วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประกอบการนำเสนอเรื่อง ภิกษุณี วิชาพุทธศาสนาในประเทศไทย (อ.ปัทวี สัตยวงศ์ทิพย์)

สัมภาษณ์ภิกษุณีธัมมนันทา

ประกอบการนำเสนอเท่านั้น!!!!!!! 

มิได้มีเจตนาล้อเลียนแต่อย่างใด

 พิธีกร สัมภาษณ์ นางสาวพัณณิตา พวงทับทิม 53020095 (รับผิดชอบแต่เพียงผู้เดียว)


55555555555555

วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2555

การศึกษาของคณะสงฆ์ไทย

ความเป็นมา รูปแบบ และเป้าหมายการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย

๑. ความเป็นมาของการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย
  
        การศึกษาของคณะสงฆ์ในพระพุทธศาสนานั้น ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่วันเพ็ญเดือน ๘ ของทุกปีที่ ๔๕ ก่อนพุทธกาล ขณะที่พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับรอยธรรมจักรด้วยการแสดงธัมมจักกัปปวัตตนสูตรโปรดพระปัญจวัคคีย์ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ใกล้เมืองพาราณสี จนได้บังเกิดพระอริยเจ้าผู้ได้รับการพัฒนาจนข้ามพ้นขีดขั้นของการศึกษาทั้งปวงที่มีอยู่ในโลก มาสู่ฝ่ายโลกุตระเป็นท่านแรกนับจากการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า เมื่อลองเปรียบเทียบจากนิยามของการศึกษา จะพบว่ามีนักการศึกษาได้ให้นิยามไว้หลากหลายแต่คล้ายคลึง เช่น เพลโต้ ได้กล่าวว่า การศึกษา คือ การค้นหาความจริงแท้ซึ่งเป็นสิ่งสากล เป็นสัจจะและมีความเป็นนิรันดร์ หรือ จอห์น ดิวอี้ นักการศึกษาสมัยใหม่ได้นิยามการศึกษาไว้ว่า การศึกษา คือ ความเจริญงอกงาม การศึกษา คือ ขบวนการทางสังคม การศึกษา คือ ชีวิต ทางฝ่ายนักการศึกษาไทย ก็มองการศึกษาไม่ได้แตกต่างกันนัก โดยให้ความหมายว่า การศึกษา คือ ความเจริญงอกงามของชีวิต คือ กระบวนการกำจัดอวิชชาสำหรับมนุษย์ เป็นการนำความกระจ่างสู่จิตและทำให้เกิดปัญญา จนกระทั่งการศึกษา คือ การทำให้มนุษย์เป็นผู้ถูกต้องและสมบูรณ์ เพื่อให้ได้มาซึ่งสติปัญญา มีวิชาชีพ และมนุษยธรรมตลอดถึงการกำจัด ราคะ โทสะและโมหะ จากข้อมูลเหล่านี้อาจสรุปได้ว่า การศึกษา คือ การพัฒนาชีวิตให้เจริญงอกงามถึงขีดสุดด้วยการกำจัดราคะ โทสะและโมหะ เพื่อนเข้าถึงความจริงแท้ซึ่งเป็นสัจจะ และมีความเป็นนิรันดร์ เมื่อมองการศึกษาโดยความหมายนี้ก็จะสามารถนำสวมทับกับความหมายของการพัฒนาจนเข้าถึงโลกุตระในฝ่ายพระพุทธศาสนาได้อย่างมีเหตุมีผล ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าการศึกษาในพระพุทธศาสนา ได้เริ่มต้นขึ้นนับตั้งแต่มีผู้สามารถพัฒนาตนเองจนเข้าถึงโลกุตรธรรมได้ ซึ่งอีกนัยหนึ่งก็เป็นการรับรองคำกล่าวที่ว่า “ศาสนาพุทธเป็นศาสนาแห่งการศึกษา” เพราะศาสนาพุทธนั้นมีจุดเริ่มต้นมาจากการศึกษานั่นเอง

