วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพุทธศาสนา
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัตินานถึง ๔๒ ปี ซึ่งนับว่านานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของไทยในอดีต ตลอดระยะเวลาอันยาวนานแห่งการครองราชได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้แก่ประเทศชาติอย่างหาที่เปรียบมิได้ อย่างไรก็ดี ในที่นี้จะเสนอพระราชดำริพระบรมราโชบายและพระราชกรณียกิจ เฉพาะในส่วนแห่งการพระศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระราช
ศรัทธาอันมั่นคง เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชนชาวสยามตลอดกาลนาน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓) รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะทรงมีพระราชภารกิจทางด้านการปรับปรุงประเทศอยู่มากแล้วก็ตาม แต่ก็ทรงมีพระราชศรัทธาอันแรงกล้า ในการที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น        
         ดังจะเห็นได้จาก พระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า "เมื่อข้าพเจ้าได้ดำรงสิริราชสมบัติแล้ว ก็ตั้งใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงอยู่เป็นนิจ
ข้าพเจ้าอาจปฏิญาณใจได้ว่า ถ้าชีวิตข้าพเจ้ายังอยู่ตราบใด แลข้าพเจ้าคงคิดจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอยู่เป็นนิจ" และอีกตอนหนึ่งกล่าวว่า "ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า ซึ่งจะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาการพร้อมกันทั้งสองฝ่าย" การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชศรัทธาอันแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้า ดังพระราชดำรัสนั้น คงสืบเนื่องจากการที่ทรงยืดถือปฏิบัติตามกฎ ที่มีอยู่ในพระธรรมศาสตร์ ถือว่าพระมหากษัตริย์มีหน้าที่ ทรงเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปภถัทมภก เช่นเดียวกับพระบูรพกษัตริย์ ซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมา รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลักษณะต่างๆ ดังนี้

         ใน พ.ศ. ๒๔๑๖ ในขณะที่พระองค์เสวยราชสมบัติ แม้จะทรงมีพระราชกรณียกิจเป็นอันมาก ก็ยังได้พระราชอุตสาหะเสด็จออกผนวชเป็นพระภิกษุสืบอายุพระพุทธศาสนา และได้ทรงจัดการบวชพระภิกษุทุกปีมิได้ขาด แสดงถึงความมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา 
         ใน พ.ศ. ๒๔๓๑ โปรดฯ ให้ชำระพระไตรปิฎกและพิมพ์เป็นอักษรไทย เรียกว่า "พระไตรปิฎกฉบับพิมพ์" นับเป็นครั้งแรกที่มีการตีพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย การจัดพิมพ์พระไตรปิฎกในครั้งนั้น รัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์จำนวน ,๐๐๐ ชั่ง เป็นค่าจ้างพิมพ์พระไตรปิฎกจำนวน ๑,๐๐๐ จบ และโปรดเกล้าฯ ให้แจกจ่ายไปตามพระอารามต่างๆ ทั่วประเทศเป็นผลให้เหล่าพระสงฆ์ได้อาศัยพระไตรปิฎกฉบับพิมพ์ เป็นแนวทางในการศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมจนกระทั่งปัจจุบัน และได้พระ
ราชทานไปยังสถานศึกษา ในต่างประเทศอีกหลายแห่ง ทำให้พระพุทธศาสนาเจริญแพร่หลายในต่างประเทศด้วย
           รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นในวัดตามหัวเมืองต่างๆ เท่ากับเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลาย และเป็นการวางรากฐานโรงเรียนหัวเมืองในปัจจุบันด้วย แต่การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมุ่งที่จะให้พระสงฆ์มีบทบาทในการบำรุงส่งเสริมการศึกษาของชาตินั้น ก็มีอุปสรรคอยู่บ้าง กล่าวคือ พระสงฆ์บางกลุ่มยังไม่ยอมรับวิธีการอบรมสั่งสอนแบบใหม่ เป็นเหตุให้งานด้านการศึกษาของราษฎรซึ่งรวมอยู่กับการศึกษาของคณะสงฆ์ เจริญก้าวหน้าไปกว่าเท่าที่ควรจะเป็น ทั้งๆ ที่การบำรุงการศึกษาของราษฎรโดยเสมอภาคนั้น เป็นจุดประสงค์อันแท้จริงที่ทรงยึดถือมาตลอดรัชกาล ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า "เจ้านายราชตระกูลนั้นตั้งแต่ลูกฉันเป็นต้นลงไป ตลอดจนถึงราษฎรที่ต่ำที่สุดจะให้ได้โอกาสเล่าเรียนได้เสมอกันไม่ว่าเจ้าว่าขุนว่าไพร่ เพราะฉะนั้นจึงขอบอกไว้ว่า การเล่าเรียนในเมืองเรานี้จะเป็นของสำคัญที่หนึ่ง ซึ่งฉันจะอุตส่าห์จัดให้เจริญ
ขึ้นจงได้"
           พระบรมราโชบายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับพระสงฆ์ นอกจากการตราพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้ว ยังได้ทรงตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ทั้งฝ่ายมหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย เพื่อให้เกิดความเสมอภาคแก่สงฆ์ทั้งสองฝ่าย พระองค์ทรงสถาปนา "มหา มกุฏราชวิทยาลัย" ขึ้นที่วัดบวรนิเวศวิหาร สำหรับเป็นที่ศึกษาของสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย และเพื่อเป็นอนุสรณ์แก่พระราชบิดา ส่วนอีกสถานหนึ่ง เป็นที่เล่าเรียนของสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ตั้งที่วัดมหาธาตุ เรียกว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เพื่อเฉลิมพระเกียรติของพระองค์เอง สถาบันการศึกษาทั้งสองแห่งดังกล่าว
           ในปัจจุบันยังคงดำเนินการส่งเสริมการศึกษาของสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุติกนิกาย นับเป็นการสืบอายุพระพุทธศาสนาอีกวิธีหนึ่ง พระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้นยังได้แสดงออกให้เห็นจากการสร้างและปฏิสังขรณ์วัดจำนวนมากมาย ทั้งในกรุงและหัวเมือง เช่น พ.ศ. ๒๔๔๒ โปรดฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตร และทรงประกาศมอบวัดให้เป็นที่ประกอบกิจของสงฆ์ และโปรดฯ ให้สร้างวัดขึ้นในโอกาสต่าง ๆ กันเช่น สร้างวัดเทพศิรินทราวาส เพื่ออุทิศ
ถวายพระราชชนนี ทรงให้สร้างวัดราชบพิธ ขึ้นเป็นพระอารามหลวงประจำรัชกาลเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๒ ทรงให้สร้างวัดนิเวศน์ธรรมประวัติขึ้นที่พระราชวังบางปะอิน และเอาพระทัยใส่ในการบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดเป็นอันมาก ดังจะเห็นได้จากจดหมายโต้ตอบ เกี่ยวกับการบูรณะวัดระหว่างพระองค์กับพระมหสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส โดยทรงเป็นผู้กำหนดกะเกณฑ์ลักษณะสิ่งของต่างๆ ที่จะใช้ในการซ่อมแซมด้วยพระองค์เอง
            เป็นการแสดงให้เห็นถึงการเอาพระทัยใส่ในการพระศาสนา เพราะทรงมุ่งหมายจะให้วัดเป็นสถานศึกษาและเป็นแหล่งสืบอายุพระพุทธศาสนาดังกล่าวแล้ว การพระราชกุศลที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนานั้น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงดำเนินมาทุกปีมิได้ขาด เช่นเดียวกับพระมหากษัตริย์องค์ก่อน ๆ เช่น ทรงทอดพระกฐินและทรงบำเพ็ญการพระราชกุศลต่างๆ ส่วนการพระศาสนาในต่างประเทศนั้นพระองค์ทรงใฝ่พระทัยอยู่เป็นนิจเมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ พระองค์ได้เสด็จประพาสถึงดินแดนมอญ พม่า อินเดีย ได้เสด็จนมัสการบริโภคเจดีย์เดิมที่มฤคทายวัน ได้ทรงนำศาสนาวัตถุและภาพพระพุทธเจดีย์มาสู่พระราชอาณาจักร และเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ มาควิส เคอร์ซัน อุปราชของประเทศอินเดีย เห็นว่าพระองค์ทรงดำรงเป็นพุทธศาสนูปถัมภก จึงทูลเกล้าฯ ถวายพระบรมสารีริกธาตุครั้งนั้น ประเทศใกล้เคียงเช่น ญี่ปุ่น พม่า และลังกา ต่างก็แต่งทูตเข้ามาขอพระบรมสารีริกธาตุพระองค์ ก็ทรงแบ่งพระราชทานตามประสงค์เป็นผลให้ความสัมพันธ์กับต่างประเทศมั่นคงขึ้น การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาดังกล่าวแล้วถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคอยู่บ้าง แต่ก็เป็นผลดีต่อประเทศทุกด้านทั้งฝ่ายสงฆ์ และฆราวาส จุดเด่นประการสำคัญที่ช่วยทำให้การทำนุบำรุงประพุทธศาสนาได้รับความสำเร็จ กล่าวคือ การที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเอาพระทัยใส่และติดตามผลเรื่อยมา ทั้งยังได้ทรงเชิญชวนพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ประชาชนทั่วไป ให้ช่วยกันมีส่วนร่วมในการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา เป็นผลให้พระพุทธศาสนาเจริญสืบทอดจนถึงทุกวันนี้
            ด้านการศึกษาของคณะสงฆ์
            ในด้านการาส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรมขึ้นตามวัดต่างๆ เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุและสามเณร ได้ทรงกำหนดให้มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมเป็นประจำทุกปี ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ทั้งฝ่ายมหานิกายและธรรมยุตินิกาย โดยโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งสถาบันการศึกษาชั้นสูงขึ้นสองแห่ง คือ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และ มหามกุฎราชวิทยาลัย เพื่อเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและธรรมยุตินิกายตามลำดับ ในระยะแรกการดำเนินกิจการต่าง ๆ ของสถาบันทั้งสองประสบกับปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง โดยเฉพาะลักษณะการเรียนการสอนและวิธีการสอบ แต่ในที่สุด พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ได้ทรงดำเนินการปรับปรุงและแก้ไขสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
             ซึ่งในปัจจุบันสถาบันทั้งสองยังคงเป็นสถานศึกษาของพระสงฆ์ทั้งสองนิกาย ดังนั้น การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ นอกจากจะทำให้การศึกษาของพระสงฆ์เจริญขึ้นแล้ว ยังเป็นการส่งเสริมให้การศึกษาของชาติเจริญขึ้นด้วย เพราะรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนขึ้นตามวัดทั้งในกรุงและหัวเมือง โดยมีพระภิกษุเป็นครูสอน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างบูรณะและปฏิสังขรณ์วัดทั้งในกรุงและหัวเมืองจำนวนมากมาย เพื่อใช้เป็นแหล่งสืบอายุพระพุทธศาสนาและใช้เป็นสถานศึกษา
             แต่การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมุ่งหวังให้พระสงฆ์มีบทบาทในการส่งเสริมการศึกษาของชาตินั้น มีอุปสรรคอยู่บ้างในระยะแรก จึงทำให้งานด้านการศึกษาของราษฎรเจริญก้าวหน้าช้ากว่าที่ควรจะเป็น แต่ต่อมาอุปสรรคต่าง ๆ ก็หมดสิ้นไปหลังจากรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ใน พ.ศ. ๒๔๔๕ ดังนั้น การจัดการศึกษาขึ้นตามวัด โดยมีพระภิกษุเป็นครูสอนนั้น นับเป็นการส่งเสริมพระพุทธศาสนาให้เจริญแพร่หลาย และเป็นการวางรากฐานการศึกษาโรงเรียนหัวเมือง ในปัจจุบันด้วย
             ส่วนการส่งเสริมการศึกษาของพระสงฆ์ ทั้งการตั้งมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มหามกุฎราชวิทยาลัย และโรงเรียนพระปริยัติธรรมตามวัด ตลอดจนการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นอักษรไทย รวมทั้งการโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมพระไตรปิฎกและหาฉบับที่ขาดหายเพิ่มเติม สิ่งเหล่านี้ช่วยทำให้การศึกษาของพระสงฆ์และประชาชนเจริญขึ้น เพราะในสมัยนั้นพระสงฆ์ทำหน้าที่สอนหนังสือให้แก่ประชาชนในโรงเรียนวัดที่รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งขึ้น จึงส่งผลให้การปรับปรุงประเทศของรัชกาลที่ ๕ ประสบความสำเร็จเพราะทำให้หาคนเข้ารับราชการได้มากขึ้น ทั้งยังเกิดช่องทางที่พวกไพร่บ้านพลเมืองจะได้เลื่อนฐานะทางสังคมเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์สังคมไทย แต่ผลดังกล่าวนับเป็นการปลูกฝังค่านิยมของคนให้นิยมยึดอาชีพรับราชการเรื่อยมาจนทุกวันนี้
             การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของรัชกาลที่ ๕ ยังมีผลทำให้พระสงฆ์มีบทบาททางสังคมมากขึ้น จึงส่งผลให้สภาพสังคมดีขึ้นด้วย เพราะประชาชนได้เรียนรู้หลักธรรมจากพระสงฆ์เป็นแนวทางในการปฏิบัติตนให้เป็นคนดี และยังทำให้ประชาชนเกิดความรู้สึกว่าต่างก็เป็นพุทธศาสนิกชน ย่อมก่อให้เกิดเอกภาพในสังคมไทย นับเป็นผลดีแก่ประเทศอย่างมากในภาวะที่เผชิญกับภัยคุกคามจากจักรวรรดินิยมตะวันตก
                         การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลักษณะต่าง ๆ ถึงแม้ว่าจะประสบอุปสรรคอยู่บ้าง แต่โดยส่วนรวมแล้วผลจากการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาของพระองค์ นับเป็นประโยชน์ต่อประเทศทั้งฝ่ายคณะสงฆ์ ฆราวาสและพระองค์เอง
            จุดเด่นประการสำคัญที่ช่วยส่งเสริมให้การทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในด้านนั้นๆ ประสบความสำเร็จในที่สุดนั้นสืบเนื่องจากการที่ทรงได้รับความช่วยเหลืออย่างดียิ่งจากฝ่ายพระสงฆ์ เจ้านาย ข้าราชการ ตลอดจนประชาชน บุคคลสำคัญที่ช่วยให้งานด้านนี้ของรัชกาลที่ ๕ ประสบความสำเร็จและเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก ก็คือ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ประกอบกับรัชกาลที่ ๕ ทรงเอาพระทัยใส่และติดตามผลเรื่อยมา จึงส่งผลให้พระพุทธศาสนาเจริญสืบทอดมาจนทุกวันนี้ฯ
ประวัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
 มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย เป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์ ซึ่งสมเด็จบรมบพิตร พระราชสมภารเจ้า สมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๒ มีชื่อเดิมว่า "มหาธาตุวิทยาลัย" และมีพระบรมราชโองการเปลี่ยนนามใหม่ว่า "มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย" เมื่อ วันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ. ๒๔๓๙ โดยมีพระราชประสงค์จะให้เป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์สืบไป ดังปรากฏในประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆิกเสนาศน์ราชวิทยาลัยต่อไปนี
          *พระราชปรารถในการก่อพระฦกษ์สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย
          *พระพิมลธรรม พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) สนองพระราชปรารถ
           *ยุคริเริ่มการจัดการศึกษา
          *ยุคปรับปรุงและขยายการศึกษา
           *ยุครับรองปริญญาบัตรและสถานะของมหาวิทยาลัย
พระราชปรารถในการก่อพระฦกษ์สังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัย
              ศุภมัสดุพระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาค ล่วงแล้ว ๒๔๓๙ พรรษา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม จุลศักราช ๑๒๕๘ วานระสังวัจฉระ ภัทรบทมาศ ชุษณปักษ สับตมีดิถี รวิวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทร์ ศก ๑๑๕ กันยายนมาศ เตรสมะมาสาหะคุณพิเศษ ปริเฉทกาลกำหนด
          พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ บดินทรเทพยมหามงกุฎ บุรุศยรัตนราชรวิวงษ วรุตมพงษบริพัตร วรขัตติยราชนิกโรดม จาตุรันตบรมมหาจักรพรรดิราชสังกาศอุภโตสุชาติสังสุทธเคราะหณี จักรกรีบรมนารถ มหามกุฎราชวรางกูร สุจริตมูลสุสาธิต อรรคอุกฤษฐไพบูลย์บูรพาดูลย์กฤษฎาภินิหารสุภาธิการรังสฤษดิ์ ธัญญลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประนต บาทบงกชยุคล ประสิทธิ สรรพศุภผลอุดมบรมสุขุมาล ทิพยเทพาวตารไพศาลเกียรติคุณ อดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ วิสิฐ
ศักดิ์สมญา พินิตประชานารถ เปรมกระมลขัตติยราชประยูร มูลมุขมาตยาภิรมย์ อุดมเดชาธิการ บริบูรณคุณสาร สยามาทินครวรุฒ เมกราชดิลก มหาปริวารนายก อนันต์มหันตวรฤทธิเดช สรรพวิเศษศิรินทร อเนกชนนิกร สโมสรสมมติ ประสิทธิวรยศมโหดม บรมราชสมบัติ นพปดลเสวตฉัตราดิฉัตร ศิริรัตโนปลักษณมหา บรมราชาภิเศกาภิสิต สรรพทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร์ มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชโรดม บรมนารถ- ชาติอาชาไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ อดุลศักดิ์อรรคนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสิตลหฤไทย อโนปไมยบุญการสกลไพศาล มหารัษฎาธิบดินทร์ ปรมินทรธรรมิกราชาธิราช บรมนารถบพิตร พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำริว่า
          “จำเดิมแต่ได้เสด็จเถลิง ถวัลย์ราชสมบัติ บรมราชาภิเศกแล้วมาได้ทรงทะนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้ถาวรรุ่งเรืองเจริญขึ้นโดยลำดับ แต่พระสัทธรรมในพระบรมพุทธสาสนานี้ ย่อมมีเหตุปัจจัยอาศัยกันแลกัน เมื่อพระปริยัติสัทธรรมเจริญแพร่หลายอยู่ พระปฏิบัติสัทธรรม- จึ่งจะเจริญไพบูลย์ได้ เมื่อพระปฏิบัติสัทธรรมไพบูลย์อยู่ พระปฏิเวทสัทธรรมจึงจะสมบูรณ์ได้ พระปริยัติสัทธรรมย่อมเป็นรากเหง้าเค้ามูลแห่งพระศาสนา ๆ จะดำรงอยู่แลเจริญขึ้นก็ด้วยพระปริยัติสัทธรรม การที่จะบำรุงพระปริยัติสัทธรรม อัน
เป็นรากเหง้าของพระพุทธสาสนาให้ไพศาลบริบูรณ์ยิ่งขึ้น ก็ย่อมอาศรัยการบำรุงให้มีผู้เล่าเรียน แลที่เล่าเรียนให้สะดวกยิ่งขึ้น
 การเล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรม ที่เป็นไปอยู่ในเวลานั้น ก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้จัดการบำรุงทั่วไปทุกพระอาราม แต่ยังหาเป็นอันนับว่าบริบูรณ์แท้ไม่ เพราะเป็นแต่สถานที่เล่าเรียนในชั้นต้น จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งวิทยาลัยที่จะเล่าเรียนพระไตรปิฎกแลวิชาชั้นสูงขึ้น ๒ สถาน ๆ หนึ่งเป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตินิกาย ให้ตั้งที่วัดบวรนิเวศวรวิหาร พระอารามหลวง พระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศสมเด็จพระบรมชนกนารถ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกสถานหนึ่ง เป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่าย มหานิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดมหาธาตุราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงนี้ มีนามว่า "มหาธาตุวิทยาลัย" ได้เปิดการเล่าเรียน แต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน รัตนโกสินทร์ ศก ๑๐๘ สืบมา แต่สังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัยนี้ ยังไม่เป็นที่สมควรแก่การเล่าเรียน ในสมัยที่การเรียนเจริญขึ้นสืบมานี้
          จึ่งทรงพระราชดำริที่จะทรงสร้างสังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัยนี้ขึ้นใหม่ให้เป็นสถานอันสมควรแก่การเล่าเรียน การนี้ยังอยู่ในระหว่างพระบรมราชดำริ ยังหาทันตลอดไม่พอประจวบ เวลาที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งมีพระราชประสูติกาล ณ วันพฤหัสบดี เดือนเจ็ดแรมสิบสองค่ำ ปีขาน สัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๒๔๐ ตรงกับวันที่ ๒๗ มิถุนายน รัตนโกสินทร์ศก ๙๗ เสด็จสวรรคต ล่วงไปในวันที่ ๔ มกราคม รัตนโกสินทร์ ๑๑๓ ตรงกับวันศุกร์ เดือนยี่ ขึ้นเก้าค่ำ ปีมะเมีย ฉศก จุลศักราช ๑๒๕๖
          จึงทรงพระราชดำริว่า โดยราชประเพณีที่มีมาแต่ก่อน เมื่อพระบรมวงศ์ที่ได้ดำรงพระเกียรติยศชั้นสูงสวรรคต ก็ได้เคยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ ตามพระเกียรติยศ ณ ท้องสนามหลวง เพื่อเชิญพระศพไปประดิษฐาน พระราชทานเพลิง ณ พระเมรุมาศนั้น ก็การทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่เช่นเคยมานั้น เป็นการเปลืองพระราชทรัพย์ ไปในสิ่งซึ่งมิได้ถาวร แลมิได้เป็นประโยชน์สืบเนื่องไปนาน เป็นการลำบากแก่คนเป็นอันมาก แลได้ประโยชน์ชั่วสมัยหนึ่ง แล้วก็อันตรธานไป
           ครั้งนี้มีสมัยที่จะต้องทำการพระเมรุมาศขนาดใหญ่นั้นขึ้น ควรจะน้อมการทำพระเมรุมาศนั้นมารวมลงในการพระราชกุศล ส่วนศาสนูปถัมภนกิจวิทยาทาน วิหารทานการก่อสร้างสังฆิกเสนาสน์ สำหรับมหาธาตุวิทยาลัยนี้ ให้พระราชกุศลบุญราศีส่วนทักษิณาทาน เนื่องในภารถาวรวัตถุสถาน เป็นที่ตั้งแห่งสาสนธรรมสัมมาปฏิบัติแห่งพุทธบริษัท สัปปุริสชนสำเร็จประโยชน์ อิฐวิบูลผลสืบเนื่องไปตลอดกาลนานแล จะได้เป็นเหตุให้งดเว้นการทำพระเมรุมาศขนาดใหญ่ อันเป็นเครื่องเปลืองประโยชน์เปล่าดังพรรณนามาแล้วนั้น
          จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ดำรัสสั่งให้พระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงษ์ เป็นผู้บัญชาการให้เจ้าพนักงาน ทำการก่อสร้าง วิทยาลัยยอดปรางค์ ๓ ยอด ล้วนแล้วด้วยถาวรภัณฑ์ อันมีกำหนดส่วนยาวแต่ทิศเหนือมาทิศใต้ ๘๘ วา ส่วนกว้างในทิศเหนือ แลทิศใต้นั้น ส่วนละ ๘ วา ๓ ศอก ส่วนกลางตั้งแต่ทิศตะวันตก มาทิศตะวันออก ๒๕ วา ส่วนกว้างในมุขใหญ่ ๑๑ วา ส่วนสูงในร่วมมุขยอดใหญ่นั้น ๒๒ วา ในร่วมยอดน้อยทั้ง ๒ แห่งละ ๑๖ วา ด้วยพระราชทรัพย์ ๕,๔๐๐ ชั่ง
          เพื่อได้เป็นที่เชิญพระบรมศพ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร มาประดิษฐานบำเพ็ญพระราชกุศล ทักษิณาทานมีการมหกรรมแล้ว จะได้เชิญพระบรมศพไปประดิษฐาน ณ พระเมรุมาศขนาดน้อย ณ ท้องสนามหลวง พระราชทานเพลิง
          เมื่อการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนนี้เสร็จ แล้วจะได้ทรงพระราชอุทิศถวายถาวรวัตถุนี้ เป็นสังฆิกเสนาสน์ สำหรับมหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรมแลวิชาชั้นสูงสืบไปภายหน้า พระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า "มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย" เพื่อให้ เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศสืบไป
          พระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้ากรมขุนนริศรานุวัตติวงษ์ ได้ทรงบัญชาการให้เจ้าพนักงานจับการก่อสร้างจำเดิมแต่การรื้อขนปราบแผ้ว ส่วนที่ควรทำนั้น มาแต่วันที่ ๒๔ เมษายน รัตนโกสินทร์ศก ๑๑๔ บัดนี้ การทำรากสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัยนี้ แล้วเสร็จควรจะวางศิลาฤกษ์ได้ จึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุคำประกาศแสดงพระพระราชดำริห์อันนี้ แลแผนที่รูปถ่ายตัวอย่างสังฆิกเสนาสน์นั้น กับหนังสือพิมพ์ราชกิจจานุเบกษา อันเป็นหนังสือพิมพ์ราชการในสมัยนี้ เลือกคัดแต่ฉบับที่สมควร แลเหรียญที่รฤกในการพระราชพิธีต่าง ๆ ทั้งทองเงิน แลเบี้ยทองแดงซึ่งใช้อยู่ปัจจุบันนี้ ลงในหีบศิลาพระฤกษ์แล้วโปรดเกล้าฯ ให้นิมนต์พระสงฆ์ ๑๐ รูป มาเจริญพระพุทธมนต์
          ในที่นี้ ณ เวลาเย็นวันที่ ๑๒ กันยายน รัตนโกสินทร์ ๑๑๕ รุ่งขึ้นเวลาเช้าวันที่ ๑๓ กันยายน พระสงฆ์ได้รับพระราชทานฉัน เวลาบ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยพระบรมวงษานุวงษ์ ข้าทูลลอองธุลีพระบาทผู้ใหญ่ผู้น้อยโดยเสด็จพระราชดำเนินมา ณ ที่ประชุมนี้ ครั้นถึงกำหนดศุภมหามงคลฤกษ ทรงวางศิลาพระฤกษ และอิฐปิดทอง ปิดเงิน ปิดนาค ซึ่งเปน อิฐฤกษลง ณ ที่อันจะได้ก่อสังฆิกเสนาสน์ราชวิทยาลัยเปนประถม โดยนิยมแห่งโบราณราชประเพณีแล้ว นายช่างจะได้ทำการต่อไปให้สำเร็จโดยพระ
บรมราชประสงค์
         ขอผลแห่งพระบรมราชประสงค์ซึ่งจะทรงบำรุงพระพุทธศาสนาให้สถิตย์สถาพร และจะให้วิทยาการแพร่หลาย อันเป็นทางมาแห่ง ประโยชน์ความสุขของมหาชนทั่วไปนี้ จงสำเร็จ โดยพระบรมราชประสงค์ จงทุกประการ เทอญ. (คัดมาจากราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๑๓ แผ่นที่ ๒๕ วันที่ ๒๐ กันยายน ร.ศ. ๑๑๕ หน้า ๒๖๕ - ๒๖๘)
          พระพิมลธรรม พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) สนองพระราชปรารถ
          ในปี พ.ศ. ๒๔๘๙ พระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ รูปที่ ๑๕ มีความประสงค์จะปรับปรุงการศึกษา ภายในสถาบันการศึกษาที่เป็นอยู่ในขณะนั้นให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น จึงมอบหมายให้ พระมหาบุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ ป.ธ.๘ (ปัจจุบันดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมมหาวีรานุวัตร) อาจารย์แห่งมหาธาตุวิทยาลัย และบรรณารักษ์ห้องสมุดมหาธาตุวิทยาลัย ซึ่งกำลังปรับปรุงกิจการห้องสมุดของมหาธาตุวิทยาลัย ได้ช่วยรวบรวมความเป็นมาด้านการจัดการศึกษาของมหาธาตุวิทยาลัยทั้ง
ปวง เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานทางเอกสารของมหาธาตุวิทยาลัยสืบไป
          เมื่อพระมหาบุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ ได้ไปติดต่อกับนายธนิต อยู่โพธิ์ หัวหน้าแผนกวรรณคดี ได้ให้ความอนุเคราะห์ด้วยดี และได้ขอความร่วมมือจากนายยิ้ม ปัณฑยางกูร หัวหน้ากองจดหมายเหตุ กรมศิลปากร ช่วยอำนวยความสะดวกอีกต่อหนึ่ง และได้พบเอกสารสำคัญที่เกี่ยวกับ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เอกสารที่พบนี้ คือ ลายพระหัตถ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีไปถึงหม่อมเจ้าประภากร ลงวันที่ ๒๓ กันยายน ร.ศ. ๑๑๕ ดังจะขออัญเชิญ สำเนาลายพระราชหัตถ์ มาแสดงดังต่อไปนี้
          เมื่อพระมหาบุญเลิศ ทตฺตสุทฺธิ ได้พบลายพระหัตถ์นี้แล้ว ได้นำสำเนาลายพระหัตถ์ไปถวายพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) ซึ่ง พระพิมลธรรมได้นำเรื่องนี้ไปปรึกษาหารือกับพระเถรานุเถระในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ และต่างวัด โดยทุกรูปเห็นพ้องต้องกันว่า สมควร ที่จะได้จัดการศึกษาของพระสงฆ์ให้เป็นไปตามพระราชปณิธานที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระราชทานไว้* (*ความนี้ปรากฏในส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต ชื่อเรื่อง "พัฒนาการของมหาวิทยาลัยสงฆ์ในประเทศไทย" ของ นายมนัส เกิดปรางค์, พ.ศ. ๒๕๒๗.) จนกระทั่งในที่สุดพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทตฺตเถร) จึงได้มีหนังสือนิมนต์พระเถระทั้งจากวัดมหาธาตุ และวัดอื่นๆ จำนวน ๕๗ รูป และฆราวาสอีกจำนวนหนึ่งมาประชุมกัน ณ หอปริยัติ วัดมหาธาตุฯ ในวันจันทร์ที่ ๒๓ ธันวาคม ๒๔๘๙ เวลา ๑๗.๐๐ น. โดยถือเป็นการประชุมที่ด่วนมาก และลับเฉพาะ จะสังเกตเห็นได้ชัดก็คือหนังสือนัดประชุม ออกเมื่อวันที่ ๒๒ ธันวาคม เพื่อนิมนต์เข้าประชุมวันที่ ๒๓ ธันวาคม เป็นการออกหนังสือเชิญล่วงหน้าเพียงหนึ่งวันเท่านั้น ดังปรากฏ ตัวอย่าง หนังสือเชิญประชุม ดังนี้
          ผู้ที่ได้รับอาราธนาหรือเชิญเข้าประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วยทั้งฝ่ายบรรพชิต ๗ รูป และฆราวาส ๔ คน ซึ่งทุกท่านจะได้รับ เอกสารบันทึกโครงการปรับปรุงมหาธาตุวิทยาลัย หรือ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดทำโดย หลวงวิจิตรวาทการ ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการให้ถือว่าบันทึกนี้เป็นความลับ และอ่านได้เฉพาะผู้ที่ได้รับเชิญมาประชุมเท่านั้น
 ยุคริเริ่มการจัดการศึกษา
              เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านการพัฒนาบุคลากรของประเทศให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน มีความสามารถในการรักษา และเผยแผ่พระพุทธศาสนาให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น พระพิมลธรรม ( ช้อย ฐานทัตตมหาเถร) อธิบดีสงฆ์วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ในสมัยนั้นจึงจัดประชุมพระเถรานุเถระฝ่ายมหานิกาย จำนวน ๕๗ รูป เมื่อวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ และประกาศให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงในระดับมหาวิทยาลัย เปิดสอนระดับปริญญาตรี คณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรกเมื่อวันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ และมีพัฒนาการตามลำดับ ดังนี้
          •  พ.ศ. ๒๕๐๐ ปรับเปลี่ยนระบบการวัดผลมาเป็นระบบหน่วยกิต โดยกำหนดให้นิสิตต้องศึกษา อย่างน้อย ๑๒๖ หน่วยกิต และปฏิบัติศาสนกิจ ๑ ปีก่อนรับปริญญาบัตร
          •  พ.ศ. ๒๕๐๕ เปิดสอนคณะครุศาสตร์
          •  พ.ศ. ๒๕๐๖ เปิดสอนหลักสูตรแผนกอบรมครูศาสนศึกษา ระดับประกาศนียบัตรและเปิดสอน คณะเอเซียอาคเณย์และเปลี่ยนเป็นคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๖
          •  พ.ศ. ๒๕๑๒ ปรับหลักสูตรแผนกอบรมครูศาสนศึกษาเป็นวิทยาลัยครูศาสนศึกษา และปรับเปลี่ยนหน่วยกิตเป็น ๒๐๐ หน่วยกิต
           การจัดการเรียนการสอนช่วง ๒ ทศวรรษแรก ยังไม่ได้รับการสนับสนุนจากคณะสงฆ์และรัฐเท่าที่ควร ทำให้ประสบปัญหาด้านสถานะของมหาวิทยาลัย และงบประมาณเป็นอย่างมาก แต่ก็สามารถจัดการศึกษามาได้อย่างต่อเนื่อง
 ยุคปรับปรุงและขยายการศึกษา
            พ.ศ. ๒๕๑๒ คณะสงฆ์ โดยมหาเถรสมาคม ได้ออกคำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่อง " การศึกษาของมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๒ " และ เรื่อง " การศึกษาของสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๒ " คำสั่งทั้ง ๒ ฉบับนี้ ส่งผลให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มี สถานะเป็นสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย โดยสมบูรณ์
            พ.ศ. ๒๕๒๑ เริ่มขยายการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาไปยังส่วนภูมิภาค เริ่มตั้งวิทยาเขตแห่งแรกที่ จังหวัดหนองคาย และได้ขยายไปยังจังหวัดอื่นๆ ที่มีความพร้อมด้านบุคลากร งบประมาณ อาคารสถานที่ ปัจจุบันมหาวิทยาลัยมีวิทยาเขตใน กำกับดูแล ทั่วประเทศ ๑๐ แห่ง วิทยาลัยสงฆ์ ๔ แห่ง และ ศูนย์การศึกษา ๑ แห่ง คือ

