วันศุกร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

ฟรานซิส เบคอน

ฟรานซิส เบคอน


ประวัติ
ฟรานซิส เบคอน เกิดวันที่ 22 มกราคม ค.ศ.1561 ที่ยอร์ค เฮาร์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เกิดในตระกูลผู้ดีมีตำแหน่งทางการเมือง เข้าศึกษาที่ Trinity College แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่ออายุ 12 ปี เรียนอยู่ได้ 3 ปี แล้วออกไปเพราะไม่ชอบวิธีการเรียนและหนังสือเรียน นอกจากนี้ยังได้แสดงความคิดที่เป็นปฏิปักษ์ต่ออริสโตเติล และปรัชญาอัสมาจารย์ อีกด้วย    
เบคอนเป็นทั้งนักวรรณคดีและนักปกครอง และถือว่าเป็นนักการศึกษาในสมัยนี้ ด้วยเหตุที่ว่า เบคอนมีลักษณะพิเศษอยู่  ประการคือ  เป็นผู้นำแนวความคิดแนวผัสสะสัจนิยม  (Sense Realism)  และเป็นผู้สร้างตำราในการแสวงหาความรู้โดยวิธีอุปมาน (Inductive)  อันเป็นวิธีการให้การศึกษาที่สำคัญวิธีหนึ่งนอกจากนี้แล้วยังจัดได้ว่าเป็นผู้ต้นคิดสารานุกรม (Encyclopeadia)  และปรัชญาอีกด้วย
          ด้วยลักษณะพิเศษดังกล่าว ทำให้ ฟรานซิส เบคอน ได้รับแต่งตั้งให้เป็นหนึ่งในคณะทูตอังกฤษประจำประเทศฝรั่งเศส เมื่ออายุเพียง 16 ปี จากนั้นในปี ค.ศ.1583 ขณะนั้นอายุได้ 23 ปี ก็ได้รับเลือกตั้งเข้าสู่รัฐสภา และได้รับเลือกอีกหลายสมัย
เบคอนเป็นนักการเมืองที่ฉลาดหลักแหลมและมีความคมคายทางการพูดมาก ในปี ค.ศ.1617 เขาได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้เก็บรักษาดวงตราสืบแทนบิดา นอกจากนี้ในปี ค.ศ.1618 เขาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็น อัครมหาเสนาบดี                                                                                      
แต่แล้วจุดหักเหของชีวิตเขาก็เกิดขึ้น เมื่อในปี ค.ศ.1621 เขาได้ถูกกล่าวหาว่ารับสินบนจากคู่ความ โดยเขาพยายามแก้ว่าเป็นเพียงแค่ของกำนัลเท่านั้น แต่สุดท้ายเบคอนก็ถูกจำคุกและถูกปลดออกจากตำแหน่งที่เขาดำรงอยู่อีกด้วย  และในตอนสุดท้าย ฟรานซิส เบคอน ได้เสียชีวิตลงในขณะที่เขากำลังทำการทดลอง ในปี ค.ศ.1626 รวมอายุได้ 65 ปี
ผลงานด้านการเขียนที่สำคัญของเบคอน
ความก้าวหน้าของการศึกษา ( The Advancement of Learning ค.ศ.1605)
อุปกรณ์ใหม่ (The New Organon ค.ศ.1620)

การแสวงหาความรู้แบบอุปนัย
