วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประวัติย่อของผู้วิจัย



ชื่อ - สกุล                                     นางสาวสุภาวดี ขวัญม่วง
วัน เดือน ปี เกิด                              14 กุมภาพันธ์ 2535
สถานที่เกิด                                    อำเภอเมือง จังหวัดระยอง
สถานที่อยู่ปัจจุบัน                            9/214 ซอย 12 ถนน ลงหาดบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 20130
ประวัติการศึกษา
     พ.ศ. 2546 - 2549                      ประถมศึกษา โรงเรียนมัธยมสัมมาชีวศิลป์ - บางพระ
     พ.ศ. 2549 - 2551                      มัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนพัทธยาอรุโณทัย
     พ.ศ. 2551 - 2553                      มัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนปากช่อง
     พ.ศ. 2553 - 2556                      ศาสนาและปรัชญา มหาวิทยาลัยบูรพา
                                                         

บรรณานุกรม


กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ. (2527). คู่มือบรรพชาอุปสมบท ฉบับกรมการศาสนา.      กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
________. (2525). คู่มือบรรพชาอุปสมบท ฉบับกรมการศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์การศาสนา.
คูณ โทขันธ์. (2545). พุทธศาสนากับสังคมและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์.  
จุฬาลักษณ์ สีดาคุณ. (2556). ประเพณีไทย. วันที่ค้นข้อมูล 7 กรกฎาคม 2556, เข้าถึงได้จาก     http://personal.swu.ac.th.
ธวัช ปุณโณทก. (2522). ความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับวิถีชีวิตในสังคมอีสาน ในวัฒนธรรมพื้นบ้าน:       คติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชำเลือง วุฒิจันทร์ และคณะ. (2525). คู่มือการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน. สำนักงาน เสริมสร้าง        เอกลักษณ์แห่งชาติ.กรุงเทพฯ: บริษัทประชาชน.
ประเทือง คล้ายสุบรรณ. (2531). วัฒนธรรมพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เคล็ดไทย.
ประสาท หลักศิลา. (2520). ข้อคิดเรื่องพิธีกรรมมิตรครู. กรุงเทพฯ: แพร่วิทยา.
ปรีชา นุ่นสุข. (2528). ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมประเพณีไทย. นครศรีธรรมราช: ศูนย์วัฒนธรรม       ภาคใต้ วิทยาลัยครูนครศรีธรรมราช.
แปลก สนธิรักษ์. (2515). พิธีกรรม และ ประเพณี. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนา         พานิช   .

บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 

          การศึกษาเรื่อง ประเพณีปอยส่างลอง กรณีศึกษา หมู่บ้านกุงแกง ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ผู้วิจัยได้ศึกษาแนวคิด เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อช่วยอธิบายและเป็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัย การศึกษาดังกล่าวครอบคลุมเนื้อหาดังนี้  
   1. แนวคิดเรื่องการบรรพชาสามเณรในพระพุทธศาสนา         
   2. แนวคิดเรื่องความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม            
   3. แนวคิดเรื่องประเพณีปอยส่างลอง            
   4. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