o วิทยาเขตหนองคาย ตั้งอยู่ที่วัดศรีษะเกษ อ. เมือง จ. หนองคาย จัดตั้งเมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๒๑

o วิทยาเขตนครศรีธรรมราช ตั้งอยู่ที่วัดแจ้ง อ. เมือง จ. นครศรีธรรมราช จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๘

o วิทยาเขตเชียงใหม่ ตั้งอยู่ที่วัดสวนดอก อ. เมือง จ. เชียงใหม่ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๗

o วิทยาเขตขอนแก่น ตั้งอยู่ที่วัดธาตุเมืองเก่า อ. เมือง จ. ขอนแก่น จัดตั้งเมื่อวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙

o วิทยาเขตนครราชสีมา ตั้งอยู่ที่บ้านหัวถนน ถนนชาติพัฒนา ตำบลหัวทะเล อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา รหัสไปรษณีย์ ๓๐๐๐๐ โทรศัพท์ (๐๔๔) ๒๕๔๘๙๑, โทรสาร ๒๖๔๕๖๐ จัดตั้งเมื่อวัน ที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๙

o วิทยาเขตอุบลราชธานี ตั้งอยู่ที่วัดมหาวนาราม อ. เมือง จ. อุบลราชธานี จัดตั้ง เมื่อ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

o วิทยาเขตแพร่ ตั้งอยู่ที่วัดพระบาทมิ่งเมือง อ. เมือง จ. แพร่ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

o วิทยาเขตสุรินทร์ ตั้งอยู่ที่วัดศาลาลอย อ. เมือง จ. สุรินทร์ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๐

o วิทยาเขตพะเยา ตั้งอยู่ที่วัดศรีโคมคำ อ. เมือง จ. พะเยา จัดตั้งเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคมพ.ศ. ๒๕๓๔

o วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส ตั้งอยู่ที่วัดมหาสวัสดิ์นาคพุฒาราม อ. พุทธมณฑล จ. นครปฐม จัดตั้งเมื่อวันที่ ๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๕
          พ.ศ. ๒๕๒๖ มหาวิทยาลัยได้ปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรระดับปริญญาตรีใหม่ โดยลดจำนวนหน่วยกิตจาก ๒๐๐ หน่วย กิต ให้เหลือเพียง ๑๕๐ หน่วยกิต และปรับปรุงระบบการบริหารวิชาการใหม่ โดยแบ่งออก เป็น ๔ คณะ คือ คณะพุทธศาสตร์ คณะครุศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ และ คณะสังคมศาสตร์
          ยุครับรองปริญญาบัตรและสถานะของมหาวิทยาลัย
              พ.ศ. ๒๕๒๗ รัฐบาล โดยการนำของ ฯพณฯ พล.อ. เปรม ติณสูลานนท์ ได้ดำเนินการ เสนอร่างพระราชบัญญัติกำหนด วิทยฐานะ ผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา โดยรัฐสภาได้ให้ความเห็นชอบ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงลงพระปรมาภิไธย แล้วประกาศใช้เป็นกฎหมายตั้งแต่วันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ เป็นต้นมา มีผลทำให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีศักดิ์และสิทธิแห่งปริญญา เช่นเดียวกับผู้สำเร็จการศึกษาในระดับเดียวกันจากสถาบันการศึกษาอื่นๆ ที่รัฐให้การรับรอง
         พ.ศ. ๒๕๓๔ มหาวิทยาลัยได้จัดตั้งศูนย์การศึกษาที่วัดศรีสุดาราม เขตบางขุนนนท์ กรุงเทพฯ ซึ่งปัจจุบันใช้เป็นสถานที่ ศึกษาของนิสิตปีที่ ๑ - ๔ ของคณะครุศาสตร์ มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์
        พ.ศ. ๒๕๓๕ คณะกรรมการการศึกษาของสงฆ์ ซึ่งมีสมเด็จพระสังฆราชทรงเป็นประธานได้ออกระเบียบคณะกรรมการการศึกษาของสงฆ์ ว่าด้วยการจัดการศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๓๕ โดยมหาวิทยาลัยสามารถจัดการศึกษาและการบริหารให้เป็นไปตามระบบสากล (คณะเอเซียอาเณย์และเปลี่ยนเป็นคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์เมื่อพ.ศ.๒๕๑๖)
          พ.ศ. ๒๕๔๐ แม้มหาวิทยาลัยจะมี พ.ร.บ. กำหนดวิทยาฐานะของผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ แล้วก็ตาม แต่ก็ยังไม่มีการรับรองสถานะภาพ ความเป็นนิติบุคคลของมหาวิทยาลัยเหมือนมหาวิทยาลัยทั่วไป จึงทำให้ไม่สามารถขยายการจัดการศึกษาในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ตามวัตถุประสงค์และนโยบายของมหาวิทยาลัยได้
            ดังนั้น จึงมีความพยายามในการผลักดันให้มีการดำเนินการตามกฎหมายหรือพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเป็นการเฉพาะ โดยใช้เวลาในการดำเนินการเป็นเวลานานถึง ๕๐ ปี จนกระทั่ง พ.ศ. ๒๕๔๐ รัฐบาล โดยการนำของ ฯพณฯ พล.อ ชวลิต ยงใจยุทธ ได้เสนอให้รัฐสภาตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ และประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม
พ.ศ. ๒๕๔๐ ส่งผลให้มหาวิทยาลัย มีพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ในกำกับของรัฐบาล และเป็นนิติบุคคลที่ไม่เป็นส่วนราชการและไม่เป็นรัฐวิสาหกิจ เน้นจัดการศึกษาวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

สรุปพัฒนาการของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน
วัน เดือน ปี
เหตุการณ์
สถานที่
๘ พ.ย. ๒๔๓๒




๑๘ ก.ย. ๒๔๓๕


๑๓ ก.ย. ๒๔๓๙

๑๐ ม.ค. ๒๔๙๐




๓๐ ม.ค. ๒๔๙๐


๑๘ ก.ค. ๒๔๙๐

...๒๔๙๐
๑ ก.ค. ๒๔๙๒

๑๘ ก.ค. ๒๔๙๒

...๒๔๙๓
...๒๔๙๗
๒๐ ก.ย. ๒๔๙๘
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้า ให้ย้ายการบอกพระปริยัติธรรมจากเก๋งจีนหน้าวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปตั้งที่วัดมหาธาตุ เพื่อให้เป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายและพระราชทานนามว่า มหาธาตุวิทยาลัย
รัชกาลที่ ๕ ทรงมีลายพระหัตถเลขาถึงพระยาภาสกรวงษ์เสนาบดี กระทรวงธรรมการ ปรารถถึงการที่ทรงจะเปลี่ยนชื่อมหาธาตุราชวิทยาลัยเป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัย เป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระพิมลธรรม ( ช้อย ฐานทตฺตเถร) ประชุมพระเถรานุเถระฝ่ายนิกาย ๕๗ รูป เพื่อประกาศให้มีการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา และประกาศใช้ระเบียบมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พุทธศักราช ๒๔๙๐ พร้อมทั้งประกาศแต่งตั้งสมาชิกสภามหาวิทยาลัย คณะแรก
ประชุมสภามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยครั้งแรก เพื่อเลือกตั้ง อธิการบดี เลขาธิการและคณบดี รวมทั้งตั้งกรรมาธิการแผนกต่างๆของมหาวิทยาลัย
ประกอบพิธีเปิดเรียนในชั้นอบรมพื้นความรู้ให้แก่พระนิสิตรุ่นแรกของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เปิดบริการมหาจุฬาบรรณาคาร
เปิดดำเนินการการศึกษาแผนกบาลีมัธยมศึกษา ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เปิดดำเนินการการศึกษาแผนกบาลีเตรียมอุดมศึกษา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย อย่างเป็นรูปธรรม
จัดตั้งคณะพุทธศาสตร์ แต่เปิดสอนครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๔๙๔
มีผู้สำเร็จพุทธศาสตร์บัณฑิต ( พธ.บ.) รุ่นแรก ๖ รูป
สมเด็จพระสังฆราชเจ้ากรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์อาคารเรียนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย๓ชั้น
วัดมหาธาตุฯ