แนวความคิดของลัทธิมนุษย์นิยมนั้นทำให้นักวิชาการในยุคนั้นสมัยนั้นมีความคิดที่เป็นอิสระมากขึ้น รู้จักแสวงหาความรู้ เกิดความเข้าใจในธรรมชาติของความเป็นจริงอย่างมีเหตุผล ด้วยเหตุนี้เองทำให้เกิดวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ขึ้น โดยวิทยาศาสตร์สมัยใหม่นี้ มีวิธีหาความรู้โดยการอุปนัย (inductive) ซึ่งวิธีการดังกล่าวจะแตกต่างไปจากการแสวงหาความรู้ตามรูปแบบเดิม ซึ่งได้แก่ วิธีการนิรนัย (deductive) โดยวิธีการนิรนัยนั้น จะเป็นวิธีที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนในกฏเกณฑ์ก่อน แล้วจึงไปเรียนในส่วนย่อยทีหลัง แต่วิธีอุปนัยนั้น เบคอนได้ทำสิ่งที่ตรงข้ามกันก็คือ ให้มีการศึกษาพิจารณาสิ่งย่อยก่อน แล้วจึงร่วมเข้ากันเป็นกฏเกณฑ์ นั่นเอง ในช่วงแรกนั้น วิธีการอนุมานดังกล่าวของเบคอน ได้ดำเนินไปในทางที่ไม่ถูกต้องนัก เพราะขาดหลักการที่แน่นอน  ต่อมา รัตเก (Ratke)  และ คอมมีนิอุส (Commenius)  ก็ได้นำหลักการดังกล่าวของเบคอนมาปรับปรุงและจดให้เป็นระบบเป็นระเบียบที่ดียิ่งขึ้น
          วิธีการแสวงหาความรู้แบบอุปมัย ได้เริ่มต้นในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ผู้ที่เริ่มต้นจุดประกายความคิดนี้ ก็คือ ฟรานซิส เบคอน (francis bacon)  ซึ่งเบคอนเองก็ได้กล่าวไว้ว่า ข้อสรุปที่ได้ วิธีการแสวงหาความรู้ จากความจริงเฉพาะที่ได้จากประสบการณ์ (อาศัยสังเกตข้อมูลและนำข้อมูลมากลั่นกรองเป็นทฤษฎีหรือความจริงทั่วไป) วิทยาศาสตร์ใช้การอุปนัยโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 สังเกตปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น เมื่อสังเกตแล้วตั้งสมมติฐาน อธิบายปรากฏการณ์เหล่านั้น จากนั้นสังเกตปรากฏการณ์ประเภทเดียวกันต่อไป เพื่อทดสอบสมมติฐาน เมื่อได้รับการยืนยันที่ถูกต้องก็ตั้งเป็นกฎ ประสบการณ์นั้นเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
          กฎทางวิทยาศาสตร์ได้ข้อมูลที่มาจากประสบการณ์ การทดสอบความจริงของกฏที่ทดสอบด้วยประสบการณ์ ใช้คาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคตได้ ในการทดสอบเก็บข้อมูลความรู้ทางคณิตศาสตร์จะเข้ามามีบทบาททำให้เกิดความแม่นยำถูกต้องเพิ่มมากขึ้น                        
การอนุมาน หรือ การอุปนัยนั้น โดยรวมแล้วจะหมายถึงการให้เหตุผลแบบอุปนัย (Inductive Reasoning) ที่เกิดจากการมีสมมติฐานกรณีเฉพาะ หรือเหตุย่อยหลายๆ เหตุ และเหตุย่อยแต่ละเหตุนั้น เป็นอิสระจากกัน มีความสำคัญเท่าๆ กัน และเหตุทั้งหลายเหล่านี้ไม่มีเหตุใดเหตุหนึ่งแสดงให้เห็นถึงความเป็นสมมติฐานกรณีทั่วไป หรือกล่าวได้ว่า การให้เหตุผลแบบอุปนัยคือการนำเหตุย่อยๆ แต่ละเหตุมารวมกัน เพื่อนำไปสู่ผลสรุปเป็นกรณีทั่วไป เช่นตัวอย่างการให้เหตุผลแบบอุปนัย