บทที่ 1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

บทที่ 1
บทนำ



ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
            การบรรพชาเป็นสามเณรของกุลบุตรมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล สามเณรองค์แรกคือ พระราหุลกุมาร ซึ่งเป็นพระราชโอรสของเจ้าชายสิตธัตถะ กับนางยโสธรา ประวัติการบรรพชาเป็นสามเณรของพระราหุลกุมาร มีว่า สมัยที่พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จกรุงกบิลพัสดุ์ ตามคำทูลเชิญของพระเจ้าสุทโธทนะ เพื่อทรงโปรดพระประยูรญาติ พระนางยโสธรา ทรงแนะนำให้พระราหุลกุมาร ไปทูลขอพระราชสมบัติจากพระบิดา สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงรำพึงว่า หากพระองค์จะพระราชทานสมบัติเยี่ยงบิดาให้แก่บุตรทั่ว ๆ ไปแล้ว สมบัตินั้นก็จะเป็นห่วงผูกพันพระโอรส ไว้ในวัฏสงสาร ไม่มีความเที่ยงแท้แน่นอน สู้การพระราชทานสมบัติอันประเสริฐ คือ อริยทรัพย์ 7 ประการ ไม่ได้ พระพุทธองค์จึงได้แสดงธรรมอริยทรัพย์ 7 ประการ โปรดพระราหุลกุมาร แล้วทรงโปรดให้พระสารีบุตร เป็นผู้จัดการบรรพชา ให้พระราหุลกุมารเป็นสามเณร และพระโมคคัลลานะเป็นผู้ปลงเกศา และให้ผ้ากาสาวพัสตร์ พระสารีบุตรให้ไตรสรณคมน์ พระมหากัสสปะเป็นผู้ให้โอวาทการบรรพชาให้แก่     พระราหุลกุมาร จึงเป็นการบรรพชาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา และพระราหุลกุมารก็ทรงเป็น สามเณรองค์แรกในพระพุทธศาสนา ด้วยเหตุที่พระราหุลกุมารยังทรงพระเยาว์อยู่มีพระชันษายังไม่ครบ 20 ปีบริบูรณ์ จะอุปสมบทเป็นพระภิกษุไม่ได้ การบรรพชาเป็นสามเณรของเยาวชนชาย จึงเริ่มต้นตั้งแต่พุทธกาลเป็นต้นมา (กรมการศาสนา, 2525, หน้า 11)
           

บทที่ 3 เปรียบเทียบประเพณีปอยส่างลอง (ตอน 3)



เปรียบเทียบประเพณีปอยส่างลอง

การเปรียบเทียบประเพณีปอยส่างลองนั้น จะเป็นการเปรียบเทียบให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างประเพณีปอยส่างลอง ของหมู่บ้านกุงแกง กับประเพณีปอยส่างลองในปัจจุบันที่ปรากฏในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ว่ามีข้อแตกต่างกันอย่างไร โดยจะกล่าวถึง รูปแบบการจัดงานประเพณีปอยส่างลอง ในอำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน ก่อนเพื่อให้ได้ง่ายต่อการเปรียบเทียบพิจารณาถึงข้อแตกต่าง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การจัดงานประเพณีปอยส่างลองในปัจจุบัน
การจัดงานปอยส่างลองในปัจจุบัน ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตพื้นที่ คือ ในอำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อไม่ให้เกิดการแปลความหมายคลาดเคลื่อน


สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน (2549, หน้า 215 - 218) ได้กล่าวถึงการจัดงานปอยส่างลองในปัจจุบันเอาไว้ว่างานปอยส่างลองเป็นประเพณีตามวัฒนธรรมของคนไทใหญ่ ซึ่งมีการจัดเพียงแห่งเดียวที่แม่ฮ่องสอน ดังนั้น ประเพณีนี้จึงได้รับความสนใจที่จะได้ชมจากนักท่องเที่ยวจำนวนมาก การนำเสนอกิจกรรมประเพณีปอยส่างลอง ในงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบ 200 ปี ในปี พ.ศ. 2525 ทำให้ชาวไทยภาคอื่นได้รู้จักประเพณีนี้เป็นครั้งแรกและตื่นเต้นกับความงดงามอลังการของขบวนแห่ปอยส่างลองเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องแต่งตัวของส่างลอง ความสนใจของนักท่องเที่ยวทำให้กิจกรรมนี้กลายเป็นเอกลักษณ์ของการท่องเที่ยวจังหวัดแม่ฮ่องสอน และทำให้ต้องมีการพัฒนารูปแบบของริ้วขบวนแห่งให้มีความงดงามอลังการมากยิ่งขึ้น

บทที่ 3 ประเพณีปอยส่างลองของหมู่บ้านกุงแกง (ตอน 2)