พระบรมมหาราชวัง


พระบรมมหาราชวัง

ตำหนักสมเด็จฯ
วัดมหาธาตุฯ



ตำหนักสมเด็จฯ
วัดมหาธาตุฯ

ตำหนักสมเด็จฯ
วัดมหาธาตุฯ
ตึกไสยจิตต์
วัดพระเชตุพนฯ

วัดมหาธาตุฯ

วัดมหาธาตุฯ
วัดมหาธาตุฯ
วัดมหาธาตุฯ

วัน เดือน ปี
เหตุการณ์
สถานที่
๑๐ ธ.ค. ๒๔๙๙

...๒๕๐๐

๑๓ ก.ค. ๒๕๐๑


๓ มิ.ย. ๒๕๐๓




๑ ก.ค. ๒๕๐๔
๑ มี.ค. ๒๕๐๖


๙ พ.ค. ๒๕๐๖


๒๑ พ.ค. ๒๕๐๖





๑ ก.ค. ๒๕๐๖



๑๓ ม.ค. ๒๕๐๗

จัดตั้งสำนักธรรมวิจัย เพื่อสนองงานเผยแผ่และกิจกรรมต่างๆของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ประกาศใช้หลักสูตรระบบทวิภาคหรือซีเมสเตอร์และระบบหน่วยกิตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย
จุดกำเนิดโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์แห่งแรกของประเทศไทย ที่ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยลัย และขยายสาขาออกไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ
มีคณะผู้ศรัทธานำโดยนายสำราญ กัลป์ยาณรุจ นายปรีดา ราม-อินทรา และคณะ ได้มอบที่ดินบ้านบางปลากด ต.บางปลากด อ.องครักษ์ จ.นครนายก จำนวน ๑๕๖ ไร่ ๒ งาน ๖๐ ตารางวา ให้แก่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยในชั้นแรกโอนฝากไว้กับวัดมหาธาตุ
เปิดคณะครุศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นคณะที่สอง
เปิดการประชุมครั้งแรกเพื่อดำเนินการสร้างพระไตรปิฎกบาลี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต วัดพระชุพนฯ เป็นประธาน
เปิดแผนกอบรมครูศาสนศึกษาขึ้น เป็นหลักสูตรวิชาสามัญชั้น ป.กศ. ต่อมาปี ๒๕๑๒ ได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูศานศึกษา และได้ยุบไปรวมกับคณะครุศาสตร์ในปี ๒๕๓๐
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๗๐,๐๐๐.๐๐ บาท สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์ จำนวน ๗๐,๐๐๐.๐๐ บาท สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีทรงบริจาค จำนวน ๗๐,๐๐๐.๐๐ บาท เพื่อสมทบทุนการจัดสร้างพระไตรปิฎกบาลี มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เปิดการศึกษาคณะเอเชียอาคเนย์ ต่อมาปี ๒๕๐๗ ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ จนกระทั่งปีการศึกษา ๒๕๒๙ ได้แยกออก เป็น ๒ คณะ คือ คณะมนุษยศาสตร์ และคณะสังคมศาสตร์
จัดตั้งมูลนิธิมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัดมหาธาตุฯ

วัดมหาธาตุฯ

วัดมหาธาตุฯ


วัดมหาธาตุฯ




วัดมหาธาตุฯ
วัดมหาธาตุฯ


วัดมหาธาตุฯ


จิตรลดารโหฐาน





วัดมหาธาตุฯ



วัดมหาธาตุฯ
วัน เดือน ปี
เหตุการณ์
สถานที่
๒๓ พ.ย. ๒๕๐๗


...๒๕๑๑

๒๕ ก.ย. ๒๕๑๒

๑๖ พ.ค. ๒๕๑๒

๑๗ ก.พ. ๒๕๑๓

๗ มิ.ย. ๒๕๑๓

๒๙ ก.ค. ๒๕๑๔

๑๒ ก.ค. ๒๕๑๗

๑๘ พ.ย. ๒๕๑๘


๕ ส.ค. ๒๕๒๒


๘ พ.ย. ๒๕๒๒

๒๔ ก.ย. ๒๕๒๔

...๒๕๒๖

...๒๕๒๖
นางบุญรอด ไพสิษฎิ์ ได้บริจาคที่ดินจำนวน ๗ ไร่ ๒ งาน ๓๒ ตารางวา บริเวณปากตรอกจระเข้ ต.บางนาเกร็ง สมุทรปราการ แก่ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ก่อตั้งอภิธรรมโชติกะวิทยาลัย วัดมหาธาตุฯ (ย้ายมาจากวัดระฆังโฆสิตาราม)
ยกฐานะแผนกอบรมครูศาสนศึกษา เป็นวิทยาลัยครูศาสนศึกษา (ป.กศ.สูง)
มหาเถรสมาคม มีประกาศคำสั่งเรื่องการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ให้มหาจุฬาฯเป็นการศึกษาของคณะสงฆ์
มีการจัดตั้งสมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตหนองคาย มีพื้นฐานมาจาก “วิทยาลัยสงฆ์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ”
ตั้งวิทยาลัยสงฆ์ภาคทักษิณ แต่ต่อมาปี ๒๕๒๘ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครศรีธรรมราช
ตกลงจัดซื้อที่ดินในนามมูลนิธิ มจร.สร้างมหาจุฬาอาศรม
ที่ อ.ปากช่อง
วางศิลาฤกษ์สร้างหอประชุมศูนย์พัฒนาศาสนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยแคมป์สน ส่วนเจดีย์อิสรภาพนั้นวางศิลาฤกษ์เมื่อ ๒๕ พ.ค. ๒๕๑๘
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จมาเป็นองค์ประธานงานอนุสรณ์ครบรอบปีที่ ๓๒ ของ มหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย
จัดงานและก่อตั้งสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ เนื่องในโอกาสที่ มจร. ครบรอบ ๙๐ ปี
ตั้งสถาบันวิปัสสนาธุระ

แยกคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์ เป็น คณะมนุษยศาสตร์ และ คณะสังคมศาสตร์
ประกาศใช้หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต ไม่น้อยกว่า ๑๕๐ หน่วยกิต
สมุทรปราการ


วัดมหาธาตุฯ

วัดมหาธาตุฯ

วัดมหาธาตุฯ

มหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย
วัดศรีษะเกษหนองคาย
วัดแจ้งนครศรีธรรมราช
นครราชสีมา

เพชรบูรณ์


วัดมหาธาตุฯ


มหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วัน เดือน ปี
เหตุการณ์
สถานที่
๒๗ ก.ย. ๒๕๒๗
๑ มี.ค. ๒๕๒๗

๒๐ ก.ค. ๒๕๒๘
๓ ต.ค. ๒๕๒๙
๓๐ ต.ค. ๒๕๒๙

...๒๕๓๐

๓๐ มี.ค. ๒๕๓๐

๒๓ ม.ค. ๒๕๓๑
๒๔ มี.ค. ๒๕๓๑
๘ พ.ย. ๒๕๓๒
๒๐ ส.ค. ๒๕๓๔
๑๓ มี.ค. ๒๕๓๕




๑๒ ก.ย. ๒๕๓๕


๑ ก.ย. ๒๕๓๕
ประกาศใช้พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗
ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

ประกาศจัดตั้งโรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย

ตั้งมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น
ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา

ตั้งมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี เดิมทีทีการเปิดวิทยาลัยครูศาสนาศึกษา มจร. มาตั้งแต่ ๒๕๒๗
ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาแพร่

ตั้งบัณฑิตวิทยาลัย (ปริญญาโท)

ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

จัดงานจุฬาฯในรอบศตวรรษ (๑๐๐ ปี)
ตั้งมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

พระสุเมธาธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัย นำคณะผู้บริหารและกรรมการชำระพระไตรปิฎก จำนวน ๑๕ ท่าน เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เพื่อถวายพระไตรปิฎก จำนวน ๙ ชุด และอรรถกถาฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๙ ชุด
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาเป็นองค์ประธานเปิดงานสัปดาห์สมโภชพระไตรปิฎกฯ ภาษาบาลีฉบับมหาจุฬาฯ
ยกฐานะสถาบันฬีพุทธโฆส เป็นมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย วิทยาเขตบาฬีศึกษาพุทธโฆส นครปฐม


วัดสวนดอก เชียงใหม่
มหาจุฬาลงกรณ-ราชวิทยาลัย
วัดธาตุ ขอนแก่น
วัดพระนารายณ์ นครราชสีมา
วัดมหาวนาราม อุบลราชธานี
วัดพระบาทมิ่งเมือง แพร่
วัดมหาธาตุฯ

วัดศาลสลอย สุรินทร์
วัดมหาธาตุฯ
วันศรีดคมคำ พะเยา

พระตำหนักสวน-จิตรดารโหฐาน



วัดมหาธาตุฯ


วัดมหาสวัสดิ์นาค-พุฒาราม
วัน เดือน ปี
เหตุการณ์
สถานที่
๒๕๓๕-๒๕๓๖

๒๒ ธ.ค. ๒๕๓๗

มี.ค. ๒๕๓๘
๑๓ ก.ย. ๒๕๓๙


๒๘ ม.ค. ๒๕๔๐


๒๒ ส.ค. ๒๕๔๐
๒๑ ก.ย. ๒๕๔๐

๑ ต.ค. ๒๕๔๐


๘ พ.ย. ๒๕๔๐

-๙ พ.ย. ๒๕๔๐
เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม ผพระราชพิพัฒน์โกศล) สร้างอาคารมหาจุฬาฯ แห่งที่ ๒
จัดแสดงมุทิตาสักการะพระรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) เนื่องในโอกาสที่องค์การ UNESCO ถวายรางวัล “การศึกษาเพื่อ-สันติภาพ”
ประกาศใช้หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต พ.ศ. ๒๕๓๘
สมเด็จพระบรมโอรสธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดอาคารเฉลิมพระเกรียติฯที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัยศูนย์วัดศรีสุดาราม
คณะเจ้าหน้าที่ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย จำนวน ๑๔ รูป ได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เพื่อถวายพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัย จำนวน ๓ เล่ม
วุฒิสภาได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญติมหาวิทยาลัย ที่แก้ไขโดยกรรมาธิการร่วม
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงลงพระปรมาภิไธย พระ-ราชบัญญติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรรราชวิทยาลัยพ.ศ. ๒๕๔๐
พระราชบัญญติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้รับประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่มที่ ๑๑๔ ตอนที่ ๕๑ ก
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามบรมมกุฎราชกุมาร เสด็จเป็นองค์ประธานทรงเปิดงานอนุสรณ์ครบ ๕๐ ปี อุดมศึกษา มจร.
จัดงานครบ ๕๐ ปี อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

วัดศรีสุดาราม

วัดมหาธาตุฯ


มหาจุฬาฯ
วัดศรีสุดาราม


พนะตำหนักนนทบุรี


รัฐสภา

พระตำหนักสวนจิตรดารโหฐาน
ส่วนงานราชกิจจา-นุเบกษา

วัดมหาธาตุฯ

วัดมหาธาตุฯ

สุภาษิต ปรัชญา ปณิธาน วิสัยทัศน์ พันธกิจ
สุภาษิต
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต
แปลว่า ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ปรัชญา
จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม
ปณิธาน
ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์
วิสัยทัศน์
ศูนย์กลางการศึกษาพระพุทธศาสนาระดับนานาชาติ
ที่สร้างคนดีและเก่ง อย่างมีสมรรถภาพ
จัดการศึกษาและวิจัยดีอย่างมีคุณภาพ
บริการวิชาการดีอย่างมีสุขภาพ
บริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพ
ผลิตคนดีและเก่ง อย่างมีสมรรถภาพ
            ผลิตบัณฑิตและพัฒนาบุคลากรให้เป็นผู้มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ ใฝ่คิด เป็นผู้นำจิตใจและปัญญา มีโลกทัศน์กว้างไกล มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม
จัดการศึกษาและวิจัยดีอย่างมีคุณภาพ
           จัดการศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณาการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนา มนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล และสันติสุข
บริการวิชาการดีอย่างมีสุขภาพ
มุ่งมั่นในการให้บริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่คณะสงฆ์และสังคม รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ และความร่วมมืออันดีระหว่างพุทธศาสนิกชนในระดับชาติ และนานาชาติ เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ และวัฒนธรรม อันเนื่องด้วยพระพุทธศาสนา
          บริหารดีอย่างมีประสิทธิภาพ
           มุ่งพัฒนาการบริหารจัดการตามหลักนิติธรรม จริยธรรม ความสำนึกรับผิดชอบ การมีส่วนร่วม ความโปร่งใสตรวจสอบได้ และความคุ้มค่า รวมทั้งสนับสนุน ส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเพื่อก้าวไปสู่ความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง
          พันธกิจ
          . ผลิตบัณฑิต
          ผลิตและพัฒนาบัณฑิตให้มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ๙ ประการ คือ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงของสังคม มีโลกทัศน์ กว้างไกล มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเอง ให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
          . วิจัยและพัฒนา
          การวิจัยและค้นคว้า เพื่อสร้างองค์ความรู้ควบคู่ไปกับกระบวนการเรียนการสอน เน้นการพัฒนาองค์ความรู้ในพระไตรปิฎก โดยวิธีสหวิทยาการแล้วนำองค์ความรู้ที่ค้นพบมาประยุกต์ใช้แก้ปัญหา ศีลธรรม และจริยธรรมของสังคม รวมทั้งพัฒนา คุณภาพงานวิชาการด้านพระพุทธศาสนา
          . ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม
          ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม ตามปณิธานการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ด้วยการปรับปรุงกิจกรรมต่างๆ ให้ประสานสอดคล้อง เอื้อต่อการส่งเสริม สนับสนุนกิจการคณะสงฆ์ สร้างความรู้ ความเข้าใจหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา สร้างจิตสำนึกด้านคุณธรรม จริยธรรมแก่ประชาชน จัดประชุม สัมมนา และฝึกอบรม เพื่อพัฒนาพระสงฆ์และบุคลากรทางศาสนา ให้มีศักยภาพในการธำรงรักษา เผยแผ่หลักคำสอน และเป็นแกนหลักในการพัฒนาจิตใจในวงกว้าง
          . ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
          เสริมสร้างและพัฒนาแหล่งการเรียนรู้ด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ให้เอื้อต่อการศึกษา เพื่อสร้างจิตสำนึกและความภาคภูมิใจในความเป็นไทย สนับสนุนให้มีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่น มาเป็นรากฐานของการพัฒนาอย่างมีดุลยภาพ
ตราประจำมหาวิทยาลัย


๑. พระจุลมงกุฎ (พระเกี้ยว) 
พระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ตรงฐานของพระเกี้ยวมีอักษรย่อว่า ม จ ร และมีรูปธรรมจักรวางเป็นฉากเบื้องหลัง


๒. เป็นรูปวงกลมครอบธรรมจักรส่วนกลางเป็นพระเกี้ยว 
เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ รอบกรอบด้านบนมีอักษรภาษาบาลีว่า ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต รอบกรอบด้านล่างมีอักษรว่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การพัฒนาหลักสูตร
          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษามาโดยตลอด แบ่งออกเป็น ๖ ระยะ ดังนี้
ระยะที่ ๑ หลักสูตรมหาธาตุวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๓๒
          การจัดหลักสูตรในระยะแรก มีเฉพาะหลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกบาลี สอบโดยการแปลด้วยปากเปล่า
          พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๔๔๓ จัดทำหลักสูตรขึ้นมา ๒ แบบ คือแบบเก่าและใหม่ มีการใช้หนังสือไทยเป็นแบบเรียน สอบด้วยวิธีการเขียน
          พ.ศ.๒๔๕๔ จัดทำหลักสูตรปริยัติธรรมแบบใหม่สนองพระประสงค์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ประกอบด้วยหลักสูตรแผนกบาลี ตั้งแต่บาลีไวยากรณ์ถึงเปรียญธรรม ๙ ประโยค และแผนกธรรม ๓ ชั้น
ระยะที่ ๒ หลักสูตรยุคบุกเบิกในรูปมหาวิทยาลัย พ.ศ. ๒๔๙๐
          หลักสูตรในยุคนี้ เป็นหลักสูตรที่ตระหนักถึงความรู้พื้นฐานด้านเปรียญธรรม นักธรรม และมัธยมศึกษา ซึ่งมีความแตกต่างระดับกันและไม่สัมพันธ์กัน มหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องกำหนดหลักสูตรและคุณสมบัติของผู้เรียนให้มีความรู้พื้นฐาน ตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า ส่วนผู้ที่ได้เปรียญธรรมแล้วแต่วิทยฐานะนั้นไม่สมบูรณ์ หรือไม่มีเลย ต้องเข้าอบรมความรู้พื้นฐานของมหาวิทยาลัยก่อน
          มหาวิทยาลัยจึงได้กำหนดหลักสูตรแบบเบ็ดเสร็จให้เอื้ออำนวยแก่พระภิกษุสามเณร ครอบคลุมทั้ง๒ ระดับ คือ
          ๑. หลักสูตรระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
          เนื่องจากการจัดการระยะแรกมหาวิทยาลัย ยังไม่สามารถเปิดการศึกษาระดับอุดมศึกษาได้โดยตรงเพราะผู้เรียนยังขาดคุณสมบัติพื้นฐาน ดังนั้นจึงต้องจัดหลักสูตรขั้นพื้นบานขึ้น ดังนี้
         
          ๑.๑ แผนกบาลี เตรียมอุดมศึกษา เป็นการผสมผสานหลักสูตร โดยระยะแรกนี้แบ่งหลักสูตรออกเป็นดังนี้
                   ๑)   ภาษาบาลีไม่ต่ำกว่าประโยค ป.ธ. ๔
                   ๒)   ภาษาไทย
                   ๓)   ภาษาอังกฤษ
                   ๔)   ภาษาฝรั่งเศสเบื้องต้น
                   ๕)   ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
                   ๖)   วิทยาศาสตร์
                   ๗)   คณิตศาสตร์
                   ๘)   อนามัยวิทยา
                   ๙)   ลัทธิธรรมเนียม
                   ๑๐) ศาสนพิธี
          ๑.๒ หลักสูตรแผนกบาลีอบรมศึกษา ๒ ปี
                   พ.ศ. ๒๔๙๒ ได้เปิดแผนกบาลีอบรมศึกษา มี ๒ ชั้น คือ
                   ๑) ชั้นบาลีอบรมศึกษาปีที่ ๑ สอนระดับประถมตอนปลาย
                   ๒) ชั้นบาลีอบรมศึกษาปีที่ ๒ สอนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
          ๑.๓ หลักสูตรแผนกบาลีมัธยมศึกษา ๖ ปี
                   เปิดการศึกษาเมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๒ และในปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ได้แยกแผนกบาลี    ออกเป็น ๒ ระดับ คือ
                   ๑) แผนกบาลีมัธยมศึกษาตอนต้น มี ๓ ชั้น คือ มัธยมศึกษา ๑ – ๓
                   ๒) แผนกบาลีมัธยมศึกษาตอนปลาย มี ๓ ชั้น คือ มัธยมศึกษา ๔ – ๖
                   โครงสร้างหลักสูตรมีดังนี้
                   ๑) ภาษาบาลี
                   ๒) นักธรรมถึงชั้นเอก
                   ๓) ภาษาไทย
                   ๔) ภาษาอังกฤษ
                   ๕) ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์
                   ๖) วิทยาศาสตร์
                   ๗) คณิตศาสตร์
                   ๘) ศาสนพิธี
          ๒. หลักสูตรระดับบาลีอุดมศึกษา
                    พ.ศ. ๒๔๙๓ เปิดการศึกษาคณะพุทธศาสตร์เป็นคณะแรก กำหนดหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรบัณฑิต (Bachelor of Buddhism) ๔ ปี แบ่งหลักสูตรออกเป็น ๑๖ หมวดวิชา เน้นหนักในด้านศาสนาและปรัชญา สังคมศาสตร์ และภาษาศาสตร์ ยังไม่มีการแยกวิชาเอก วิชาโท และยังไม่มีระบบหน่วยกิต
ระยะที่ ๓ หลักสูรปรับให้เข้ามาตรฐานมหาวิทยาลัยสากล พ.ศ. ๒๕๐๐
          ๑. หลักสูตรระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ได้แก่
          ๑.๑ หลักสูตรบาลีเตรียมอุดมศึกษา ๒ ปี
          ๑.๒ หลักสูตรบาลีอบรมศึกษา ๒ ปี
          ๑.๓ หลักสูตรบาลีสาธิตศึกษา ๖ ปี
          ๑.๔ หลักสูตรโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดเมื่อ วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑
          ๒. หลักสูตรระดับบาลีอุดมศึกษา มี ๒ หลักสูตร คือ
          ๒.๑ หลักสูตรวิทยาลัยครูศาสนศึกษา ๒ ปี
                   วิทยาลัยครูศาสนศึกษา เป็นหน่วยงานหนึ่งของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เริ่มเปิดสอนในปี พ.ศ. ๒๕๐๖ ให้การศึกษาฝ่ายวิชาการศึกษาระดับ ป.กศ. หลักสูตร ๒ ปี ต่อมาปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ได้เปิดสอนระดับ ป.กศ. สูง และได้ยกฐานะเป็นวิทยาลัยครูศาสนศึกษา เมื่อวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๒
          ๒.๒ หลักสูตรบาลีอุดมศึกษา ๔ ปี
                   ตั้งแต่ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๐ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงหลักสูตรใหม่ ให้เข้ากับมาตรฐานวิทยาลัยสากล โดยได้นำ ระบบทวิภาคหรือระบบซีเมสเตอร์ และระบบหน่วยกิตมาใช่แห่งแรกของประเทศไทย โดยใช้หลักสูตรใหม่ ในการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจาก อาจารย์ผาด แก้วสีปราด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ Professor Dr. F. Leidecker มหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ สหรัฐอเมริกา อาจารย์ประหยัด ไพทีกุล อาจารย์ธนรรค วันแจ่มศรี และอาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ เป็นกรรมการปรับปรุงหลักสูตร การปรับปรุงครั้งนี้มีการกำหนดหน่วยกิตไว้ในแต่ละวิชา มีการแบ่งหลักสูตรเป็น ๓ คณะ คือ
                   ๑. คณะพุทธศาสตร์
                   ๒. คณะคุรุศาสตร์
                   ๓. คณะเอเชียอคาเนย์และในปี พ.ศ. ๒๕๐๙ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์
                   ในปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เปิดหลักสูตรระดับอนุปริญญา อบรมครูศาสนศึกษา ๒ ปี ให้ประกาศนียบัตร “อบรมครูศาสนศึกษา”
ระยะที่ ๔ ปรับปรุงหลักสูตรระดับบาลีอุดมศึกษา
          พ.ศ. ๒๕๑๑ ได้มีการปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตรระดับบาลีอุดมศึกษาใหม่อีกครั้ง แต่หน่วยกิตยังเท่าเดิม คือ ๒๐๐ หน่วยกิต หลักสูตรนี้ ผู้เรียนนอกจากจะศึกษาภาควิชาการให้ครบ ๒๐๐ หน่วยกิต ภายใน ๔ ปีแล้ว ยังจะต้องปฏิบัติศาสนกิจสนองงานมหาวิทยาลัยในเพศบรรพชิตอีกอย่างน้อย ๑ ปี จึงจะออกใบปริญญาบัตรให้
ระยะที่ ๕ หลักสูตรยุคเตรียมรับการรับรองวิทยฐานะ พ.ศ. ๒๕๒๖
          ๑. หลักสูตรต่ำกว่าปริญญาตรี
          หลักสูตรระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ได้แก่ โรงเรียนบาลีอบรมศึกษาใช้เวลาศึกษา ๑ ปีครึ่ง หรือ ๓ ภาคการศึกษา โรงเรียนบาลีสาธิตศึกษา ใช้เวลาศึกษา ๓ ปี สอนตามหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๓ ของกระทรวงศึกษาธิการ และโรงเรียนบาลีเตรียมอุดมศึกษา ใช้เวลา ๓ ปี สอนตามหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ ของกระทรวงศึกษาธิการ
          ๒. หลักสูตรระดับอุดมศึกษา
          ๒.๑ หลักสูตรระดับอนุปริญญา
                   พ.ศ. ๒๕๒๖ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ปรับปรุงหลักสูตรประกาศนียบัตรครูศาสนศึกษาของวิทยาลัยครูศาสนศึกษา และได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของหลักสูตรใหม่ เป็นวิชาแกนพุทธศาสตร์ อย่างน้อย ๓๐ หน่วยกิต วิชาพื้นฐานทั่วไปอย่างน้อย ๒๔ หน่วยกิต วิชาชีพครู อย่างน้อย ๒๔ หน่วยกิต และวิชาเอก อย่างน้อย ๒๔ หน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า ๑๐๐ หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษา ๒ ปี
                   ขอบข่ายหลักสูตร มี ๒ ส่วน
                   - หลักสูตร ว.ศศ. มจร. เพื่อให้ผู้ศึกษามีความรู้ด้านศาสนาโดยควรแก่บรรพชิต
                   - หลักสูตรการฝึกหัดครู เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ด้านต่างๆ และประสบการณ์จำเป็นแก่ครู
          ๒.๒ หลักสูตรระดับปริญญาตรี
                   พ.ศ. ๒๕๒๖ มีการปรับปรุงหลักสูตรครั้งสำคัญ คือ ได้ลดจำหน่วยหน่วยกิตลงให้ใกล้เคียงกับมาตรฐานหลักสูตรทบวงมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งปรับปรุงเนื้อหาวิชาและจัดแบ่งคณะให้สอดคล้องกับสภาพสังคม เปลี่ยนโครงสร้างของหลักสูตรเป็นวิชาแกนพุทธศาสตร์ ไม่น้อยกว่า ๓๕ หน่วยกิต วิชาพื้นฐานไม่น้อยกว่า ๔๑ หน่วยกิต วิชาเอก ไม่น้อยกว่า ๕๐ หน่วยกิต วิชาโทไม่น้อยกว่า ๑๘ หน่วยกิต และวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า ๖ หน่วยกิต รวมตลอกหลักสูตรไ ม่น้อยกว่า ๑๕๐ หน่วยกิต ใช้เวลาศึกษาภาควิชาการระบบหน่วยกิตจำนวน ๔ ปี และภาคปฏิบัติไม่มีหน่วยกิตอีก ๑ ปี
                   พ.ศ. ๒๕๒๖ มีการเปิดศึกษาคณะสังคมศาสตร์เป็นคณะที่ ๔ โดยแยกออกจากคณะมานุษยสงเคราะห์ศาสตร์(มนุษยศาสตร์) ศึกษาเฉพาะสายสังคมศาสตร์ ประกอบด้วย ๔ ภาควิชา คือ ภาควิชาสังคมศาสตร์ ภาควิชารัฐศาสตร์ ภาควิชาเศรษฐศาสตร์ และภาควิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
          ๓. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา
                   ได้เปิดศึกษาระดับปริญญาโท “พุทธศาสตรมหาบัณฑิต (พธ.ม.)” เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ มีหลักสูตรการศึกษา ๔ สาขา คือ สาขาบาลี สาขาพระพุทธศาสนา สาขาปรัชญา และสาขาศาสนา และต่อมาได้อนุมัติเพิ่มขึ้นมาอีก ๑ สาขา คือ สาขาธรรมนิเทศ
                   โครงสร้างหลักสูตร ได้มีการจัดการศึกษาระดับปริญญาโทในระบบหน่วยกิตทวิภาคและกำหนดโครงสร้างหลักสูตรปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต ในแต่ละสาขาวิชา โดยต้องศึกษารายวิชาไม่น้อยกว่า ๓๖ หน่วยกิต และวิทยานิพนธ์มีค่าเทียบเท่า ๙ หน่วยกิต แยกประเภทดังนี้
                   วิชาบังคับ                                             ๑๒ หน่วยกิต
                   วิชาเอก                                                          ๑๘ หน่วยกิต
                   วิชาเลือก                                              ๖    หน่วยกิต
                   วิทยานิพนธ์                                           ๙    หน่วยกิต
                   รวมทั้งสิ้น                                             ๔๕ หน่วยกิต

