณ์ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อน
ส่วนการปกครองคณะสงฆ์ในยุคดังกล่าว ยังยึดรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์มาจากกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก เพราะสาเหตุหลายประการ เช่น กำลังสร้างเมืองใหม่ ระยะดังกล่าวบ้านเมืองกำลังอยู่ในภาวะสงคราม        
การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
การปกครองคณะสงฆ์สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (ร. - ๔)
การปกครองคณะสงฆ์ในยุคนี้ ถือว่ายังเป็นการรักษารูปแบบมาจากกรุงศรีอยุธยาสืบมา แต่มีการเปลี่ยนแปลงในการเรียกชื่อคณะคามวาสีฝ่ายซ้าย มาเป็น คณะเหนือ และ คณะคามวาสีฝ่ายขวา มาเป็น คณะใต้  ส่วนคณะอรัญญวาสียังคงเรียกชื่อกันตามเดิม ถึงแม้ว่าในช่วงดังกล่าว มีจำนวนพระภิกษุลดน้อยลง หลังจากนี้ ได้ทรงตรากฎหมายสำหรับพระสงฆ์ เพื่อกวดขันความประพฤติของพระสงฆ์ในยุคนั้น   การตรากฎหมายดังกล่าวไม่มีมาตรา ไม่มีบทหรือตอน แต่อย่างใด แต่เป็นข้อรับสั่งห้ามพระภิกษุสามเณรประพฤติปฏิบัติที่ไม่เหมาะสม เป็นต้น
ตัวอย่างของกฎหมายคณะสงฆ์ฉบับที่ ๖ ซึ่งประกาศใช้ใน พ.. ๒๓๒๖ โดยมีข้อความตอนหนึ่งว่าห้ามมิให้ภิกษุสามเณร สงเคราะห์ฆราวาส  ให้ผลไม้ ใบไม้ ดอกไม้ เป็นต้น อย่าให้ผสมผสานขอกล่าวป่าวร้องเรี่ยไรสิ่งของอันเป็นของฆราวาส อันมิใช่ญาติ และห้ามอย่าให้เป็นทูตใช้สอยข่าวสาสน์การฆราวาส และห้ามบรรดาการทั้งปวง อันผิดจากพระปาฏิโมกข์สังวรวินัย
ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น รัชกาลที่ ๓ คือ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ มีการเปลี่ยนแปลงไปโดยมีการตั้งคณะเพิ่มเติมขึ้นมาอีกคณะหนึ่ง คือ คณะกลาง โดยแยกวัดต่างๆในกรุงเทพมหานคร ทั้งที่เป็นพระอารามหลวงและวัดราษฎร์  ให้ขึ้นตรงต่อคณะกลาง ที่ตั้งขึ้นมาใหม่

กำเนิดธรรมยุติกนิกาย
ธรรมยุติกนิกายเกิดขึ้นในสมัยสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓  ผู้ก่อตั้งนิกายคือ พระวชิรญาณภิกขุ   ขณะผนวชอยู่ ต่อมาได้ทรงลาสิกขาแล้วเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ขณะที่พระวชิรญาณ ทรงผนวชและประทับอยู่ ณ วัดมหาธาตุ พระองค์ทรงศึกษาพระธรรมวินัยและภาษาบาลีจนได้เปรียญธรรม ๕ ประโยค ต่อมาพระองค์ได้พบกับพระเถระชาวมอญรูปหนึ่ง ชื่อว่า ชาย พุทธฺวงฺโส อุปสมบทแต่เมืองมอญและจำพรรษาอยู่ที่วัดบวรมงคล พระเถระรูปนี้มีความรู้ฉลาดในพระวินัยปฏิบัติอย่างเคร่งครัด พระองค์ทรงมีพระประสงค์ที่จะปฏิบัติตามแบบอย่างพระมอญรูปนี้ จึงทรงย้ายจากวัดมหาธาตุไปประทับจำพรรษา ณ วัดสมอราย (วัดราชาธิวาสในปัจจุบัน)
เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗๒ พระองค์ทรงเข้ารับการอุปสมบทโดยมีพระสุเมธมุนีเป็นพระอุปัชฌาย์ ทรงศึกษาพระธรรมวินัยและข้อวัตรปฏิบัติจากพระอุปัชฌาย์แล้วได้เผยแพร่ถือปฏิบัติเคร่งครัดพระวินัยแบบมอญ จนมีผู้เคารพนับถือเป็นจำนวนมาก จึงได้ทรงประกาศตั้งคณะสงฆ์ใหม่ขึ้นเรียกว่า คณะธรรมยุติกนิกาย โดยกำหนดเอาการผูกพัทธสีมาใหม่ ณ วัดสมอราย  พ.ศ. ๒๓๗๖ ให้เป็นการก่อตั้งคณะธรรมยุติกนิกาย พ.ศ. ๒๓๗๙ พระองค์ทรงได้รับการพระราชทานสมณศักดิ์เป็นเจ้าอาวาสครองวัดบวรนิเวศวิหาร