            ผู้วิจัยได้ลงพื้นที่ศึกษาหมู่บ้านกุงแกง และสัมภาษณ์ชาวบ้านในชุมชน พบว่า ปอยส่างลอง  เป็นภาษาไทใหญ่มาจากคำว่า ปอย แปลว่างาน คำว่า ส่าง หมายถึง สามเณรในภาษาไทย กับคำว่าลอง นั้นมาจากคำว่า อะลอง หมายถึง กษัตริย์ เมื่อรวมกันก็หมายถึง งานเตรียมบรรพชาเป็นสามเณร ที่แต่งตัวเลียนแบบเป็นกษัตริย์ การเป็นส่างลองนั้นเป็นการเลียนแบบประวัติของพระพุทธเจ้าตอนที่เป็นเจ้าชายสิทธัตถะครองกรุงกบิลพัสดุ์ก่อนจะออกผนวชการกระทำทุกอย่างในช่วงเวลาการเป็นส่างลองจะปฏิบัติเสมือนการปฏิบัติต่อพระมหากษัตริย์บวช (สิงห์ทอง เรือนแก้ว, สัมภาษณ์, 19 เมษายน 2556)
            ความเป็นมาของประเพณีปอยส่างลองบ้านกุงแกง
ภาพที่ 3 หนังสือปอยส่างลอง
            ชาวไทใหญ่ในหมู่บ้านกุงแกง ได้เล่าสืบทอดกันถึงที่มาของประเพณีปอยส่างลองไว้ 2ตำนานด้วยกันดังนี้
            1. การบรรพชาเป็นสามเณรนั้นก็เพื่อศึกษาธรรมและเพื่อเป็นการทดแทนคุณบิดา มารดา โดยอิงมาจากพุทธประวัติ ตอนที่พระนางยโสธราแต่งองค์ให้พระราหุลเพื่อทูลขอสมบัติจากพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าพระราชทานอริยทรัพย์ คือ ให้พระราหุล บรรพชาสู่กาสาวพัสตร์ และนับเป็นสามเณรองค์แรกของพระพุทธศาสนา (ฉายแสง ยอดคำ, สัมภาษณ์, 26 เมษายน 2556)
            2. อิงพุทธประวัติตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะผู้เจริญด้วยโภคทรัพย์แต่ทรงสละทรัพย์สมบัติเพื่อแสวงหาหนทางแห่งความหลุดพ้น (สมพร กันทาคำ, สัมภาษณ์, 19 เมษายน 2556)
            จากทั้งสองตำนานนี้เองที่เป็น ขนบธรรมเนียมประเพณีให้คนไทใหญ่ยึดถือให้เครื่องทรงของส่างลองมี ความวิจิตรงดงาม
            จากการตั้งข้อสังเกตพบว่า ชาวบ้านกุงแกงมีความเชื่อในเรื่อง ความเป็นมาของประเพณีปอยส่างลอง นั้นอิงมาจากพุทธประวัติ ตอนที่พระนางยโสธราแต่งองค์ให้พระราหุลเพื่อทูลขอสมบัติจากพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าพระราชทานอริยทรัพย์ คือ ให้พระราหุล บรรพชาสู่กาสาวพัสตร์ เป็นการจำลองสถานการณ์ ที่พระราหุล แต่งองค์เต็มยศ เพื่อไปหาพระราชบิดา มากกว่า เหตุการณ์ที่เจ้าชายสิตธัตถะสละราชสมบัติ
      

บทที่ 3 บริบทชุมชนบ้านกุงแกง (ตอน1)

บทที่ 3
ประเพณีปอยส่างลองของหมู่บ้านกุงแกง


            การศึกษาเรื่อง ประเพณีปอยส่างลอง กรณีศึกษา หมู่บ้านกุงแกง ตำบลทุ่งยาว อำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในบทนี้ผู้วิจัยได้ทำการศึกษา โดยสามารถแยกออกเป็นหัวข้อต่าง ๆ ได้ดังนี้
           1. บริบทชุมชนบ้านกุงแกง
           2. ประเพณีปอยส่างลองของหมู่บ้านกุงแกง
           3. เปรียบเทียบประเพณีปอยส่างลอง
           4. ประเพณีปอยส่างลองกับหลักการบวชในพระพุทธศาสนา



            สภาพทั่วไปของชุมชน
          บ้านกุงแกง อยู่ห่างจากตัวอำเภอปายประมาณ 5 กิโลเมตร ห่างจากตัวจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประมาณ 116 กิโลเมตร เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลทุ่งยาวซึ่ง แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 12 หมู่ ได้แก่ หมู่ 1 บ้านทุ่งโป่ง หมู่ 2 บ้านทุ่งยาวเหนือ หมู่ 3 บ้านทุ่งยาวใต้ หมู่ 4 บ้านสบแพม หมู่ 5 บ้านแพมกลาง หมู่ 6 บ้านแพมบก หมู่ 7 บ้านแม่อีแลบ หมู่ 8 บ้านปางตอง หมู่ 9 บ้านตีนธาตุ หมู่ 10 บ้านร้องแหย่ง หมู่ 11 บ้านกุงแกง และ หมู่ 12 บ้านมโนรา มีอาณาเขตติดต่อกับตำบลอื่น ๆ ดังนี้
            ทิศเหนือ       ติดต่อกับตำบลเวียงใต้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
          ทิศใต้           ติดต่อกับตำบลเมืองแปง อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
          ทิศตะวันออก  ติดต่อกับแม่น้ำปาย ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
          ทิศตะวันตก   ติดต่อกับอำเภอปางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
       