ลักษณะสำคัญของการให้เหตุผลแบบอุปนัย                                                             
1.สรุปเกินหลักฐานข้อเท็จจริงที่มีอยู่
2.การสรุปของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน
          3.การสรุปผลอาจไม่เป็นจริงเสมอไป
          4.อุปนัยที่ดีข้อสรุปจะต้องมีความน่าเชื่อถือ
โดยวิธีคิดแบบอุปนัยนั้น จะไม่ได้เริ่มต้นจากความเชื่อ แต่จะเริ่มจากการสังเกตข้อมูลอย่างเป็นกลางในหลายๆสถานการณ์ เพื่อหาลักษณะร่วมกันที่นำไปสู่ข้อสรุปทั่วไป เพราะ เบคอน ได้เน้นความสำคัญของข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อนำมาตรวจสอบข้อมูลที่ได้ แหล่งความรู้ต่าง ๆ ไม่ใช่ข้อสรุป แต่เป็นข้อมูลสำหรับการตั้งสมมติฐานเพื่อการตรวจสอบด้วยข้อมูลเชิงประจักษ์ ฟรานซิสเบคอน คิดค้นขึ้นเพื่อแก้ข้อบกพร่องที่ใช้เหตุผลเชิงนิรนัย โดยศึกษาข้อมูลหรือกรณีย่อยหลายกรณีจนได้ผลลัพธ์ที่สอดคล้องกัน แล้วนำไปสรุปเป็นความรู้ใหม่ที่กว้างขึ้น นั่นเอง (from specific instant to the general theory)
การแสวงหาความรู้แบบนิรนัย          
วิธีการแสวงหาความรู้แบบนิรนัยนั้นมีอิทธิพลตั้งแต่ ค.ศ.500 – ค.ศ. 1500 ซึ่งเป็นแนวความคิดของอริสโตเติล มีอิทธิพลต่อการแสวงหาความรู้ เช่น ถ้ารู้อะไรบางอย่างแล้วสามารถสืบรู้บางอย่างจากความรู้เดิมนั้นได้ โดยไม่ต้องอาศัยอะไรเพิ่มเติม (คนขยันทุกคนไปทำงานแต่เช้า : ขยัน : ไปทำงานแต่เช้า) เป็นการโยงความถูกต้องตามหลักการคิดหาเหตุผลว่าสมเหตุสมผล (validity) นิรนัย ( Deductive ) หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การหาความรู้แบบนิรนัยนั้น ก็คือการหาเหตุผลจากส่วนรวมที่ยอมรับกันแล้ว ที่เป็นสากลแล้ว หรือชัดแจ้งแล้ว ไปสู่ข้อสรุปในส่วนที่ยังไม่รู้หรือยังไม่ชัดแจ้ง พูดง่าย ๆ ก็คือจากส่วนใหญ่ไปหาส่วนย่อย ๆ จากทุกส่วนไปหาบางส่วน
โดยวิธีการแบบนิรนัยนั้นจะเป็นการพัฒนากระบวนการคิดที่สำคัญ ซึ่งมีอิทธิพลต่อศาสตร์แห่งการใช้เหตุผลเป็นอย่างมาก แต่จุดอ่อนของการใช้เหตุผลแบบนิรนัยคือ ถ้าข้อความหลักไม่เป็นจริง ผลของการนิรนัยก็ไม่ถูกต้อง วิธีคิดแบบนี้จึงใช้ได้เฉพาะบางสถานการณ์ และมีข้อจำกัดต่อการนำมาใช้ตรวจสอบความรู้ ความจริงใหม่ ๆ เพราะถ้าข้อความหลักไม่สมบูรณ์ตามข้อเท็จจริง หรือไม่เป็นที่ยอมรับ หรือยอมรับกันในทางที่ผิด ก็จะทำให้การสรุปในกรณีเฉพาะเกิดความผิดพลาดได้    