การปกครองคณะสงฆ์ไทย


การปกครองคณะสงฆ์ไทย
(Thai Songha Administration)
การปกครองคณะสงฆ์ไทยสมัยกรุงสุโขทัย
ก่อนสถาปนาอาณาจักรสุโขทัย พระเจ้าปรักกมพาหุ ขึ้นครองราชย์ในประเทศลังกา พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยการทำสังคายนาครั้งที่ ๗ ขึ้น  พระพุทธศาสนาจึงเจริญรุ่งเรืองในประเทศลังกาทั้งด้านการศึกษา การปฏิบัติธรรม กิตติศัพท์เลืองลือไปถึงประเทศพม่า พระสงฆ์จากเมืองพุกามและพระสงฆ์ชาวมอญได้เดินทางไปศึกษาพระธรรมวินัย และได้อุปสมบทใหม่ในคณะสงฆ์ลังกาและได้พาพระสงฆ์จากลังกา กลับมายังเมืองพุกามและเมืองมอญ ตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นในประเทศพม่า
ต่อมาพระสงฆ์ชาวลังกาชื่อ ราหุล ได้จาริกจากเมืองพุกามมาตั้งคณะลังกาวงศ์ขึ้นที่เมืองนครศรีธรรมราชและได้เป็นที่นับถือศรัทธาของประชาชน
ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ อาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง คนไทยเป็นอิสระมากขึ้น ทางตอนเหนือเกิดอาณาจักรล้านนา ทางใต้เกิดอาณาจักรสุโขทัย  สุโขทัยได้รับอิทธิพลพระพุทธศาสนาจากอาณาจักรศรีวิชัยโดยมีพระสงฆ์ไทยและพระสงฆ์จากศรีลังกา มาเผยแพร่พระพุทธศาสนาในอาณาจักรศรีวิชัย

บทวิเคราะห์ ภิกษุณี (สรุปจากพุทธศาสนาไทยในอนาคต)



บทวิเคราะห์ ภิกษุณี (สรุปจากพุทธศาสนาไทยในอนาคต)



      สาเหตุสำคัญที่ปิดโอกาสไม่ให้ผู้หญิงบวชภิกษุณีได้ก็คือ เหตุผลทางด้านพระธรรมวินัย คือ ภิกษุณีบวชได้ต้องมีสงฆ์ทั้ง ๒ ฝ่าย คือ พระสงฆ์ ๕ รูป ภิกษุณี ๕ รูป รองรับ แต่ภิกษุณีขาดสายไปนานแล้ว จึงทำให้ไม่ครบองค์ บวชตาม พระวินัยได้
         ทางออกฝ่ายสนับสนุนภิกษุณี อาศัยภิกษุณีสงฆ์ที่ไต้หวันมาทำพิธีอุปสมบทแบบเถรวาท ทำให้มีสงฆ์ครบทั้ง  ๒ฝ่าย จึงถือว่าภิกษุณีบวชถูกต้องตามพระวินัยแต่ไม่เป็นที่ยอมรับของชาวพุทธส่วนมากรวมถึงมหาเถรสมาคม

วันพุธที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2555

เต๋า มีลักษณะอย่างไร ทุกแง่มุม

   เต๋า มีลักษณะอย่างไร ทุกแง่มุม
                1.เต๋าคืออะไร
เต๋า
ทาง (Wayเส้นทาง” (Pathถนน (Road) หรือวิถี (ทางที่ไร้หนทาง วิถีที่ปราศจากวิถี
ทางโลก
ทางที่และเห็น บรรลุถึงจุดหมายได้
ทางที่ยิ่งใหญ่
มีอยู่จริง ไปไม่ได้ด้วยการเดิน ตัวหนทางนั้นเองเป็นจุดหมาย ตัวเรานั้นคือทางสายนั้น
สมมุติว่าเราโดนมีดบาด           เราสามารถอธิบายได้ไหมว่าเจ็บอย่างไร นอกจากเคยมีประสบการณ์