เมื่อพระองค์ได้ประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหารแล้ว ทรงแต่งตั้งพระเถระจำนวน ๙ รูป  เป็นคณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อบริหารของคณะธรรมยุติกนิกาย คณะธรรมยุติกนิกายได้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้คนและเจ้านายเชื้อพระวงศ์ จนมีวัดที่สังกัดคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกายขึ้นเป็นจำนวนมากในกรุงเทพมหานคร
การปกครองคณะสงฆ์สมัยรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๕-๗
การจัดโครงสร้างการบริหารและองค์กรการปกครองคณะสงฆ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง มากใน สมัยรัชกาลที่   เมื่อทรงโปรดให้มีการปฏิรูประบบ ราชการ ทั้งด้าน โครงสร้างและการบริหารราชการแผ่นดิน เพื่อรวบอำนาจการปกครองเข้าสู่ส่วนกลาง สำหรับเสริมสร้างเอกภาพของชาติเอาไว้ต่อต้านภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตกพระองค์ได้ปฏิรูปการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์ควบคู่ไปกับการปฏิรูปในฝ่าย บ้านเมือง ทั้งนี้ก็เพื่อสร้างเอกภาพขึ้นภายในคณะสงฆ์ทั้งในด้านการบริหาร การศึกษา การปฏิบัติ และการเผยแพร่ธรรม รูปแบบแห่งการปฏิรูปการปกครองคณะสงฆ์ในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือ การตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ ใน พ.ศ. ๒๔๔๕
พระราชบัญญัติฉบับนี้มีลักษณะเป็นธรรมนูญการปกครองคณะสงฆ์ที่ กำหนดโครงสร้าง การบริหารและการจัดการองค์กรไว้อย่างเป็นระบบ นับเป็นครั้งแรกในประวัติการปกครองคณะสงฆ์ไทย ที่มีกฎหมายกำหนดระบอบการปกครองคณะสงฆ์พระราชบัญญัติฉบับนี้มีผลบังคับใช้เรื่อยมาจนถึงสมัยรัชกาลที่ 8 เหตุผลสำคัญประการหนึ่งในการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 คือความจำเป็นที่รัฐบาลต้องอาศัยคณะสงฆ์โดยเฉพาะคณะสงฆ์ในต่างจังหวัดให้ ช่วยกิจการการศึกษาของชาติ ตามโครงการปฏิรูปการศึกษาให้ทันสมัยการที่พระสงฆ์จะสามารถสนองความต้องการของรัฐบาลในเรื่องนี้ได้จะต้องปฏิรูป การบริหารกิจการคณะสงฆ์ และจัดการให้พระสงฆ์ในต่างจังหวัดอยู่ภายใต้ระบบบริหารเดียวกันเสียก่อน
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑
๑. การปกครองคณะสงฆ์ส่วนกลาง หมายถึง การปกครองดูแลกิจการคณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักรเป็นอำนาจหน้าที่ของพระมหา กษัตริย์และมหาเถรสมาคม ตามมาตรา ๔ ที่บัญญัติไว้ ให้เจ้าคณะใหญ่ทั้ง ๔ ตำแหน่ง คือ เจ้าคณะใหญ่คณะเหนือ เจ้าคณะใหญ่คณะใต้ เจ้าคณะใหญ่คณะกลาง และเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกนิกาย กับ พระราชาคณะที่เป็นรองเจ้าคณะทั้ง ๔ คณะ ทั้งหมด ๘ รูป เป็นมหาเถรสมาคม  มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาในการพระศาสนาและการปกครองคณะสงฆ์แด่พระมหากษัตริย์ พระราชบัญญัติฉบับนี้ ไม่ได้กล่าวถึงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ทั้งนี้เพราะในเวลาที่ตราพระราชบัญญัติฉบับนี้ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลงภายหลังการสิ้นพระชนม์ของสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) ใน พ.ศ. ๒๔๔๒  นับแต่นั้นมาจนสิ้นรัชกาลที่ ๕ ไม่มีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชอีกเลย
ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระมหากษัตริย์ในฐานะเอกอัครศาสนูปถัมภก ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชด้วย โดยมี มหาเถรสมาคม ทำหน้าที่คล้ายกับ คณะเสนาบดีที่ทรงปรึกษาฝ่ายการพระศาสนา เสนาบดีกระทรวงธรรมการ   ทำหน้าที่เป็น ศูนย์กลาง การติดต่อประสานงานระหว่างพระมหากษัตริย์กับมหาเถรสมาคม