วิธีการนี้ได้นักปรัชญาชาวกรีกเป็นผ้ให้กำเนิดแนวคิดดังกล่าวขึ้นมา และนักปรัชญาคนดังกล่าวได้แก่  อริสโตเติล (Aritotle) ซึ่งอริสโตเติ้ลได้เรียกวิธีนี้ว่า วิธีนิรนัย (Deductive Method)  โดยให้เหตุผลว่า เป็นวิธีการใช้เหตุผลที่เริ่มด้วยการกำหนดข้อความหลัก ซึ่งเป็นข้อความโดยนัยทั่วไป เพื่อใช้ถอดแบบไปเป็นข้อเสนอหรือข้อสรุปสำหรับสถานการณ์เฉพาะต่างๆ โดยมีข้อตกลงเบื้องต้นบนพื้นฐานของความเชื่อว่าข้อความหลักเป็นจริงด้วยข้อมูลที่สามารถอธิบายด้วยตัวของมันเอง (self-evident) อันได้แก่ สิ่งที่มีชีวิตที่เกิดมาแล้วจะต้องตาย ดาวเคราะห์ทุกดวงโคจรรอบดวงอาทิตย์ เป็นต้น การหาเหตุผลเฉพาะกลุ่ม (Categoricle syllogism) เป็นวิธีการหาเหตุผลที่สามารถลงสรุปในตัวเองได้ เป็นวิธีการหาเหตุผลที่กำหนดสถานการณ์ขึ้น มักจะมีคำว่า ถ้า...(อย่างนั้น อย่างนี้)...แล้วอะไรจะเกิดขึ้น. (If…then…)                        
          ดังนั้นการหาเหตุผลชนิดนี้ผลสรุปจะเป็นจริงหรือไม่แล้วแต่สภาพการณ์ เพียงแต่เป็นเหตุผลที่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์เท่านั้น
ตาราง สรุปความแตกต่างระหว่าง อุปนัย และ นิรนัย

วิพากษ์อุปนัยและนิรนัยของ  Fracis Bacon
เบคอน ที่มีแนวความคิดแบบอุปนัยนั้น เป็นแนวความคิดที่ไม่ตรงกับแนวความแบบนิรนัยของอริสโตเติลอย่างมาก                                                                                                      ทั้งนี้ อริสโตเติล (Aristotle) เป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของวิชาตรรกศาสตร์ เป็นผู้ค้นคิดวิธีการเสาะแสวงหาความรู้โดยอาศัยหลักของเหตุผล โดยการนำเอาสิ่งที่เป็นจริงตามธรรมชาติมาอ้างองค์ ประกอบหรือขั้นตอนของการหาความรู้โดยวิธีนี้มี 3 ประการคือ
1) เหตุใหญ่ (Major premise) เป็นข้อตกลงที่กำหนดขึ้น
2) เหตุย่อย (Minor premise) เป็นเหตุเฉพาะกรณีที่ต้องการทราบความจริง
3) ข้อสรุป (Conclusion) เป็นการลงสรุปจากการพิจารณาความสัมพันธ์ของข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริง ย่อย แบบของการหาเหตุผล (Syllogism) ของอริสโตเติลมี 4 แบบ