มันเป็นสิ่งที่เป็น นามธรรม ไม่กินพื้นที่ เป็นอะไรก็ได้ที่อยากเป็น
ทำไมเรามีแฟนหลายคนเพราะเราสงสัยว่าที่มีอยู่ มันดีจริงหรือเปล่า เมื่อถึงจุดอิ่มเราก็ไม่สงสัยแล้ว เราก็จะหยุด ไม่ต้องเดินแต่ถึงที่สุดแล้ว

จุดเริ่มต้นกับสิ้นสุด คือ จุดเดียวกัน ตรงกับปรัชญา ซาร์ต เพราะทุกคนเกิดจากจิตที่ว่างเปล่า
จุดเริ่มต้นกับสิ้นสุด อยู่ที่ ตัวเรา สูงสุดคืนสู่สามัญ
เมื่อเราจบเส้นทางนั้นแล้วเราก็จะมีความสุข

สรุปปรัชญาฮั่นเฟ่ยจื้อ


สรุปปรัชญาฮั่นเฟ่ยจื้อ

 สรุปใจคความสำคัญของปรัชญาฮั่นเฟ่ยจื้อก็คือ เขาต้องการให้พลเมืองมีความสุข สังคมเป็นระเบียบ ประเทศมั่นคงและมั่งคั่ง การที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวได้รัฐจะต้องดำเนินการต่อไปนี้
 ๑. แต่งตั้งให้มีฮ่องเต้หรือกษัตริย์เป็นผู้นำของรัฐ มีอำนาจเด็ดขาดในการปกครอง มีหน้าที่ออกกฎหมาย กำหนดคุณและโทษไว้ให้ชัด และคอยดูแลให้ทุกอย่างดำเนินไปตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
๒. ผู้นำของรัฐจะต้องแต่งตั้งบุคคลอื่นๆให้ดำรงตำแหน่งต่างๆลดหลั่นกันไปตามลำดับ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของพระองค์ ทุกตำแหน่งต้องมีอำนาจและหน้าที่อยู่ในตัว ใครทำไม่ได้ตามที่กำหนดไว้ให้ปลดออก ตั้งคนอื่นแทน
๓. ใช้กฎหมายเป็นเครื่องมือในการปกครองประเทศ ใช้กฎหมายเป็นบรรทัดฐานของการตัดสินปัญหาทุกอย่าง ให้เลิกชนชั้นสูงชั้นต่ำ ทุกคนมีฐานะเท่าเทียมกันในสายตาของกฎหมาย
๔. รณรงค์ให้ชาวเมืองเป็นชาวไร่ ชาวนา และทหาร เพราะชนชาวไร่ชาวนาสามารถหารายได้เข้ารัฐได้ ทำให้ประเทศมั่งคั่ง ส่วนทหารก็จะทำให้ประเทศชาติมั่นคงไม่ถูกรุกราน ทำให้บ้านเมืองมีเสถียรภาพสงบสุข บุคคลทั้ง ๒ ประเภทจึงได้รับการยกย่องมากว่าเป็นกำลังสำคัญของชาติ เป็นพลเมืองที่มีค่าของประเทศ
 ปรัชญาของฮั่นเฟ่ยจื้อเป็นที่ชอบใจของคนจีนยุคใหม่สมัยหลังสงครามระหว่างแคว้นต่างๆเพราะคนเบื่อหน่ายสงคราม เห็นความไม่ดีของการแบ่งแยกชนชั้น และเมื่อมาพบแนวความคิดใหม่ที่ใช้กฎหมายแทนจารีตประเพณีและคุณธรรม ทำให้เกิดความหวังใหม่ว่า กฎหมายคงจะช่วยได้ คงจะไม่ล้มเหลวอย่างการใช้ระบบจารีตประเพณีและคุณธรรมดังที่ผ่านมา รัฐจิ๋นเป็นรัฐแรกที่นำปรัชญานิตินิยมไปใช้ และก็ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ทำให้รัฐจิ๋นเป็นเลิศในทางกสิกรรมและทางทหาร จนรัฐจิ๋นซึ่งแม้เป็นรัฐเล็กๆแต่ก็สามารถกำจัดแคว้นปรปักษ์ได้หมด จนกระทั่งสามารถรวบรวมแคว้นทั้งหมดเข้าเป็นอาณาจักรประเทศจีนประเทศเดียวกันได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์จีน ฮั่นเฟ่ยจื้อได้ปฏิวัติปรัชญาจีนที่ผ่านมาโดยใช้กฎหมายแทนที่จารีตประเพณีและคุณธรรม เป็นการนำเอาทฤษฎีใหม่มาใช้แทนทฤษฎีเก่าซึ่งยึดถือกันมานาน และจากอิทธิพลของปรัชญาฮั่นเฟ่ยจื้อ ทำให้คนจีนยุคถัดๆมาเห็นความสำคัญของกฎหมาย จึงหันมาใช้กฎหมายเข้าแก้ปัญหาต่างๆจนเป็นเหตุให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองต่อมา จนชนชั้นกรรมาชีพเป็นพลังสำคัญของประเทศ