บทที่ 4 สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

บทที่ 4
สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ

          การศึกษาเรื่อง ประเพณีปอยส่างลอง กรณีศึกษา หมู่บ้านกุงแกง ตำบลทุ่งยาว อำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน ในบทนี้ ผู้วิจัยจะได้ สรุปผลการศึกษา อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ จากผลการศึกษาผู้ศึกษาสามารถสรุปได้ดังนี้



สรุปผลการศึกษา
การแต่งกายปอยส่างลอง
            ในการศึกษาเรื่อง ประเพณีปอยส่างลอง กรณีศึกษา หมู่บ้านกุงแกงตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีปอยส่างลองของหมู่บ้านกุงแกง การศึกษาครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ โดยการเก็บข้อมูลภาคสนามจากแหล่งข้อมูลพื้นที่ศึกษาการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และเข้าร่วมประเพณีจริงและเอกสารต่าง ๆ ในการวิเคราะห์ ประเพณีปอยส่างลอง
            ประเพณีปอยส่างลองของหมู่บ้านกุงแกง มีความเชื่อเรื่องความเป็นมาอยู่ 2 เรื่องคือ ความเชื่อที่อิงมาจากพุทธประวัติ ตอนที่พระนางยโสธราแต่งองค์ให้พระราหุลเพื่อทูลขอสมบัติจากพระพุทธเจ้า แต่พระพุทธเจ้าพระราชทานอริยทรัพย์ คือ ให้พระราหุล บรรพชาสู่ผ้ากาสาวพัสตร์ และความเชื่อที่ อิงมาจากพุทธประวัติตอนที่เจ้าชายสิทธัตถะผู้เจริญด้วยโภคทรัพย์แต่ทรงสละทรัพย์สมบัติเพื่อแสวงหาหนทางแห่งความหลุดพ้น พบว่า ชาวบ้านกุงแกงมีความเชื่อในเรื่อง ความเป็นมาของประเพณีปอยส่างลอง มาจากพุทธประวัติ ตอนที่พระนางยโสธราแต่งองค์ให้พระราหุลเพื่อทูลขอสมบัติจากพระราชบิดา     วัตถุประสงค์หลักในการจัดงานปอยส่างลองมี 2 ประการ คือ เพื่อแสดงความกตัญญูต่อบิดามารดา หรือต่อผู้ให้อุปการะเลี้ยงดู

บทคัดย่อ ประเพณีปอยส่างลอง

53021138สาขาวิชา: ศาสนาและปรัชญา; ศศ.บ. (ศาสนาและปรัชญา)
คำสำคัญ:     ประเพณีปอยส่างลอง / บรรพชาสามเณร / ส่างลอง
            สุภาวดี ขวัญม่วง: ประเพณีปอยส่างลอง กรณีศึกษา หมู่บ้านกุงแกง ตำบลทุ่งยาว    อำเภอปายจังหวัดแม่ฮ่องสอน อาจารย์ผู้ควบคุมงานนิพนธ์
ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์, ศศ.ม., 116 หน้า.  ปี พ.ศ. 2556.      


            การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีปอยส่างลอง โดยขอบเขตพื้นที่ของการวิจัย ได้จำกัดขอบเขตการศึกษาอยู่เฉพาะ ในเขตพื้นที่ หมู่บ้านกุงแกง ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งเป็นเขตที่มีการจัดงานประเพณีปอยส่างลอง ขอบเขตเนื้อหาของงานวิจัย เน้นการศึกษาเรื่องประเพณีปอยส่างลอง ประวัติความเป็นมา ขั้นตอน พิธีกรรม โดยงานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบพรรณนาวิเคราะห์ โดยได้รวบรวมข้อมูลภาคสนาม จากการเข้าไปสังเกตการณ์และสัมภาษณ์ และนำข้อมูลมาสรุปผลการศึกษา
สัมภาษณ์กำนันสมจิตร ชื่นจิตร ต.ทุ่งยาว

             ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์พบว่า ประเพณีปอยส่างลอง หมู่บ้านกุงแกง ตำบลทุ่งยาว อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีความเชื่อในเรื่องความเป็นมาของปอยส่างลอง จากเหตุการณ์ที่  พระราหุลกุมาร แต่งองค์ด้วยชุดกษัตริย์เพื่อไปขอราชสมบัติจากพระพุทธเจ้า
      ปอยส่างลองจึงเป็นการจำลองมาจากเหตุการณ์นี้ในพุทธประวัติ การบรรพชาปอยส่างลองมี
วัตถุประสงค์ 

วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2556

รวบรวมทีมวิจัย เหล่ายอดมนุษย์ 555

อ.รอด อาม
อ.สกุล บลู เบียร์ กุ๊ก พลอย น้ำตาล เฟริ์น
อ.ขัน เจตน์ โรจน์ เฟียร์ ลูกน้ำ ปูนิ่ม
ทีมบอสเก้ง.....บี๋ กด มิ้น บัน ดาว แฟร์ ก้างปลา




ทีม อ.โจ้ มีน ปอยฝ้าย




พี่สิตางค์ ส้ม หญิง


แล้วที่ไม่ได้ทำก็............อ.เลิศ ฝ้าย ปลื้ม อ้วน ทราย แพรว แป้งม่ำ
                                        อ.ชัย น้ำมนต์ แจน แป้ง
                                        พี่จ๋า อาย ฟ้า
                                       อ.โอ หวาน พลอย เจ แจ๊ค ก้อย




วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม ลุงสอน กล้าศึก

ลุงสอน กล้าศึก "คนปลูกต้นไม้" แห่งบ้านโนนเสลา

จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม ปี4 เทอม1
"การปลูกต้นไม้ สร้างป่า คือ การปฏิบัติธรรม"
ตลอดระยะเวลาเกือบ 15 ปีที่ผ่านมา ลุงสอน กล้าศึก จึงมุ่งมั่นทำงานแห่งชีวิตที่ยิ่งใหญ่แต่เรียบง่าย "งานปลูกต้นไม้" เพราะ "ป่าไม้เปรียบเสมือนอาจารย์ของพระพุทธเจ้า" หลักธรรมที่สร้างศรัทธาอันแน่วแน่แก่ "ผีบ้า" ผู้พรากเพียรสร้างผืนป่า "ภูมิใจ ที่ได้สร้างประโยชน์แก่คนทั้งโลก เพราะแม้ลุงจะปลูกต้นไม้ สร้างป่าอยู่ที่บ้านโนนเสลา แต่น้ำจากป่าก็ไหลรวมลงแม่น้ำ ลำคลอง ลงสู่ทะเล มหาสมุทรในที่สุด"
                 

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

กลุ่มขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม WWF


กลุ่มขบวนการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม WWF

จริยศาสตร์สิ่งแวดล้อม


ความหมาย

WWF (World Wide Fund For Nature) หรือเรียกว่า “กองทุนสัตว์โลก” เป็นองค์กรเอกชนอิสระที่ไม่แสวงหาผลกำไร ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์เป็นเวลากว่า 50 ปี ได้รับการปกป้องอนาคตของธรรมชาติ เป็นองค์กรอนุรักษ์ชั้นนำของโลก ซึ่งทำงานอยู่ใน 100 ประเทศและได้รับการสนับสนุนโดย 1.2 ล้านคนในสหรัฐอเมริกาและใกล้กับ 5 ล้านทั่วโลก วิธีที่ไม่ซ้ำของ WWF ในการทำงานรวมถึงระดับโลกที่มีรากฐานในด้านวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับการดำเนินการในระดับท้องถิ่นจากทั่วโลกทุกคนและเพื่อให้แน่ใจว่าการส่งมอบโซลูชั่น(ทางออก)ที่เป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองความต้องการของทั้งสองสิ่งคือคนและธรรมชาติ