และการหาความรู้โดยวิธีของอริสโตเติลนั้น ก็ได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดย ฟรานซิส เบคอน ว่ามีจุดอ่อนตรงที่ว่า เบคอนเห็นว่า การอ้างเหตุผลแบบนิรนัยนั้นมีจุดอ่อนตรงที่เป็นลักษณะการอ้างเหตุผลที่ วกวนเหมือนกับพายเรือในอ่าง ไม่ก่อให้เกิดความรู้ใหม่จึงไม่มีประโยชน์ ความรู้ที่แท้จริงของมนุษย์จึงน่าจะได้มาด้วยวิธีการอุปนัยมากกว่า Fracis Bacon ได้วิจารณ์ไว้ 1,600 ปีกว่ามาแล้วว่า ข้อความหลักตามการใช้เหตุผลแบบนิรนัย อาจเป็นสิ่งที่ทึกทักเอาเองได้ หรือไม่มีหลักฐานสนับสนุนที่เพียงพอ จึงสามารถนำไปสู่ข้อสรุป ข้อสรุปที่ได้มาอาจผิดได้ โดย สิ่งที่เบคอนได้วิพากษ์นั้น สามารถสรุปได้ทั้งหมด 2 ข้อดังต่อไปนี้
1. การหาความรู้โดยวิธีของอริสโตเติลนั้น ไม่ได้ช่วยให้ค้นพบความรู้ใหม่ เพราะผลสรุปที่ได้นั้นถูกจำกัดอยู่ในขอบเขตของเหตุใหญ่นั่นเอง
2. การหาเหตุผลโดยวิธีของอริสโตเติล เป็นข้อสรุปที่จะมีความเที่ยงตรงเพียงใดนั้น ก็ย่อมขึ้นอยู่กับความเที่ยงตรงของข้อเท็จด้วย ทั้งข้อเท็จจริงใหญ่และข้อเท็จจริงย่อย ถ้าข้อเท็จจริงทั้งสองนี้ขาดความเที่ยงตรง ก็อาจทำให้ข้อสรุปขาดความเที่ยงตรงได้
และหลังจากศตวรรษที่ 17 เป็นต้นมา เป้าประสงค์ของนักวิทยาศาสตร์ คือ ทรมานให้ธรรมชาติเปิดเผยความลับออกมา ซึ่งการกระทำดังกล่าว เรียกอีกชื่อได้ว่า อคติ 4 ประการ หรือ เทวรูป 4 นั่นเอง
อคติ 4 ประการ ที่ครอบงำจิตมนุษย์
วิธีการศึกษาที่ได้ผลต้องอาศัยการสังเกตและทดลองเป็นหลัก โดยตรรกวิทยาแบบอุปนัยเป็นเครื่องมือ ที่แสดงให้เห็นว่า จิตมนุษย์มีสมรรถภาพหลักอยู่ 3 ประการคือ ความจำ จินตนาการ และ ความสามารถในการใช้เหตุผล สมรรถภาพเหล่านี้จะเสื่อมลงเมื่ออคติเข้าครอบงำ อคติทั้งหลายจะมีอิทธิพลทำให้ความรู้ของมนุษย์ผิดพลาดได้นั้น ซึ่งปรากฏการณ์ดังกล่าว เบคอนเรียกว่า เทวรูป
ซึ่ง เทวรูป ดังกล่าว จะมีลักษณะคล้ายกับ อคติในพระพุทธศาสนา ซึ่งจะเป็นต้นเหตุที่ทำให้มนุษย์ เกิดความลำเอียง มีความคิดเห็นที่ผิดพลาด ครอบงำไม่ให้มนุษย์เข้าถึงสัจธรรม ดังนั้นเบคอนจึงมีความเชื่อที่ว่า ในแต่ละบุคคลก็มีเทวรูป หรือ อคติ ที่แตกต่างกันไป  และถ้าหากคนเราทุกคนสามารถทำลายเทวรูปในตัวของเราทุกคนได้แล้วนั้น จะส่งผลให้ เราจะสามารถค้นพบความจริงที่เหมือนกันหมด  เรียกง่ายๆว่า เป็นความจริง ที่จริงแท้เพียงหนึ่งเดียว นั่นเอง และด้วยเหตุนี้ เบคอนจึงแบ่งเทวรูปดังกล่าวออกเป็น 4 อย่าง ได้แก่
1) เทวรูปแห่งตระกูล (Idols of the Tribe)
 เทวรูปแห่งตระกูล  หมายถึง  ความรู้สึกนึกคิด  ความเชื่อ  ลักษณะท่าทาง  บุคลิกภาพหรือเอกลักษณ์ของตัวบุคคลนั้นๆ  ที่ตกทอดมาจากกรรมพันธุ์และเชื้อสายของเขา  ซึ่งเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละบุคคล  นอกจากนี้  ยังหมายถึง  รสนิยมส่วนตัว  ความโน้มเอียง  คุณธรรม  กิเลสที่อยู่ในบุคคลนั้นๆด้วย  ล้วนแต่ถือว่าเป็นเทวรูปแห่งตระกูลทั้งสิ้น
