วันพฤหัสบดีที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2556

จอห์น ล็อค


จอห์น ล็อค

( John Locke, 1632 – 1704 )


ล็อคเป็นนักปรัชญาลัทธิประสบการณ์นิยมคนหนึ่งของอังกฤษที่มีชื่อเสียงมาก ท่านเกิดที่ชอมเมอร์ เซ็นเชอร์ ( SommerSetshir) เข้าเรียนหนังสือระดับมัธยมศึกษาที่เวสต์มินสเตอร์และเรียนปรัชญาที่ออกซฟอร์ด จบออกมาแล้วได้เป็นอาจารย์สอนวิชาภาษากรีกวาทศิลป์และปรัชญา อาชีพของท่านได้แตกต่างจากอาชีพของบิดาที่เป็นทนายความ


ต่อมาล็อคสนใจเรื่องวิทยาศาสตร์และศึกษาค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะสาขาแพทย์ จนสำเร็จเป็นแพทย์คนหนึ่ง ปี ค.ศ. 1667 อยู่กับลอร์ด แอชลี ( Lord Ashley ) ในฐานะเลขานุการส่วนตัว และในช่วงเวลานี้ได้ถกเถียงกันกับเพื่อนๆเรื่องปัญหาพื้นฐานทางศีลธรรมและศาสนาพบปัญหาว่า ต้องแก้ปัญหาทางญาณวิทยาให้ได้เสียก่อน จึงคิดหาทางปรับปรุงญาณวิทยา คิดอยู่นานถึง 7 ปี พบทางออกของปัญหาและเขียนหนังสือชื่อ An Essay Concerning Human Understanding (เรียงความเกี่ยวกับความเข้าใจมนุษย์) ซึ่งเป็นญาณวิทยาที่ตรงข้ามกับลัทธิเหตุผลนิยมของเดส์การ์ต ปี ค.ศ. 1684 ถูกเนรเทศไปอยู่ฮอลแลนด์เนื่องจากลอร์ด แอชลี ถูกโค่นและกลับอังกฤษอีกในปี ค.ศ. 1689 และอยู่กับเซอร์แมชัม จนถึงแก่กรรมรวมอายุได้ 72 ปี

วันอาทิตย์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เรอเน เดส์การ์ต


เรอเน เดส์การ์ต


                     เรอเน เด็สการ์ตส์ หรือ เรอเน เดส์การ์ตส์ (Rene Descartes) เป็นบุตรของตระกูลขุนนางใน
เมืองตูเรน (Touraine) เขาได้รับการศึกษาในวิทยาลัยลีซูร์ (Le Sueur) ที่ลาฟูร์ช (Lafourche) และแสดงความเฉลียวฉลาดมาตั้งแต่เด็กๆ อย่างไรก็ดีเมื่ออายุได้ 16 ปีก็ต้องออกจากโรงเรียน เขาเขียนรำพันไว้ในหนังสือ Discourse on Method (ดิโคซ ออน เมธ-อัด) ในภายหลังว่า ในบรรดาวิชาการต่างๆที่เขาร่ำเรียนมานั้น วิชาปรัชญาเป็นที่ต้องกับนิสัยเขามากกว่าวิชาอื่น และเนื่องจากเป็นวิชาที่ยังไม่กำหนดหลักอะไรแน่นอนลงไป เขาจึงคิดว่าคงจะประสบความสำเร็จในทางนี้
ฉะนั้น เมื่อมีอายุพอสมควร เขาจึงออกท่องเที่ยวไปตามประเทศต่างๆในยุโรป โดยได้แวะเยี่ยมราชสำนักและกองทัพต่างๆ เขาได้เข้าวิสาสะกับบุคคลซึ่งมีฐานะและนิสัยต่างๆกัน แล้วก็ได้รับความจัดเจนหลายประการจากการนี้ เช่นนี้เขาจึงเข้าใจว่า คงจะทำให้ประสบข้อเท็จจริงสำหรับใช้คิดปรัชญาขึ้นเองได้ เขามีจุดมุ่งหมายอยู่ว่า “..ฉันก็เกิดความกระหายอยากรู้ขึ้นอย่างแรงกล้าว่าอย่างไหนเป็นความเท็จอย่างไหนเป็นความจริง ทั้งนี้ก็เพื่อนำมาใช้ดำเนินชีวิตด้วยความมั่นคง และความสามารถเข้าใจการกระทำของตนเองได้อย่างแจ่มแจ้ง”