วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บทวิเคราะห์ ภิกษุณี (สรุปจากพุทธศาสนาไทยในอนาคต)



บทวิเคราะห์ ภิกษุณี (สรุปจากพุทธศาสนาไทยในอนาคต)



      สาเหตุสำคัญที่ปิดโอกาสไม่ให้ผู้หญิงบวชภิกษุณีได้ก็คือ เหตุผลทางด้านพระธรรมวินัย คือ ภิกษุณีบวชได้ต้องมีสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ พระสงฆ์ ๕ รูป ภิกษุณี ๕ รูป รองรับ แต่ภิกษุณีขาดสายไปนานแล้ว จึงทำให้ไม่ครบองค์ บวชตาม พระวินัยได้
         ทางออกฝ่ายสนับสนุนภิกษุณี อาศัยภิกษุณีสงฆ์ที่ไต้หวันมาทำพิธีอุปสมบทแบบเถรวาท ทำให้มีสงฆ์ครบทั้ง  ๒ฝ่าย จึงถือว่าภิกษุณีบวชถูกต้องตามพระวินัยแต่ไม่เป็นที่ยอมรับของชาวพุทธส่วนมากรวมถึงมหาเถรสมาคม
(แม้จะไม่ยอมรับแต่ไม่เคยวินิจฉัยอย่างเป็นทางการ มีแต่พะสังฆราชที่ย้ำคำสั่งมหาเถรสมาคม พ.ศ.๒๔๗๑ ห้ามภิกษุรูปใดบวชสามเณรี เนื่องจากขัดต่อบัญญัติ) ถึงจะมีข้อโต้แย้งว่าภิกษุณีมหายานไม่สามารถบวชให้ภิกษุณีเถรวาทได้ฝ่ายสนับสนุน           บอกว่าพระวินัยไม่ได้ระบุว่า ภิษุณีที่ทำพิธีอุปสมบทต้องเป็นฝ่ายเถรวาทเท่านั้น เนื่องจากพุทธกาล วินัยที่บัญญัติขึ้นมา ยังไม่มีการแบ่งแยกนิกาย เหมือนในปัจจุบัน หากสืบสายไปภิกษุณีมหายานก็ถือกำเนิดมาจากเรวาทนั่นเองทั้งนี้ข้อที่ควรพิจารณา คือ ควรไม่ควรที่จะมีภิกษุณีในประเทศไทย โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดแก่ศาสนาและสังคม โดยไม่มองเป็น อคติส่วนตัวมาเป็นอารมณ์(ยอมรับได้ไหมที่ผู้ชายจะกราบไหว้ผู้หญิง) เมื่อเห็นว่าควรมีภิกษุณีในไทยแล้วค่อยพิจารณาว่า เปิดช่องให้ภิกษุณีบวชในไทยได้หรือไม่แต่คนไทยจำนวนไม่น้อย สรุปว่าผู้หญิงบวชเป็นภิกษุณีไม่ได้ แล้วจึงเอา พระวินัยมาขัดขวาง และอ้างว่า พระศาสนาจะเสื่อมถอย (แต่ความจริงไต้หวันมีภิกษุณีมากกว่าภิกษุหลายเท่า)ความพยายามผลักดันให้มีภิกษุณีแบบเถรวาทในประเทศไทย มีแนวโน้มจะเข้มข้นขึ้น แนวคิดหนึ่งที่อยู่เบื้องหลังของความพยายามดังกล่าวคือความเชื่อเรื่องความเสมอภาคทางเพศ ซึ่งเป็นแนวเดียวกับก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางด้านบทบาทของผู้หญิง แต่ความพยายามดังกล่าวไม่ง่ายที่จะสัมฤทธิผล สาเหตุคือข้อจำกัดของพระวินัยที่ทำให้การบวชภิกษุณีในปัจจุบันเป็นไปไม่ได้(ถึงได้ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากคณะสงฆ์) แต่ความสำเร็จก็เริ่มปรากฏขึ้น อย่าง ศรีลังกาที่นับถือเถรวาทแบบไทย เป็นแรงกระตุ้นให้มีการสถาปนาภิกษุณีขึ้นในเมืองไทยอย่างจริงจัง มีความเป็นไปได้ว่า ความเสื่อมและความอ่อนแอของคณะสงฆ์ จะเป็นปัจจัยทำให้ภิกษุณีเกิดขึ้นและตั้งมั่นได้ในสังคมไทย เพราะถึงแม้คณะสงฆ์จะไม่ยอมรับ แต่ถ้าชาวพุทธทั่วไปยอมรับ ภิกษุณีก็ไม่ใช่สิ่งที่จะปฎิเสธได้อีกต่อไป ขึ้นอยู่กับว่าตัวภิกษุณีจะทำตนให้เป็นที่ยอมรับได้หรือไม่ ความรู้ความสามารถในทาง ปริยัติและปฎิบัติ และความเคร่งครัด จะเป็นกุญแจทำให้ภิกษุณีมีพื้นที่ในสังคมไทยคำถามไม่ได้อยู่ที่ ภิกษุณีจะเกิดขึ้นได้ในเมืองไทยหรือไม่ แต่อยู่ที่ว่า ภิกษุณีจะเกิกขึ้นได้ เมื่อไหร่ อย่างไร และรูปแบบใด แม้จะเลี่ยงไม่ใช้รูปแบบภิกษุณี แต่ถ้าปฎิบัติตนอย่างเคร่งครัดเหมือนภิกษุณีตามพระธรรมวินัย ก็จะเป็นภิกษุณีในสำนึกของคนทั่วไปอยู่ดีแม้จะนำไปสู่ข้อขัดแย้งและถกเถียงอย่างร้อนแรงในวงการชาวพุทธ แต่ระยะยาวน่าจะเป็นผลดีต่อพุทธศาสนา สามารถยกคุณภาพชีวิตและสถานภาพของผู้หญิงและนักบวชแล้ว ยังสามารถกระตุ้นให้คณะสงฆ์เกิดการตื่นตัวและปรับปรุงตนเองไม่ให้ด้อยกว่าภิกษุณี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น