ความแตกต่างปรัชญาจีน กับ ปรัชญาตะวันตก


ปรัชญาจีน กับ ปรัชญาตะวันตกมีความแตกต่างกันอย่างไร
1.ด้านหลักการสอน
ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาจีน
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับวิทยาศาสตร์
มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับจริยศาสตร์ การเมือง วรรณคดี และศิลปะ
แสวงหาความรู้เพื่อความรู้

ความรู้นั้นคือมรรควิธีที่นำไปสู่อุดมคติอันสูงส่งที่ปฏิบัติได้ในชีวิตจริง
รากฐานของปรัชญาจีน           ความกระหายของนักปราชญ์ที่อยากจะเข้าใจวิถีธรรมชาติ
สอนเรื่องความรักในพระเจ้า
สอนเรื่องความรักในเพื่อนมนุษย์ เน้นความสำคัญของจริยธรรม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ความเกี่ยวข้องทางสังคม หน้าที่ของพลเมืองดี และหลักปฏิบัติทางศีลธรรม

2.ด้านประเด็นที่มาของความรู้
ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาจีน
ความรู้จากทฤษฎีคือ ความรู้และความหมายที่ได้จากหลักคำสอนอันเป็นหลักจากอนุมาน การใช้ความคิดทางคาดคะเน และการวิเคราะห์เหตุผลแบบตรรกวิทยา
เน้นการภาวนาฝึกฝนอบรมตนเอง ซึ่งส่งผลให้มีความสนใจอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับปัญหาที่เป็นรูปธรรม
สนใจเรื่องของความขัดแย้งกันของสิ่งที่แตกต่างจากกันในโลก เช่น ความขัดแย้งระหว่างคนกับพระเจ้า อุดมคติกับความเป็นจริง สังคมกับปัจเจก อำนาจกับเสรีภาพ
มีลักษณะไม่ใช่เป็นความขัดแย้ง แต่เป็นความกลมกลืนประสานกันของสิ่งทั้งหลายในโลก มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของจักรวาล โลกจักรวาลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้น



               
3.ด้านเนื้อหาสาระ
ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาจีน
แบ่งออกเป็น 5 สาขา
แทบจะไม่มีการแยกคนออกจากความต้องการทางจริยธรรมและการปฏิบัติในชีวิตของบุคคลเลย
จิตมีความกลมกลืนกับทุกสรรพสิ่ง