๒. การปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค คือ การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาคควบขนานไปกับการบริหารราชการแผ่นดินส่วนภูมิภาค กล่าวคือ  มีการแบ่งส่วนการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็นสังฆมณฑล มีเจ้าคณะมณฑลที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจากพระราชาคณะ เป็นผู้ปกครองดูแล กิจการคณะสงฆ์ใน สังฆมณฑลนั้น เจ้าคณะมณฑลนี้เทียบได้กับ ข้าหลวงเทศาภิบาล ผู้ทำหน้าที่ ปกครองประชาชนและบริหารราชการแผ่นดินในมณฑลของฝ่ายบ้านเมือง รองจากเจ้าคณะมณฑลลงมา มีเจ้าคณะเมืองหรือจังหวัดที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้ง รองจากเจ้าคณะเมือง ก็คือ   เจ้าคณะแขวงหรืออำเภอ เป็นผู้ปกครองเจ้าอาวาสวัดต่างๆ
ข้อควรสังเกต ในพระราชบัญญัติฉบับนี้ มาตรา ๔ กล่าวถึง เจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต อันแสดงว่าอคณะธรรมยุตซึ่งเคยขึ้นอยู่กับคณะกลางของฝ่ายมหานิกายในรัชกาลที่ ๔ ได้แยกเป็นคณะอิสระโดยมีเจ้าคณะใหญ่ปกครองกันเอง เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายมหานิกายไม่มีอำนาจบังคับบัญชาวัดที่สังกัดคณะธรรมยุต
เพราะมาตรา ๓ บัญญัติว่า  พระราชบัญญัตินี้ ไม่เกี่ยวด้วยนิกายสงฆ์ กิจและลัทธิเฉพาะในนิกายนั้นๆ ซึ่งเจ้าคณะหรือสังฆนายกในนิกายนั้นได้เคยมีอำนาจว่ากล่าวบังคับมาแต่ก่อน ประการใด ก็ให้คงเป็นไปตามเคยทุกประการ  กฎหมายคณะสงฆ์ฉบับนี้ รับรองการแบ่งนิกายของคณะสงฆ์ไทยออกเป็นมหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย
ใน สมัยรัชกาลที่ ๖ พระมหากษัตริย์มิได้ทรงปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพราะมีการสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ให้ดำรงตำแหน่ง สกลมหาสังฆปรินายก มีอำนาจหน้าที่บังคับบัญชาการคณะสงฆ์ทั่วราชอาณาจักร
  ใน พ.ศ. ๒๔๕๓ เมื่อได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระมหาสมณขึ้นแล้วเช่นนี้ มหาเถรสมาคมซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์ตามความในมาตรา ๔ จึงเป็นอันงดไป
  ในสมัยรัชกาลที่ ๗ และต้นรัชกาลที่ ๘ การปกครองคณะสงฆ์เป็นไปตามแบบอย่างนี้ นั่นก็คือ สมเด็จพระสังฆราชทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยลำพัง โดยมีมหาเถรสมาคมทำหน้าที่เป็นกรรมการที่ปรึกษา จนกระทั่งมี การตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔     
การปกครองคณะสงฆ์สมัยรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 
การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองของฝ่ายอาณาจักรครั้งนี้เป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดองค์กรปกครองคณะสงฆ์ เนื่องจากคณะรัฐบาลในสมัยนั้นต้องการสร้างความชอบธรรมให้กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตยจึงเห็นความจำเป็นที่จะเปลี่ยนแปลงการปกครองคณะสงฆ์ให้มีรูปแบบเป็นประชาธิปไตยด้วย รัฐบาลจึงได้ดำเนินการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ โดยคำแนะนำและยินยอมของสภาผู้แทนราษฎร พระราชบัญญัติฉบับนี้ถือเป็นธรรมนูญการปกครองคณะสงฆ์ฉบับใหม่ที่ออกมาแทนที่ พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ รัฐบาลได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงเหตุผลในการตราพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ให้ประชาชนทราบ มีความตอนหนึ่งว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์นี้ได้รับความเห็นชอบของคณะสงฆ์ และได้ผ่านสภาผู้แทนราษฎรมาแล้วโดยราบรื่นความสำคัญในพระราชบัญญัติก็คือ ได้จัดการปกครองคณะสงฆ์ให้อนุโลมระบอบการปกครองบ้านเมืองเท่าที่ไม่ขัดกับ พระธรรมวินัย”