โดย เทวรุป คือ ตระกูลนี้ เป็นความเชื่อที่ฝั่งแน่นอยู่ภายในจิตใจของมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน  อาจกล่าวได้ว่า เทวรูปดังกล่าวเกิดขึ้นมาพร้อมๆกับการเกิดขึ้นของลัทธิศาสนาในโลก ความเชื่อชนิดนี้เกิดจากอวิชชา คือ ความไม่รู้ เริ่มตั้งแต่ความไม่รู้เหตุผลทางภูมิศาสตร์ ดาราศาสตร์ และไม่รู้จักธรรมชาติอื่นๆที่มีอยู่รอบตัว ตัวอย่างเช่น  คนกรีกสมัยโบราณไม่เคยปีนไปบนยอดเขาโอลิมปัส ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศ ก้คิดว่าบนยอดเขาโอลิมปัสเป็นสรรค์ เป็นที่อยู่ของเทพเจ้านานาชนิด แล้วก็สร้างเรื่องเป็นนิยายขึ้นเพื่อสอนคนให้เชื่อถือกันต่อมาจนถึงปัจจุบัน
          มนุษย์เมื่อเกิดความเชื่อต่อสิ่งที่กล่าวมาก็จะทำให้ใจยึดมั่นผูกขาดว่า สิ่งที่เราเชื่อและได้ปฏิบัติตามความเชื่อของตนนี้แหละเป็นสิ่งที่ถูกต้องชอบธรรม ส่วนของคนอื่นไม่ถูกต้อง เป็นความเชื่อที่อธิบายทางเหตุผลไม่ได้ ฉะนั้น ฟรานซิส เบคอล จึงได้เปรียบความเชื่อหรือความเห็นเหล่านี้ว่าเป็นความเชื่อแบบเทวรูปตระกูล
2) เทวรูปแห่งถ้ำ (Idols of the Den)
คำว่า ถ้ำ หมายถึง  สิ่งแวดล้อมและการศึกษา  การอบรมของแต่ละบุคคลตั้งแต่เขาเกิดจนถึงปัจจุบัน  เขาเคยชินอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างใด บุคคลก็จะแสดงออกตามความเคยชินนั้นๆ  ดังนั้น  ความรู้ การศึกษา  การอบรมและสิ่งแวดล้อม จึงเปรียบเสมือนถ้ำที่คอยกักขังเขาเหล่านั้นเอาไว้  จึงอาจกล่าวได้ว่า “บุคคลที่มีความรู้แค่ไหน หรือ อยู่ในสิ่งแวดล้อมแบบใด  ก็มักจะคิดและพูดอยู่ในกรอปอันนั้น”  ทั้งนี้ บุคคลเหล่านั้นจะมีความเข้าใจว่า ความคิดของตัวเองดีและถูกต้องที่สุดแล้ว  โดยที่เขานั้นจะไม่สามารถแสดงความคิดของตนเองให้พ้นออกไปจากถ้ำ หรือ กรอบแห่งการศึกษา และสิ่งแวดล้อมนั้นๆไปได้เลย  เปรียบได้กับคำสุภาษิตที่ว่า กบในกะลา เนื่องจาก กบที่อยู่ในกะลาจะไม่สามารถคิดนอกกรอบ หรือ คิดให้พ้นออกไปจากกะลาที่ตนอาศัยอยู่ได้เลย