4.ด้านจิตวิญญาณแห่งปรัชญา
ปรัชญาตะวันตก
ปรัชญาจีน
ฝังใจเกี่ยวกับเรื่องความขัดแย้งกันของสิ่งที่แตกต่างกันและกันที่มีอยู่ในโลก เช่น คนกับพระเจ้า อุดมคติกับความเป็นจริง สังคมกับปัจเจก อำนาจกับเสรีภาพ เป็นต้น
มีลักษณะเด่นไม่เป็นความขัดแย้ง แต่เป็นความกลมกลืนประสานสืบเนื่องกันของสิ่งทั้งหลายในโลก ปรัชญาจีนถือว่า มนุษย์เป็นส่วนหนึ่งของโลกจักรวาล และโลกจักรวาลเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ มนุษย์กับธรรมชาติผูกพันกันอย่างแน่นแฟ้นสมบูรณ์ต่อกันและกัน

                                               

                          
                                          

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2555

จริยธรรมของขงจื่อ


จริยธรรมของขงจื่อ

มี 2 ลักษณะ 1.ปัจเจกบุคคล 2.ระดับสังคม
                ระดับปัจเจกบุคคล มี ประการ ได้แก่
1. ความชอบธรรม 
หมายถึง ความถูกต้องเหมาะสม(กาละเทศะ) การวางตัวให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น เวลาคนตาย แต่งชุดดำไว้ทุกข์ ถ้าใส่ชุดแดงถือว่าไม่ถูกต้อง ตามเหตุการณ์ ถึงจะไม่เป็นอะไรต่อกฎหมายแต่ก็ไม่ถูกต้องเหมาะสม อย่ายืนค้ำหัวผู้ใหญ่ เป็นหลักปฎิบิของคนไทย                                             *ความถูกต้องเหมาะสมตามสถานการณ์ ต้องใส่ใจเรื่องการศึกษาไปด้วยไม่ใช่เรื่องง่าย  และอย่าเอาผลประโยชน์มาตัดสินความชอบธรรม เช่น หมอโกหกคนไข้ให้ไปทำสมาธิ แล้วคนไข้เชื่อทำตามแล้วหายจริง อันนี้ไม่ถูกต้อง คล้ายกับหลักของค้านท์
2. มนุษยธรรม  หมายถึง ความรักในผู้อื่น” รักทุกสิ่งที่มีอยู่ในโลก ในบรรดาสิ่งที่เรารัก เรารักตัวเองมากที่สุด จากนั้นจึงรักญาติ รักเพื่อน รักในที่นี้ หมายถึง รักทุกคนเปรียบเหมือนญาติเรา มองทุกคนเป็นครอบครัวเดียวกัน ไม่ว่าจะ ชาติ ศาสนา ภาษา ไหนก็ตาม
3.ความรู้สึกผิดชอบ  หมายถึง ปฎิบัติต่อคนอื่นเหมือนปฎิบัติต่อตนเอง  “อยากให้เขาปฏิบัติกับเราอย่างไร เราก็ปฏิบัติอย่างนั้นกับเขา” หรือพูดตามสำนวนไทยว่า เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ปกติแล้วเราปรารถนาจะให้ผู้อื่นเข้าใจเรามากกว่าเลยลืมนึกถึงหัวอกของผู้อื่น ถ้าเราอ่อนไหวต่อความรู้สึกของผู้อื่น เราจะซึ้งใจดีว่า มนุษย์ทุกคนล้วนเกลียดความทุกข์ มุ่งหวังปรารถนาความสุขด้วยกันทั้งนั้น วิธีคิดแบบนี้ขงจื่อมองว่า เมื่อเราพัฒนาตัวเองให้ดีแล้ว สังคมก็จะดีตาม ความรู้สึกผิดชอบเป็นกลไกของความเอื้ออาทร ดูแลห่วงใยซึ่งกันและกัน เพราะเราอยู่คนเดียวในโลกไม่ได้  เช่น สคส ส่งความสุข เราส่งให้คนอื่น เราไม่ต้องสนใจว่าเขาจะส่งให้เราหรือเปล่า