ระยะที่ ๖ หลักสูตรฉบับใหม่ เริ่มใช้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๘ เป็นต้นไป
          มีหลายละเอียดดังนี้
          ๑. ปรัชญาของหลักสูตร
                   มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งคณะสงฆ์ไทย ที่พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้สถาปนาขึ้นเพื่อเป็นสถานศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงสำหรับพระภิกษุสามเณรและประชาชนทั่วไป
                   มหาวิทยาลัยมีเป้าหมายชัดเจนที่จะพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ คือ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา มีความสามารถในการแก้ไขปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพุทธศาสนา รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีโลกทัศน์ที่กว้างไกล มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
          ๒. วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
                   ๑) เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้เกี่ยวกับวิชาทางพระพุทธศาสนา สำหรับประยุกต์เข้ากับศาสตร์สาขาต่างๆอันจะอำนวยประโยชน์แก่การดำเนินชีวิต การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและการพัฒนาสังคม
                   ๒) เพื่อเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรมตามหลักพระพุทธศาสนาสำหรับพัฒนาบุคคลให้มีความสมดุลในด้านกายภาพ สังคม จิตใจ และ ปัญญา
          ๓. โครงสร้างหลักสูตร
                   แผน ก.
                   ๓.๑ วิชาพื้นฐานทั่วไป                     ไม่น้อยกว่า     ๓๐     หน่วยกิต
                   ๓.๒ วิชาแกนพระพุทธศาสนา           ไม่น้อยกว่า     ๕๐     หน่วยกิต
                   ๓.๓ วิชาเอก                                ไม่น้อยกว่า     ๔๘     หน่วยกิต
                             ๓.๓.๑ วิชาบังคับ                                    ๓๘     หน่วยกิต
                             ๓.๓.๒ วิชาเลือก                                               ๑๐     หน่วยกิต
                   ๓.๔ วิชาโท                                  ไม่น้อยกว่า     ๑๘     หน่วยกิต
                   ๓.๕วิชาเลือกเสรี                           ไม่น้อยกว่า     ๔       หน่วยกิต
                                                                   รวมไม่น้อยกว่า          ๑๕๐   หน่วยกิต
                   แผน ข.
                   ๓.๖ วิชาพื้นฐานทั่วไป                     ไม่น้อยกว่า     ๓๐     หน่วยกิต
                   ๓.๗ วิชาแกนพระพุทธศาสนา           ไม่น้อยกว่า     ๕๐     หน่วยกิต
                   ๓.๘ วิชาเฉพาะด้าน                       ไม่น้อยกว่า     ๖๖     หน่วยกิต
                   ๓.๙ วิชาเลือกเสรี                          ไม่น้อยกว่า     ๔       หน่วยกิต
การจัดการเรียนการสอน       
          นโยบาย
          ๑. ผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีคุณภาพที่พึงประสงค์ คือ ให้ความรู้เกี่ยวกับวิชาการทางพระพุทธศาสนา และสามารถประยุกต์เข้ากับศาสตร์แขนงต่างๆ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ใฝ่คิด เป็นผู้นำด้านจิตใจและปัญญา มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนา รู้จักเสียสละเพื่อส่วนรวม รู้เท่าทันความเปลี่ยนแปลงทางสังคม มีโลกทัศน์กว้างไกล มีศักยภาพที่จะพัฒนาตนเองให้เพียบพร้อมด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
          ๒. ปรับปรุงแนวทางการใช้ทรัพยากรและระบบควบคุมคุณภาพเพื่อผลิตบัณฑิตทุกระดับให้มีประสิทธิภาพทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ
          ๓. ขยายการจัดการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา
          มาตรการ
          ๑. พัฒนาหลักสูตรและพัฒนากระบวนการเรียนการสอน เพื่อสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการ โดยเน้นด้านพระพุทธศาสนาเป็นหลัก
          ๒. ปรับปรุงวิธีการสอน ให้มีลักษณะการเรียนรู้ด้วยตนเอง หรือการเรียนรู้ภายใต้คำแนะนำมากขึ้น
          ๓. พัฒนาระบบการเรียนการสอนที่ใช้โสตทัศนูปกรณ์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพิ่มขึ้น
          ๔. ปรับปรุงระบบการวัดผลโดยให้มีคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบ
          ๕. ดำเนินการจัดการศึกษาระดับประกาศนียบัตรเทียบเท่าอนุปริญญา
          ๖. จัดทำหลักสูตรและเปิดสอนระดับบัณฑิตวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความพร้อมของมหาวิทยาลัยและความต้องการของคณะสงฆ์
    
รูปแบบหลักสูตรและประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร
๑. ระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต
พระภิกษุ/สามเณรและคฤหัสถ์ทั่วไป (ภาคพิเศษ เสาร์ อาทิตย์)
หลักสูตร ๑ ปี  เรียนในวันเสาร์ อาทิตย์ เวลา ๐๙.๐๐-๑๕.๓๐ น.  ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๑๕ วัน
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ ๙,๐๐๐ บาท  (เก้าพันบาทถ้วน)
๑. ระดับปริญญาโท
หลักสูตรภาคปกติ สำหรับภิกษุ
หลักสูตร ๒ ปี เรียนในชั้นเรียน ๓ ภาคการศึกษา เรียนในเวลาราชการ
ภาคบ่าย เริ่มเวลา ๑๓.๐๐ น. ๓ วัน/สัปดาห์ ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ ๓๐ วัน และทำวิทยานิพนธ์
 ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ ๓๐,๐๐๐ บาท (สามหมื่อนบาทถ้วน)
                    หลักสูตรภาคปกติ สำหรับคฤหัสถ์
หลักสูตร ๒ ปี เรียนในชั้นเรียน ๓ ภาคการศึกษา เรียนในวันเวลาราชการ
ภาคเช้า เริ่มเวลา ๐๙.๐๐  -๑๒.๓๐ น.  จำนวน ๔ วัน / สัปดาห์ ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ ๓๐ วัน และทำวิทยานิพนธ์
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ ๔๕,๐๐๐ บาท (สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)
                    หลักสูตรภาคพิเศษ สำหรับคฤหัสถ์ หลักสูตร ๒ ปี
เรียนในชั้นเรียน ๓ ภาคการศึกษา เรียนในวันเสาร์ อาทิตย์ เริ่มเวลา ๐๙.๐๐ ๑๗.๓๐ น. วิปัสสนากรรมฐานครบ ๓๐ วัน และทำวิทยานิพนธ์
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ ๗๐,๐๐๐ บาท (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน)
๑. ระดับดุษฎีบัณฑิต
-สาขาวิชาพุทธศาสนา (ภาษาอังกฤษ) แบบ ๑.๑
เป็นหลักสูตรที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์ เรียน ๗ รายวิชา ทำสารนิพนธ์ ๓ เรื่อง สอบภาษาต่างประเทศ ๑ ภาษา ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ๔๕ วัน และทำวิทยานิพนธ์
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นบาทถ้วน)
          -สาขาวิชาพุทธศาสนา เป็นหลักสูตรที่เน้นการทำวิทยานิพนธ์ แบบ ๑.๒
เรียน ๗ รายวิชา ทำสารนิพนธ์ ๑ เรื่อง สอบภาษาต่างประเทศ ๑ ภาษา ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ ๔๕ วัน และทำวิทยานิพนธ์
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ ๑๓๕,๔๐๐ บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นห้าพันสี่ร้อนบาถ้วน)
-สาขาวิชาพุทธศาสนา ภาคปกติ แบบ ๒.๑
เรียนในชั้นเรียน ๓ ภาคการศึกษา เรียน ๒ วัน/สัปดาห์ (อังคารพุธ) หลักสูตร ๓ ปี ทำสารนิพนธ์ ๓ เรื่อง สอบภาษาต่างประเทศ ๒ ภาษา ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ ๔๕ วัน และทำวิทยานิพนธ์
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ บาท(หนึ่งแสนสามหมื่นบาทถ้วน)
-สาขาวิชาปรัชญา ภาคปกติ แบบ ๒.๑
เรียนในชั้นเรียน ๓ ภาค การศึกษา เรียน ๒ วัน/ สัปดาห์ (วันอังคาร- พุธ) หลักสูตร ๓ ปี ทำสารนิพนธ์ ๓ เรื่อง สอบภาษาต่างประเทศ ๒ ภาษา ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ ๔๕ วัน และทำวิทยานิพนธ์
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ ๑๓๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นบาทถ้วน)
-สาขาวิชาพระพุทธศาสนา ภาคปกติ แบบ ๒.๒
เรียนในชั้นเรียน ๔ ภาคการศึกษา เรียน ๒ วัน/ สัปดาห์ (วันพฤหัส- ศุกร์) หลักสูตร ๔ ปี ทำสารนิพนธ์ ๓ เรื่อง สอบภาษาตางประเทศ ๒ ภาษา ปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐานครบ ๔๕ วัน และทำวิทยานิพนธ์
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตรประมาณ ๑๕๐,๐๐๐ บาท (หนึ่งแสนห้าหมื่นบาทถ้วน)

                            การกำหนดตราพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพความเป็นนิติบุคคลของมหาวิทยาลัย

การจัดการศึกษาในรูปแบบที่ไม่ได้รับการรับรองวิทยาฐานะอย่างถูกต้องนั้น นับเป็นความสูญเปล่าที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง โดยคำนึงถึงข้อนี้จะทำให้มีความพยายามที่จะทำให้รัฐบาลรับรองปริญญา และรับรองสถานภาพของมหาวิทยาลัยสงฆ์อย่างเป็นทางการ ความพยายามเช่นนี้ได้มีมาแล้วหลายครั้ง ทั้งจากมหาวิทยาลัยสงฆ์เองและจากบุคคลภายนอกที่เห็นความสำคัญของมหาวิทยาลัยสงฆ

พัฒนาการ พ.ร.บ. มจร

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๕) ได้ทรงสถาปนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยขึ้น โดยให้ย้ายการสอนพระปริยัติธรรมจากศาลาบอกพระปริยัติธรรม ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปตั้งที่วัดมหาธาตุ เพื่อเป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์มหานิกายและคฤหัสถ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๐ และโปรดให้เรียกว่า มหาธาตุวิทยาลัย
มหาธาตุวิทยาลัย ได้เปิดทำการสอนเป็นทางการ เมื่อวันที่ ๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๓๒ ต่อมา พระยาภาสกรวงศ์ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติฉบับแรกของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรียกว่าร่างพระราชบัญญัติมหาธาตุวิทยาลัย ร.ศ.๑๑ (พ.ศ.๒๔๓๔) ขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อทรงนำเข้าปรึกษาในที่ประชุมเสนาบดี ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ยังไม่ได้ลงพระปรมาภิไธย จึงถือว่ายังมิได้เป็นพระราชบัญญัติที่มีผลบังคับใช้แต่อย่างใด
ประเด็นที่น่าสนใจในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ซึ่งมี ๒๔ มาตราอยู่ที่มาตรา ๑ ที่กำหนดให้วิทยาลัยแห่งนี้เป็นสถานศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ดังนี้
" มาตรา ๑ มหาธาตุวิทยาลัยนี้ให้ตั้งขึ้นโดยราชูปถัมภกบำรุงพระบรมพุทธศาสนา เป็นที่สั่งสอนพระบาลีคัมภีร์พระไตรปิฏก พุทธพจนภาษิต แก่ภิกษุสามเณรฝ่ายคณะมหานิกายและคฤหัสถ์ ตามแต่มีความศรัทธาจะศึกษาสืบเสาะข้อวัตรปฏิบัติพุทธภาษิต ซึ่งจะได้เป็นคณาจารย์สืบไป "
ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดให้คิดแบบสร้างถาวรวัตถุ เรียกว่า สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย ขึ้นในวัดมหาธาตุ เพื่อใช้เป็นสถานที่บำเพ็ญพระราชกุศลพระศพสมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ และทรงประสงค์จะอุทิศถวายถาวรวัตถุนี้เป็นสังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติสีทธรรมและวิชาชั้นสูง โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล่าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาก่อพระฤกษ์ เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๔๓๙ และได้พระราชทานเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติยศของพระองค์ ตามประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย ร.ศ.๑๑๕ (พ.ศ.๒๔๓๙) ความตอนหนึ่งว่า
" จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมฯให้ตั้งวิทยาลัยที่เล่าเรียนพระไตรปิฏกแลวิชาชั้นสูงขึ้น ๒ สถาน ๆ หนึ่งเป็นที่เล่าเรียนของพระสงฆ์ฝ่ายธรรมยุติกนิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดบวรนิเวศวิหาร พระอารามหลวง พระราชทานนามว่า มหามกุฏราชวิทยาลัยอีกสถานหนึ่งเป็นที่เล่าเรียน ของพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดมหาธาตุราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงนี้ มีนามว่ามหาธาตุวิทยาลัย ได้เปิดการเล่าเรียนแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน ร.ศ.๑๐๘ สืบมา แต่สังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัยนี้ยังไม่เป็นที่สมควรแก่การเล่าเรียน
เมื่อการบำเพ็ญพระราชกุศลส่วนนั้นเสร็จแล้วจะได้ทรงพระราชอุทิศถวายถาวรวัตถุนี้เป็นสังฆิกเสนาสน์สำหรับมหาธาตุวิทยาลัย เพื่อเป็นที่เล่าเรียนพระปริยัติสัทธรรมแลวิชาชีพชั้นสูงสืบไปภายหน้า พระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อให้เป็นที่เฉลิมพระเกียรติยศสืบไป… "
มหาจุฬาลงกรณราชวิยาลัย ได้จัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนเดิมในนามมหาธาตุวิทยาลัยตลอด จนกระทั่งวันที่ ๙ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๐ พระมหาเถรานุเถระ ฝ่ายมหานิกายจำนวน ๕๗ รูป มีพระพิมลธรรม (ช้อย ฐานทัตตเถร) เป็นประธานได้ประชุมกัน ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุฯ ประกาศให้ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดำเนินการจัดการศึกษาในรูปมหาวิทยาลัย ตามพระราชปณิธาน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้เปิดการศึกษารูปแบบมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ ๑๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา
ในช่วงการเตรียมการประชุมพระมหาเถรานุเถระ เพื่อประกาศให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจัดการศึกษา ในรูปมหาวิทยาลัยนั้น หลวงวิจิตรวาทการ ได้ทำการบันทึกโครงการปรับปรุงมหาธาตุวิทยาลัยหรือมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อประกอบการพิจารณาของที่ประชุม
ในบันทึกดังกล่าวนี้ หลวงวิจิตรวาทการเสนอว่า สถานศึกษาในรูปแบบมหาวิยาลัยที่วัดมหาธาตุนี้ ถ้าใช้ชื่อมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนี้จะได้ประโยชน์ที่สำคัญคือมีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยตามกฎหมาย หลวงวิจิตรวาทการได้อ้างประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย ร.ศ.๑๑๕ (พ.ศ.๒๔๓๙) แล้วสรุปประเด็นไว้ว่า
" ชื่อมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นชื่อที่มีอยู่ในประกาศรัชกาลที่ ๕ ซึ่งมีผลเป็นกฎหมาย ถ้าใช้ชื่อนี้ได้ อาจทำให้สำนักเรามีฐานะเป็นมหาวิทยาลัยตามกฎหมายการให้ปริญญาจะเป็นการสมบูรณ์และทางบ้านเมือง ก็จะต้องรับรองฐานะของมหาวิทยาลัยนี้เท่าเทียมกับมหาวิทยาลัยของบ้านเมืองเอง "
อย่างไรก็ตาม แม้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจะได้เปิดการศึกษาในรูปแบบมหาวิทยาลัยตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๙๐ เป็นต้นมา ทางบ้านเมืองก็มิได้รับรองสถานภาพให้เป็นมหาวิทยาลัยตามกฎมาย นั่นคงเป็นเพราะว่าประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆเสนาสน์ราชวิทยาลัย ร.ศ. ๑๑๕ (พ.ศ.๒๔๓๙) ที่หลวงวิจิตรวาทการกล่าวถึงนั้นเป็นเพียงประกาศพระราชปรารภในการวางศิลาฤกษ์อาคารของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึ่งไม่อาจถือได้ว่า เป็นพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
เพราะเหตุที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไม่มีพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยตามกฎหมาย รัฐบาลและคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยจึงได้ดำเนินการต่างกรรมต่างวาระในช่วงเวลากว่า ๔๐ ปีเพื่อให้มีการตราพระราชบัญญัติรับรองสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยให้กับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๑๒
ความพยายามที่จะให้มี การตราพระราชบัญญัติเกี่ยวกับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่อรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้ยกร่าง พระราชบัญญัติรับรองวิทยฐานะปริญญา ของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อเสนอต่อสภาพผู้แทนราษฎร แต่รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงคราม สิ้นสุดลงเพราะถูกยึดอำนาจการปกครอง ร่างพระราชบัญญัตินี้จึงตกไป
ต่อมาใน พ.ศ. ๒๕๐๙ คณะสงฆ์ได้เปิดการอบรม " พระธรรมฑูตไปต่างประเทศ " ขึ้น โดยสำนักฝึกอบรมตั้งอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร และมอบให้เจ้าหน้าที่ของมหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยเป็นผู้ดำเนินงาน และให้ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนี้ เข้ารับการฝึกอบรมเป็นหลักเมื่อการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ด้วยดี จึงมีโครงการที่จะขยายการศึกษาของสำนักฝึกอบรมพระธรรมฑูตขึ้นเป็นการศึกษาระดับปริญญาโทและเห็นว่า ควรจัดตั้งบัณฑิตวิทยาลัยขึ้น 
คณะอนุกรรมการที่ตั้งขึ้นมาพิจารณาเรื่องนี้ได้พบปัญหาว่า ก่อนที่จะจัดการศึกษาขั้นปริญญาโทได้นั้น การศึกษาระดับปริญญาตรี จะต้องได้รับการรับรองมิฉะนั้น ปริญญาโทก็จะไร้ความหมาย ทุกฝ่ายจึงเป็นพ้องกันว่า "จะต้องให้รัฐบาลไทยรับรองฐานะและปริญญาของมหาวิทยาลัยสงฆ์เสียก่อน" และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ต่างเคยมีประสบการณ์ร่วมกันมาว่า ทุกครั้งที่รัฐบาลพิจารณาเรื่องการรับรองมหาวิทยาลัยสงฆ์ รัฐบาล มักอ้างว่า "มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งนั้น คณะสงฆ์เองก็ยังไม่รับรอง แล้วจะให้รัฐบาลรับรองได้อย่างไร"
คณะอนุกรรมการจึงตกลงกันว่าจะดำเนินการให้คณะสงฆ์รับรองเสียก่อน จะได้ปูพื้นฐานให้รัฐบาลรับรองต่อไป ในที่สุดก็ได้มี คำสั่งมหาเถรสมาคม เรื่องการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๑๒ โดยมติที่ประชุมมหาเถรสมาคม เมื่อวันอังคารที่ ๖ พฤษภาคม ๒๕๑๒ การที่มหาเถรสมาคม ได้ออกคำสั่งนี้ถือเป็นการรับรองอย่างเป็นทางการว่า มหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ และถือเป็นส่วนหนึ่งของระบบการศึกษา ของคณะสงฆ์ไทย
ในสมัยรัฐบาลจอมพล ถนอม กิตติขจร
             ใน พ.ศ. ๒๕๑๕ จอมพลถนอม กิตติขจร เป็นหัวหน้าคณะปฏิวัติบริหารประเทศหัวหน้า ฝ่ายอำนวยการศึกษาและสาธารณสุขของคณะปฏิวัติได้ตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง เพื่อพิจารณาเรื่องมหาวิทยาลัยสงฆ์ ประกอบด้วยอนุกรรมการ ๗ ท่านมี นายจวน เจียรนัย เป็นประธาน นายระบิล สีตสุวรรณ เป็นรองประธาน เลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ พระธรรมคุณาภรณ์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นอนุกรรมการ พระศรีวิสุทธิโมลี (ประยุทธ์ ปยุตโต) ได้เข้าร่วมประชุม ผลของการประชุม ของคณะอนุกรรมการทำให้มีการร่างประกาศคณะปฏิวัติ ๑๐ ข้อเพื่อรับรองสถานภาพมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง แต่ในระหว่างที่ดำเนินการอยู่นั้น คณะปฏิวัติได้สิ้นสุดลง เพราะมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๑๕ ร่างประกาศคณะปฏิวัติฉบับนี้จึงค้างอยู่
จอมพลถนอมได้กลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี ในระบบรัฐธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๑๕ มีสถาบันนิติบัญญัติแห่งชาติ ทำหน้าที่ออกพระราชบัญญัติ ได้มีการนำประกาศคณะปฏิวัติ พ.ศ. ๒๕๑๕ กลับมาพิจารณา และปรับเปลี่ยนเป็นร่างพระราชบัญญัติ เพื่อรับรองสถานภาพ ของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ แต่ยังไม่ทันได้เสนอสภานิติบัญญัติ รัฐบาลจอมพลถนอม กิตติขจรสิ้นสุดลงเพราะเกิดวันมหาวิปโยคในวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖ ร่างพระราชบัญญัตินี้จึงตกไป 
สมัยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีสัญญา ธรรมศักดิ์ ได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ.๒๕๑๗ คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้รอเรื่องนี้ไว้ก่อน ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พ.ศ. ๒๕๑๗ คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดนกำหนดนโยบายไว้ว่า สถาบันการศึกษาที่จะให้ปริญญาได้ต้องปรับปรุงวิธีการและหลักสูตร
กระทรวงการศึกษาธิการจึงได้แต่งตั้ง คณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่งเรียกว่า คณะกรรมการปรับปรุงวิธีการ และหลักสูตรมหาวิทยาลัยสงฆ์ ให้สามารถให้ปริญญาได้โดยสมบูรณ์ ประกอบด้วยกรรมการ ๑๔ ท่าน มี นายจรูญ วงศ์สายัณห์ เป็นประธาน กรรมการจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย คือ พระพรหมคุณาภรณ์ (เกี่ยว อุปเสโณ) พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) พระมหาเสถียร ถิรญาโณ และนายจำนงค์ ทองประเสริฐ
คณะกรรมการชุดนี้ประชุม ๘ ครั้ง ได้ยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ๒ ฉบับ คือพระราชบัญญัติมหามกุฏราชวิทยาลัยและพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวเฉพาะร่างพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนั้นมี ๔๕ มาตรา สาระสำคัญคือการรับรองสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัย ดังความในมาตรา ๕ ว่า " ให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นนิติบุคคล มีฐานะเป็นสถาบันการศึกษาของคณะสงฆ์ ได้รับความอุปถัมภ์และอำนาจบริหารงานจากรัฐ โดยทางกระทรวงศึกษาธิการ" คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติเมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๗ และส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาเสร็จก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงค้างอยู่