ตัวอย่างเช่น นิทานเรื่องถ้ำ ที่มีเนื้อหาในเชิงที่ว่า คนหลายคนถูกกักขังอยู่ภายในถ้ำตั้งแต่ยังเล็ก พวกเขาถูกบังคับให้หันหน้าเข้าหาผนังด้านในสุด ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับปากถ้ำ คนเหล่านั้นจะต้องนั่งเป็นรูปปั้นเพราะถูกล่ามโซ่ที่ขาและใส่ขื่อที่คอ จึงไม่สามารถแม้กระทั้งเหลียวมองเพื่อนนักโทษที่นั่งอยู่ข้างๆ  บริเวณด้านหลังนักโทษมียกพื้นลาดสูงจนถึงปากถ้ำ ใกล้กับปากถ้ำมีกองไฟที่แสงไฟแผ่ออกไปจับผนังถ้ำด้านหน้านักโทษ บริเวณด้านหลังนักโทษมีคนจำนวนหนึ่งเดินกันอย่างขวักไขว่ ในมือถือภาชนและรูปปั่นต่างๆ  เงาของคนที่เดินผ่านไปผ่านมาไปทาบกับผนังด้านหน้านักโทษ ทำให้เห็นเงาที่ผนังแต่ไม่อาจที่จะหันหลับมามองที่มาของเงา
          มีนักโทษคนหนึ่งถูกปล่อยและเขาสามารถที่จะหันหลังกับไปดูข้างหลังได้และมองถึงเห็นถึงที่มาของเงา ซึ่งทำให้เขาประหลาดใจว่าคนกับเงาเคลื่อนไหวไปพร้อมกัน แต่เขาก็สรุปตามความเคยชินของเขาว่า สิ่งที่เขาค้นพบใหม่เป็นเพียงภาพลวงตา ของจริงเป็นสิ่งที่ปรากฏบนผนังถ้ำ  และเมื่อเขาได้เดินออกมานอกถ้ำทำให้เห็นโลกภายนอก ทำให้เขารู้จักโลกดีกว่าแต่ก่อน เขาจึงได้พยายามกลับไปอธิบายกับกลุ่มคนที่ติดอยู่ในถ้ำ ว่าสิ่งที่พวกเขาเห็นนั้นเป็นเพียงแค่เงา แต่ก็ไม่มีใครฟังเขาและคิดว่าเขาเสียสติไปแล้ว
3) เทวรูปแห่งตลาดนัด (Idols of the Market-Place)
คำว่า ตลาดนัด ”  คือ  ภาษาที่มนุษย์ใช้  และคำว่า ภาษา ”  หมายถึง  กฎเกณฑ์ทางไวยากรณ์  ความเข้าในในภาษา  สำนวน  ประมวลศัพท์ต่างๆ เป็นต้น  เพราะภาษาเป็นสิ่งที่บุคคลใช้ในการถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกออกมาเป็นคำพูด  ดังนั้น  ภาษาจึงเป็นสิ่งสำคัญมาก จึงส่งผลให้คนที่รู้น้อยในภาษา ก็จะมีความคิดและความเข้าใจน้อยตามไปด้วย  จึงทำให้เขาถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกได้น้อย  ตรงข้ามกับ  คนที่เข้าใจในภาษาได้มากได้อย่างลึกซึ้ง  ย่อมถ่ายทอดความคิดและความรู้สึกออกมาได้อย่างลุ่มลึก ซับซ้อน แหลมคมและมากมายด้วยนัยแห่งความคิด  เบคอน ได้เปรียบเทียบภาษาของแต่ละสังคม ว่าเป็นเหมือน ตลาดนัดของสังคมนั้นๆเอง  เพราะคนย่อมมีสิทธิ์ที่จะเดินเลือกซื้อของภายในบริเวณของตลาดที่กำหนดไว้  และนำภาษาที่มีในตลาดมาใช้ในการพูดและแสดงความคิดเห็นได้  และในภาษาอื่นหรือตลาดอื่นๆก็มีขอบเขตของภาษาที่กำหนดไว้  เช่นกัน  ดั้งนั้น  ภาษาจึงเป็นเครื่องมือที่บุคคลใช้ในการแสดงความคิดเห็น  และยิ่งถ้าบุคคลใดมีความรู้ในหลายๆภาษาก็ยิ่งเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่า บุคคลนั้นเป็นคนที่ฉลาด
ตัวอย่างเช่น ในศาสนาศริสต์จะมีการสื่อความหมายเกี่ยวกับพระเจ้าว่า พระเจ้าผู้สูงสุดของเรา คือ พระเจ้าพระองค์เดียว สูเจ้าต้องรักพระองค์ด้วยดวงใจทั้งสิ้น และพระเจ้าเป็นผู้เห็น ผู้รอบรู้ในทุกสรรพสิ่ง