4.เห็นแก่ผู้อื่น  หมายถึง อย่าปฏิบัติต่อเขาในสิ่งที่เราไม่ต้องการให้เขาปฏิบัติต่อเรา” จริยธรรมข้อนี้จะเน้นพฤติกรรมของคนที่เราไม่ชอบ แต่เราเอาพฤติกรรมนั้นไปใช้กับผู้อื่น เข้าทำนอง นินทากาเล” ใส่ร้ายป้ายสีก่อให้เกิดความแตกแยก แตกร้าว เป็นการสร้างศัตรู บ่มเพาะความอาฆาตมาดร้าย ชิงชัง รังเกียจกันไม่มีที่สิ้นสุด

5.ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่   หมายถึงการทำหน้าที่ของตนเต็มกำลังความสามารถ โดยไม่ต้องกังวลถึงผลที่จะได้รับจากงานนั้น งานเป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเอง ไม่ว่าผลของงานจะออกมาในรูปแบบไหนก็ไม่ยึดติดกับงานนั้น เหมือนกับที่ท่านพุทธทาสบอกว่า ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่” เป้าหมายมิใช่หวังอามิสสินจ้างรางวัลใด ๆ แต่ทำงานเพราะเป็นสิ่งมีคุณค่าที่มนุษย์พึงกระทำ เช่น กวาดบ้าน ได้ความสะอาด กินข้าวได้ความอิ่ม เพื่อให้มีชีวิตอยู่ได้ เพื่อทำหน้าที่ให้ดีที่สุด อยู่ในสถานะไหนก็ทำหน้าที่ได้สมบูรณ์

ภิกษุณี

ภิกษุณี

ประวัติการเกิดภิกษุณี
ในสมัยพุทธกาลนั้น แรกเริ่มเดิมทีสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงอนุญาตให้มีภิกษุณีได้ เนื่องจากเห็นว่าจะทำให้อายุของพระพุทธศาสนาไม่ยั่งยืนต่อมา พระมหาปชาบดีโคตมีเถรีผู้เป็นพระน้านางและพระมาตุจฉา หรือพระมารดาเลี้ยงของเจ้าชายสิทธัทธัตถะ ท่านได้มีศรัทธาอยากออกบวชจึงทูลอ้อนวอนขอบวชต่อพระพุทธเจ้าถึงสามครั้งสามครา แต่ก็ไม่เป็นผล จนกระทั่งพระอานนท์ได้ทูลขอให้ พระพุทธเจ้าจึงทรงอนุญาต โดยมีเงื่อนไขว่า พระนางปชาบดีโคตมีจะต้องรับเอาครุธรรม8ประการ (แปลว่าข้อปฏิบัติที่หนักและทำได้ยาก) ไปปฏิบัติ ครุธรรม ๘ ประการ