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ มีสาระสำคัญดังนี้
พระมหากษัตริย์ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชผู้ดำรงตำแหน่งสกลมหาสังฆปรินายก แต่สมเด็จพระสังฆราชทรงบัญชาการคณะสงฆ์โดยลำพังพระองค์เองไม่ได้ พระองค์ทรงบัญญัติสังฆาณัติโดยคำแนะนำของสังฆสภา ทรงบริหารคณะสงฆ์ทางสังฆมนตรี และทรงพิจารณาวินิจฉัยอธิกรณ์ทางคณะวินัยธร
มีข้อน่าสังเกตว่า พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ ได้ยกเลิกมหาเถรสมาคม อันประกอบด้วย เจ้าคณะใหญ่ทั้ง ๔ รูป และรองเจ้าคณะใหญ่ ๔ รูป ตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่ซึ่งรวมถึง   เจ้าคณะใหญ่ธรรมยุติกนิกาย จึงไม่มีกฎหมายรองรับ  วัตถุประสงค์ ประการหนึ่งของพระราชบัญญัติฉบับนี้  เพื่อรวมคณะสงฆ์มหานิกาย และคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ความพยายามเพื่อจะรวมนิกายสงฆ์ทั้งสองจึงไม่ประสบผลสำเร็จตลอดเวลา ๒๐ ปีที่พระราชบัญญัติคณะสงฆ์  พ.ศ. ๒๔๘๔ มีผลใช้บังคับ มีแต่จะสร้างความแตกแยกในวงการคณะสงฆ์มากยิ่งขึ้น จนรัฐบาลสมัย นั้นเห็นว่าความแตกสามัคคีได้บั่นทอนประสิทธิภาพในการบริหารกิจการคณะสงฆ์ และความแตกแยกนี้เกิดขึ้นเพราะมีการแบ่งแยกอำนาจการปกครองเพื่อถ่วงดุลกัน ตามระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลจึงถือเป็นความชอบธรรมในการยกเลิกพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ และประกาศใช้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕

การปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบัน
การจัดการโครงสร้างการบริหารและการปกครองคณะสงฆ์ในปัจจุบันเป็นไปตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ การตราพระราชบัญญัติฉบับนี้เกิดจากความต้องการของรัฐบาลในสมัยนั้น ซึ่งมี จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมุ่ง ปรับเปลี่ยนรูปแบบการปกครองคณะสงฆ์                            ให้สอดคล้องกับนโยบายการปกครองประเทศของ จอมพลสฤษดิ์  ที่นิยมการรวบอำนาจการติดสินใจเด็ดขาดไว้กับผู้นำที่เข้มแข็ง จอมพลสฤษด์ เห็นว่า การปกครองระบอบประชาธิปไตยที่กำหนดให้มีการถ่วงดุลอำนาจกันนั้นนำมาซึ่งความล่าช้าและความขาดประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จึงเห็นว่าการแยกอำนาจบัญชาการคณะสงฆ์ออกเป็น 3 ทางคือ สังฆสภา คณะสังฆมนตรี และคณะวินัยธร                        ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นระบบที่มีผลบั่นทองประสิทธิภาพในการดำเนินกิจการคณะสงฆ์ให้ต้องประสบ อุปสรรคและล่าช้า
มหาเถรสมาคมเป็นองค์กรการปกครองสูงสุดของคณะสงฆ์ ประกอบด้วยสมเด็จพระสังฆราช ทรงดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ สมเด็จพระราชาคณะทุกรูปเป็นกรรมการโดยตำแหน่ง และพระราชาคณะซึ่งสมเด็จพระสังฆราชทรงแต่งตั้งไม่เกินสิบสองรูปเป็นกรรมการ อธิบดีกรมการศาสนาเป็นเลขาธิการมหาเถรสมาคมโดยตำแหน่ง กรมการศาสนาทำหน้าที่สำนักเลขาธิการมหาเถรสมาคม







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น