          ศาสนาอิสลามจะสื่อว่าความหมายว่า ไม่มีพระเจ้าองค์ใดนอกจากพระอัลเลาะห์ ซึ่งเป็นผู้สร้างทุกอย่างในเอกภพ เป็นผู้มีอยู่ตลอดเวลา
          จะเห็นได้ว่าการสื่อความหมายเกี่ยวกับพระเจ้าในแต่ละศาสนานั้น ถึงแม้จะมีความคล้ายคลึงกันในฐานะที่พระเจ้าเป็นผู้มีเดชานุภาพที่ยิ่งใหญ่ในการสร้างสรรค์ แต่ก็แตกต่างในความรู้สึกของผู้นับถือ
4) เทวรูปแห่งโรงละคร (Idols of the Theater)
คำว่า โรงละคร ”  หมายถึง  หลักของขนบธรรมเนียม  ประเพณี  ศาสนาและวัฒนธรรม  ซึ่งเป็นเวทีแห่งพฤติกรรมของบุคคล  ทุกๆคนในสังคมจึงเป็นตัวละครที่แสดงบทบาทไปตามกรอบแห่งขนบธรรมเนียม  ศาสนาและวัฒนธรรม  บุคคลจึงมีความเคยชินกับหลักการและกฎเกณฑ์ของสิ่งเหล่านี้  ด้วยเหตุนี้เอง  สิ่งใดก็ตามที่ตรงกับหลักการของสังคม จึงถือว่าถูกต้อง แต่ถ้าสิ่งใดไม่ตรงกับหลักขนบธรรมเนียม ประเพณี  ศาสนาและวัฒนธรรมก็ถือว่าเป็นสิ่งที่ผิด  ดังนั้น  โรงละครจึงเป็นสังคมที่มีบุคคลมากมายอาศัยอยู่รวมกัน
ความคิดที่ผูกติดอยู่กับความเชื่อเดิมๆของตน โดยไม่ได้รับการยอมรับความเปลี่ยนแปลงจากโลกภายนอก ซึ่งถือว่า เป็นอุปสรรคที่คอยขัดขวางไม่ให้มนุษย์ค้นพบแสงสว่างแห่งความจริงอันเป็นสัจธรรมชีวิต  ตัวอย่างเช่น มนุษย์สมัยโบราณมีความเชื่อว่า โลกแบน มีสี่เหลี่ยม หรือมีความเชื่อว่า ถ้าเดินเรือไปกลางทะเลสักวันหนึ่งจะแล่นเลยออกไป แล้วจะตกจากขอบโลก ซึ่งความเชื่อเหล่านี้ถูกสอนกันมานาน ต่อมาเมื่อมีการสำรวจความจริงเรื่องทางโคจรของดวงอาทิตย์กันขึ้นนั้น ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นว่า โลกไม่ได้กลม นอกจากนี้โลกยังมีการหมุนรอบตัวของมันเองอีกด้วย ข้อพิสูจน์ดังกล่าวจึงยุติความเชื่อที่ว่า โลกกลม นั่นเอง

เบคอนมีความเชื่อว่า  เทวรูปทั้ง 4 ประการดังกล่าว  คืออุปสรรคที่ขัดขวางไม่ให้มนุษย์เราได้ค้นพบความจริง  คนทุกคนมีเทวรูปที่ต่างกันออกไป ดังนั้นจึงส่งผลให้พวกเขามี ลักษณะนิสัย และความคิดเห็น ที่ต่างกันออกไป  เมื่อเป็นเช่นนั้น การที่จะทำให้เราทุกคนมีความคิดเห็นที่ตรงกันนั้น  เบคอนเสนอให้ทำลายเทวรูปทั้ง 4 นี้ทิ้งเสีย  เมื่อทำลายเทวรูปดังกล่าวแล้วนั้น ก็พยายามหาวิธีคิดที่ปราศจากเทวรูป หรือ อคติหรือกรอบใดๆมาปิดกั้น  ถ้าหากมนุษย์เราสามารถกระทำได้ดังเช่นนี้แล้ว  เราทุกคนก็จะเห็นความจริงแท้ ที่เป็นความจริงอันหนึ่งอันเดียวกันในที่สุด


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น