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพุทธศาสนา
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัตินานถึง ๔๒ ปี ซึ่งนับว่านานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของไทยในอดีต ตลอดระยะเวลาอันยาวนานแห่งการครองราชได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้แก่ประเทศชาติอย่างหาที่เปรียบมิได้ อย่างไรก็ดี ในที่นี้จะเสนอพระราชดำริพระบรมราโชบายและพระราชกรณียกิจ เฉพาะในส่วนแห่งการพระศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระราช
ศรัทธาอันมั่นคง เพื่อประโยชน์ และความสุขแก่มหาชนชาวสยามตลอดกาลนาน ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พ.ศ. ๒๔๑๑ - ๒๔๕๓) รัชกาลที่ ๕ แห่งกรุง รัตนโกสินทร์ แม้ว่าจะทรงมีพระราชภารกิจทางด้านการปรับปรุงประเทศอยู่มากแล้วก็ตาม แต่ก็ทรงมีพระราชศรัทธาอันแรงกล้า ในการที่จะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น        
         ดังจะเห็นได้จาก พระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า "เมื่อข้าพเจ้าได้ดำรงสิริราชสมบัติแล้ว ก็ตั้งใจทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและทำนุบำรุงพระผู้เป็นเจ้าทั้งปวงอยู่เป็นนิจ
ข้าพเจ้าอาจปฏิญาณใจได้ว่า ถ้าชีวิตข้าพเจ้ายังอยู่ตราบใด แลข้าพเจ้าคงคิดจะทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอยู่เป็นนิจ" และอีกตอนหนึ่งกล่าวว่า "ข้าพเจ้าย่อมรู้สึกว่าเป็นหน้าที่ของข้าพเจ้า ซึ่งจะต้องทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นสิ่งคู่กับพระราชอาณาจักร ให้ดำเนินไปในทางวัฒนาการพร้อมกันทั้งสองฝ่าย" การที่รัชกาลที่ ๕ ทรงมีพระราชศรัทธาอันแรงกล้าที่จะทำนุบำรุงพระศาสนาให้เจริญก้าวหน้า ดังพระราชดำรัสนั้น คงสืบเนื่องจากการที่ทรงยืดถือปฏิบัติตามกฎ ที่มีอยู่ในพระธรรมศาสตร์ ถือว่าพระมหากษัตริย์มีหน้าที่ ทรงเป็นองค์เอกอัครพุทธศาสนูปภถัทมภก เช่นเดียวกับพระบูรพกษัตริย์ ซึ่งปฏิบัติสืบต่อกันมา รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาในลักษณะต่างๆ ดังนี้

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพุทธศาสนา
 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองราชสมบัตินานถึง ๔๒ ปี ซึ่งนับว่านานกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดของไทยในอดีต ตลอดระยะเวลาอันยาวนานแห่งการครองราชได้ทรงสร้างความเจริญรุ่งเรือง ให้แก่ประเทศชาติอย่างหาที่เปรียบมิได้ อย่างไรก็ดี ในที่นี้จะเสนอพระราชดำริพระบรมราโชบายและพระราชกรณียกิจ เฉพาะในส่วนแห่งการพระศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นถึงพระราช ศรัทธาอันมั่นคง

เฮเกล ( Hegel )




เชื่อว่า มีหลักเกณฑ์ที่ตายตัวที่จะใช้ตัดสินได้

    เรียกเกณฑ์ตัดสินนี้ว่า “ ปรนัยนิยม ” ( Objectivism ) เป็นกลุ่มที่เชื่อว่า มีเกณฑ์มาตรฐานตายตัวแน่นอนในทางศิลปะ ซึ่งสามารถนำไปตัดสินผลงานได้ในทุกสมัย เกณฑ์มาตรฐานนี้ไม่มีการเปลี่ยนแปลงและไม่ขึ้นอยู่กับความรู้สึกใครหรือศิลปินคนไหน กลุ่มนี้มีความเชื่ออีกว่า สุนทรียธาตุมีอยู่จริง แม้ว่าเราจะเข้าถึงมันไม่ได้ก็ตาม แต่มันก็มีอยู่จริง และด้วยเหตุผลนี้ การที่เราตัดสินศิลปะออกมาไม่เหมือนกันก็เพราะเราแต่ละคนไม่สามารถเข้าถึงสุนทรียธาติที่แท้จริงได้หรือตัวจริงมาตรฐานนั่นเอง การที่เราจะเข้าถึงเกณฑ์มาตรฐานนี้ได้นั้น เราจำเป็นต้องฝึกพัฒนาจิตให้สมบูรณ์จนสามารถเห็นความงามมาตรฐานได้ บางคนอาจทำสมาธิ บางคนอาจฝึกฝนทางศิลปะจนชำนาญ เป็นต้น