วันอังคารที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ปรัชญาไทย




ปรัชญาไทย  (อ.ชัยณรงค์)
 มิดเทอม 24/12/12    BY…น้ำมนต์ สรุป


ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง

วัตถุประสงค์ จารึกพ่อขุนรามคำแหงเพื่อบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ

คุณค่า

1.ด้านประวัติศาสตร์

- ความเป็นมาของราชวงศ์พระร่วง

- อารยธรรมสุโขทัย เช่น การเก็บภาษี กฎหมายมรดก ระเบียบและสิทธิการฟ้องร้องคดีศาล ประเพณีทางศาสนา ความเชื่อ การขยายอาณาเขต

2. คุณค่าด้านวิวัฒนาการทางภาษา

- ตัวอักษร เป็นวรรณคดีลายลักษณ์ของไทยเรื่องแรก ใช้อักษรไทยชุดแรก

- ลีลาการแต่ง ส่วนใหญ่ใช้คำไทยแท้ สั้น ไพเราะ กินใจ สร้างมโนภาพแก่ผู้อ่าน

เรื่อง จารึกแบ่งเป็น 3 ตอน

ตอนที่ 1 ชีวประวัติของพ่อขุนรามคำแหง พ่อกูชื่อศรีอินทราทิตย์......

ตอนที่ 2 บันทึกเหตุการณ์ต่างๆในเมืองสุโขทัยในสมัยนั้น ว่ามีความสมบูรณ์ มีบ้านเรือน มีการเพาะปลูก และมีวัดวาอารามต่างๆ มีการค้าขายอย่างเสรีและสะดวกสบาย ประชาชนมีความสุข พ่อขุนเอาใจใส่ เมตตา ยุติธรรม บำรุงศาสนาอย่างเต็มที่ ว่าราชการด้วยตนเอง หากมีคนตีฆ้องร้องเรียน ชาวสุโขทัยศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างมาก รักษาศีลช่วงเข้าพรรษา ทอดกฐิน และพระองค์ประดิษฐ์อักษร

ตอนที่ 3 ยอพระเกียรติพ่อขุนรามคำแหง เป็นทั้งกษัตริย์และครูผู้สอนธรรม และกล่าวถึงความยิ่งใหญ่ของกรุงสุโขทัย

ไตรภูมิพระร่วง หรือ ไตรภูมิกถา

ผู้แต่ง พระมหาธรรมราชาที่ 1 พญาลิไท

วัตถุประสงค์ เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา และเพื่อเป็นธรรมทานแก่ประชาชนทั่วไป ผู้ที่ฟังและปฏิบัติจะไม่ประมาทในสังสารวัฏ ทำให้เกิดในยุคพระศรีอาริยเมตไตรย และได้ถึงนิพพาน

คุณค่า

1. คุณค่าทางศาสนา

- เป็นคู่มือในการอบรมสั่งสอนประชาชนให้ทำความดี ใช้การเปรียบเทียบเรื่อง นรก สวรรค์

- พรรณนาความโหดร้ายน่ากลัวของนรกเพื่อไม่ให้คนทำบาป เพราะกลัวตกนรก

- พรรณนาความงาม รื่นรมย์ของสวรรค์ชั้นต่างๆ เพื่อให้คนทำดี อยากขึ้นสวรรค์

- พรรณนาให้เห็นว่าภูมิทั้งสาม(กาม รูป อรูป) ไม่เที่ยง ที่เที่ยงแท้คือนิพพาน ซึ่งต้องเพียรบำเพ็ญปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธเจ้า (หัวใจของเรื่อง)

2. คุณค่าในทางปรัชญาและจริยธรรม


- กล่าวถึงการกำเนิดของโลก จักวาล สัตว์ ยักษ์ มนุษย์ เทวดา และพรหม ว่าเกิดอย่างไรตายแล้วไปอยู่ที่ใด (อภิปรัชญา)

- สอนให้คนรู้จักดีชั่ว ตัดสินได้ว่าอะไรคือความดี บุญ และอะไรคือความชั่ว บาป ให้มีศีลธรรม

3. คุณค่าในทางศิลปกรรม

- แรงบันดาลใจเรื่องนรก สวรรค์ ไตรภูมิ ไปเขียนจิตรกรรมฝาผนัง รูปปั้น ภาพตามวัดวาอาราม

เพิ่มเติม

- คุณค่าในวิทยาการเรื่องเพศ เรื่องกำเนิดทารกมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์ พูดถึงหารทำผิด คบชู้ แท้ง