ในสมัยรัฐบาลนายสัญญา ธรรมศักดิ์
กระทรวงศึกษาธิการอาศัยมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๓๐ มกราคม พ.. ๒๕๑๗ ได้แต่ตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งดำเนินการร่างพ.ร.บ. มหาวิทยาลัยสงฆ์ ประกอบกับปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ผู้แทนมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง และเจ้าหน้าที่กรมการศาสนา เป็นกรรมการ คณะกรรมการได้แยกร่างพ.ร.บ. ออกเป็น ๒ ฉบับ สำหรับมหาวิทยาลัยสงฆ์แต่ละแห่ง และได้ดำเนินการร่างอยู่ประมาณ ๔ เดือนจึงสำเร็จ ครั้งแล้วได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาลงมติเห็นชอบรับหลักการร่าง พ.ร.บ. ทั้งสองนั้น เมื่อวันที่ ๘ ตุลาคม พ.. ๒๕๑๗ และส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา เมื่อคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาร่างเสร็จก็พอดีถึงระยะเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
ในสมัยรัฐบาล ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช
ในสมัยรัฐบาลถัดมามี หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี นายนิพนธ์ ศศิธร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้นำเอาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่คณะกรรมการกฤษฎีพิจารณาแล้ว ในสมัยรัฐบาลของ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎร ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ มีชื่อว่า ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พระราชบัญญัติแต่ละฉบับมี ๕๖ มาตรา สาระสำคัญยังคงเป็นเรื่อง การรับรองสถานภาพ เป็นมหาวิทยาลัย ประเด็นที่น่าสนใจคือมาตรา ๔๑ ความว่า " ผู้สอนในมหาวิทยาลัยมีดังนี้ คือ (๑) ปวราจารย์ ซึ่งอาจเป็นปวราจารย์ประจำหรือเป็นปวราจารย์พิเศษ (๒) วราจารย์ (๓) อาจารย์ ซึ่งอาจเป็นอาจารย์ประจำหรืออาจารย์พิเศษ "
ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๘ สภาผู้แทนราษฎรลงมติในวาระที่ ๑ รับหลักการร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ และมอบให้คณะกรรมาธิการศึกษาพิจารณาแปรญัตติ คณะกรรมาธิการการศึกษาซึ่งมี นายปรีชา เพ็ชรสิงห์ เป็นประธานได้ใช้เวลานานถึง ๔ เดือนในการประชุมเพียง ๔ ครั้ง พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับ พระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) รองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นผู้แทนจากมหาวิทยาลัย เข้าชี้แจงในที่ประชุมคณะกรรมาธิการหลังจากพิจารณา แปรญัตติเสร็จแล้ว ประธานคณะกรรมาธิการการศึกษาได้ทำหนังสือลงวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๑๘ แจ้งประธานสภาผู้แทนราษฎรว่า คณะกรรมาธิการได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์เสร็จแล้ว และขอให้เสนอที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณาต่อไป สภาผู้แทนราษฎรไม่มีโอกาสพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เพราะได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาเสียก่อน ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ จึงตกไปอย่างน่าเสียดาย
      
            ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งสงฆ์ พุทธศักราช ๒๕๑๙
ในสมัยรัฐบาลของหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ๓ ท่าน ได้ยกร่าง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชโดยแก้ไขดัดแปลงจากร่างเดิมของรัฐบาลก่อนเป็นบางส่วนรวม ๓ ร่าง และหลักการยังคงเป็นเช่นเดียวกับฉบับที่ตกไป ในรัฐบาลก่อน สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ต่อสภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากเป็นร่างพระราชบัญญัติที่เกี่ยวด้วยการเงิน รัฐบาลได้ขอรับร่างพระราชบัญญัตินี้ไปพิจารณาก่อน ภายในกำหนดเวลา ๖ เดือน ในขั้นตอนหาข้อมูลเพื่อประกอบพิจารณาของรัฐบาลนี้ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือลงวันที่ ๙,๑๐ และ ๑๑ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๑๙ แจ้งให้กระทรวงศึกษาธิการเสนอความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งสองแห่งของนายประมวล กุลมาตย์ และนายเปลื้อง พลโยธา
กระทรวงศึกษาธิการได้มีคำสั่งที่ ๓๘๐/๒๕๑๙ ลงวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทั้งสองแห่ง มีกรรมการมหาเถรสมาคมรูปหนึ่งร่วมเป็นกรรมการอยู่ด้วย เรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงถูกส่งเข้าสู่การพิจารณาของมหาเถรสมาคม 
เมื่อวันที่ ๓๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ มหาเถรสมาคมประชุมครั้งที่ ๒๑/๒๕๑๙ ได้พิจารณาร่าง พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง และได้มีมติตั้งคณะกรรมการ คณะหนึ่ง จำนวน ๑๕ ท่าน เพื่อพิจารณาเรื่องนี้โดยเฉพาะ
ต่อมาในวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๑๙ นายประจวบ คำบุญรัตน์ รองอธิบดีการการศาสนา ได้เสนอความเห็นถวายมหาเถรสมาคมว่า สมควรยกร่างพระราชบัญญัติฉบับใหม่ในรูปของพระราชบัญญัติการศึกษาสงฆ์ที่มีเนื้อหาครอบคลุมการศึกษาสงฆ์ทุกระดับ
มหาเถรสมาคมได้ประชุมครั้งพิเศษในวันจันทร์ที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ.๒๕๑๙ มีมติให้กรมการศาสนา ดำเนินการเกี่ยวกับร่าง พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งสงฆ์เสนอกระทรวงศึกษาธิการเพื่อตราเป็นพระราชบัญญัติต่อไป ต่อมาในวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ คณะปฏิรูปการปกครองได้ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช การดำเนินการเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งสงฆ์จึงชะงักไป หลังจาก พ.ศ. ๒๕๑๙ เป็นต้นมา ยังไม่มีความพยายามอย่างเป็นรูปธรรม ในอันที่จะให้รัฐบาลรับรองสถานภาพของมหาวิทยาลัยสงฆ์ อย่างไรก็ตาม หลังจากการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนเมษายน ๒๕๒๒ เป็นต้นมา ได้มีการเคลื่อนไหวจะดำเนินการในเรื่องนี้อีก โดยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบางคน ผลของความพยายามในครั้งนี้
ใน พ.ศ. ๒๕๒๐ สมัยรัฐบาลที่ นายธานินทร์ กรัยวิเชียร เป็นนายกรัฐมนตรี ดร.ภิญโญ สาธร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เห็นว่า พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งสงฆ์ควรให้คณะสงฆ์ดำเนินการจัดทำ จึงมอบหมายให้กรมการศาสนา นำร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการศึกษาของสงฆ์ทุกฉบับ ซึ่งรวมถึงร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง เสนอมหาเถรสมาคมพิจารณาเลือก หรือแก้ไขเพิ่มเติมหรือร่างขึ้นใหม่เพียงฉบับเดียว
มหาเถรสมาคมได้พิจารณาในคราวประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๒๐ เมื่อวันที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๒๐ มีมติเลือกร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งสงฆ์ เพื่อดำเนินการต่อไป ในที่สุดมหาเถรสมาคมได้ประชุมครั้งที่ ๑๑/๒๕๒๐ เมื่อวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๒๐ รับหลักการและเสนอร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งสงฆ์ให้กระทรวงศึกษาธิการดำเนินการ
กระทรวงศึกษาธิการได้นำร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เสนอในการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๐ คณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการแล้วส่งต่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาแก้ไขจากที่มหาเถรสมาคมร่างมา ๑๗ มาตรา เพิ่มเป็น ๒๗ มาตราแล้วส่งกลับมาที่มหาเถรสมาคม ที่ประชุมมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นว่ามีการแก้ไขมาก จึงตั้งคณะกรรมการขึ้นมาคณะหนึ่ง จำนวน ๙ ท่านเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งสงฆ์ที่คณะกรรมการกฤษฎีกาแก้ไข ร่างพระราชบัญญัตินี้ค้างการพิจารณา ของมหาเถรสมาคมนานถึง ๓ ปี จนกระทั่งสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือลงวันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ แจ้งกระทรวงศึกษาธิการว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีหนังสือเตือนเรื่องการพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งสงฆ์ ๒ ครั้งแล้วยังไม่ได้คำตอบ จึงเห็นสมควรระงับการพิจารณา
พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะ พุทธศักราช ๒๕๒๗
ต่อมาในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.. ๒๕๒๖ สมัยรัฐบาลของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ นายชำเลือง วุฒิจันทร์ อธิบดีการการศาสนา ได้นำเรื่องการรับรองวุฒิเปรียญธรรม ๙ ประโยค และปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง เสนอกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อพิจารณาดำเนินการ นายสมาน แสงมะลิ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอเรื่องนี้ ต่อที่ประชุมอธิบดี เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน พ.. ๒๕๒๖ ที่ประชุมอธิบดีมีมติเห็นชอบในหลักการที่จะรับรองวุฒิ เปรียญธรรม ๙ ประโยค และปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งสองแห่ง และมอบหมาย ให้การการศาสนาดำเนินงาน โดยให้ประสานงาน กับทบวงมหาวิทยาลัย และสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (..)
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนเสนอว่า ก่อนที่จะรับรองวุฒิเปรียญธรรม ๙ ประโยคและปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง กระทรวงการศึกษาธิการ ควรเทียบวุฒิ เปรียญธรรมประโยคต่างๆ กับวุฒิการศึกษาตามหลักสูตรมัธยมศึกษาในระบบโรงเรียน จากนั้นก็ได้มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เรื่องการเทียบความรู้วุฒิเปรียญธรรม ดังนี้ คือ เปรียญธรรม ๓ ประโยค (ป.ธ. ๓) เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนต้น (ม.๓) และเปรียญธรรม ๕ ประโยค (ป.ธ. ๕) เทียบเท่ามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.๖)
ต่อมาในวันที่ ๙ กันยายน ๒๕๒๖ นายสวัสดิ์ คำประกอบ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา เพื่อเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้คล้ายกับพระราชบัญยัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการทหาร พ.ศ. ๒๔๙๗ และพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการตำรวจ พ.ศ. ๒๕๑๗ สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับคือกำหนดให้เปรียญธรรม ๙ ประโยคและปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งมีศักดิ์และสิทธิเท่าปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยทั่วไป
สำนักงานเลขาธิการรัฐสภาได้ส่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ให้สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรีพิจารณาล่วงหน้า สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้ส่งเรื่องให้กระทรวงศึกษาธิการพิจารณาเมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๖ และกระทรวงศึกษาธิการส่งเรื่องต่อให้กรมการศาสนาพิจารณา เมื่อวันที่ ๒ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖
กรมการศาสนาพิจารณาแก้ไขร่างพระราชบัญญัติแล้วส่งเรื่องกลับกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการได้ทำเรื่องเสนอต่อไปยังสำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๖
ในวันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ คณะรัฐมนตรีซึ่งมี พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ……ของกระทรวงศึกษาธิการแล้วมีมติรับหลักการและให้ส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาต่อไป
ในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดประชุมสัมมนาเรื่องสถานภาพของมหาวิทยาลัยสงฆ์ ณ สำนักธรรมวิจัยโดยอาราธนาพระราชวรมุนี (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) บรรยายเรื่อง " ความเป็นมาของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ " ที่ประชุมได้เสนอให้ตั้งคณะกรรมการประสานงาน ของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ขึ้นมาคณะหนึ่ง มีนายจำนงค์ ทองประเสริฐ เป็นประธาน
คณะกรรมการชุดนี้ประชุมครั้งแรกเมื่อวันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่ประชุมแสดงความห่วงใยว่า ร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาที่คณะรัฐมนตรี เห็นชอบนั้นไม่มีการรับรองสถานภาพ มหาวิทยาลัยสงฆ์สาระสำคัญอยู่ที่การรับรองวุฒิเปรียญธรรม ๙ ประโยคและปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ที่ประชุมได้รับทราบมติของคณะกรรมการกฤษฎีกาที่ว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ไม่สามารถรับรองสถานภาพของมหาวิทยาลัยสงฆ์ เพราะมีเรื่องการรับรองวุฒิเปรียญธรรม ๙ ประโยคพ่วงเข้ามา
ในวันที่ ๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ ๑๑/๒๕๒๗ ได้พิจารณา ร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยาฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ.... ซึ่งมี ๔ ฉบับคือร่างพระราชบัญญัติที่เสนอโดยรัฐบาล นายสวัสดิ์ คำประกอบ นายนิยม วรปัญญา นายณรงค์ นุ่นทอง แล้วมีมติรับหลักการและตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญคณะหนึ่งเพื่อพิจารณาโดยใช้รางของรัฐบาลเป็นหลัก
คณะกรรมาธิการวิสามัญจำนวน ๒๕ ท่าน มี นายสัมพันธ์ ทองสมัคร เป็นประธาน นายชำเลือง วุฒิจันทร์ เป็นเลขานุการ และมีนายจำนงค์ ทองประเสริฐ นายสิริ เพ็ชรไชย นายมาณพ พลไพรินทร์ ร่วมเป็นกรรมาธิการในคณะนี้ คณะกรรมาธิการใช้เวลาพิจารณาเพียง ๑ เดือนก็เสนอสภาผู้แทนราษฎร
ในวันที่ ๓๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรครั้งที่ ๒/๒๕๒๗ (สมัยวิสามัญ) ได้ลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๒ และ ๓ แล้วให้เสนอต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณา
ในวันที่ ๓ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ วุฒิสภาพิจารณาให้ความเห็นชอบผ่านร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ โดยมีพลเอกประจวบ สุนทรางกูร รองนายกรัฐมนตรีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๒๗ พระราชบัญญัติฉบับนี้มี ๑๓ มาตรา ประกาศในราชกิจจานุเบกษาฉบับพิเศษ เล่ม ๑๐๑ ตอนที่ ๑๔๐ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๗
สาระสำคัญของพระราชบัญญัติฉบับนี้คือรับรองวิทยฐานะเปรียญธรรม ๙ ประโยค และปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งให้มีศักดิ์ และสิทธิเท่าปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยทั่วไป และให้มีคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์เป็นผู้ควบคุมดูแลการจัดการศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์
อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ สมัยรัฐบาลของ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ รัฐบาลและพรรคการเมืองหลายพรรคได้พลักดันจนประสบความสำเร็จในการให้มีตราพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ รับรองผู้สำเร็จการศึกษาชั้นปริญญาตรีของมหาวิทยาลัย
            พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยของรัฐ พุทธศักราช ๒๕๔o
            พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาวิชาพระพุทธศาสนา พ.. ๒๕๒๗ ทำให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเติบโตอย่างรวดเร็ว จากที่เคยมีวิทยาเขตเพียงหนึ่งแห่งใน พ.. ๒๕๒๗ ได้มีวิทยาเขตเพิ่มขึ้นเป็น ๙ แห่งใน พ.. ๒๕๓๔ มหาวิทยาลัยตั้งบัณฑิตวิทยาลัยใน พ..๒๕๓๑ และเปิดการศึกษาระดับปริญญาโทในปีเดียวกัน ปัญหาที่ตามก็คือการที่มหาวิทยาลัยไม่มีสถานภาพเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายทำให้การประสานงาน กับวิทยาเขตหละหลวมทั้งในด้านบริหารทั่วไป และการบริหารงบประมาณ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จการศึกษาวิชาการพระพุทธศาสนา พ.. ๒๕๒๗ รับรองวิทยฐานะเฉพาะปริญญาตรี ไม่รับรองวิทยฐานะปริญญาโทที่เปิดสอนแล้วนั้น มหาวิทยาลัยจึงไม่สามารถขยายการศึกษาถึงระดับปริญญาเอก
เพื่อแก้ไขข้อขัดข้องดังกล่าวมา ผู้บริหารมหาวิทยาลัยจึงเห็นพ้องต้องกันว่าจะดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย จุดเริ่มต้นแห่งความพยายามที่เป็นรูปธรรมคือ การกำหนดนโยบายไว้ในแผนพัฒนามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๓๔ - ๒๕๓๙) ว่า " พัฒนามหาวิทยาลัยให้มีสถานภาพสมบูรณ์ตามกฎหมาย " และมีมาตรการรองรับว่า " ดำเนินการให้ตราพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย " แผนพัฒนามหาวิทยาลัยนี้เริ่มใช้ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ การดำเนินการที่เป็นระบบเพื่อให้ได้มาซึ่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ยกใหม่จึงเริ่มต้นในปีนั้น
วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๔ นายปราโมทย์ สุขุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการของรัฐบาลที่มีนายชวน หลีกภัยเป็นนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางพร้อมคณะมาเยี่ยมชมกิจการของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อรับทราบปัญหาเกี่ยวกับการบริหารงานของมหาวิทยาลัยด้วยตนเอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ประชุมร่วมกับผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยนำโดย พระสุเมธาธิบดี (บุญเลิศ ทตฺตสุทธิ) นายกสภามหาวิทยาลัย และพระอมรเมธาจารย์ (นคร เขมปาลี) อธิการบดี ที่ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุฯ ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยได้ชี้แจงให้ทราบถึงปัญหาสำคัญที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยประสบอยู่ขณะนั้น คือปัญหาเกี่ยวกับสถานภาพของมหาวิทยาลัยที่ยังไม่เป็นนิติบุคคลตามกฎหมายและปัญหาหลายอย่างที่ตามมา โดยเฉพาะปัญหาด้านงบประมาณและการขยายการศึกษาให้สูงถึงระดับปริญญาโทและปริญญาเอก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการรับว่าจะสนับสนุนการดำเนินการเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ต่อมาในวันที่ ๒๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๓๕ คณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม นำโดยนายอำนวย สุวรรณคีรี ประธานกรรมาธิการ และนายดุสิต โสภิตชา รองประธานกรรมาธิการ ได้มาเยี่ยมชมกิจการของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และประชุมร่วมกับนายสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี รองอธิการบดีและคณะบดี ที่ตำหนักสมเด็จวัดมหาธาตุฯ คณะกรรมาธิการรับว่าจะดำเนินการเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ในวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ มหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งที่ ๑๔๙/๒๕๓๖ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเกี่ยวกับ ร่างพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จำนวน ๑๑ ท่าน มีพระอมรเมธาจารย์ อธิการบดี เป็นประธานคณะกรรมการได้ประชุมครั้งแรก ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุฯ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๖
คณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะวัฒนธรรมมอบหมายให้นายประเทือง เครือหงศ์ เลขานุการคณะกรรมาธิการยกร่างพระราชบัญญัติสถาบันมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหามกุฎราชวิทยาลัย มี ๓๗ มาตรา สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งมีสภามหาวิทยาลัยร่วมกันเพียงสภาเดียวเรียกว่า สภาสถาบันเหมือนกับสถาบันราชภัฏ ๓๖ แห่งที่มีสภาสถาบันเพียงสภาเดียว เมื่อยกร่างเสร็จแล้ว นายอำนวย สุวรรณคีรี ได้ส่งร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ถึงนายปราโมทย์ สุขุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมื่อวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ และได้มีหนังสือลงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ แจ้งให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทราบเรื่องร่างพระราชบัญญัตินี้เช่นกัน
ในวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ คณะผู้บริหารระดับสูงของมหามกุฎราชวิทยาลัย ประกอบด้วย พระเทพวราจารย์ พระราชธรรมนิเทศ พระกวีวรญาณ และพระอมรโมลี มาประชุม ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุฯ ร่วมกับคณะผู้บริหารระดับสูงของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยนำโดย พระเมธีธรรมาภรณ์ พระครูวรกิจจาภรณ์ และพระมหาสมชัย กุสลจิตฺโต เพื่อกำหนดแนวทางดำเนินการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ร่วมกันที่ประชุม มีมติให้ยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับเหมือนกับที่เคยผ่านสภาผู้แทนราษฎรเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๘
ต่อมา ในวันที่ ๑๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ คณะผู้บริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและคณะผู้บริหารมหามกุฎราชวิทยาลัยได้เข้าประชุมร่วมกับคณะกรรมธิการการศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ที่กรมการศาสนา มีนายปราโมทย์ สุขุม เป็นประธาน เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติสถาบันที่คณะกรรมาธิการได้ยกร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ที่ประชุมมีมติให้ยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์แยกกันเป็นสองฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยและร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
ในวันที่ ๑๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ คณะผู้บริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ไปร่วมประชุมกับคณะผู้บริหารมหามกุฎราชวิทยาลัยที่วัดบวรนิเวศวิหาร เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางร่วมกันในการผลักดันร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์
ในวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ นายประเทือง เครือหงศ์ เลขานุการคณะกรรมาธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมได้ส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์สองฉบับ คือ ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยและร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วถึงนายปราโมทย์ สุขุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ในวันที่ ๒๒ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมมฺจิตโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ นำเรื่องปรึกษาสภามหาวิทยาลัยในการประชุมครั้งที่ ๔/๒๕๑๖ เรื่องตำแหน่งทางวิชาการที่จะกำหนดในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ สภามหาวิทยาลัยมีมติให้ใช้แบบสากลนิยม คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์
ในวันที่ ๒๙ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๖ นายปราโมทย์ สุขุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับถึงนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป นายสัมพันธ์ ทองสมัครได้ทำบันทึกถึงนายโกวิท วรพิพัฒน์ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการว่า เรื่องนี้สำคัญละเอียดอ่อนควรขอความเห็นจากคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเกี่ยวกับเรื่องนี้ ปลัดกระทรวงศึกษาธิการได้ทำบันทึกถึง นายสุรัฐ ศิลปอนันต์ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการให้นิมนต์ และเชิญประชุมผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เช่น ผู้แทนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ผู้แทนมหามกุฎราชวิทยาลัย นายอำนวย สุวรรณคีรี อธิบดีกรมการศาสนา อธิบดีกรมวิชาการ อธิบดีกรมสามัญศึกษา เลขาธิการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในวันที่ ๒๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อพิจารณาเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยเฉพาะผู้แทนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ คือ พระอมรเมธาจารย์ อธิการบดี พระเมธีธรรมาภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พระครูศรีวรนายก รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร และพระมหาโกวิทย์ สิริวรณโณ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการวิทยาเขต
ในวันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ นายอำนวย สุวรรณคีรี ในฐานะสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่คณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมยกร่างไว้นั้น ต่อประธานสภาผู้แทนราษฎร
ประธานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาแล้ววินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับเป็นร่างพระราชบัญญัติเกี่ยวด้วยการเงิน เพราะรัฐต้องจัดสรรและโอนงบประมาณรายจ่ายของแผ่นดินมาดำเนินกิจการามหาวิทยาลัยสงฆ์ จึงสั่งการให้ส่งเรื่องไปยังนายกรัฐมนตรีเพื่อพิจารณารับรอง เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรจึงส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เพื่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาล่วงหน้า
ในวันที่ ๑๒ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือถามความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ไปที่กระทรวงศึกษาธิการและทบวงมหาวิทยาลัย ทบวงมหาวิทยาลัยมีหนังสือตอบลงวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๖
ในวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๖ นายปราโมทย์ สุขุม รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์สองฉบับต่อเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อถือเป็นร่างของรัฐบาล
ในวันที่ ๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ นายวิษณุ เครืองาม เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือถามความเห็นเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ไปที่ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงบประมาณกระทรวงการคลังและสำนักนายกรัฐมนตรี
ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ กรมการศาสนาทำหนังสือแจ้งปลัดกระทรวงศึกษาธิการว่า กรมการศาสนาได้นำเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเสนอที่ประชุมมหาเถรสมาคมและที่ประชุมคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ ทุกฝ่ายเห็นชอบในหลักการ ร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับในเดือนตุลาคมนั่นเอง กระทรวงศึกษาธิการแจ้งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีว่า ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับมีความเหมาะสมชอบด้วยหลักการและเหตุผล
ในวันที่ ๑๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขึ้นมาอีกชุดหนึ่ง เพิ่มจำนวนกรรมการเป็น ๒๑ ท่าน มีพระอมรเมธาจารย์ อธิการบดีเป็นประธานมีพระเมธีธรรมาภรณ์และพระครูศรีวรนายก เป็นรองประธาน ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยผ่านการพิจารณาของรัฐสภา
ในวันที่ ๒๘ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๖ นายวิษณุ เครืองาม เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือถึงนายบัญญัติ บรรทัดฐาน รองนายกรัฐมนตรี สรุปความว่า ทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงบประมาณกระทรวงการคลัง และสำนักนายกรัฐมนตรีพิจารณาแล้วเห็นควรสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ โดยทบวงมหาวิทยาลัยเสนอว่ามหาวิทยาลัยสงฆ์ควรอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย
ในวันที่ ๒๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ คณะรัฐมนตรีตั้งข้อสังเกตว่า การจะให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งบริหารด้วยตนเองตามระบบเดิมจะมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกว่าการกำหนดให้อยู่ภายใต้ระบบราชการหรือไม่ และเป็นการสมควรหรือไม่ที่มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งจะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของทบวงมหาวิทยาลัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการขอถอนร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ไปแก้ไขปรับปรุงใหม่ก่อนที่จะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง
ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๖ เลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีไปที่ทบวงมหาวิทยาลัยและกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้พิจารณาตกลงเรื่องหน่วยงานที่จะกำกับดูแลมหาวิทยาลัยสงฆ์
ในวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ คณะผู้บริหารระดับสูงของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีอธิการบดีเป็นประธาน ได้ประชุม ณ ตำหนักสมเด็จ วัดมหาธาตุ พิจารณาสาเหตุที่ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ไม่ผ่านที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ผู้บริหารระดับสูงมีมติให้ส่งผู้แทนมหาวิทยาลัยไปประสานงานกับรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการอย่างใกล้ชิด
ในวันที่ ๑๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ กรมการศาสนาได้เสนอคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์ในการประชุมครั้งที่ ๑/๒๕๓๗ ให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างหรือปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศานา พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่ประชุมมีมติเห็นชอบให้ดำเนินการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการดังกล่าว จำนวน ๑๒ ท่าน
ในวันที่ ๑๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๗ คณะผู้บริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นำโดยอธิการบดีได้เข้าพบนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเพื่อหาทางออกให้กับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในการพบครั้งนี้ได้มีข้อตกลงให้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหามกุฎราชวิทยาลัย ส่งผู้แทนแห่งละ ๕ ท่าน ไปประชุมปรึกษาหารือกับผู้แทนจากกระทรวงศึกษาธิการและผู้แทนจากทบวงมหาวิทยาลัยเพื่อตกลงในประเด็นเรื่องการกำกับดูแลมหาวิทยาลัยสงฆ์
วันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในฐานะองค์ประธานเสนอคณะกรรมการการศึกษาของคณะสงฆ์มีพระบัญชาแต่งตั้งคณะอนุกรรมการยกร่างหรือปรับปรุงแก้ไข พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ จำนวน ๑๒ ท่าน มีพระราชธรรมนิเทศเป็นประธาน และมีนายมาณพ พลไพรินทร์ ผู้อำนวยการกองศาสนศึกษา เป็นกรรมการและเลขานุการ
ในวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้แทนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๕ รูป นำโดยอธิการบดีและผู้แทนมหามกุฎราชวิทยาลัย ๕ รูป ไปประชุมร่วมกับคณะอนุกรรมการยกร่างหรือปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ ที่กรมการศาสนา ที่ประชุมมีมติให้กระทรวงศึกษาธิการมีคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการและผู้แทนมหาวิทยาลัยสงฆ์แห่งละ ๕ รูปนั้นเป็นกรรมการชุดใหญ่มีหน้าที่พิจารณาพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์และพระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ เลขานุการที่ประชุมยังได้เสนอว่า " ควรจะมีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ.๒๕๒๗เป็นหลักเพระนโยบายของท่านรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มหาวิทยาลัยสงฆ์จะไม่มีสองมหาวิทยาลัยอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบันเพราะขณะนี้จะมีมหาวิทยาลัยพุทธศาสนาแห่งโลกเกิดขึ้นโดยตั้งงบประมาณไว้แล้ว "
ต่อมา ทางฝ่ายเลขานุการในคณะอนุกรรมการยกร่างหรือปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ ได้ยกร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ……ซึ่งเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ ร่างพระราชบัญญัติฉบับแก้ไขเพิ่มเติมนี้กำหนดให้ผู้สำเร็จเปรียญธรรม ๙ ประโยคมีวิทยฐานะปริญญาเอก พร้อมกับรับรองวิทยฐานะปริญญาโทและปริญญาเอกในมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง เลขานุการในคณะอนุกรรมการชุดนี้ได้มีหนังสือเชิญอนุกรรมการไปประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวในวันที่ ๗ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗
เมื่อข่าวเรื่องร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้แพร่ออกไป ผู้บริหารมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จะทำให้ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์หมดความหมาย อธิการบดีจึงมีหนังสือแจ้งให้เจ้าหน้าที่และคณาจารย์ทั้งหมดเข้าร่วมเสวนาเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ณ ศูนย์วัดศรีสุดาราม ในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ มหาวิทยาลัยได้เชิญนายอำนวย สุวรรณคีรี ประธานกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม และนายดุสิต โสภิตชา รองประธานกรรมาธิการศาสนาศิลปะ และวัฒนธรรมมาเป็นวิทยากรบรรยายนำ ผู้เข้าร่วมเสวนามีมติยืนยันให้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหามกุฎราชวิทยาลัยและร่างพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยกลับเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ในวันที่ ๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้แทนมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งพร้อมด้วยผู้แทนทบวงมหาวิทยาลัย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานข้าราชการพลเรือน สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี และผู้แทนกรมการศาสนาไปประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมที่รัฐสภาตามหนังสือเชิญของประธานคณะกรรมาธิการ ที่ประชุมมีมติให้รีบเสนอร่างพระราชบัญญัติมหามกุฎราชวิทยาลัยและร่างพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เพราะเวลาได้ล่วงเลยมานานแล้ว และเห็นควรให้มหาวิทยาลัยสงฆ์อยู่ในความควบคุมดูแลของมหาเถรสมาคม และกระทรวงศึกษาธิการตามที่เคยเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ที่ประชุมมีมติให้ผู้เกี่ยวข้องประชุมร่วมกันอีกครั้งหนึ่งที่วัดบวรนิเวศวิหารในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗
ในวันที่ ๑๕ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้แทนกรมการศาสนา (นายศิริ ศิริบุตร รองอธิบดีกรมการศาสนา) ได้มีหนังสือรายงานผลการประชุมที่รัฐสภาต่อนายสัมพันธ์ ทองสมัคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีได้ทำบันทึกท้ายหนังสือว่ามอบให้ ดร.รุ่ง แก้วแดง อธิบดีกรมการศึกษานอกโรงเรียน เป็นประธานคณะทำงานนโยบาย ของกระทรวงศึกษาธิการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการได้ทำบันทึกแยกต่างหาก มอบหมายงานปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์แก่ ดร. รุ่ง แก้วแดง ว่า" เรียนคณะทำงาน (ดร. รุ่ง แก้วแดง)
ด้วย ครม. ได้ให้ ศธ. มาปรับ พ.ร.บ. จัดการศึกษาสงฆ์ ผมมอบเรื่องนี้ให้กรมการศาสนาไปนานแล้ว ยังไม่มีอะไรคืบหน้า ของ ดร. รุ่ง ได้ปรับปรุงแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าวให้ด้วย เมื่อพิจารณาแก้ไขแล้วเสร็จ จะได้สัมมนาหารือร่วมกันอีกสักครั้งก่อนเสนอ ครม."
ในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๗ ผู้แทนมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งพร้อมด้วยผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ประชุมร่วมกับคณะกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรม ที่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์โดยเปรียบเทียบกับร่างพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฎ
ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ดร. รุ่ง แก้วแดง ได้เชิญผู้แทนมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ประธานกรรมาธิการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมและผู้เกี่ยวข้องประชุมครั้งแรกที่กรมการศึกษานอกโรงเรียน เพื่อพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ในการประชุมครั้งนี้ ดร.รุ่ง ได้กำหนดประเด็นปัญหาไว้ ๒๕ ข้อ เพื่อหาคำตอบตรงกันทุกฝ่ายแล้วจึงใช้เป็นหลักการประกอบการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) เป็นผู้ชี้แจงคำตอบในประเด็นปัญหาเหล่านั้นในนามของมหาวิทยาลัยสงฆ์
ดร.รุ่ง แก้วแดง ได้ประชุมครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๑๔ กรกฎาคม และครั้งที่ ๓ ในวันที่ ๒๕ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ผลของการประชุมทำให้ได้หลักการและคำอธิบายประกอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์จำนวน ๒๒ ข้อ ซึ่งที่ประชุมใช้เป็นกรอบในการปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ร่างพระราชบัญญัติที่ปรับปรุงใหม่นี้ได้ยึดแนวของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี พ.ศ. ๒๕๓๓ และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. ๒๕๓๕
ในวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ดร.รุ่ง แก้วแดง เสนอร่างพระราชบัญญัติมหามกุฎราชวิทยาลัย และร่างพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยที่ได้ปรับปรุงใหม่ต่อที่ประชุมอธิบดีของกระทรวงศึกษาธิการ ที่ประชุมเห็นชอบตามเสนอ
ต่อมาในวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗ รัฐมนตรีว่ากระทรวงศึกษาธิการได้ส่งร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีหนังสือถามความเห็นไปยังกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมและสำนักงบประมาณในวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗
สำนักงบประมารทำหนังสือตอบลงวันที่ ๑๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ ยืนยันการสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์
ในวันที่ ๒๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมทำหนังสือตอบเลขาธิการคณะรัฐมนตรีว่า พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ไม่ต้องอยู่ภายใต้บังคับกฎหมายแรงงาน
วันที่ ๓ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย และร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และให้ส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา
ในปี ๒๕๓๗ ได้มีการยกร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้รับการเห็นชอบและส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา แต่ก็มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาก่อนที่จะถึงวาระการพิจารณาลงมติเห็นชอบในวาระที่ ๑ ของสภาผู้แทนราษฎร
ในวันที่ ๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เลขาธิการคณะรัฐมนตรีส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณา
ในวันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๘ มีการประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาชุดเล็กเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นครั้งแรก มีนางสาวพวงเพชร สารคุณ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีการเป็นประธานที่ประชุมมีผู้แทนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๓ รูป ไปชี้แจง คือ พระอมรเมธาจารย์ พระเมธีธรรมาภรณ์ และพระมหาสุรพล สุจริโต ดร.รุ่ง แก้วแดง เข้าชี้แจงในนามกระทรวงศึกษาธิการพร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานต่าง ๆ คือ สำนักงบประมาณ กรมธนารักษ์ กรมบัญชีกลาง กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน สำนักงานส่งเสริมตุลาการ และสำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย
คณะกรรมการกฤษฎีกาชุดนี้ประชุมครั้งที่ ๒ ในวันที่ ๓ มีนาคม และประชุมครั้งที่ ๓ ในวันที่ ๒๑ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๘
ในวันที่ ๑๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ มีประกาศยุบสภา รัฐบาลของนายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัย ได้สิ้นสุดลง ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับนี้จึงตกไปในขณะที่ยังค้างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
เมื่อรัฐบาลที่นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นนายกรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศมหาวิทยาลัยเริ่มดำเนินการเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ต่อไปด้วย การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับพระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยชุดใหม่ มีพระเมธีธรรมาภรณ์เป็นประธาน พระครูศรีวรนายกเป็นรองประธาน และพระมหาสุรพล สุจริโตเป็นกรรมการและเลขานุการ เมื่อวันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘
ในวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะสังคมศาสตร์ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย จัดอภิปรายเรื่อง " แนวทางการสานต่อ พ.ร.บ. มหาวิทยาลัยสงฆ์ " ผู้ร่วมอภิปรายประกอบด้วย นายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการคนใหม่ ดร.รุ่ง แก้วแดง นายอำนวย สุวรรณคีรี ร้อยโทกุเทพ ใสกระจ่าง และนายจำนงค์ สวมประคำ โดยมีพระเมธีธรรมาภรณ์เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย คณะวิทยากรและผู้ดำเนินการอภิปรายได้เสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการการสาน ต่อพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ นายสุขวิช รังสิตพลให้ความมั่นใจแก่ที่ประชุมว่า จะถือเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์เป็นนโยบายสำคัญ ของกระทรวง ศึกษาธิการ
ภายหลังการอภิปรายในวันนั้น พระเมธีธรรมาภรณ์ได้นัดประชุมคณะกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเป็นครั้งแรกเพื่อกำหนดแนวทางการประสานงานเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์
ในวันที่ ๑๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ กระทรวงศึกษาธิการส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งสองฉบับถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเพื่อเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
ผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่ง ได้เข้าพบ ร.ต.ท. เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในวันที่ ๑๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ และได้เข้าพบนายสุขวิช รังสิตพล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ในวันที่ ๒๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ เพื่อสอบถามความคืบหน้าของพระราชบัญญัติมหาวิทยาลังสงฆ์
เลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือลงวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ถึงเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาให้เร่งพิจารณา ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ ที่ค้างการพิจารในสมัยรัฐบาลก่อน
ในวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ คณะกรรมการกฤษฎีกาประชุมพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ต่อจากที่ค้างไว้จนครบทุกมาตรา
ต่อมาในวันที่ ๑๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ ที่ประชุมคณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๒๗ เพื่อให้สอดคล้องกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์
ในวันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๘ เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกามีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรางายผลการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ และร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระรพุทธศาสนา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม
ในวันที่ ๑๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมกุฎราชวิทยาลัย ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม แต่ก็มีพระราชกฤษฎีกายุบสภาอีก
ในวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี มีหนังสือถึงนายโภคิน พลกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อให้พิจารณาประเด็นที่ว่ามหาวิทยาลัยสงฆ์ควรมีอำนาจกู้ยืมเงินเพื่อการศึกษาและการวิจัยโดยมีรัฐบาลค้ำประกันหรือไม่
ในวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ประกอบด้วยพระครูศรีวรนายก พระมหาสุรพล สุจริโต พระมหาไพเราะ ฐิตสีโล พระมาไสว โชติกา และ ดร.พรรษา พ่วงแตง ได้เข้าพบนายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอให้เร่งนำร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์บรรจุในวาระการประชุมของสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาโดยเร็ว
ในวันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะกรรมาธิการการศึกษา สภาผู้แทนราษฎรมีมติสนับสนุนร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ประธานคณะกรรมการมีหนังสือแจ้งให้พระสุเมธาธิบดี นายกสภามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยทราบในวันที่ ๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙
ในวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ นายโภคิน พลกุล ได้เพิ่มประเด็นที่ว่าให้กระทรวงการคลังค้ำประกันหนี้ต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสงฆ์และได้แจ้งไปยังประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อขอดำเนินการต่อไป
ในวันที่ ๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ นายปองพล อดิเรกสาร ประธานคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรได้นัดประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ทำเนียบรัฐบาล มีผู้แทนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยไปร่วมประชุมชี้แจง ๓ รูป คือ พระราชรัตนโมลี พระเมธีธรรมาภรณ์ และพระมหาสุรพล สุจริโต
ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรีมีหนังสือถึงประธานสภาผู้แทนราษฎรเพื่อส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมเสนอสภาผู้แทนราษฎร
ในวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ คณะผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองแห่งได้เข้าเฝ้าสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เพื่อกราบทูลถวายรายงานความคืบหน้าของการเสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ สมเด็จพระสังฆราชได้มีลิขิตถึงนายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี นายบุญเอื้อ ประเสริฐสุวรรณ ประธานสภาผู้แทนราษฎร นายชวนหลีกภัย ผู้นำฝ่ายค้าน และนายมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานวุฒิสภา เพื่อให้เร่งดำเนินการเกี่ยวกับ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับจนทันประกาศใช้ในปีกาญจนภิเษก
ในวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้มีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ และร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอ พร้อมด้วยร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์อีก ๓ ร่างที่นายอำนวย สุวรรณคีรี นายไพจิต ศรีวรขาน และพันตำรวจเอกสุทธี คะสุวรรณเป็นผู้นำเสนอ ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแปรญัตติโดยให้ถือร่างของรัฐบาลเป็นหลัก
คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวน ๒๗ ท่าน มี ร.ต.ท. เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ เป็นประธาน นายอำนวย สุวรรณคีรี นายไพจิต ศรีวรขาน และนายดุสิต โสภิตชาเป็นรองประธาน มีกรรมการที่เป็นศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๓ ท่านคือ นายจำนงค์ ทองประเสริฐ ร้อยโทกุเทพ ใสกระจ่าง และนายสนิท ศรีสำแดง ผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมประชุมชี้แจงในคณะกรรมการ คือ พระเมธีธรรมาภรณ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิชากากร และมหาสุรพล สุจริโต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผน คณะกรรมาธิการประชุมรวม ๕ ครั้ง
ประธานสภาผู้แทนราษฎร ได้บรรจุเรื่องร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่คณะกรรมาธิการพิจารณาเสร็จเรียบร้อยแล้ว เข้าสู่ระเบียบวาระการประชุมสภาผู้แทนราษฎรในวันที่ ๒๕ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ เรื่องอยู่ในอันดับที่ ๔ แต่ยังไม่ทันได้รับการพิจารณาก็ปิดประชุมเสียก่อน
ในวันที่ ๒๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๙ ได้มีพระราชกฤษฎีกายุบสภา รัฐบาลซึ่งมีนายบรรหาร ศิลปอาชาได้สิ้นสุดลง ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์จึงตกไป
ต่อมาในวันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้มีการหนังสือถึงกรมการศาสนาว่า " ถ้ามีความประสงค์จะดำเนินงานต่อ ให้ยืนยันร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์และเสนอไปยังสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง "
ในวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ กรมการศาสนามีหนังสือถึงปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ยืนยันร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ เพื่อเสนอนายสุขวิช รังสิตพลรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการในคณะรัฐบาลที่มี พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรี พิจารณาลงนามในหนังสือแจ้งเลขาธิการคณะรัฐมนตรีต่อไป
ในวันที่ ๑๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีหนังสือถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ยืนยันร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ
ในวันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ และมีมติให้เสนอสภาผู้แทนราษฎรในวันเดียวกันนั่นเอง โดยไม่ต้องให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาอีก
ในวันที่ ๖ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ หลังจากที่ได้บรรจุเรื่องร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์เข้าสู่การประชุมสภาผู้แทนราษฎรแล้ว คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎร มีมติให้เลื่อนระเบียบวาระเรื่องพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ขึ้นมาพิจารณาในอันดับที่ ๖.๓ , ๖.๔ ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรซึ่งจะมีขึ้นในวันที่ ๘ ธันวาคม โดยมีผู้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสอง คือ คณะรัฐมนตรี นายอำนวย สุวรรณคีรีและคณะ นายณัฐวุฒิ ประเสริฐสุวรรณและคณะ นายเปรมศักดิ์ เพียยุระและคณะ
ในวันที่ ๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับและร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ๒) และลงมติด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์รับหลักการร่างพระราชบัญญัติทั้งสามฉบับ ที่ประชุมได้ตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาแปรญัตติโดยให้ถือร่างของรัฐบาลเป็นหลัก
คณะกรรมาธิการวิสามัญชุดนี้ ประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวน ๒๗ ท่าน มีนายสังข์ทอง ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธาน นายอำนวย สุวรรณคีรี ร.ต.ท. เชาวริน ลัทธศักดิ์ศิริ และนายดุสิต โสภิตชา เป็นรองประธาน มีกรรมการที่เป็นศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๓ ท่าน คือ นายจำนงค์ ทองประเสริฐ ร้อยโทกุเทพ ใสกระจ่าง และนายสนิท ศรีสำแดง เป็นผู้บริหารมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมประชุมชี้แจงในคณะกรรมาธิการ คือ พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต) รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ พระมหาสุรพล สุจริโต รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและวางแผน และพระมหาโกวิทย์ สิริวณฺโณ รองอธิการบดีฝ่ายกิจการวิทยาเขต
ผลการประชุมพิจารณาในครั้งที่ ๓ นี้กล่าวเฉพาะ ในส่วนพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีประเด็นสำคัญที่ควรทราบคือ มาตราที่ ๖ ความเดิมวรรคหนึ่งมีว่า " ให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้นมหาวิทยาลัยหนึ่งเรียกว่ามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและเป็นนิติบุคคลอยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ " คณะกรรมาธิการได้ขอแปรญัตติตัดคำว่า " อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ " ที่ประชุมพิจารณาเห็นว่า การจะให้มหาวิทยาลัยอยู่ในพระบรมราชูปภัมภ์ควรเป็นไปตามพระราชวินิจฉัยขององค์พระมหากษัตริย์ การตรากฎหมายกำหนดให้อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นเรื่องไม่เหมาะสม เมื่อได้อภิปรายกันแล้ว ที่ประชุมมีมติให้ตัดคำว่า " อยู่ในพระบรมราชูปถัมภ์ " ออกไป
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาเสร็จแล้ว นายสังข์ทอง ศรีธเรศประธานคณะกรรมาธิการได้ส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ และร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ในวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐ เพื่อเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ในวันที่ ๑๒ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้งสามฉบับซึ่งคณะกรรมาธิการวิสามัญได้พิจารณาเสร็จแล้วลงมติในวาระที่ ๒ และที่ ๓ เห็นชอบกับร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยทั้งสองฉบับและร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์
ในวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ประชุมวุฒิสภา ได้ลงมติรับหลักการร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์และร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ๒) และมอบให้คณะกรรมาธิการการศึกษาและวัฒนธรรมของวุฒิสภาพิจารณาแปรญัติภายใน ๕ วัน
คณะกรรมาธิการชุดนี้จำนวน ๑๗ คน มีนายเกษม สุวรรณกุลเป็นประธานมีนายสิปนนท์ เกตุทัต และนายวิจิตร ศรีสอ้านเป็นรองประธาน นายจำนงค์ ทองประเสริฐเป็นเลขานุการ ผู้แทนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยเข้าร่วมประชุมชี้แจงแสดงความเห็น ๔ ท่าน คือ พระราชวรมุนี พระมหาสุรพล สุจริโต พระมหาโกวิทย์ สิริวณ?โณ และพระมหาไสว โชติโก คณะกรรมาธิการได้ประชุม ๕ ครั้ง
ในวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๐ นายเกษม สุวรรณกุล ประธานคณะกรรมการการศึกษาวัฒนธรรมได้ส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ และร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนาฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ต่อวุฒิสภาเพื่อพิจารณา
ในวันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรรับทราบมติของวุฒิสภาเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้จึงสำเร็จเป็นกฎหมายไปก่อน แต่เนื่องจากที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ที่ผ่านการพิจารณา ของวุฒิสภาแล้วนั่น มีแก้ไขเพิ่มเติม ๑๙ มาตรา บางมาตราเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมในสาระสำคัญ โดยเฉพาะมาตรา ๗ ความเดิมมีว่า " มหาวิทยาลัยไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ตามกฎหมายว่าด้วยวิธีงบประมาณหรือกฎหมายอื่น " วุฒิสภาได้แก้ไขเป็น " มหาวิทยาลัยไม่เป็นส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ " ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรจึงมีมติให้ตั้งคณะกรรมการร่วมกัน เพื่อพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ ประกอบด้วยกรรมาธิการจำนวน ๒๒ คน คณะกรรมาธิการชุดนี้มีนายสังข์ทอง ศรีธเรศเป็นประธาน นายสุรัฐ ศิลปอนันต์ และนายวิจิตร ศรีสอ้าน เป็นรองประธาน ร้อยโท กุเทพ ใสกระจ่าง เป็นเลขานุการ
พระราชวรมุนี อธิการบดีมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้มีหนังสือลงวันที่ ๒๔ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ถึงนายสังข์ทอง ศรีธเรศ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการว่า การที่พระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ผ่านรัฐสภาเป็นกฎหมายไปแล้ว ทั้งที่พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ยังค้างอยู่นั้นก่อนให้เกิดปัญหาต่อมา ถ้าพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ตกไปเพราะเหตุใดเหตุหนึ่ง จะมีผลให้การดำเนินงานทั้งหมดของมหาวิทยาลัยสงฆ์ไม่มีกฎหมายรองรับ เพราะประเด็นที่เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยสงฆ์ในพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา ฉบับแก้ไขเพิ่มเติมได้ถูกตัดออกไป
ต่อมาคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ ได้มีการประชุม ๒ ครั้ง คือ
ครั้งที่ ๑ วันที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
ครั้งที่ ๒ วันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐
ประเด็นเกี่ยวกับมาตรา ๗ นั้น ที่ประชุมคณะกรรมาธิการร่วมมีมติแก้ไขเพิ่มเติมว่า " ให้มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ "
ในวันที่ ๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ นายสังข์ทอง ศรีธเรศ ได้เสนอร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับที่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการแล้วต่อสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้งหนึ่ง
ในวันที่ ๒๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ
ในวันที่ ๒๒ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเห็นชอบต่อจากนั้น เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้ส่งร่างพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ ทั้งสองฉบับ และร่างพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ๒) ถึงเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ให้นำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย
ในวันที่ ๒๑ กันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชฯ รัชกาลปัจจุบัน ได้ทรงลงพระปรมาภิไธยในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้งสองฉบับ คือ พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๔๐ และพระราชบัญญัติกำหนดวิทยฐานะผู้สำเร็จวิชาการพระพุทธศาสนา (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๐
บทบาทของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยต่อสังคม
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีนโยบายอย่างชัดเจนในการบริการวิชาการ เพื่อพัฒนาสังคม  ประชาชน โดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการแก้ไขปัญหาชีวิต ผ่านองค์กรหน่วยงานและบุคลากรของมหาวิทยาลัย โดยเน้นทั้งภาควิชาการและภาคปฏิบัติ มหาวิทยาลัยได้ตระหนักถึงปัญหาเหล่านี้ จึงได้จัดรายการบรรยายธรรมะทางสถานีวิทยุกระจายเสียงและจัดสัมมนาทางวิชาการในสถานที่ต่างๆ แก่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและวิชาการทั่วไป
งานทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
          พระพุทธศาสนา เป็นศาสนาประจำชาติของประเทศไทยที่ประชาชนชาวไทยให้ความเคารพนับถือมาเป็นเวลาหลายศตวรรษ ศิลปวัฒนธรรมจึงได้รับอิทธิพลมาจากพระพุทธศาสนามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ซึงเป็นมหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาเน้นหนักด้านพระพุทธศาสนาได้ตระหนักถึงความสำคัญของการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงได้พัฒนาศักยภาพของบุคลากรในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้มีประสิทธิภาพ โดยได้สนับสนุนส่งเสริมให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยและนิสิตจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนเป็นโครงการที่ กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรมได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบ ประมาณ พ.. ๒๕๔๘-๒๕๕๐ โดยแรกเริ่มรัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้จำนวน ๑๐,๐๐๐,๐๐๐บาท เพื่ออุดหนุน เป็นค่าใช้ จ่ายถวายพระสอนธรรมในโรงเรียนที่เข้าไปสอนในสถานศึกษา ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา และระดับ อาชีวะศึกษาทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประมาณ ๖๐๐ รูป ภายหลังต่อมาจากการที่กระทรวง-วัฒนธรรมได้ทำข้อตกลงความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ และมีการประชุมร่วมกัน พบว่ากระทรวงศึกษาธิการ มีความต้องการพระสอน ฯ ไปสอนในโรงเรียนเฉพาะที่สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)ไม่น้อยกว่า ๕๘,๐๗๓ รูป โดยเฉพาะโรงเรียนวิถีพุทธ ซึ่งมีอยู่จำนวนมากกว่า ๑๐,๐๐๐ แห่ง  ดังนั้น กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้วิเคราะห์เหตุผลความจำเป็นและบริบทที่เกี่ยวข้องทุกด้านแล้วจึงได้มีแนวคิดว่าจะขยายพระสอนฯให้เข้าไปสอนโรงเรียน เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของกระทรวง ศึกษาธิการ ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ คือ ๑ ตำบล ต่อ ๑พระสอนฯ โดยจะขยายเพิ่มขึ้นอีก ๔,๐๐๐ รูปเป็นการ นำร่อง จากนั้นได้เสนอของบประมาณกลางจากรัฐบาลเพื่ออุดหนุนเป็นค่าใช้จ่ายของพระสอน ฯ จำนวน ๔,๐๐๐ รูป รูปละ ๒,๐๐๐ บาทต่อเดือน และเป็นค่าดำเนินการจัดทำหนังสือ อุปกรณ์เกี่ยวกับการเรียนการสอนการติดตาม ประเมินผลโครงการเพื่อให้สาธารณชนทั่วประเทศเห็นความสำคัญของพระสงฆ์ โดยมุ่งเน้นประโยชน์ที่จะได้รับ คือ ผู้เรียนได้แก่ เด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และมีเป้าหมายเพิ่มจำนวนพระสอนฯให้มากขึ้นเป็น๒๐,๐๐๐,๐๐๐ รูป เพื่อให้ครอบคลุมพื้นที่ตามเป้าหมายในปีงบประมาณ ๒๕๕๑ กรมการศาสนาได้เปลี่ยน บทบาทการบริหารโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่ ดำเนินการมาแต่เดิมไปสนับสนุนกิจกรรม คุณธรรมอื่นๆ โดยได้โอนภาระงานพร้อมงบประมาณให้กระทรวงศึกษาธิการ รับดำเนินการ และได้มอบให้มหาวิทยาลัย-มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยรับโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมาดำเนินการจัดเข้าในพันธกิจ ประเภทงานให้บริการวิชาการแก่ชุมชน โดยได้ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยว ข้อง ๕ หน่วยงาน ดังนี้
๑. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย มีพระสงฆ์ที่มีความ พร้อมและมีพระที่สอนอยู่ในสถานศึกษาต่าง ๆ อยู่แล้ว
๒. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ มีศึกษานิเทศก์และสถานศึกษา /โรงเรียนที่มีความต้องการพระสอนฯ
                   ๓. กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม มีวัฒนธรรมจังหวัดซึ่งเป็นผู้ดูแลโครงการ ฯ มาแต่เริ่มแรก
                   ๔. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ มีผู้อำนวยการพระพุทธศาสนาจังหวัดเป็นผู้ส่งเสริมพระสอนฯ ที่เข้าไปทำการสอนในโรงเรียน
                   ๕. ภาคคณะสงฆ์ทั้ง ๑๘ ภาค มีเจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัดซึ่งปกครองดูแลพระสอนทั่วประเทศ กระบวนการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อได้รับมอบโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนพร้อมทั้ง งบประมาณมาแล้ว เพื่อให้การดำเนินงานโครงการพระสอนฯ มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์อันพึงประสงค์ คือนักเรียนได้รับการปลูกฝังในเรื่องคุณธรรมจริยธรรมจากพระสอนโดยตรง และคุ้มค่ากับงบประมาณที่ได้รับ จึงได้เตรียมแผนปฏิบัติการรองรับการดำเนินการโครงการอย่างเป็นระบบ และได้ดำเนินการประสานงานกับคณะสงฆ์ สถานศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยได้มีการประชาสัมพันธ์โครงการและจัดอบรมถวาย ความรู้เพิ่มประสิทธิภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนทั่วประเทศ เพื่อสร้างศักยภาพในการทำงานให้เป็นที่ยอมรับของสถานศึกษา และเพื่อปลูกฝังคุณธรรมและจริยธรรมให้กับนักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจในหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาอย่างถูกต้องพร้อมกับมีความประพฤติที่ดีงาม โดยได้จัดแผนการดำเนินการโครงการซึ่งมีกระบวนการบริหารโครงการดังนี้

๑.จัดประชุมคณะกรรมการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
๒.จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการ/อำนวยการโครงกาพระสอน ฯ ทั่วประเทศ
๓.การปฐมนิเทศพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนทั่วประเทศ
๔.การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเข้มข้นวิทยากรแกนนำโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
๕.การอบรมพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
๖.การจัดทำคู่มือ หนังสือการจัดสาระการเรียนรู้พระพุทธศาสนา พ.ศ. ๒๕๔๔ และพัฒนาเว็บไซต์โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน
๗.การวิจัย
๘.การนิเทศ การติดตามประเมินผล
๙. การจัดถวายค่าตอบแทน
๑๐.การรับสมัคร/การคัดเลือกพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนทั่วประเทศ
สืบเนื่องมาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้รับโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มาบริหาร ต่อจากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม จึงได้มีประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ประกอบด้วย
(๑) คณะกรรมการที่ปรึกษา
(๒) คณะกรรมการอำนวยการ
(๓) คณะกรรมการดำเนินงาน เพื่อกำหนดนโยบายและวางแผนงานโครงการ ฯ เพื่อให้การดำเนินงานโครงการ ฯ เป็นไปตามนโยบายและวัตถุประสงค์ของมหาวิทยาลัยและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งในรอบ ๑ ปี คณะกรรมการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนได้มีการประชุมกันอย่างต่อเนื่อง
พร้อมกันนี้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการ พระสอนศีลธรรมในโรงเรียนทั่วประเทศ ๒๔ ชุดโดยสัมพันธ์กับภาคสงฆ์ประกอบด้วย ภาคกลาง ๒๓ จังหวัด ๖ ภาค มีคณะกรรมการอำนวยการดูแลชุดละ ๑ ภาค ในส่วนของวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน และหน่วยวิทยบริการรวม ๑๘ แห่งมีคณะกรรมการอำนวยการดูแลในแต่ละพื้นที่ ลงนามอนุมัติโดยอธิการบดีเมื่อวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๑ ทั้งนี้ คณะกรรมการแต่ละชุดจะมีหน้าทีรับนโยบายแผนการดำเนินการจากคณะกรรมการบริหารโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนของส่วนกลางมาปฏิบัติพร้อมทั้งอำนวยการโครงการพระสอน ฯ ในพื้นที่ได้รับผิดชอบประจำหน่วยงานของ ตนเองเพื่อควบคุมดูแล ส่งเสริม ภารกิจของโครงการ ฯ ให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งคณะกรรมการโครงการ ฯ ในแต่ละพื้นที่ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพร้อม ทั้งได้ประสานงานกับภาคสงฆ์และภาค รัฐพร้อมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์
ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์  เริ่มจัดตั้งขึ้นครั้งแรกในประเทศศรีลังกา จากนั้นได้ขยายไปยังประเทศอื่นที่มีพระภิกษุชาวลังกาไปจัดตั้ง สำหรับประเทศไทย ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์เริ่มกำเนิดขึ้นเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๙๖-๒๕๐๐ โดยพระพิมลธรรม (อาจ อาสภมหาเถร) สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง (สมัยพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๔๘๔) อธิบดีสงฆ์ (เจ้าอาวาส) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์องค์ทุติยสภานายกมหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีสมณศักดิ์ สุดท้ายเป็นที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ได้เดินทางไปดู กิจการพระพุทธศาสนาที่ประเทศพม่าและศรีลังกา เห็นพระสงฆ์ในประเทศพม่าและศรีลังกาจัดระเบียบการสอนศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชนได้ผลดีมาก และจัดการสอนเฉพาะวันอาทิตย์ เมื่อท่านเดินทางกลับมาประเทศไทย จึงได้ปรารภถึง การสอนศีลธรรมของพระสงฆ์ในประเทศพม่า และศรีลังกาแก่พระเจ้าหน้าที่บริหารและพระนิสิตของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมีดำริว่า "โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ สมควรจะได้จัดให้มีขึ้นในประเทศไทยบ้าง เพราะว่าเด็กและเยาวชนมีความสนใจในพระพุทธศาสนา อยู่แล้ว ซึ่งจะทำให้เป็นกำลังสำคัญของพระพุทธศาสนาต่อไป และยังเป็นการส่งเสริมในด้านการเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกประการหนึ่ง อีกทั้งเป็นการให้โอกาสแก่เด็ก และเยาวชนได้ศึกษา และรู้จักหลักธรรมในพระพุทธศาสนาได้ถูกต้องตามสมควรแก่วัยของตน " ประกอบกับในสมัยนั้น พระเจ้าหน้าที่และพระนิสิตของมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัยได้นำบุตรหลานของข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนทั่วไป ที่สนใจมาฟังบรรยาย ฝึกสมาธิในวันอาทิตย์ ซึ่งพากันวิ่งเล่นบริเวณลานอโศกวัดมหาธาตุฯ มาเล่านิทานและสอนธรรมะ  นอกจากนั้นทางโรงเรียนและมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้อาราธนาพระสงฆ์ดังกล่าวไปสอนธรรมะอบรมศีลธรรมแก่นักเรียนและนักศึกษาอีกด้วย ดังนั้นพระเจ้าหน้าที่และพระนิสิตมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย  จึงดำเนินการขอเสนออนุมัติ ต่อทางสภามหาวิทยาลัย  เพื่อเปิดสอนโรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น ได้รับอนุมัติให้เปิดทำการสอน เมื่อวันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๑ จึงนับได้ว่าเป็นโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์แห่งแรกในประเทศไทย หลังจากนั้นก็ได้รับความสนใจ  มีการจัดตั้งขยายไปยังวัดต่างๆ ทั่วประเทศ
ต่อมาทางราชการจึงได้พิจารณาเห็นว่า สภาพสังคมไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปจากสังคมเกษตรกรรมเป็นสังคมอุตสาหกรรม ประชาชน ส่วนใหญ่ต่างก็มุ่งแต่จะประกอบภารกิจเกี่ยวกับอาชีพการงานที่รัดตัว โดยไม่มีเวลาสนใจเข้าวัดปฏิบัติธรรมหรือประพฤติตนในฐานะเป็น พุทธศาสนิกชนที่ดี เด็กและเยาวชนที่เกิดมาในครอบครัวชาวพุทธ จึงขาดแบบอย่างที่ดีในการประพฤติปฏิบัติตนตามหลักของพระพุทธศาสนา ดังนั้นหากทางราชการสนับสนุนให้วัดในฐานะที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนได้จัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นโดยเน้นให้พระสงฆ์ เป็นผู้อบรมสั่งสอน ก็จะเป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้รับการอบรมปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมตั้งแต่วัยการศึกษา และได้ใช้เวลาว่าง จากวันหยุดการศึกษาได้ศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และนำไปประพฤติปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้ถูกต้องตามสมควรแก่วัย ทั้งยังเป็น การส่งเสริมและสนับสนุนให้วัดมีบทบาทในการปฏิบัติภารกิจด้านการศึกษาสงเคราะห์และเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างบ้าน วัด และโรงเรียน ให้เป็นเอกลักษณ์ของวิถีชีวิตในสังคมไทยตลอดไป
ด้วยเหตุนี้ กรมการศาสนาในฐานะเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ด้านการรับสนองงานการพระศาสนา โดยเฉพาะพระพุทธศาสนาที่ต้องทำนุบำรุงส่งเสริมเป็นพิเศษในฐานะที่เป็นศาสนาประจำชาติไทยมาตั้งแต่บรรพกาล จึงได้จัดตั้งโครงการส่งเสริมการศึกษาศูนย์ศึกษา พระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๒๐ เป็นต้นมา โดยในระยะแรกได้จัดสรรงบประมาณอุดหนุนวัดต่างๆ ที่เปิดดำเนินการ โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ด้วยงบประมาณที่จำกัด และได้เห็นความสำคัญของการเผยแผ่ ปลูกฝังศีลธรรมแก่เด็กและเยาวชนในรูปแบบ การศึกษาสงเคราะห์ โดยการจัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เพื่อสอนวิชาพระพุทธศาสนาขึ้นในวัด ที่ดำเนินการโดยพระสงฆ์ยิ่งขึ้นจึงได้เสนอโครงการส่งเสริมต่อรัฐบาลเพื่อให้ได้รับงบประมาณสนับสนุนมากขึ้น ซึ่งรัฐบาลทุกสมัย ก็ได้เห็นความสำคัญของงานด้านนี้ว่า เป็นการดำเนินงานพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสู่ประชาชนที่มีเด็กและเยาวชนเป็นเป้าหมายที่สำคัญยิ่ง จึงได้มีนโยบายส่งเสริมสนับสนุนด้านงบประมาณอย่างต่อเนื่องทุกปี
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๓ เพื่อให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางและสอดคล้องกับระเบียบทางราชการโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ทั่วประเทศได้เปลี่ยนชื่อจากคำว่า "โรงเรียน" เป็น "ศูนย์ศึกษา" จึงมีชื่อเป็นทางการมาจนปัจจุบันนี้ว่า "ศูนย์ศึกษา" จึงมีชื่อเป็นทางการมาจนปัจจุบันนี้ว่า"ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์" และกำหนดให้ใช้อักษรย่อว่า "ศพอ."  นับตั้งแต่นั้นมา ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ก็ได้เจริญแพร่หลาย เพิ่มจำนวนขึ้นตามลำดับ อีกทั้งในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ อันเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบนักษัตร ๖๐ พรรษา คณะสงฆ์และกรมการศาสนาได้สนับสนุนให้วัดทั่วประเทศเปิดศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ โดยกำหนดเป้าหมายให้ได้จำนวน ๖๑ ศูนย์ เพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลและเฉลิมพระเกียรติแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อการดำเนินงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ในความอุปถัมภ์ของกรมการศาสนาเป็นไปโดยสะดวก รวดเร็วมีเอกภาพ และมีประสิทธิภาพ กรมการศาสนาจึงได้ออกระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๕๓๔ ใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๓๔ (ปัจจุบันได้เปลี่ยนเป็นระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๕๔๗ โดยประกาศใช้เมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๔๗) ซึ่งในระเบียบนี้กำหนดให้มี (๑) แนวทางการจัดตั้งและดำเนินงาน (๒) การจัดชั้นเรียนและหลักสูตรการสอน (๓) การประเมินผลการศึกษา และ (๔) การส่งเสริมอุดหนุนโดยกรมการศาสนาได้นำเสนอระเบียบนี้ให้มหาเถรสมาคมรับทราบต่อมาเมื่อวันที่ ๑๗ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๔ เพื่อให้เป็นไปตามความในข้อ ๑๗ แห่งระเบียบกรมการศาสนาว่าด้วยศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ พ.ศ. ๒๕๓๔เพื่อให้การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ทั่วประเทศเป็นไปอย่างมีเอกภาพ โดยมีสำนักงานกลางเป็นศูนย์ประสาน ควบคุม ดูแล และส่งเสริมการจัดการศึกษา การพัฒนาบุคลากร การกำหนดและพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร การจัดทำคู่มือครู และการผลิตสื่อการเรียนารสอนสำหรับใช้ในศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ กรมการศาสนาได้ประกาศตั้งสำนักงานบริหารการศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้น
สำนักธรรมวิจัย
          จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๔๙๙ ณ อาคารสำนักธรรมวิจัย บริเวณวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ โดยได้ยกรากฐานมาจาก แผนกธรรมวิจัยเพื่อให้ความรู้ด้านพุทธปรัชญาแก่ประชาชนทั่วไป ในระยะแรกๆ สำนักธรรมวิจัยได้ให้บริการความรู้ทางพุทธปรัชญาเฉพาะในวันอาทิตย์เท่านั้น โดยมีอาจารย์พร รัตนสุวรรณ เป็นวิทยากรประจำ
          โดยที่สำนักธรรมวิจัย ได้มีผู้ที่ให้ความสนใจเพิ่มมากขึ้น ต่อมาจึงมีการขยายงานและกิจกรรมต่างๆของมหาวิทยาลัย
          งานเผยแผ่ธรรมทางวิทยุและโทรทัศน์
งานเผยแผ่หลักธรรมในทางพระพุทธศาสนาและกิจกรรมของมหาวิทยาลัย เป็นงานที่มีความสำคัญและเป็นภารกิจหลักที่มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องจัดขึ้น เพื่อประโยชน์ของสาธารณชน ทั้งนี้เนื่องจากงานเผยแผ่ธรรมทางวิทยุและโทรทัศน์นั้น เป็นการบริการวิชาแก่สังคมที่สอดคล้องกับสถานการณ์ของโลกในยุคปัจจุบัน
          ปัจจุบันหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านการเผยแผ่ธรรมทางวิทยุและโทรทัศน์ของมหาวิทยาลัยได้แก่ กองประชาสัมพันธ์และการเผยแผ่ สำนักงานอธิการบดี โดยทำหน้าที่เป็นแม่ข่ายในการติดต่อปะสานงานกับหน่อยงานอื่นๆทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
·         งานเผยแผ่ธรรมทางวิทยุ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ดำเนินการเช่าคลื่นวิทยุจากราชการ คือกองพลทหารม้าที่ ๒ (พล.ม.๒) ออกอากาศประจำทุกวัน ในระบบ เอ.เอ็ม. ขนาดคลื่นความถี่ ๙๖๓ กิโลเฮิร์ต
·         งานเผยแผ่ธรรมทางสื่อโทรทัศน์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จัดรายการเผยแผ่ศีลธรรม วัฒนธรรม และพุทธธรรม ตลอดจนอื่นๆที่เป็นสาระแก่ประชาชนและเยาวชนอย่างกว้างขวาง คือ
๑.     รายการ ธรรมส่องโลก ทางสถานีโทรทัศน์องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย        (อ.ส.ม.ท.)
๒.     รายการ ธรรมนูญชีวิต ทางสถานีโทรทัศน์ ไทยสกาย (TS)
๓.     รายการ ปุจฉา-วิสัชนา ทางสถานีโทรทัศน์ไทยคม (ETV) ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
และรายการอื่นๆทางสถานีโทรทัศน์ทางภาครัฐและเอกชน อีกมากมาย
วารสารหมาวิทยาลัย
          มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย นอกจากจะจัดพิมพ์ตำราวิชาการทั้งภาษาไทยและภาษาบาลีสันสฤตแล้ว ยังได้จักพิมพ์เอกสารอื่นๆที่เกี่ยวกับการเผยแผ่พระพุทธศาสนา มีการตีพิมพ์ทั้งส่วนกลางและวิทยาเขต
๑.     นิตยสารพุทธจักร
๒.     วารสารเสียงธรรม
๓.     อนุสารเพื่อนใจ
๔.     นิตยสารของวิทยาเขต
งานสถาบันวิปัสสนาธุระ
          การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้นถือว่าเป็นการศึกษาและการฝึกอบรมจิตใจของคนและพระให้ดียิ่งขึ้น ตามที่พระพุทธองค์ทรงตรัสสอนไว้อย่างชัดเจนในพระไตรปิฎก ซึ่งว่าด้วย มหาสติปัฏฐานสูตรโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้พุทธบริษัทผู้ปฏิบัติวิปัสสนาได้ทำจิตใจให้บริสุทธิ์จากอุปกิเลสเครื่องเศร้าหมองทั้ง ๒ ประการ คือ
๑.       คันถธุระ          การศึกษาเล่าเรียนตามตำรา
๒.       วิปัสสนาธุระ  การศึกษาด้วยการปฏิบัติ
ด้วยเหตุแห่งความสำคัญของการวิปัสสนาธุระ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงได้พัฒนาสถาบันวิปัสสนาธุระควบคู่กับความเป็นเลิศด้านวิชชา จรณะและการปฏิบัติ เพื่อที่จะสามารถนำความรู้ในพระไตรปิฎก และวิชาการชั้นสูงมาประยุกต์ใช้ เพื่อชี้แนะแนวทางที่ถูกต้องในด้านจิตวิญญาณแก่สังคม อีกทั้งยังเป็นผู้เผยแผ่หลักธรรม การปฏิบัติเพื่อประโยชน์แก่มหาชน
งานพระธรรมจาริก
          เป็นงานที่มุ่งหมายเพื่อให้การสงเคราะห์แก่ชาวเขาในประเทศไทย กรมประชาสงเคราะห์เป็นผู้รับผิดชอบ โดยขอความอนุเคราะห์จากคณะสงฆ์ ให้ส่งพระธรรมจาริกออกไปอบรมสั่งสอน และให้การสงเคราะห์แก่ชาวเขาเผ่าต่างๆ มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยได้สนองงานส่วนนี้ โดยให้ส่งพระนิสิตและนักเรียนออกไปปฏิบัติศาสนกิจในระหว่างปิดการศึกษาภาคฤดูร้อน ส่วนมากพระนิสิตนักเรียนมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยให้รับมอบหมายหน้าที่ให้เป็นหัวหน้ากลุ่มชาวเขาที่ได้รับการสงเคราะห์มีหลายเผ่าคือ แม้ว มูเซอ กระเหรี่ยง เย้า และอีก้อ จังหวัดที่พระธรรมจาริกจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยออกปฏิบัติงานสงเคราะห์ ได้แก่ จังหวัดตาก แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พิษณุโลก เลย และเพชรบูรณ์
          งานสำคัญที่พระธรรมจาริกปฏิบัติ คือ การแนะนำสั่งสอนศีลธรรมและศาสนา ภาษาไทย ให้การสงเคราะห์ด้านความเป็นอยู่ ปรากฏว่าได้รับความเคารพนับถือจากชาวเขาเป็นอย่างมาก จนมีผู้ขอเข้ามารับการบรรพชาอุปสมบทในกรุงเทพฯ เป็นจำนวนไม่น้อย ส่วนหนึ่งของพระภิกษุสามเณรชาวเขาเหล่านี้ เมื่อได้ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยพอสมควรแล้วได้กลับไปอยู่ประจำในท้องถิ่นของตน บางรูปสนใจการศึกษาได้เข้าศึกษาในโรงเรียนบาลีสาธิตศึกษามหาจุฬาฯก็มี
          ในปี พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางการที่เกี่ยวข้องเห็นว่า พระภิกษุสามเณรชาวเขาที่บรรพชาอุปสมบทและที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมีความรู้ความสามารถ มีมากพอสมควรที่จะกลับไปปฏิบัติศาสนกิจในท้องถิ่นเดิมได้แล้ว จึงลดจำนานพระธรรมจาริกจากส่วนกลาง คือ จากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยลงทุกปีจนหมด ปัจจุบันไม่มีความจำเป็นที่จะส่งพระธรรมจาริกออกไปจากส่วนกลาง การสนองงานของคณะสงฆ์ในส่วนนี้มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจึงเป็นอันสิ้นสุดลงด้วย ต่อมาพระบาทสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ วัดเบญจมบพิตร เป็นผู้รับผิดชอบงานพระธรรมจาริก
งานปฏิบัติศาสนกิจของพระบัณฑิตและศิษย์เก่า
ก. การปฏิบัติศาสนกิจ
          มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ดำเนินจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตในสาขาวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรและระดับการศึกษาในวิทยาเขตต่างๆ ของมหาวิทยาลัยโดยมีนโยบายสนับสนุนการศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูงมุงผลิตบัณฑิตสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธศาสนา ส่งเสริมการค้นคว้าวิจัย ให้บริการวิชาการแก่สังคม ส่งเสริมพระพุทธศาสนาทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมในแต่ละปีมีพระภิกษุสามเณรสำเร็จการศึกษาเป็นจำนวนมากและผู้สำเร็จการศึกษาเหล่านั้นจะต้องปฏิบัติศาสนกิจเป็นเวลา ๑ ปีก่อนได้รับปริญญาตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัยจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะให้พระพุทธศาตรบัณฑิตได้รับการสนองงานในการปฏิบัติศาสนกิจพัฒนาชนบท ณ สำนักวัดในชนบทที่อยู่ประจำปฏิบัติศาสนกิจ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการปฏิบัติศาสนกิจและสังคมโดยส่วนรวม
วัตถุประสงค์ของการส่งพระบัณฑิตออกไปปฏิบัติศาสนกิจ
          เพื่อส่งเสริมพระบัณฑิตออกไปปฏิบัติศาสนกิจพัฒนาชนบท
          เพื่อสนับสนุนงานการคณะสงฆ์ในชนบท
          เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชนบทร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น
          เพื่อสนองนโยบายของรัฐและมหาวิทยาลัยในการให้พระสงฆ์มีส่วนร่วมพัฒนาจิตใจประชาชนตามแผนฯพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๘
          การพิจารณาสั่งการพระบัณฑิตออกไปปฏิบัติศาสนกิจได้เน้นหนักส่งไปพื้นที่ของส่วนภูมิภาค โดยกำหนดจัดส่งไปสนองงานคณะสงฆ์แบ่งออกเป็นภาคของเขตการปกครองคณะสงฆ์ คือ
                   ภาค ๑                    กรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ
                   ภาค ๒                    พระนครศรีอยุธยา, อ่างทอง, สระบุรี
                   ภาค ๓           ลพบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี
                   ภาค ๔           นครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, เพชรบูรณ์
                   ภาค ๕           พิษณุโลก, สุโขทัย, อุตรดิตถ์, ตาก
                   ภาค ๖                    ลำปาง, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน
                   ภาค ๗           เชียงใหม่, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน
                   ภาค ๘           อุดรธานี, หนองบัวลำภู, หนองคาย, เลย
                   ภาค ๙                    ขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด
                   ภาค ๑๐                  อุบลราชธานี, อำนาจเจริญ, ศรีสะเกษ, นครพนม, มุกดาหาร, ยโสธร
                   ภาค ๑๑                  นครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์
                   ภาค ๑๒                  ปราจีนบุรี, สระแก้ว, นครนายก, ฉะเชิงเทรา
                   ภาค ๑๓                  ชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด
                   ภาค ๑๔                  นครปฐม, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, สมุทรสาคร
                   ภาค ๑๕                  ราชบุรี, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์
                   ภาค ๑๖                  นครศรีธรรมราช, สุราษฎร์ธานี, ชุมพร
                   ภาค ๑๗                  ภูเก็ต, ตรัง, กระบี่, พังงา, ระนอง
                   ภาค ๑๘                  สงขลา, พัทลุง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส
          นอกจากนี้ ได้มีศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยได้ออกไปปฏิบัติศาสนกิจในต่างประเทศหลายประเทศเป็นจำนวนมากพอสมควร ที่มากที่สุดคือประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในแถบยุโรป เช่น ออสเตรเลีย
ปัจจุบันพระสงฆ์โดยเฉพาะพระบัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาจากมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยมีบทบาทเป็นอย่างมากในการให้ความช่วยเหลือแก่สังคมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเป็นการให้สงเคราะห์พุทธศาสนิกชนโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปประยุกต์ใช้เพื่อการดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง และเดินถูกทางในขณะเดียวกัน พระบัณฑิตเองก็ได้แสดงบทบาทของการเป็นพระสงฆ์ผู้ควรให้การสงเคราะห์แก่มวลมนุษย์ในด้านวัตถุสิ่งของการปลูกฝังหรือส่งเสริมงานอาชีพต่างๆ เพื่อส่งเสริมประชาชนให้มีวิถีการดำเนินชีวิตที่ดีขึ้นอันจะส่งผลให้สังคมมีความเป็นระบบและความมั่นคงอีกด้วย ทั้งนี้ต้องมุ่งสงเคราะห์ให้ถูกทางและยึดหลักพระพุทธศาสนาเป็นแนวทางในการสงเคราะห์การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
ข. สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
          ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ มีศิษย์เก่าที่สำเร็จการศึกษาไปแล้วจำนวนหนึ่งทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ได้มีความปรารถนาอันแรงกล้าในการที่จะจัดตั้งองค์กรเพื่อใช้เป็นศูนย์รวมของศิษย์เก่า ศิษย์เก่ากลุ่มนี้มีนายจำนง ทองประเสริฐ เป็นประธานได้ร่วมประชุมระดมความคิดเพื่อแสวงหาจุดร่วมกันเพื่อจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่ดังกล่าวแล้ว การประชุมมีขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๒ ณ สำนักธรรมวิจัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้มีศิษย์เก่าทั้งที่เป็นบรรพชิตและคฤหัสถ์ทั่วราชอาณาจักร และในที่ประชุมนั้นมีมติเป็นเอกฉันท์ให้จัดตั้งศูนย์รวมศิษย์เก่าโดยจะใช้ชื่อว่า วสมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อจะได้ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางของบรรดาศิษย์เก่าทั้งภายในและต่างปะเทศ
          จากลการประชุมเมื่อวันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๑๒ คือให้จัดตั้งสมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ดังนั้น ที่ประชุมจึงได้เลือกนายกสมาคมและคณะกรรมการบริหารสมาคมขึ้นมาคณะหนึ่ง ซึ่งมีนายจำนงค์ ทองประเสริฐ เป็นนายกสมาคม และมีคณะกรรมการบริหารสมาคมอีก ๒๙ คน เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการขออนุญาตจัดตั้งต่อทางราชการ และให้มีสมาคมที่มีสถานภาพตามกฎหมายดังกล่าวนั้น และในที่สุดก็ได้รับการอนุมัติให้จัดตั้งเป็นสมาคมจากทางราชการได้ โดยใช้ชื่อว่า สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๒
วัตถุประสงค์
          วัตถุประสงค์ของสมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ตามความในข้อ ๔ แห่งข้อบังคับ สมาคมศิษย์เก่ามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๑๒ มี ๕ ประการ คือ
                    ๑.  เพื่อธำรงส่งเสริมมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
                    ๒. เพื่อเสริมสร้างสามัคคีธรรมในระหว่าศิษย์เก่าด้วยกัน
                    ๓.  เพื่อเผยแผ่และร่วมในกิจกรรมของมหาวิทยาลัย
                    ๔.  เพื่อเป็นศูนย์ประสานงานระหว่างศิษย์เก่ากับมหาวิทยาลัย และ
                    ๕.  เพื่อสงเคราะห์กันและกันในทางที่ชอบ ทั้งนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
          กิจการของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เจริญก้าวหน้ามาโดยลำดับ และในส่วนของการแลกเปลี่ยนวิชาวัฒนธรรมกับหน่วงงานต่างประเทศ เป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ทั้งภาครัฐและองค์กรเอกชน ซึ่งได้รับการเอาใจใส่จากผู้บริหารทุกระดับมาโดยตลอด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น