- เป็นรากฐานอุดมการณ์การเมืองไทย

บทบาทในด้านการปกครอง = ปกครองชาวสุโขทัยโดยอ้อม ผ่านความเชื่อทางศาสนา เป็นการลงโทษทางใจซึ่งร้ายแรงกว่าการลงโทษทางกาย


บทบาทในการเสริมสร้างพระราชอำนาจของกษัตริย์ “ธรรมราชา” คุณธรรมของกษัตริย์

- เป็นแหล่งบันทึกประสบการณ์และจิตไร้สำนึกร่วมของมนุษยชาติ ควบคุมแบบแผนพฤติกรรมของมนุษย์ ตอบข้อสงสัยเกี่ยวกับกำเนิดและจุกจบของมนุษย์ และข้อสงสัยในเรื่องโลก สภาพภูมิศาสตร์ และปรากฏการธรรมชาติในสมัยโบราณ ที่ทุกคนทุกชาติศาสนาสงสัย


เนื้อหา เริ่มด้วยนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ กล่าวถึงการเวียนว่ายตายเกิดของสรรพสัตว์ในแดนสามคือ กามภูมิ 11 รูปภูมิ 16 และอรูปภูมิ 4 รวม 31 ภูมิ แล้วพรรณนาแต่ละภูมิอย่างละเอียด


1. กามภูมิผู้ที่ยังเกี่ยวข้องในกาม 11 ภูมิ อบายภูมิ 4 คือนรก เปรต อสูรกาย เดรัจฉาน กับ สุขคติภูมิ 7 มนุสภูมิ และสวรรค์อีก 6


2. รูปภูมิ ที่อยู่ของพรหมที่มีรูปร่าง แบ่งเป็น 16 ภูมิ


3. อรูปภูมิ ที่อยู่ของพรหมไม่มีรูปร่างมีแต่จิต แบ่งเป็น 4 ภูมิ บรรยายลัหษณะ


เมื่อพรรณนาครบสามภูมิ จึงกล่าวว่าทั้ง 3 ล้วนตกอยู่ในอนิจจัง ไม่เว้นแต่สิ่งที่เป็นรูปธรรม เช่น ภูเขา แม่น้ำ ที่สุดก็ต้องเสื่อมสลาย หลังจากนั้นถึงกล่าวถึงการพินาศของโลกจากไฟบรรลัยกัลป์ ต่อด้วยการเกิดใหม่ของโลก และการเกิดมหากษัตริย์ สุดท้ายบรรยายถึงพระนิพพาน หรือ โลกุตรภูมิ ที่เป็นจีรังยั่งยืนพ้นจากสังสารวัฏ พร้องบรรยายวิธีบรรลุนิพพาน

สุภาษิตพระร่วง

ผู้แต่ง สมัยที่แต่ง สันนิษฐานไว้ 2 แบบ

1. แต่งในสมัยสุโขทัย พ่อขุนราม , พญาลิไท , รวบรวมจากหลายสมัยในสุโขทัย

2. แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ สมัยพระนั่งเกล้าฯ

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นสุภาษิตสอนใจประชาชนทั่วไปในการประพฤติปฏิบัติตนในการดำเนินชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างเป็นสุข

คุณค่า สุภาษิตพระร่วงทำให้เห็นปัญหาในการอยู่ร่วมกันในสังคม ซึ่งต้องมีการจัดระเบียบ มีหลักแนวคิดสำหรับควบคุมความประพฤติคนในสังคม เป็นคำสอนที่กว้างขวางครอบคลุมหลักการประพฤติในด้านต่างๆ เพื่อให้คนในสังคมอยู่ร่วมหันอย่างมีความสุข หลายบทอ้างมาถึงปัจจุบัน มีผลต่อการดำรงสังคมในปัจจุบันอย่างมาก

เนื้อหา เป็นการกล่าวถึงลักษณะการปะพฤติที่ควรและไม่ควรทำ ใช้วิธีบอกตรงๆ ในเรื่องการอยู่ร่วมกัน ปารปฏิบัติต่อเจ้านาย เพื่อน การใช้ชีวิต และอื่นๆ เหมือนการแนะนำ เช่น อย่ารักเหากว่าผม อย่ารักลมกว่าน้ำ อย่ารักถ้ากว่าเรือน อย่ารักเดือนกว่าตะวัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น